Golden Dreams TMS&Herb

วันศุกร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2553

รายชื่อสมุนไพรไทยและสรรพคุณ

รายชื่อสมุนไพรไทย


***เหงือกปลาหมอ
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Acanthus ebracteatus Vah 1
วงศ์ : ACANTHACEAE
ชื่ออื่น : เหงือกปลาหมอ

ลักษณะพืช : ไม้พุ่ม ลำต้นกลมเรียบ มีหนามตามข้อ ข้อละ 4 หนาม ใบเดี่ยว ออกตรงข้าม ผิวเรียบเป็นมัน ขอบใบจักหยาบ ปลายแหลมคล้ายหนาม แต่อาจพบขอบใจเรียบก็ได้ ดอกสีขาว ผลรูปไข่สีเขียว พบขึ้นตามชายน้ำ ริมลำคลอง ที่ชุ่มชื้นทั่วไป

การใช้ในตำรายาแผนโบราณ : ทั้งต้นและเมล็ด - รักษาฝี แก้โรคน้ำเหลืองเสีย

***โมกเครือ
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Aganosma marginata G. Don
วงศ์ : APOCYNACEAE
ชื่ออื่น : มะเดื่อดิน เดื่อเครือ ย่านเดือยบิด ไส้ตัน

ลักษณะพืช : ไม้เถาเนื้อแข็ง มีน้ำยางขาว ใบเดี่ยว ออกตรงข้าม ตัวใบรูปขอบขนาน ผิวใบด้านบนเกลี้ยง หรือมีขนประปราย ด้านล่างมีขนสั้นๆ ช่อดอกออกตามปลายยอด หรือตามซอกใบ ดอกรูปกรวย ปลายแยก 5 แฉก สีขาว ผลเป็นฝักยาว ออกเป็นคู่ ฝักแก่จะแตก 2 ซีก มีเมล็ดรูปขอบขนาน ปลายด้านหนึ่งมีขนยาวมีขาว จำนวนมาก พบตามป่าละเมาะ เรีอกสวน ชอบที่ร่มชุ่มชื้น

การใช้ในตำรายาแผนโบราณ :

ใบ - แก้ริดสีดวง แก้เมื่อย แก้ผื่นคัน ขับปัสสาวะ
ราก - แก้โรคทางเดินปัสสาวะ ยาเจริญอาหาร ยาระบาย ขับระดู แก้ขัดเบา แก้ไตและตับพิการ แก้ไข้
ทั้งต้น – แก้ไข้

***ชะเอมป่า
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Albizia myriophylla Benth.
วงศ์ : LEGUMINOSAE
ชื่ออื่น : ชะเอมไทย ตาลอ้อย ส้มป่อยหวาน ย่านงาย

ลักษณะพืช : ไม้ยืนต้น ตามลำต้นและกิ่งก้านมีหนาม ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ใบย่อยมีขนาดเล็ก ที่โคนก้านใบมีต่อมใหญ่ 1 ต่อม ดอกอัดแน่นเป็นช่อกลม ออกตามปลายยอด ดอกมีขนาดเล็ก รูปกรวย ปลายแยก 5 แฉกเล็กๆ เกสรตัวผู้จำนวนมาก ยาวยื่นพันกรวยดอก ดอกมีกลิ่นหอม ผลเป็นฝักแบนยาว ปลายเรียว ฝักแก่สีน้ำตาล มีเมล็ด 5 - 8 เมล็ด พบตามป่าละเมาะ เชิงเขา ป่าชายทะเล

การใช้ในตำรายาแผนโบราณ :

ราก - แก้กระหายน้ำ เป็นยาระบาย
เนื้อไม้ - ขับเสมหะ แก้ไอ รักษาเลือดออกตามไรฟัน
ดอก – ช่วยย่อยอาหาร

***ผักเป็ดน้ำ
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Alternanthera philoxeroides Griseb.
วงศ์ : AMARANTHACEAE
ชื่ออื่น : ผักเป็ด

ลักษณะพืช : พืชน้ำล้มลุก ลำต้นทอดคลาน หรือลอยเหนือน้ำ ลำต้นตอนล่างมีขนสีขาวตามซอกใบ ด้านข้างที่ตรงข้ามกัน 2 ด้านของลำต้น มีขนขึ้นเป็นแนว ส่วนอื่นๆเกลี้ยง ใบเดี่ยว ออกตรงข้าม ตัวใบรูปไข่หรือไข่กลับ ดอกออกเป็นช่อ ก้านช่อดอกยาว ดอกมีขนาดเล็กสีขาว อัดแน่นเป็นกระจุก พบทั่วไปตามแอ่งน้ำ หนอง บึง

การใช้ในตำรายาแผนโบราณ : ทั้งต้น - ขับน้ำนม แก้ไข้ ตำพอกแผล

***ผักเป็ดน้ำ
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Alternanthera philoxeroides Griseb.
วงศ์ : AMARANTHACEAE
ชื่ออื่น : ผักเป็ด

ลักษณะพืช : พืชน้ำล้มลุก ลำต้นทอดคลาน หรือลอยเหนือน้ำ ลำต้นตอนล่างมีขนสีขาวตามซอกใบ ด้านข้างที่ตรงข้ามกัน 2 ด้านของลำต้น มีขนขึ้นเป็นแนว ส่วนอื่นๆเกลี้ยง ใบเดี่ยว ออกตรงข้าม ตัวใบรูปไข่หรือไข่กลับ ดอกออกเป็นช่อ ก้านช่อดอกยาว ดอกมีขนาดเล็กสีขาว อัดแน่นเป็นกระจุก พบทั่วไปตามแอ่งน้ำ หนอง บึง

การใช้ในตำรายาแผนโบราณ : ทั้งต้น - ขับน้ำนม แก้ไข้ ตำพอกแผล

***ถั่วลิสงนา
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Alysicarpus vaginalis (L.) DC.
วงศ์ : LEGUMINOSAE
ชื่ออื่น : คัดแซก หญ้าเกล็ดหอยใหญ่ หญ้าปล้องหวาย

ลักษณะพืช : ไม้ล้มลุก ลำต้นตอนโคนจะทอดนอน ปลายยอดตั้งตรง ลำต้นยาว 0.3 - 1.5 ม. ใบเป็นใบประกอบ มี 1 ใบย่อย ใบย่อยรูปไข่กว้าง หรือ ยาวรี ขนาด 0.3 - 1.3 ซม. กว้าง 0.2 - 0.6 ซม. หูใบตั้งตรงแผ่แบน มีหูใบย่อย 2 อันติดอยู่ที่โคนใบย่อย ดอกออกเป็นช่อตามปลายยอด และตามซอกใบ ดอกเล็กสีแดงคล้ำ ฝักเล็ก ยาวเรียวปลายแหลม ยาว 1.2 ซม. เริ่มแรกสีดำ ต่อมาเปลี่ยนเป็นสีเขียวเหลือง ภายในมีเมล็ดสีเขียว 3 - 6 เมล็ด พบตามริมทาง สนามหญ้า ที่ว่างทั่วไป

การใช้ในตำรายาแผนโบราณ : ราก – แก้ไอ

***ผักขมหนาม
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Amaranthus spinosus Linn.
วงศ์ : AMARANTHACEAE
ชื่ออื่น : ผักโหมหนาม ปะตึ แม่ล้อคู่

ลักษณะพืช : พืชล้มลุก ลำต้นตั้งตรง แตกกิ่งก้านมากมาย ลำต้นกลม ผิวเกลี้ยง ค่อนข้างอวบน้ำ ใบเดี่ยว ตามซอกใบและโคนช่อดอกจะมีหนามแหลม ดอกออกเป็นกระจุกตามซอกใบ และออกรวมเป็นช่อตามปลายยอด ดอกมีขนาดเล็กมาก ผลกลมขนาดเล็ก เมื่อแก่จะแตกตรงกลาง ภายในมีเมล็ดกลมค่อนข้างแบน 1 เมล็ด สีน้ำตาลผิวเรียบมัน พบตามที่ว่างรกร้าง ริมทาง เรือกสวนทั่วไป

การใช้ในตำรายาแผนโบราณ :

ทั้งต้น - ขับปัสสาวะ ขับเสมหะ
ใบ - แก้บิด แก้บวมน้ำ
ราก - แก้โรคปวดตามข้อ ขับปัสสาวะ แก้หนองใน แก้ไข้

***รามใหญ่
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ardisia Littoralis Andr.
วงศ์ : MYRSINACEAE
ชื่ออื่น : ทุลังกาสา ลังพิสา

ลักษณะพืช : ไม้พุ่ม สูงถึง 4 ม. ใบเดี่ยว เรียงเวียนตัวใบรูปไข่กลับหรือรูปรี ขนาดยาว 9 - 15 ซม. กว้าง 2 - 5 ซม. ผิวใบเกลี้ยง เนื้อใบหนา ก้านใบสั้น ใบตามปลายยอดมีก้านใบสีแดง ดอกออกเป็นช่อตามปลายยอดและซอกใบ กลีบดอกสีชมพูอ่อน 5 กลีบ ดอกตูม กลีบดอกด้านหลังมีตุ่มสีน้ำตาล เมื่อดอกบาน ตุ่มจางหายไป เกสรผู้ด้านหลังมีตุ่มสีน้ำตาลเช่นกัน ผลกลมแป้นสีชมพูเข้ม เมื่อแก่สีดำ พบตามเรือกสวน ที่ร่มชุ่มชื้น ป่าละเมาะ ป่าเบญจพรรณ

การใช้ในตำรายาแผนโบราณ : ใบ – แก้ปวดบริเวณหน้าอก

***มะนาวผี
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Atalantia monophylla DC.
วงศ์ : RUTACEAE
ชื่ออื่น : มะลิว จ๊าลิว กรูดผี กรูดเปรย

ลักษณะพืช : ไม้พุ่ม กิ่งก้านตามยอดค่อนข้างเป็นเหลี่ยม มีหนาม 1 อัน ตามซอกใบ ใบเดี่ยวเรียงสลับ ตัวใบรูปไข่ ปลายใบหยักเว้า ดอกออกเป็นช่อ กลีบเลี้ยงแยก 2 แฉก ขนาดไม่เท่ากัน กลีบดอก 3 กลีบ เกสรผู้ 6 อัน ก้านเกสรผู้รวมกันเป็นหลอด ผลกลมขนาดเล็ก ผิวหนาคล้ายหนัง เมล็ดรูปไข่ พบตามป่าเบญจพรรณ ป่าชายทะเลการใช้ในตำรายาแผนโบราณ : ใบ – ใช้ในโรคทางเดินหายใจ

***หนามพุงดอ
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Azima sarmentosa Benth. & Hook.
วงศ์ : SALVADORACEAE
ชื่ออื่น : ขี้แฮด ปิ๊ดเต๊าะ พุงดอ

ลักษณะพืช : ไม้เถาเนื้อแข็ง ใบเดี่ยวออกตรงข้าม เนื้อใบหนา สีเขียวสดเป็นมัน ตัวใบมีรูปร่างหลายแบบ ที่โคนใบมีหนามแหลมเรียวยาว 2 อัน ดอกออกเป็นช่อ แตกเรียงกันหลายชั้น ดอกเล็ก ผลกลมสีเขียว เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีขาว ภายในมีเมล็ด 2 - 3 เมล็ด พบตามริมน้ำ ที่ลุ่มชื้นแฉะ แนวป่าละเมาะชายทะเลทั่วไป

การใช้ในตำรายาแผนโบราณ : ราก - ถอนพิษ แก้ไข้ ภายนอกใช้ฝนทาแก้พิษฝี

***เสลดพังพอน
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Barleria Lupulina Lindl.
วงศ์ : ACANTHACEAE
ชื่ออื่น : พิมเสนต้น เช็กเชเกี่ยม ชองระอา

ลักษณะพืช : ไม้พุ่ม สูงถึง 2 ม. ใบเดี่ยวออกตรงข้าม ตัวใบเรียวยาว ด้านบนสีเขียวเข้ม เส้นใบสีแดง ด้านล่างสีจางกว่า ผิวใบเกลี้ยง ยาว 5 - 10 ซม. กว้าง 0.5 - 1.5 ซม. ก้านใบสั้น ตามซอกใบจะมีหนามแหลม 2 อัน ช่อดอกรูปทรงกระบอก ตั้งตรง หรือห้อยลง ยาว 3 - 9 ซม. กลีบดอกสีเหลืองยาว 2 - 4 ซม. กลีบรองดอกสีเขียวปลายยอดสีม่วง ผล ยาวประมาณ 1.5 ซม. พบทั่วไป นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ

การใช้ในตำรายาแผนโบราณ :

ใบ - พอกฝี แก้ช้ำบวม
ทั้งต้น - แก้พิษงู แก้ปวดฟัน
ราก - ฝนกับสุรา ทาถอนพิษงู ตะขาบ แมลงป่อง ผึ้ง ปลาแขยง

***อังกาบหนู
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Barleria prionitis Linn.
วงศ์ : ACANTHACEAE
ชื่ออื่น : เขี้ยวแก้ว เขี้ยวเนื้อ มันไก่

ลักษณะพืช : ไม้พุ่ม สูงถึง 1.5 ม. ใบเดี่ยว ออกตรงข้าม ตัวใบรูปไข่ปลายแหลม ยาว 2 - 17 ซม. กว้าง 0.5 - 6 ซม. ตามซอกใบจะมีหนามแหลม 3 - 5 อัน ดอกออกเดี่ยวๆ ส่วนตอนปลายยอดจะออกเป็นช่อ กลีบดอกสีเหลืองสด ยาว 2 - 5 ซม. ผลกลมแบน ปลายแหลม แข็ง ขนาด 1 - 2 ซม. ภายในมีเมล็ด 2 เมล็ด ขึ้นได้ดีในที่แล้ง นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ

การใช้ในตำรายาแผนโบราณ :

ทั้งต้น - ขับปัสสาวะ แก้ไขข้ออักเสบ แก้บวมน้ำ แก้ไข้
ใบ - แก้กลากเกลื้อน แก้ปวดฟัน น้ำคั้นทากันเท้าแตก หยอดหู แก้อักเสบ
เปลือก - แก้ไอกรน ขับเสมหะ ขับเหงื่อ แก้อาการบวมทั้งตัว
ราก – ทำยาแก้ฝี

***กระดุม
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Borreria articularis (L.f.) F.N. Williams
วงศ์ : RUBIACEAE
ชื่ออื่น : -

ลักษณะพืช : พืชล้มลุก ลำต้นและกิ่งก้านเป็นเหลี่ยม ใบเดี่ยว ออกตรงข้าม ตัวใบรูปไข่ เนื้อใบบาง มีขนทั้ง 2 ด้าน ดอกออกเป็นกระจุกตามซอกใบ ดอกมีขนาดเล็ก รูปกรวย ปลายแยก 4 แฉก กรวยดอกสีขาว กลีบดอกสีม่วงอ่อน ภายในกรวยดอกเหนือโคนกรวยดอกเล็กน้อย มีขนเรียงเป็นวงแหวน ผลเล็กรูปรี หรือที่น้ำขังแฉะทั่วๆไป

การใช้ในตำรายาแผนโบราณ :
ใบ - แก้ริดสีดวงทวาร
ราก - แก้ปวดฟัน
ลำต้นและใบ - เป็นส่วนผสมทำยาพอก แก้อุจจาระร่วง ทำยาชง แก้โรคนิ่วในไต นิ่วในถุงน้ำดี

***มะกา
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bridelia ovata Decne
วงศ์ : EUPHORBIACEAE
ชื่ออื่น : ก้องแกบ ขี้เหล้ามาดกา ซำซา มัดกา มาดกา ส่าเหล้า สิวาลา

ลักษณะพืช : ไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูงถึง 10 ม. ใบเดี่ยว เรียงสลับ ตัวใบรูปรีหรือรูปไข่กลับ ขนาดยาว 7 - 20 ซม. กว้าง 3 - 7 ซม. ผิวใบเกลี้ยงทั้งสองด้าน ก้านใบสั้น ดอกออกเป็นกระจุกตามซอกใบ ดอกเล็กดอกเพศผู้แลดอกเพศเมีย อยู่ในกระจุกเดียวกัน ผลเป็นผลสด รูปกลมขนาดเล็กพบตามป่าเบญจพรรณ ป่าชายทะเล

การใช้ในตำรายาแผนโบราณ :

ใบ - ขับเสมหะ
เปลือก – ฝาดสมาน

***ขนหนอน
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bridelia tomentosa Bl.
วงศ์ : EUPHORBIACEAE
ชื่ออื่น : กระบือ สีฟันกระบือ มะแก สามพันตา

ลักษณะพืช : ไม้พุ่ม หรือไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ใบเดี่ยว เรียงสลับในระนาบเดียวกัน ตัวใบรูปรี หรือรูปไข่กลับ ปลายใบมนหรือแหลม ขนาดยาว 3 - 12 ซม. กว้าง 1 - 5 ซม. ผิวใบด้านหลังมีขนเส้นเล็กๆ ละเอียดปกคลุม ก้านใบสั้น ดอกออกเป็นกระจุกตามซอกใบ ดอกเล็ก มีดอกเพศผู้และเพศเมียในกระจุกเดียวกัน ผลรูปกลมขนาดเล็กสีเขียว ต่อมาเปลี่ยนเป็นดำ ภายในมี 2 เมล็ด พบตามที่ชุ่มชื้นริมน้ำ ป่าละเมาะ ป่าชายทะเล

การใช้ในตำรายาแผนโบราณ :

ใบ - ผสมกับพืชสมุนไพรชนิดอื่นแช่ (infused) เอาน้ำดื่ม แก้ปวดท้อง แก้ไข้ ปรุงยาต้ม แก้โรคลำไส้
ราก - เป็นยาภายหลังคลอด
ทั้งต้น – เป็นพิษ

***กระเจี๊ยบแดง

กระเจี๊ยบเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูงราว 3-6 ศอก กิ่งก้านมีสีม่วงแดง ใบมีหลายรูป เช่น ขอบใบเรียบ หรือหยักเว้า 3 หยัก ดอกสีชมพู ตรงกลางจะมีสีเข้มกว่ากลีบส่วนนอก เมื่อกลีบดอกร่วง ใบประดับและกลีบเลี้ยงจะเจริญขึ้น มีสีม่วงแดงเข้มหุ้มผลไว้ภายใน มีเมล็ด ใช้ปลูก ปลูกได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย

ใบประดับและกลีบเลี้ยงของกระเจี๊ยบแดง รสเปรี้ยว ทำแยมหรือใช้เป็นสารแต่งสี ในเยลลี่ ใบอ่อนของกระเจี๊ยบเป็นผัก ใช้แกงส้ม กระเจี๊ยบเปรี้ยวมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "ส้มพอเหมาะ" ใบประดับ กลีบเลี้ยงและใบมีรสเปรี้ยว ใช้เป็นยากัดเสมหะ

***กระชาย
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Boesenbergia rotunda (L.) Mansf.
วงศ์ : Zingiberaceae
ชื่ออื่น : กะแอน จี๊ปู ซีฟู เปาซอเร๊าะ เป๊าสี่ระแอน ว่านพระอาทิตย์

ลักษณะ : เป็นไม้ล้มลุกไม่มีลำต้นบนดิน มีเหง้าใต้ดินซึ่งแตกรากออกไปเป็นกระจุกจำนวนมาก อวบน้ำ ตรงกลาลพองกว้างกว่าส่วนหัวและท้าย ใบ เดี่ยว เรียงสลับเป็นระนาบเดียวกัน รูปขอบขนานแกมรูปไข่ กว้าง 4.5-10 เซนติเมตร ยาว 13-15 เซนติเมตร ตรงกลางด้านในของก้านใบมีร่องลึก ดอก ช่อ ออกแทรกอยู่ระหว่างกาบใบที่โคนต้น กลีบดอกสีขาวหรือชมพูอ่อน ใบประดับรูปใบหอกสีม่วงแดง ดอกย่อยบานครั้งละ 1 ดอก

ประโยชน์ทางสมุนไพร : ตำรายาไทยใช้เหง้าแก้โรคในปากเช่นปากเปื่อย ปากเป็นแผล ปากแห้ง ขับระดูขาว ขับปัสสาวะ รักษาโรคบิด แก้ปวดมวนท้อง จากการทดลองในสารสกัดแอลกอฮอล์และคลอโรฟอร์ม พบว่ามีฤทธิ์ต้านเชื้อราที่ทำให้เกิดโรคผิวหนังและในปากได้ดีพอควร

***กระทือ
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Zingiber zerumbet (L.) Smith.
วงศ์ : Zingiberaceae
ชื่ออื่น : กระทือป่า กะแวน กะแอน แสมดำ แฮวดำ เฮียวดำ (ภาคเหนือ) เฮียวแดง (แม่ฮ่องสอน)

ลักษณะ : เป็นไม้ล้มลุก สูง 0.5 - 1 เมตร มีเหง้าใต้ดิน เปลือกนอกของเหง้าสีน้ำตาลแกมเหลือง เนื้อในสีเหลืองอ่อน กลิ่นหอม แทงหน่อใหม่เมื่อถึงฤดูฝน ใบเดี่ยวเรียงสลับ และเป็นรูปหอกแกมขอบขนาน กว้าง 5 - 10 ซม. ยาว 15 - 30 ซม. ด้านล่างของใบมักมีขนนุ่ม ดอกช่อแทงจากเหง้า กลีบดอกสีขาวนวล ใบประดับขนาดใหญ่สีแดง ผลเป็นผลแห้ง

ประโยชน์ทางสมุนไพร : มีฤทธิ์ขับลม แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์กระตุ้น การหลั่งน้ำลาย และเพิ่มความอยากอาหาร โดยใช้หัวหรือเหง้าสด ขนาดประมาณหัวแม่มือ 2 หัว ย่างไฟพอสุกตำกับ น้ำปูนใสแล้วคั้นเอาน้ำดื่ม

***กระเทียม
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Allium sativum L.
วงศ์ : Alliaceae
ชื่อสามัญ : Common Garlic , Allium ,Garlic ,
ชื่ออื่น : กระเทียม (ภาคกลาง) หอมเทียม (ภาคเหนือ) หอมขาว (ภาคอีสาน) เทียม, หอมเทียม (ภาคใต้)

ลักษณะ : ไม่พุ่ม สูง 2-4 เมตร กิ่งอ่อนมีหนาม ใบประกอบชนิดมีใบย่อยใบเดียว เรียงสลับ รูปไข่ รูปวงรีหรือรูปไข่แกมขอบขนานกว้าง 3-5 ซม. ยาว 4-8 ซม. เนื้อใบมีจุดน้ำมันกระจาย ก้านใบมีครีบเล็ก ๆ ดอกเดี่ยวหรือช่อ ออกที่ปลายกิ่งและที่ซอกใบ กลีบดอกสีขาว กลิ่นหอม ร่วงง่าย ผลเป็นผลสด กลมเกลี้ยง ฉ่ำน้ำ

ประโยชน์ทางสมุนไพร : ตำรายาไทยใช้น้ำมะนาวและผลดองแห้งเป็นยาขับเสมหะแก้ไอ แก้โรคเลือดออกตามไรฟัน เพราะมีวิตามินซี น้ำมะนาวเป็นกระสายยาสำหรับสมุนไพรที่ใช้ขับเสมหะเช่นดีปลี

***กระวาน
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Amomum krervanh Pierre
วงศ์ : Zingiberaceae
ชื่อสามัญ : Siam Cardamom, Camphor Seed
ชื่ออื่น : กระวานดำ กระวานแดง กระวานขาว (ภาคกลาง, ภาคตะวันออก) กระวานจันทร์ กระวานโพธิสัตว์

ลักษณะ : ไม้ล้มลุกสูง 1-3 เมตร ขึ้นในป่าชื้น บริเวณไหล่เขาสูง มีเหง้าใต้ดิน ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนาน กว้าง 8-15 ซม. ยาว 40-50 ซม. ไม่มีก้านใบ ดอกช่อแทงจากเหง้า กลีบดอกสีขาว เป็นหลอดและพองเป็นกระเปาะ ออกดอกเมื่อต้นอายุ 2-3 ปี ผลกลมเกลี้ยง ขนาด 6-15 มม. เมื่อแก่เปลือกผลจะแห้งและแข็ง เมล็ดขนาดเล็ก 12-18 เมล็ด รวมกลุ่มเป็น 3 กลุ่ม โดยมีเยื่อบาง ๆ กั้น มีกลิ่นหอมและรสเผ็ด

ประโยชน์ทางสมุนไพร : ตำรายาไทยใช้ผลเป็นยาขับลม รักษาโรคท้องอืดเฟ้อแน่นจุกเสียด โดยใช้ขนาด 1-2 กรัม ชงน้ำดื่มและใช้เป็นเครื่องเทศแต่งกลิ่นอาหาร

***กระเพรา
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ocimum sanctum L.
วงศ์ : Labiatae
ชื่ออื่น : กอมก้อ กอมก้อดง กะเพราขาว กะเพราแดง

ลักษณะ : กะเพรามี 3 พันธุ์ คือ กะเพราแดง กะเพราขาวและกะเพราลูกผสมระหว่างกะเพราแดงและกะเพราขาว มีลักษณะทั่วไปคล้ายโหระพา ต่างกันที่กลิ่นและกิ่งก้านซึ่งมีขนปกคลุมมากกว่าใบกะเพราขาวสีเขียวอ่อน ส่วนใบกะเพราแดงสีเขียวแกมม่วงแดง ดอกย่อยสีชมพูแกมม่วง ดอกกะเพราแดงสีเข้มกว่ากะเพราขาว

ประโยชน์ทางสมุนไพร : ตำรายาไทยใช้ใบหรือทั้งต้นเป็นยาขับลมแก้ปวดท้อง ท้องเสีย และคลื่นไส้อาเจียน นิยมใช้กะเพราแดงมากกว่ากะเพราขาว โดยใช้ยอดสด 1 กำมือ ต้มพอเดือด ดื่มเฉพาะส่วนน้ำ พบว่าฤทธิ์ขับลมเกิดจากน้ำมันหอมระเหย การทดลองในสัตว์ แสดงว่าน้ำสกัดทั้งต้นมีฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้ สารสกัดแอลกอฮอล์สามารถรักษาแผลในกระเพาะอาหาร สาร eugenol ในใบมีฤทธิ์ขับน้ำดี ช่วยย่อยไขมันและลดอาการจุกเสียด

***กานพลู
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Eugenia caryophyllum Bullock & Harrison
วงศ์ : Myrtaceae
ชื่อสามัญ : Clove

ลักษณะ : ไม้ยืนต้น สูง 5-10 เมตร ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปวงรีหรือรูปใบหอก กว้าง 2.5-4 ซม. ยาว 6-10 ซม. ขอบเป็นคลื่น ใบอ่อนสีแดงหรือน้ำตาลแดง เนื้อใบบางค่อนข้างเหนียว ผิวมัน ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ กลีบดอกสีขาวและร่วงง่าย กลีบเลี้ยงและฐานดอกสีแดงหนาแข็ง ผลเป็นผลสด รูปไข่

ประโยชน์ทางสมุนไพร : ตำรายาไทย ใช้ดอกตูมแห้งแก้ปวดฟัน โดยใช้ดอกแช่เหล้าเอาสำลีชุบอุดรูฟัน และใช้ขนาด 5-8 ดอก ชงน้ำเดือด ดื่มเฉพาะส่วนน้ำหรือใช้เคี้ยวแก้ท้องเสีย ขับลม แก้ท้องอืดเฟ้อ นอกจากนี้ใช้ผสมในยาอมบ้วนปากดับกลิ่นปาก พบว่าในน้ำมันหอมรเหยที่กลั่นจากดอกมีสาร eugenol ซึ่งมีฤทธิ์เป็นยาชาเฉพาะที่ จึงใช้แก้ปวดฟัน และมีฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้ ทำให้เกิดอาการปวดท้องลดลง ช่วยขับน้ำดี ลดอาการจุกเสียดที่เกิดจากการย่อยไม่สมบูรณ์ และสามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียหลายชนิดเช่น เชื้อโรคไทฟอยด์ บิดชนิดไม่มีตัว เชื้อหนองเป็นต้น นอกจากนี้ยังกระตุ้นให้มีการหลั่งเมือก และลดการเป็นกรดในกระเพาะอาหารด้วย

***ขมิ้นชัน
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Curcuma longa L.
วงศ์ : Zingiberaceae
ชื่อสามัญ : Turmaric
ชื่ออื่น : ขมิ้น ขมิ้นแกง ขมิ้นหยอก ขมิ้นหัว ขี้มิ้น หมิ้น

ลักษณะ : ไม้ล้มลุก อายุหลายปี สูง 30-90 ซม. เหง้าใต้ดินรูปไข่มีแขนงรูปทรงกระบอกแตกออกด้านข้าง 2 ด้าน ตรงกันข้ามเนื้อในเหง้าสีเหลืองส้ม มีกลิ่นเฉพาะ ใบ เดี่ยว แทงออกมาเหง้าเรียงเป็นวงซ้อนทับกันรูปใบหอก กว้าง 12-15 ซม. ยาว 30-40 ซม. ดอก ช่อ แทงออกจากเหง้า แทรกขึ้นมาระหว่างก้านใบ รูปทรงกระบอก กลีบดอกสีเหลืองอ่อน ใบประดับสีเขียวอ่อนหรือสีนวล บานครั้งละ 3-4 ดอก ผล รูปกลมมี 3 พู

ประโยชน์ทางสมุนไพร : ตำรายาไทยใช้เหง้ารักษาโรคผิวหนังผื่นคัน โดยทำเป็นผงผสมน้ำหรือเหง้าสด ฝนทาน้ำ มีรายงานว่าพบน้ำมันหอมระเหยและสาร curcumin ซึ่งมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเชื้อหนองได้ดี จากการทดลองทารักษาโรคผิวหนังพุพองในเด็กพบว่าให้ผลเท่ายาปฏิชีวนะ นอกจากนี้ยังใช้เหง้ารักษาโรคท้องอืด ท้องเฟ้อและแผลในกระเพาะอาหาร โดยใช้ขนาด 250 มิลลิกรัม กินครั้งละ 2 เม็ด วันละ 4 ครั้งหลังอาหารและก่อนนอน ฤทธิ์แก้ท้องอืดน่าจะเกิดน้ำมันหอมระเหย ส่วนการเพิ่มน้ำย่อยและขับน้ำดีเกิดจาก ฤทธิ์ของ curcumin และ p-tolylcarbinol ทำให้การย่อยอาหารดีขึ้น อาการจุกเสียดลดลง curcumin ยังสามารถยับยั้งการเกิดก๊าซที่สร้างโดยเชื้อโรคที่ทำให้ท้องเสีย (Escherichia coli) แต่ไม่ได้ฆ่าเชื้อ นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์กระตุ้นการหลั่งเมือกในทางเดินอาหาร จึงใช้รักษาแผลในกระเพาะอาหารได้ แต่มีข้อควรระวังคือ curcumin ในขนาดที่สูงกว่าขนาดรักษา 2 เท่า ทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร

***ข่า
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Alpinia nigra (Gaertn.) Burtt
วงศ์ : Zingiberaceae
ชื่อสามัญ :
ชื่ออื่น : ข่าหยวก ข่าหลวง

ลักษณะ : ไม้ล้มลุก สูง 1.5-2 เมตร เหง้ามีข้อและปล้องชัดเจน ใบ เดี่ยว เรียงสลับ รูปใบหอก รูปวงรีหรือเกือบขอบขนาน กว้าง 7-9 ซม. ยาว 20-40 ซม. ดอก ช่อ ออกที่ยอด ดอกย่อยขนาดเล็ก กลีบดอกสีขาว โคนติดกันเป็นหลอดสั้นๆ ปลายแยกเป็น 3 กลีบ กลีบใหญ่ที่สุดมีริ้วสีแดง ใบประดับรูปไข่ ผล เป็นผลแห้งแตกได้ รูปกลม

ประโยชน์ทางสมุนไพร : ตำรายาไทยใช้เหง้าอ่อนต้มเอาน้ำดื่ม บรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ และขับลม เหง้าสดตำผสมกับเหล้าโรง ใช้ทารักษาโรคผิวหนังที่เกิดจากจากเชื้อรา เช่น กลาก เกลื้อน สารที่ออกฤทธิ์คือน้ำมันหอมระเหย และ 1’-acetoxychavicol acetate ข่าไม่มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ และไม่เป็นพิษในขนาดยา 250 เท่าของขนาดที่ใช้ในตำรายาไทย จัดเป็นสมุนไพรที่ปลอดภัย

***ขิง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Zingiber officinale Roscoe
วงศ์ : Zingiberaceae
ชื่อสามัญ : Ginger
ชื่ออื่น : ขิงแกลง ขิงแดง ขิงเผือก

ลักษณะ : ไม้ล้มลุกสูง 0.3-1 เมตร มีเหง้าใต้ดิน เปลือกนอกสีน้ำตาลแกมเหลือง เนื้อในสีนวลมีกลิ่นเฉพาะ แทงหน่อหรือลำต้นเทียมเช่นเดียวกับไพล ใบเดี่ยว เรียงสลับรูปขอบขนานแกมใบหอก กว้าง 1.5-2 ซม. ยาว 15-20 ซม. ดอกช่อแทงออกจากเหง้า กลีบดอกสีเหลืองแกมเขียว ใบประดับสีเขียวอ่อน ผลเป็นผลแห้ง มี 3 พู

ประโยชน์ทางสมุนไพร : ตำรายาไทยใช้เหง้าขิงแก่ทั้งสดและแห้ง เป็นยาขับลม แก้อาเจียนแก้ไอขับเสมหะ และขับเหงื่อโดยใช้เหง้าสดขนาดนิ้วหัวแม่มือต้มกับน้ำหรือใช้ผงขิงแห้งชงน้ำดื่ม จากการทดลองกับอาสาสมัคร 36 คนพบว่าผงขิงป้องกันการเมารถเมาเรือได้ดีกว่ายาแผนปัจจุบัน (dimenhydrinate) ในเหง้ามีน้ำมันหอมระเหยประกอบด้วย menthol, bornelo, fenchone, 6-shogoal และ6-gingerol menthol, มีฤทธิ์ขับลม borneol, fenchone และ 6-gingerol มีฤทธิ์ขับน้ำดี ช่วยย่อยไขมันนอกจากนี้พบว่าสารที่มีรสเผ็ดได้แก่ , 6-shogoal และ6-gingerol ลดการบีบตัวของลำไส้ จึงช่วยบรรเทาอาการปวดท้องเกร็ง

***ดีปลี
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Piper chaba Hunt
วงศ์ : Piperaceae
ชื่อสามัญ : Long Pepper
ชื่ออื่น :

ลักษณะ : ไม้เถารากฝอยออกบริเวณข้อเพื่อใช้ยึดเกาะ ใบ เดี่ยวรูปไข่แกมขอบขนาน กว้าง 3-5 ซม. ยาว 7-10 ซม. สีเขียวเข้มเป็นมัน ดอก ช่อ ออกที่ซอกใบ ดอกย่อยอัดกันแน่น แยกเพศ ผล เป็นผลสด มีสีเขียว เมื่อสุกจะเปลี่ยนเป็นสีแดง รสเผ็ดร้อน

ประโยชน์ทางสมุนไพร : ตำรายาไทยใช้ผลแก่จัดแต่ยังไม่สุกตากแห้งเป็นยาขับลม บำรุงธาตุ แก้ท้องเสีย ขับรกหลังคลอด โดยใช้ผล 1 กำมือ (ประมาณ 10-15 ผล) ต้มเอาน้ำดื่ม นอกจากนี้ใช้เป็นยาแก้ไอ โดยเอาผลแห้งครึ่งผลฝนกับมะนาวแทรกเกลือใช้กวาดคอหรือจิบบ่อยๆ ฤทธิ์ขับลมและแก้ไอ เกิดจากน้ำมันหอมระเหยและสาร piperine พบว่าสารสกัดเมทานอลมีผลยับยั้งการบีบตัวของลำไส้เล็กและสารสกัดปิโตรเลียมอีเธอร์ ทำให้สัตว์ทดลองแท้ง จึงควรระวังการใช้ในสตรีมีครรภ์

***ตะไคร้
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cymbopogon citratus Stapf
วงศ์ : Gramineae
ชื่ออื่น : ชื่อสามัญ : Lemon Grass
ชื่ออื่น : จะไคร ไคร

ลักษณะ : ไม้ล้มลุก อายุหลายปี สูง 0.75-1.2 เมตร แตกเป็นกอ เหง้าใต้ดินมีกลิ่นเฉพาะ ข้อและปล้องสั้นมาก กาบใบสีขาวนวลหรือขาวปนม่วง ยาวและหนาหุ้มข้อและปล้องไว้แน่น ใบเดี่ยวเรียงสลับ กว้าง 1-2 ซม. ยาว 70-100 ซม. แผ่นใบและขอบใบสากและคม ออกดอกยาก

ประโยชน์ทางสมุนไพร : โคนกาบใบและลำต้นทั้งสดและแห้งมีน้ำมันหอมระเหย ตำรายาไทยใช้เป็นยาขับลม แก้ท้องอืดเฟ้อแน่นจุกเสียดใช้ลำต้นแก่สดประมาณ 1 กำมือ (40-60 กรัม) ทุบพอแหลก ต้มน้ำพอเดือดหรือชงน้ำ ดื่มวันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร นอกจากนี้ใช้เป็นยาขับปัสสาวะสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการขัดเบาหรือปัสสาวะไม่คล่อง โดยผู้ป่วยต้องไม่มีอาการบวมที่แขนและขา พบว่าน้ำมันตะไคร้มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อราและแบคทีเรีย

***มะนาว
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Citrus aurantifolia Swing.
วงศ์ : Rutacear
ชื่อสามัญ : Lime
ชื่ออื่น : ส้มมะนาว

ลักษณะ : ไม่พุ่ม สูง 2-4 เมตร กิ่งอ่อนมีหนาม ใบประกอบชนิดมีใบย่อยใบเดียว เรียงสลับ รูปไข่ รูปวงรีหรือรูปไข่แกมขอบขนานกว้าง 3-5 ซม. ยาว 4-8 ซม. เนื้อใบมีจุดน้ำมันกระจาย ก้านใบมีครีบเล็ก ๆ ดอกเดี่ยวหรือช่อ ออกที่ปลายกิ่งและที่ซอกใบ กลีบดอกสีขาว กลิ่นหอม ร่วงง่าย ผลเป็นผลสด กลมเกลี้ยง ฉ่ำน้ำ

ประโยชน์ทางสมุนไพร : ตำรายาไทยใช้น้ำมะนาวและผลดองแห้งเป็นยาขับเสมหะแก้ไอ แก้โรคเลือดออกตามไรฟัน เพราะมีวิตามินซี น้ำมะนาวเป็นกระสายยาสำหรับสมุนไพรที่ใช้ขับเสมหะเช่นดีปลี

***เร่ว
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Amomum xanthioides Wall.
วงศ์ : Zingiberaceae
ชื่อสามัญ : Bustard cardamom, Tavoy cardamom
ชื่ออื่น : หมากแหน่ง (สระบุรี) หมากเนิง (อีสาน) มะอี้ หมากอี้ มะหมากอี้ (เชียงใหม่) หน่อเนง (ชัยภูมิ)

ลักษณะ : เร่วเป็นพืชล้มลุก มีเหง้าหรือลำต้นอยู่ในดิน จัดเป็นพืชสกุลเดียวกับ กระวาน ข่า ขิง ใบมีลักษณะยาวเรียว ปลายใบแหลมและห้อยโค้งลง ก้านใบมีขนาดสั้น ออกดอกเป็นช่อจากยอดที่แทงขึ้นมาจากเหง้า ดอกมีสีขาวก้านช่อดอกสั้น ผลมีขนสีแดงปกคลุม เมล็ดมีสีน้ำตาล เร่วมีหลายชนิด เช่น เร่วหอม เร่วช้าง เร่วกอ ซึ่งเร่วเหล่านี้มีลักษณะต้นแตกต่างกันไป

ประโยชน์ทางสมุนไพร : น้ำมันหอมระเหยในเมล็ดเร่วมีฤทธิ์เป็นยาขับลม ช่วยแก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ แน่น จุกเสียด โดยใช้เมล็ดประมาณ 3 กรัม บดให้เป็นผงรับประทานวันละ 3 ครั้ง และช่วยขับเสมหะ แก้คลื่นเหียนอาเจียนได้ดีอีกด้วย

***แห้วหมู
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cyperus rotundus L.
วงศ์ : Cyperacear
ชื่อสามัญ : Nutgrass
ชื่ออื่น : หญ้าขนหมู

ลักษณะ : ไม้ล้มลุก อายุหลายปี สูง 20-40 ซม. มีลำต้นใต้ดินเป็นหัวคล้ายหัวแห้วไทย แตกแขนงลำต้นเป็นเส้นแข็งเหนียวอยู่ใต้ดินและงอกเป็นหัวใหม่ได้ ใบเดี่ยว จำนวนมาก แทงออกจากหัวกว้าง 2-6 มม. ยาว 5-20 ซม. ดอกช่อ คล้ายดอกหญ้า สีน้ำตาลแดง แตกแขนงเป็น 4-10 กิ่ง ก้านช่อดอกเป็นสามเหลี่ยมตรง ผลเป็นผลแห้ง

ประโยชน์ทางสมุนไพร : ตำรายาไทยใช้หัวใต้ดินเป็นยาบำรุงหัวใจ ขับเหงื่อและขับปัสสาวะ การทดลองในสัตว์พบฤทธิ์ขับปัสสาวะ ลดไข้ ลดความดันโลหิตและลดการอักเสบ ซึ่งเชื่อว่าเกิดจาก a-cyperone นอกจากนี้พบฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อมาลาเรียชนิดฟัลซิพารัมในหลอดทดลองด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น