Golden Dreams TMS&Herb

วันพุธที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2556

กลุ่มยารักษาตา คางทูม แก้ปวดหู -หูเสือ

หูเสือ
ชื่อวิทยาศาสตร์  Plectranthus amboinicus (Lour.) Spreng.
                          
 ( Syn. Coleus amboinicus  Lour.)
ชื่อสามัญIndian borage
วงศ์  LAMIACEAE (LABIATAE)
ชื่ออื่น :  หอมด่วนหลวง (เหนือ), ผักหูเสือ, เนียมอีไหลหลึง, โฮว้หีเช่า (จีน)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุกอายุหลายปี สูง 0.3-1 เมตร  ลำต้นอวบน้ำ มีขนหนาแน่น ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามสลับตั้งฉาก รูปไข่ค่อนข้างกลม กว้าง 4-6 ซม. ยาว 5-7 ซม. โคนใบมนตัดมีครีบยาว ปลายใบมน ขอบใบจักมน แผ่นใบสีเขียว มีขนหนาแน่นทั้งสองด้าน เนื้อใบหนา มีกลิ่นเฉพาะ ก้านใบยาว 2-4.5 ซม. ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายยอด ช่อดอกยาว 10-20 ซม. มีใบประดับรูปไข่ ดอกสีฟ้า กลีบเลี้ยงโคนเชื่อติดกันเป็นรูประฆัง ด้านนอกมีขน ปลายแยกเป็น 5 แฉก กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดปลายแยกเป็น 2 ปาก ปากบนตั้งตรง กลีบล่างยาวเว้า ออกดอกยาก ผล รูปทรงกลมแป้น กว้าง 0.5 มม. ยาว 0.7 มม. ผิวเรียบ สีน้ำตาลอ่อน
ส่วนที่ใช้
ใบสด
สรรพคุณ :
  • ใบ  -  แก้ปวดหู แก้ฝีในหู แก้หูน้ำหนวกได้ดี รับประทานเป็นผักกับเครื่องจิ้ม
วิธีใช้ - ใช้ใบสดคั้นเอาน้ำมาหยอดหู แก้ปวดหู แก้พิษฝีในหู หูน้ำหนวก

กลุ่มยารักษาตา คางทูม แก้ปวดหู -เปราะหอมแดง

เปราะหอมแดง
ชื่อวิทยาศาสตร์  Kaempferia galanga L.
ชื่อสามัญ   Sand Ginger, Aromatic Ginger, Resurrection Lily
วงศ์  ZINGIBERACEAE
ชื่ออื่น :  หอมเปราะ (ภาคกลาง) ว่านตีนดิน ว่านแผ่นดินเย็น ว่านหอม (ภาคเหนือ)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : พืชล้มลุก อายุปีเดียว มีลำต้นเป็นหัวอยู่ใต้ดิน เรียกว่า เหง้า เนื้อภายในสีเหลืองอ่อน มีสีเหลืองเข้มตามขอบนอก มีกลิ่มหอมเฉพาะตัว ใบเป็นใบเดี่ยว แทงขึ้นจากเหง้าใต้ดิน 2-3 ใบ แผ่ราบไปตามพื้นดิน หรือวางตัวอยู่ในแนวราบเหนือพื้นดินเล็กน้อย ใบมีรูปร่างค่อนข้างกลมหรือรูปไข่ป้อม ปลายใบแหลม โคนใบมนหรือเว้าเล็กน้อย มีขนอ่อนบริเวณท้องใบ บางครั้งอาจพบขอบใบมีสีแดงคล้ำ เนื้อใบค่อนข้างหนา ตัวใบมีขนาดกว้าง 5-10 ซม. ยาว 7-15 ซม. ก้านใบเป็นกาบยาว 1-3 ซม.ดอกออกรวมกันเป็นช่อ ยาว 2-4 ซม.มี 4-12 ดอก ออกตรงกลางระหว่างใบ ดอกมีสีขาว หรือสีขาวอมชมพูแต้มสีม่วง แต่ละดอกมี กลีบประดับ 2 กลีบรองรับอยู่ ซึ่งใบและต้นจะเริ่มแห้งเมื่อมีดอก ผลเป็นผลแห้ง แตกได้ พบมากทางเหนือ ใบอ่อนม้วนเป็นกระบอกออกมาแล้วแผ่ราบบนหน้าดิน ต้นหนึ่งๆ มักมี 1 – 2 ใบ ใบมีรูปร่างทรงกลมโตยาว ประมาณ 5 – 10 ซม. หน้าใบเขียว เปราะหอมแดงจะมีท้องใบสีแดง เปราะหอมขาวจะมีท้องใบสีขาว มีกลิ่นหอม หัวกลมเหมือนหัวกระชาย ใบงอกงามในหน้าฝน และจะแห้งไปในหน้าแล้ง
ส่วนที่ใช้ :
 ใบ ดอก ต้น หัวสดหรือแห้ง
สรรพคุณ :
  • ใบ  -  แก้เกลื้อนช้าง
  • ดอก - แก้โรคตา
  • ต้น - แก้ท้องขึ้นเฟ้อ ขับลม
  • หัว
    - ขับเลือด และหนองให้ตก
    - แก้ลมพิษ แก้ผื่นคัน แก้ไอ แก้บาดแผล
  • หัวและใบ - ใช้ในการปรุงเป็นอาหารได้ แก้ท้องขึ้นอืดเฟ้อ ขับลม
วิธีและปริมาณที่ใช้ - ใช้หัวสด 10-15 กรัม แห้ง 5-10 กรัม หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ต้มกับน้ำ 1 ถ้วยแก้ว ดื่ม 1-2 คร้ง

กลุ่มยารักษาตา คางทูม แก้ปวดหู -เต่าร้าง

เต่าร้าง
ชื่อวิทยาศาสตร์  Caryota mitis Lour.
ชื่อสามัญ  Fishtail Palm, Wart Fishtail Palm
วงศ์  PALMAE
ชื่ออื่น :  เต่าร้างแดง เชื่องหมู่ มะเด็ง งือเด็ง
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ปาล์มแตกกอ ลำต้นขนาด 10-15 เซนติเมตร ใบ ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น เรียงสลับ ใบย่อยรูปสามเหลี่ยมหยักเว้า กว้างประมาณ 13 เซนติเมตร ยาว 20-30 เซนติเมตร ปลายแหลมคล้ายหางปลา โคนใบรูปลิ่ม แผ่นใบสีเขียวเป็นมัน กาบใบ ยาว 0.5-2 เมตร โคนกาบใบมีขนสีน้ำตาลแดงปนเทาหรือสีดำ และรยางค์สีน้ำตาลปกคลุม ดอก สีขาวอมเหลือง ออกเป็นช่อแบบช่อแยกแขนงระหว่างกาบใบหรือใต้โคนกาบใบ ดอกแยกเพศ อยู่ร่วมต้น ช่อดอกยาว 60-80 เซนติเมตร ดอกบานเต็มที่กว้าง 2 เซนติเมตร ผล ผลสดแบบมีเนื้อเมล็ดเดียว ออกเป็นพวงๆ ทรงกลม ขนาด 2 เซนติเมตร ผลสุกสีแดงคล้ำ
ส่วนที่ใช้ :
หัว ราก
สรรพคุณ : หัวและราก มีรสหวานเย็นขม ดับพิษที่ตับ ปอด และหัวใจพิการได้ดี

กลุ่มยารักษาตา คางทูม แก้ปวดหู -ตะลิงปลิง

ตะลิงปลิง
ชื่อวิทยาศาสตร์  Averrhoa bilimbi L.
ชื่อสามัญ  Bilimbing
วงศ์  OXALIDACEAE
ชื่ออื่น :  ลิงปิ้ง หลิ้งปิ้ง หลี้งตี้ง ลีหมิง เฟืองเทศ มะเฟืองตรน หลิงปลิง (ภาคใต้) กะลิงปริง ปลีมิง ลิงปลิง ลิงปลิง (ระนอง) มูงมัง (เกาะสมุย) บลีมิง (มลายู-นราธิวาส)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่มขนาดกลาง สูงประมาณ 5-10 เมตร แตกกิ่งก้านสาขามาก กิ่งก้านเปราะหักง่าย มีขนนุ่มตามกิ่ง ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกมีใบย่อยเรียงตัวกันเป็นคู่ ใบย่อยรูปหอก ปลายใบแหลม โคนมน จะเรียงจากขนาดเล็กไปหาขนาดใหญ่ ที่โคนจะมีขนาดเล็ก ใบกว้างประมาณ 1 เซนติเมตร ยาว 2-5 เซนติเมตร มีสีเขียวอ่อนมีขนนุ่มๆ ปกคลุมอยู่ ดอก ออกเป็นช่อตามลำต้นและกิ่ง (ดอกขนาดเล็กหลายช่อ) แต่ละช่อยาวราว 6 นิ้ว ดอกมี 5 กลีบ มีสีแดงเข้ม มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบสีเขียวอมชมพู เกสรกลางดอกมีสีเขียวแดง ดอกมีกลิ่นหอม ผลกลมยาวเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 เซนติเมตร ผลสีเขียว เป็นพูตามความยาวผล 5 ร่อง ออกเป็นช่อห้อย เมื่อสุกมีสีเหลือง ฉ่ำน้ำ เมล็ดแบน ผลมีรสเปรี้ยวจัด
ส่วนที่ใช้ : ใบสด
สรรพคุณ : ยารักษาคางทูม
วิธีและปริมาณที่ใช้
: ใช้ใบสด 1 กำมือ ตำให้ละเอียด ผสมน้ำเล็กน้อย พอกบริเวณที่บวม พอกวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น เปลี่ยนยาใหม่ทุกครั้ง ในชวานิยมใช้ยานี้มาก

กลุ่มยารักษาตา คางทูม แก้ปวดหู -ข้าวสารเถา

ข้าวสารเถา
ชื่อวิทยาศาสตร์  Raphistemma pulchellum Wall.
วงศ์  ASCLEPIADACEAE
ชื่ออื่น :  ข้าวสารดอกใหญ่, มะโอเครือ, เครือเขาหนัง, ข้าวสารดอกใหญ่  (กรุงเทพฯ); ข้าวสาร (ทั่วไป); เคือคิก (สกลนคร); เซงคุยมังอูหมื่อ , มังอุยหมื่อเซงครึย (กะเหรี่ยง-ลำปาง); มะโอเครือ , เครือเขาหนัง  
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้เลื้อยมียางขาว ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงตรงข้าม รูปไข่หรือรูปหัวใจ โคนใบเว้า ปลายใบแหลมเป็นหาง ขอบใบเรียบ ขนาดกว้าง 4-15 ซม. ยาว6-20 ซม. บริเวณกลางใบด้านบนมีขนขึ้นเป็นกระจุก ก้านใบ ยาว4-12 ซม. ดอกสีขาวหรือครีมออกเป็นช่อซี่ร่มตามซอกใบ ช่อหนึ่งมีดอก4-10 ดอก ก้านช่อดอกยาว 6-10 ซม. กลีบเลี้ยงมี 5 กลีบรูปขอบขนานโคนเชื่อมติดกัน กลีบดอกเชื่อมกันเป็นรูประฆัง แยกเป็น 5 แฉก มีเส้าเกสรสีขาวตรงกลาง ดอกบานเต็มที่กว้างประมาณ 4 ซม. ผลเป็นฝักรูปโค้ง เมล็ดรูปไข่มีขนเป็นพู่ยาวได้ถึง 4 ซม.
ส่วนที่ใช้
ราก
สรรพคุณ ใช้รากปรุงเป็นยา หยอดรักษาตา แก้ตาแดง ตาแฉะ ตามัว
ส่วนที่เป็นพิษ เมล็ดมีสารพวกกลัยโคไสด์ ที่ป็นพิษต่อหัวใจ