Golden Dreams TMS&Herb

วันศุกร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

การดูแลฟัน

การดูแลสุขอนามัยในช่องปาก

         หลักของการดูแลสุขอนามัยในช่องปากประกอบไปด้วยการแปรงฟัน การใช้ไหมขัดฟัน และ การพบทัน๖ืแพทย์เพื่อดูแลฟันอย่างน้อยปีละสองครั้ง
การดูแลสุขภาพในช่องปาก
         การดูแลเหงือกและฟันควรจะเริ่มต้นตั้งแต่ยังเป็นทารกซึ่งจะทำให้ได้ฟันที่แข็งแรงไปตลอดชีวิต การรักษาสุขภาพฟันและเหงือกต้องประกอบไปด้วยการเลือกอาหาร เครื่องดื่ม การเลือกแปรงสีฟัน การแปรงฟันวันละ 2 ครั้ง การใช้ไหมขัดฟันและการพบทันตแพทย์เป็นประจำ
ประโยชน์ของการดูแลสุขภาพปาก
มีวิธีการอะไรบ้างที่จะป้องกันโรคเหงือกและฟัน

กลิ่นปาก

กลิ่นปาก


         กลิ่นปากหรือปากเหม็นเป็นกลิ่นไม่สะอาดที่หายใจออกมา นอกจากจะทำให้เสียความมั่นใจ กลิ่นปากยังเป็นสัญญาณเตือนว่าอาจจะมีโรคประจำตัว
สาเหตุกลิ่นปากก็พบตั้งแต่เรื่องอาหาร โรคของเหงือก ฟัน โรคในช่องปาก และโรคระบบทางเดินหายใจ


กลิ่นปากกลิ่นปาก

         กลิ่นปากหรือปากเหม็น หรือลมหายใจไม่สะอาด หากเกิดขึ้นกับใครก็ทำให้ขาดความมั่นใจ จะปรึกษาใครก็รู้สึกเป็นสิ่งน่าอาย บทความนี้อาจจะช่วยให้ท่านลดกลิ่นปาก ตำแหน่งที่เกิดกลิ่นปากมากที่สุดคือลิ้นเนื่องจากผิวลิ้นหยาบ ดังนั้นหากเกิดกลิ่นปากลองทำความสะอาดลิ้นก่อนเป็นอันดับแรก

กลไกการเกิดกลิ่นปาก

  • เกิดจากเชื้อแบคทีเรียในปากตายทำให้เกิดสาร sulfur ออกมาจึงเกิดกลิ่น
  • แบคทีเรียสลายอาหารที่อยู่ในปาก
  • น้ำลายลดลงทำให้เชื้อแบคทีเรีย หรืออาหารไม่ถูกชะล้าง
สาเหตุ
  • สาเหตุจากในปาก
  • กลิ่นปากตอนตื่นเช้า เป็นเรื่องปกติเพราะปากจะแห้งทำให้มีการหมัหมม สายหน่อยเมื่อมีน้ำลายกลิ่นปากจะลดลง
  • ปากแห้ง เป็นภาวะที่มีน้ำลายน้อยทำให้เกิดการหมักหมม เช่นตื่นนอนตอนเช้า โรคเบาหวาน หรือเกิดจากยา อ่านที่นี่
  • อาหาร เครื่องดื่มและยา สารเคมีในอาหารและยาจะถูกขับออกมา เช่นกลิ่นสุรา กระเทียมเป็นต้น ภาวะนี้จะเป็นชั่วคราว
  • การสูบบุหรี่
  • การอดอาหาร จะทำให้มีกลิ่น keytone
  • สาเหตุุจากโรค เช
ฝ้าขาวสาเหตุจากในปาก

         กลิ่นปากส่วนใหญ่เกิดจากในปาก เชื้อแบคที่เรียย่อยโปรตีนและอาหารทำให้เกิดกลิ่นปาก ปัจจัยที่ส่งเสริมทำให้เกิดกลิ่นปากได้แก่
  • เศษอาหารที่ติดตามซอกฟัน ซึ่งการแปรงฟันไม่สามารถขจัดเศษอาหารเหล่านี้ได้
  • คราบหินปูน และโรคเหงือก ซึ่งจะมีเชื้อแบคทีเรียย่อยอาหารทำให้เกิดกลิ่น
  • ลิ้นสกปรก เป็นฝ้าซึ่งเกิดจากเศษอาหาร หรือเสมหะ ฝ้าเหล่านี้จะมีเชื้อโรคมากมาย การทำความสะอาดลิ้นจะช่วยลดกลิ่นปากลงได้

การดูแลเรื่องกลิ่นปาก

เรื่องอนามัยในช่องปาก
  • การแปรงฟันอย่างน้อยสองครั้งต่อสัปดาห์ แปรงให้ถูกวิธีและไม่แปรงแรงเกินไป อ่านที่นี่
  • การใช้ไหมขัดฟันอย่างน้อยวันละครั้ง อ่านที่นี่ หากจะให้ดีควรจะทำวันละสองครั้ง
  • กหารปรึกษาทันตแพทย์ปีละสองครั้ง
  • ให้รับประทานอาหารครบ 3 มื้อทุกวัน
  • ให้ดื่มน้ำมะนาวซึ่งจะเพิ่มปริมาณน้ำลาย
  • ให้ดื่มน้ำวันละ 8 แก้ว
เรื่องอาหารและเครื่องดื่ม
         อาหารน้ำตาลและที่เป็นกรดจะทำให้เกิดกลิ่นปาก และเกิดฟันผุ ควรจะหลีกเลี่ยงอาหารดังกล่าว
  • ลดปริมาณหรือความถี่อาหารที่มีรสหวาน และไม่ควรจะรับประทานอาหารหวานเป็นของว่าง
  • หลี่กเลี่ยงเครื่องดื่มที่เป็นกรด เช่นน้ำอัดลม น้ำผลไม้ ให้ดื่มไม่ต้องอมเพื่อลดเวลาที่ฟันสัมผัสกรด
  • ให้ดื่มน้ำ ชา หรือนม แทนเครื่องดื่มที่เป็นกรด
  • แปรงฟันหลังจากดื่มเครื่องดื่มที่เป็นกรดไม่เกินหนึ่งชั่วโมง
วิธีอื่นๆที่จะลดกลิ่นปาก
  • หยุดสูบบุหรี่เพราะการสูบบุหรี่จะเป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดโรคเหงือก
  • การใช้น้ำยาบ้วนปากสำหรับผู้ที่ปฏิบัติตัวเป็นอย่างดีแล้วยังมีกลิ่นปาก
  • การทำความสะอาดลิ้น
  • การเคี้ยวหมากฝรั่งชนิดที่ไม่มีน้ำตาล
  • การไม่ดื่มน้ำหรือไม่รับประทานอาหาร ทำให้แบคทีเรียไม่ถูกชะล้างจึงเกิดกลิ่นปาก
  • โรคฟัน เช่นฟันผุ สุขลักษณะช่องปากไม่ดี มีการขังของเศษอาหารในช่องปาก
  • กลิ่นจากอาหารที่รับประทานเข้าไป เช่นกาแฟ สุรา หอมใหญ่ กระเทียม พริก บุหรี่
  • หายใจทางปากเนื่องจากเป็นหวัด
  • โรคระบบทางเดินหายใจ เช่นผีในปอด ไซนัสอักเสบ คออักเสบ เป็นต้น
  • โรคบางชนิดเช่น โรคไต โรคตับ
         ถ้าอาการไม่ดีภายหลังจากได้ปฏิบัติแล้ว 10 วันให้ปรึกษาทันต์แพทย์ หรือแพทย์ของท่าน

จะรู้ได้อย่างไรว่ามีกลิ่นปาก การทดสอบกลิ่นปาก
         ล้างข้อมือด้วยสบู่ให้สะอาดแล้วล้างน้ำจนสะอาด ใช้ผ้าสะอาดเช็ดให้แห้ง เลีย 4 ครั้งหลังจากนั้น 30 นาทีให้ดมว่ามีกลิ่นหรือไม่

กลิ่นปากในเด็ก
         ท่านผู้ปกครองหากเด็กมีกลิ่นปากไม่หาย ท่านไม่ต้องกังวลว่าจะเด็กจะมีโรคเหมือนผู้ใหญ่ เช่น โรคที่ศีรษะ คอ และกระเพาะอาหารเพราะว่าสาเหตุส่วนใหญ่ของกลิ่นปากเกิดจากในปาก สาเหตุที่พบบ่อยได้แก่
  • สุขอนามัยไม่ดี มีเศษอาหารและเชื้อแบคทีเรียเหลือตามซอกฟัน เด็กมักจะมีกลิ่นมากมากในตอนเช้า หากเป็นมากจะมีตอนสาย
  • ฟันผุ บางรายเด็กไม่มีอาการปวดฟันแต่มีฟันผุ
  • ไซนัสอักเสบทั้งเฉียบพลันและเรื้อรังสามารถทำให้เกิดกลิ่นปากได้ นอกจากกลิ่นปากเด็กโดยมากจะเกิดอาการ น้ำมูกไหล ไอกลางคืน
  • คออักเสบ เด็กจะมีไข้เจ็บคอ และมีกลิ่นปาก
  • ภูมิแพ้ทำให้มีเสมหะไหลไปที่คอทำให้เกิดกลิ่นปาก
คำแนะนำ
  • อย่าทำให้เด็กขาดความมั่นใจ ควรใช้โอกาสนี้สอนเด็กแปรงฟัน และล้างปาก
  • เลือกแปรงที่มีขนาดเหมาะกับปากและมีขนอ่อนนุ่มพอควรพร้อมยาสีฟัน ยาสีฟันควรมีสาร fluoride
  • ควรแปรงฟันพร้อมเด็ก ให้เด็กแปรงฟันวันละ 2 ครั้ง
  • สอนเด็กใช้ Dental flossing
  • หากเห็นเศษอาหารติดที่คอก็ให้เด็กกรวกคอบ้วนปาก
  • ให้ตรวจฟันทุกปี
เรื่องที่เกี่ยวข้อง

การคาดเข็มขัดนิรภัย

เข็มขัดนิรภัย
         เมื่อเกิดอุบัติเหตุจราจรทางบกจะทำให้เกิดการสูญเสียชีวิต ร่างกาย อันตรายที่เกิดกับคนมีตั้งแต่ไม่มากเช่นแผลถลอกจนกระทั้งอวัยวะภายในได้รับบาดเจ็บ อาจจะพิการ การป้องกันที่ดีที่สุดคือการป้องกันมิให้เกิดอุบัติเหตุ แต่ก็ไม่สามารถป้องกันได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ การใช้เข็มขัดนิรภัยจะช่วยลดความรุนแรงของการบาดเจ็บ

การเปลี่ยนแปลงเมื่อเกิดอุบัติเหตุ
  1. แรงกระแทกที่เกิดจากรถที่วิ่งเร็ว 60 กิโลเมตรจะเท่ากับรถที่ตกที่สูง 14 เมตรหรือความสูงประมาณตึก 5 ชั้น ตัวรถจะยุบหรือบิดงอ
  2. คนที่อยู่ในรถถ้าไม่คาดเข็มขัดนิรภัยจะเดินทางด้วยความเร็วเท่ากับรถเมื่อชนและหยุด ศีรษะ หน้า ลำตัวของคนในรถจะถูกเหวี่ยงไปกระแทกกับพวงมาลัย และกระจกหน้ารถอาจทำให้หมดสติหรือเสียชีวิต
  3. อวัยวะในร่างกาย เช่นตับ ไต ลำไส้ สมองหรือไขสันหลังซึ่งมีการเคลื่อนไหวอยู่ภายในจะเคลื่อนไหวเท่ากับความเร็วของรถ เมื่อคนในรถหยุด อวัยวะภายในจะกระแทกกันเอง ทำให้ตับ ไต ลำไส้หรือสมองฉีกขาดได้
ใครบ้างที่ควรคาดเข็มขัดนิรภัย
  1. คนที่ขับรถทุกคน
  2. ผู้โดยสารทุกคนไม่ว่าจะนั่งหน้าหรือหลัง
  3. ผู้โดยสารรถขนาดใหญ่ที่มีเข็มขัดนิรภัยควรต้องคาดเช่นกัน
ประเภทของเข็มขัดนิรภัย
  • เข็มขัดนิรภัยที่รัดตรงบริเวณโคนขา รอบสะโพก (lap belt หรือแบบสองจุด) พบได้ในเครื่องบิน สำหรับรถยนต์จะใช้กับที่นั่งตอนหลัง เข็มขัดชนิดนี้ใช้คาดบริเวณต้นขา รอบสะโพก ไม่ควรรัดบริเวณหน้าท้อง
  • เข็มขัดที่คาดผ่านบริเวณสะโพกและไหล่ ( lap shoulder belt หรือแบบ 3 จุด)คาดบริเวณสะโพก บริเวณต้นขา และผ่านเฉียงทางหน้าอกและกระดูกไหปลาร้า
การคาดเข็มขัดนิรภัย

วันจันทร์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2557

การจัดการกับอาการปวดต้นคอ

ปวดต้นคอ
         อาการปวดต้นคอเป็นอาการที่พบบ่อย ปวดต้นคออาจะมีสาเหตุจากกล้ามเนื้ออักเสบเนื่องจากการใช้งานที่ไม่เหมาะสม หรือออาจจะมีสาเหตุจากกระดูกคอเสื่อม

         คอเป็นอวัยวะหนึ่งที่มีการใช้มากที่สุด ยิ่งการทำงานในยุคปัจจุบัน คนต้องทำงานกับคอมพิวเตอร์ต้องก้มหน้าเงยหน้าอยู่ตลอด ประกอบงานปัจจุบันต้องใช้สมองมาก ทำให้เกิดความเครียดจึงเกิดอาการปวดคอ และปวดศีรษะ นอกจากนั้นคอเป็นอวัยวะที่บอบบางเมื่อเทียบกับขนาดสมอง และลำตัว ให้เกิดความชอกช้ำหรือบาดเจ็บได้ง่าย นอกจากนั้นคอก็ยังเป็นศูนย์รวมของเส้นประสาทที่รับคำสั่งจากสมอง ไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย อาการเจ็บคอพบได้ไม่บ่อยเท่าอาการปวดหลัง อาการเจ็บคอที่พบบ่อยที่สุดคือ กล้ามเนื้อคอหดเกร็งทำให้เอี้ยวคอหรือเคลื่อนไหวศีรษะไม่ได้ หรือที่เรียกว่าตกหมอน ซึ่งส่วนใหญ่จะหายเองได้

มารู้จักคอของคนเรา
         คอเป็นอวัยวะที่สำคัญช่วยเชิดหน้าชูตาให้กับเรา คอของเราประกอบด้วยกระดูกคอทั้งหมด 7 ชิ้นเราเรียก cervical spine 1 หรือ C1-7 โดยชิ้นที่1จะอยู่ติดกับกระโหลก ชิ้นที่7จะติดกับกระดูกหน้าอก ระหว่างกระดูกแต่ละชิ้นจะมีหมอนกระดูกขั้นกลาง เมือ่เราคลำส่วนหลังของคอ จะคลำได้เป็นตุ่มๆซึ่งเป็นกระดูกยื่นมาจากส่วนหลังของกระดูกต้นคอ ตรงกลางของกระดูกจะมีรู้เรียก spinal canal ซึ่งเป็นรูที่ให้ประสาทไขสันหลัง spinal cord ลอดผ่าน ระหว่างรอยต่อของกระดูกต้นคอ จะมีช่องให้เส้นประสาทลอดออกไปซึ่งจะนำคำสั่งจากสมองไปยังกล้ามเนื้อ และรับความรู้สึกส่วนต่างๆไปยังสมอง หากรูนี้เล็กลง หรือมีกระดูกงอกไปกดก็จะทำให้มีอาการปวดต้นคอ และปวดแขน

การทำงานของคอ
         การเคลื่อนไหวของข้อต่อต้องอาศัยการหดตัวของกล้ามเนื้อมัดต่างๆ ซึ่งมีผลทำให้ส่วนประกอบของข้อเคลื่อนตามดังนี้
  • หากท่านก้มศีรษะหรือเงยหน้า หมอนกระดูกของคอจะถูกกดไปข้างหน้า และข้างหลัง
  • หากท่านหมุนคอไปทางซ้ายหรือขวา กระดูกคอแต่ละชิ้นจะหมุนตัวมันเองตามทิศทางที่ต้องการ
  • เมื่อตะแคงศีรษะไปทางข้างใดข้างหนึ่ง กระดูกข้างนั้นจะบีบตัวเข้ามาทำให้ช่องที่เป็นทางออกของเส้นประสาทแคบลง
สาเหตุของการปวดคอที่พบบ่อย
  1. อิริยาบทหรือท่าที่ผิดสุขลักษณะ ทำให้กล้ามเนื้อบางมัดถูกใช้งานจนเมื่อยร้าเกินไป เช่นบางคนชอบนั่งก้มหน้า หรือ หรือช่างที่ต้องเงยหน้าอยู่ตลอดเวลา ใช้หมอนสูงเกินไปวิธีแก้ต้องใช้หมอนหนุุต้นคอหรือบริเวณท้ายทอย
  2. ความเครียดทางจิตใจซึ่งอาจจะเกิดจากหลายสาเหตุ เช่นการงาน ครอบครัว การพักผ่อนที่ไม่พอเพียง ซึ่งทำให้กล้ามเนื้อคอหดเกร็ง
  3. คอเคร็ดหรือยอก เกิดจากการที่กล้ามเนื้อคอต้องทำงานมากเกินไป เนื่องจากคอต้องเคลื่อนไหวเร็วเกินไป หรือรุนแรงเกินไปทำให้เอ็นและกล้ามเนื้อถูกยืดมากจนมีการฉีกขาดบางส่วนจนเกิดอาการปวด ตัวอย่างที่ทำให้เกิดคอเคล็ดเช่น การก้มเพื่อมองหาของใต้โต๊ะ การหกล้ม
  4. ภาวะข้อเสื่อม เนื่องจากกระดูกคอต้องแบกน้ำหนักอยู้ตลอดเวลาตั้งแต่เด็กจนแก่ ทำให้ข้อเสื่อมตามอายุมีปุ่มกระดูกหรือกระดูกงอกที่ขอบของข้อต่อ ซึ่งอาจจะไปกดทับถูกปลายประสาทที่โผล่ออกมา ภาวะข้อกระดูกเสื่อมอาจจะไม่มีอาการปวดหรือผิดปกติใดๆ แต่อาจจะพบโดยบังเอิญ
  5. อาการบาดเจ็บของกระดูกคอซึ่งอาจจะเกิดจากอุบัติเหตุต่างๆเช่น ตกที่สูง ถูกทำร้ายร่างกาย รถยนต์หรือรถจักรยานยนต์พลิกคว่ำ ผู้ป่วยมักจะมีอาการบาดเจ็บของร่างกายส่วนอื่นด้วย
  6. ข้ออักเสบ โรคข้ออักเสบเรื้อรังบางชนิดอาจจะทำให้กระดูกต้นคออักเสบด้วย เช่นข้ออักเสบรูมาตอยด์
โรคที่เป็นสาเหตุของอาการปวดต้นคอ
โรคหมอนรองกระดูก Cervical Disc Disease
         หากเราเกิดอุบัติเหตุเช่น รถชนกันทำให้ศีรษะหงายหลัง หรือเกิดจากข้ออักเสบทำให้หมอนรองกระดูกเสื่อมและมีการเลื่อนของหมอนรองกระดูกไปกดทับเส้นประสาท ทำให้เกิดอาการปวดเหมือนไฟช็อกจากต้นแขนไปปลายแขนร่วมกับอาการชา หากไม่รักษาอาจจะทำให้แขนอ่อนแรงถึงกับเป็นอัมพาต หมอนกระดูกทับเส้นประสาท

ท่อไขสันหลังตีบ Cervial stenosis
         เนื่องจากมีการเสื่อมของกระดูกต้นคอและหมอนรองกระดูกทำให้รูในท่อไขสันหลังแคบจึงมีการกดทับประสาทไขสันหลัง ผู้ป่วยจะมีอาการปวดต้นคอ ชามือ เดินเร็วจะปวดขา ทำงานที่มีความละเอียดไม่ได้

กระดูกต้นคอเสื่อม Osteoartgritis
         กระดูกต้นคอก็เหมือนกับกระดูกที่อื่นๆ เมื่อใช้งานมานานก็เกิดการเสื่อมของกระดูก หมอนกระดูกจะบางลง และมีกระดูกงอกเงยออกมา ผู้ป่วยจะมีอาการปวดต้นคอ มักจะเป็นมากในตอนเช้า ปวดต้นคอร้าวไปบริเวณไหล่หรือสะบัก ตอนสายๆอาการจะดีขึ้น

การได้รับอุบัติเหตุ
         ส่วนให้เกิดจากอุบัติเหตุรถหรือมอเตอร์ไซด์ มีการหงายหน้าอย่างรวดเร็วและรุนแรงทำให้มีการช้ำของกล้ามเนื้อ ในรายที่เป็นรุนแรงอาจจะมีหมอนกระดูกทับเส้นประสาท

การดูแลตัวเองเมื่อมีอาการเจ็บคอ
  1. ผู้ที่มีอาการปวดต้นคอหรือที่เรียกว่าตกหมอนส่วนใหญ่จะเกิดจากการได้รับบาดเจ็บของกล้ามเนื้อหรือเอ็นรอบคอ คอจะแข็งอย่างเฉียบพลันหลังจากการเอี้ยว บิด ผิดท่าหรือภายหลังการตื่นนอน การรักษาสามารถทำได้โดย
  • พยายามพัก อย่าเคลื่อนไหวคอ ทางที่ดดีควรจะนอนพัก
  • รับประทานยาแก้ปวด หากไม่มากใช้ยา paracetamol 500 mg. หากปวดมากก็ให้รับประทานยากลุ่ม NSAID
  • ในระยะแรกอาจจะประคบด้วยน้ำแข็งใส่ถุงพลาสติกห่อผ้าขนหนูวางบริเวณที่ปวด หรือจะใช้น้ำอุ่นประคบประมาณ 10-15 นาที
  • การใส่ปลอกคอ มักจะไม่มีความจำเป็น นอกจากจะปวดมากๆ ไม่แนะนำให้มีการจับเส้นในระยะเฉียบพลันเพราะอาจจะเกิดผลเสีย
  1. สำหรับผู้ที่ปวดคอเรื้อรัง อาการปวดมักจะไม่รุนแรง เวลาก้มหรือเงย ตะแคงหรือเอี้ยวคอจะทำให้ปวดเพิ่มขึ้น การดูแลเบื้องต้ได้แก่
  • กินยาแก้ปวด
  • ประคบด้วยน้ำแข็งหรือน้ำอุ่นไว้แล้ว
  • การนวดหรือกดจุด โดยถูกหลักวิชาอาจจะช่วยระงับอาการปวดได้ การนวดง่ายๆอาจทำภายหลังจากการอาบน้ำอุ่นหรือประคบร้อนแล้ว 10-15 นาที
  • เริ่มการฝึกออกกำลังกล้ามเนื้อคอ
อาการเจ็บคอที่ต้องรีบพบแพทย์
         อาการเจ็บคอโดยส่วนใหญ่ไม่อันตรายหายเองได้ แต่ก็มีบางภาวะที่ผู้ป่วยจะต้องรู้และรีบปรึกาาแพทย์
  • อาการปวดต้นคอร่วมกับมีอาการชาหรืออ่อนแรงของแขนหรือขา และอาการอ่อนแรงเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ
  • อาการปวดข้อร่วมกับเบื่ออาหาร น้ำหนักลด
  • มีอาการปวดคอร่วมกับมีไข้สูง คอแข็ง ก้มหน้าเอาคางจรดอกไม่ได้ซึ่งอาจจะเป็นโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
  • อาการปวดต้นคอเป็นตลอดอย่างต่อเนื่อง
  • มีอาการปวดต้นคออย่างมาก
  • อาการเจ็บคอหลังจากได้รับอุบัติเหตุ
การออกกำลังกล้ามเนื้อคอ
         กล้ามเนื้อคอเป็นส่วนสำคัญในการป้องกันและการรักษาการปวดคอเรื้อรังหรือเป็นๆหายหายๆ การบริหารกล้ามเนื้อคอจะแบ่งเป็นสองระยะได้แก่
  • ในระยะแรกจะบริหารเพื่อเพิ่มความยืดยุนของเอ็นและกล้ามเนื้อรอบคอ โดยการเอียงคอไปทางซ้าย ขวา ก้มหน้า เงยหน้า
  • ในระยะต่อมาจึงจะสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อโดยการ ใช้แรงต้านจากมือ
  • การออกกำลังกายโดยทั่วไป นับเป็นส่วนสำคัญข้อหนึ่ง เนื่องจากการออกกำลังกายจะทำให้หัวใจแข็งแรง มีการสูบฉีดโลหิตเพิ่มขึ้น กล้ามเนื้อของร่างกายหลายๆส่วน เช่นกล้ามเนื้อขา หลังจะแข็งแรง กระดูกจะเสื่อมน้อย
การรักษาโดยแพทย์
         ความสำคัญของการรักษาแพทย์จะตรวจว่าหมอนกระดูกได้มีการกดทับเส้นประสาทหรือไม่ หากมีการกดทับมาก ผู้ป่วยเกิดอาการช้า หรืออ่อนแรงแขนหรือขา การรักษาจะต้องทำการผ่าตัดในการวินิจฉัยแพทย์จะถามประวัติเพิ่มเติม และมีการตรวจพิเศษเพื่อยืนยันการวินิจฉัย และหาตำแหน่งของโรค

การรักษาโดยกายภาพ
         การทำกายภาพจะช่วยผ่อนคลายอาการปวดคอให้ท่านได้ โดยวิธีการดังต่อไปนี้
  • การประคบร้อน
  • การใช้เคื่อง ultrasound
  • การอบร้อน Diathermy
  • การใช้ Laser
  • การดึงคอ
  • การนวด
  • การใส่ปลอกคอ
การปฏิบัติตนเพื่อป้องกันการปวดคอ
  1. ระวังอริยาบท ทั้งการยืน การนั่ง การนอน การทำงาน
  2. การทำงานควรหาเวลาหยุดพักเพื่อออกำลังกล้ามเนื้อคอ เคลื่อนไหวคอ หรือเปลี่ยนอิริยบทสัก 2-3 นาทีทุกชั่วโมง
  3. การเลือกเก้าอี้ที่เหมาะสม
  4. การพักผ่อนที่เพียงพอ การเลือกหมอน ที่นอน
  5. การใช้ยา
  6. การบริหารคอ

การจัดการกับอาการปวดหลัง

อาการปวดหลัง Low back pain

        อาการปวดหลังเป็นอาการหนึ่งที่เป็นกันบ่อยๆ ประมาณ 4/5ของผู้ใหญ่จะเกิดอาการปวดหลัง ซึ่งอาจจะมากบ้างน้อยบ้างขึ้นกับความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และการดูแลตัวเอง ผู้ที่มีอาการปวดหลังร้อยละ50จะหายภายใน 2 สัปดาห์ ร้อยละ90 จะหายภายใน 3 เดือน จะพบผู้ป่วยร้อยละ 5-10ที่จะเป็นโรคปวดเรื้อรัง การที่มีอาการปวดหลังไม่ได้หมายความว่าจะมีการทำลายเนื้อเยื่อของร่างกาย การปวดหลังเป็นเพียงเกิดการอักเสบขึ้นที่โครงสร้างของหลัง อาการที่สำคัญที่แสดงว่าเส้นประสาทถูกทำลายและต้องพบแพทย์โดยด่วนได้แก่
  • กลั้นปัสสาวะหรืออุจาระไม่อยู่
  • อ่อนแรงของขา
 บทความนี้จะกล่าวถึงกลไกการเกิดโรคปวดหลัง การป้องกัน การรักษา
ส่วนประกอบของหลังของเรา 
หลังของเรามิได้ประกอบด้วยกระดูกชิ้นเดียวแต่ประกอบไปด้วยกระดูกสันหลังทั้งหมด 24 ชิ้นที่เรียกว่า vertebrae วางซ้อนกันตั้งแต่กระดูกสะโพกถึงกะโหลกศีรษะ ระหว่างกระดูกแต่ละชิ้นจะเนื้อนุ่มเหมือนฟองน้ำขั้นกลางเรียกหมอนรองกระดูก ซึ่งจะรับแรงกระแทกของกระดูก และเพิ่มความคล่องตัวในการเคลื่อนไหว กระดูกสันหลังทำหน้าที่เป็นแกนกลางของร่างกาย กระดูกจะถูกยึดติดเป็นแนวโดยอาศัยกล้ามเนื้อและเอ็น การหดเกร็งกล้ามเนื้อหลังจะทำให้เกิดการเคลื่อนไหว
หน้าอีกอย่างหนึ่งของกระดูกสันหลังคือเป็นทางผ่านของประสาทไขสันหลัง (spinal cord) วิ่งเริ่มต้นจากสมองในกะโหลกศีรษะลงมาในช่องกระดุกสันหลัง และมีเส้นประสาท ( spinal nerve ) ออกบริเวณข้อต่อของกระดูกไปเลี้ยงยังอวัยวะต่างๆ
แพทย์จะแบ่งกระดูกหลังออกเป็นห้าส่วนคือ cervical ,thoracic ,lumbar,sacrum ,coccyx ส่วนที่เคลื่อนไหวได้มากที่สุดคือส่วนเอว(lumbar) และเป็นส่วนที่ทำให้เกิดอาการปวดหลังได้มากที่สุด อวัยวะที่ทำให้เกิดอาการปวดหลังได้แก่
  • รากประสาทที่ออกจากไขสันหลังอาจจะถูกกระตุ้นทำให้มีอาการปวด
  • ปลายประสาทที่เลี้ยงไขสันหลังอาจจะถูกกระตุ้นทำให้มีอาการปวด
  • กล้ามเนื้อหลังอาจเกร็งอยู่ตลอดเวลาทำให้เกิดอาการปวด
  • กระดูกสันหลัง เอ็น และข้อต่อกระดูกสันหลังอาจจะเกิดโรคทำให้ปวด
  • โรคที่เกิดระหว่างกระดูกเช่นหมอนกระดูกทับเส้นประสาท
ดังนั้นการทบทวนโครงสร้างของกระดูกสันหลังจะทำให้เราเข้าใจสาเหตุ กลไกการเกิดอาการปวดรวมทั้งการให้การรักษา ส่วนประกอบสำคัญที่ประกอบเป็นกระดูกสันหลังได้แก่

Vertebral bodies - กระดูกสันหลัง Vertebral bodies

กระดูกสันหลังประกอบด้วยส่วนใหญ่ๆดังนี้
  1. กระดูกต้นคอ cervical spine (neck) มีด้วยกัน 7 ชิ้น สองชิ้นแรกเชื่อมติดกัน หน้าที่ของกระดูกต้นคอสองชิ้นแรก คือการหมุนของคอ ส่วนกระดูก 5 ชิ้นที่เหลือจะเชื่อกันด้วยข้อต่อ 3 แห่งคือส่วนที่กับหมอนรองกระดูกหนึ่งแห่ง และเชื่อมติดกันด้วยข้อต่อ facet joints อีกสองแห่ง
  2. กระดูกหน้าอก thoracic spine (upper back) มีด้วยกัน 12 ชิ้น กระดูกบริเวณนี้ มีการเคลื่อนไหวน้อย เนื่องจากมีกระดูกซี่โครง และกระดูกกลางหน้าอกเชื่อมดังนั้นบริเวณนี้จึงไม่ค่อยมีอาการปวด
  3. กระดูกเอว lumbar spine (lower back) มีด้วยกัน 5 ชิ้นโดยวางอยู่บนหมอนหุ้มกระดูก กระดูกบริเวณนี้จะรองรับน้ำหนักตัวครึ่งหนึ่ง ส่วนน้ำหนักอีกครึ่งหนึ่งรองรับด้วยระบบกล้ามเนื้อ กระดูกบริเวณนี้มีการเชื่อมต่อกันด้วย 3 ข้อต่อเหมือนกันทำให้กระดูกบริเวณนี้สามารถเคลื่อนไหวไก้รอบตัวเช่น การก้ม การหงายไปข้างหลัง การหมุน การโยกออกด้านข้าง การโยกมาข้างหน้าจะใช้ข้อที่กระดูกเอว 50%ที่เหลือใช้ข้อกระดูกสะโพกโดยข้อที่เคลื่อนไหวมากที่สุดคือข้อกระดูกเอวข้อที่3-5 ซึ่งเป็นข้อที่กระดูกเสื่อมมากที่สุด
  4. กระดูก sacrum  เป็นกระดูก 5 ชิ้นเชื่อมติดกันและต่อกับกระกระดูกสะโพกที่เรียกว่า sacroiliac jointมักจะไม่มีอาการปวดเนื่องจากไม่มีการเคลื่อนไหว
  5. กระดูก coccyx หรือกระดูกก้นกบ หากไม่ได้รับการกระทบกระแทกมักจะไม่ปวด


Vertebral discs- หมอนรองกระดูก Vertebral discs

         หมอนรองกระดูกทำหน้าที่รองรับการกระแทก รูปร่างคล้ายโดนัทประกอบด้วย 2 ชั้น ชั้นนอกเหนียวทนทาน ชั้นในอ่อนนุ่ม ส่วนประกอบที่สำคัญคือน้ำพบได้ร้อยละ 80 ตั้งแต่แรกเกิด เมื่ออายุมากขึ้นก็เกิดอาการเสื่อม ปริมาณน้ำลดลงมีการแข็งตัวของหมอนกระดูกซึ่งเป็นไปตามวัย บางคนอาจจะมีอาการปวดหลังมาก
นอกจากหมอนจะเสื่อมตามอายุ ยังมีสาเหตุที่ทำให้เสื่อมก่อนวัยได้แก่การที่มีการบิดอย่างแรงของหมอนกระดูก เช่นคนที่ไปตีกอล์ฟทำให้มีอาการปวดหลัง

A=กระดูกสันหลัง
B=หมอนรองกระดูก

เกิดแแรงบิดทำให้ช่องระหว่างกระดูกแคบลง

Spinal cord and nerve roots - ไขสันหลัง(Spinal cord)และเส้นประสาท (nerve roots)
        เส้นประสาทไขสันหลังทำหน้าที่เชื่อมระหว่างสมองกับอวัยวะอื่น มันออกจากสมองแล้ววิ่งในช่องกระดูกสันหลังผ่านกระดูกคอ กระดูกส่วนอกและสิ้นสุดที่กระดูกอกส่วนล่าง ดังนั้นหากได้รับอุบัติเหตุที่คอ และกระดูกส่วนอก อาจจะทำให้เส้นประสาทไขสันหลังได้รับอันตรายจนเกิดอาการอัมพาต เนื่องจากกระดูกส่วนเอว(lumba spine)ไม่มีเส้นประสาทไขสันหลังแต่มันเป็นที่รวมของรากประสาท(nerve roots)ดังนั้นหากมีหมอนกระดูกทับเส้นประสาทบริเวณนี้ อาจจะทำให้เกิดอาการอ่อนแรงของขาทั้งสองข้าง
รากประสาท จะออกผ่านทางรูระหว่างกระดูก ซึ่งเป็นจุดที่อ่อนแอที่สุดและเป็นจุดที่หมอนกระดูกมักจะกดทับ ตำแหน่งที่หมอนกระดูกมักจะกดทับได้แก่
  1. กระดูดต้นคอ
  • หมอนรองกระดูกกดทับระหว่างกระดูกต้นคอที่4-5จะกดทับรากประสาทคู่ที่ 5 จะมีอาการปวดไหล่ กล้ามเนื้อไหล่อ่อนแรงและอาจจะมีอาการชาบริเวณไหล่
  • หมอนรองกระดูกกดทับระหว่างกระดูกต้นคอที่5-6จะกดทับรากประสาทคู่ที่ 6เป็นตำแหน่งที่พบบ่อย ผู้ป่วยจะมีอาการอ่อนแรงกล้ามเนื้อต้นแขนด้านหน้า (biceps)ทำให้ยกของไม่ขึ้น และกล้ามเนื้อ wrist extensors อ่อนแรงทำให้เราไม่สามารถเหยียดข้อมือ มีอาการปวดหรือชาตั้งแต่แขนลงไปถึงนิ้วหัวแม่มือ
  • หมอนรองกระดูกกดทับระหว่างกระดูกต้นคอที่6-7จะกดทับรากประสาทคู่ที่7 อาการชาและปวดจะอยู่ด้านในของแขนวิ่งไปบริเวณนิ้วกลาง
  • หมอนรองกระดูกกดทับระหว่างกระดูกต้นคอที่7-8จะกดทับรากประสาทคู่ที่8 เส้นประสาทนี้จะเลี้ยงกล้ามเนื้อนิ้วมือทำให้กำหรือเหยียดมือไม่สะดวก จะมีอาการชาหลังมือโดยเฉพาะบริเวณนิ้วก้อย

  1. กระดูกสันหลังส่านหน้าอก บริเวณนี้มักจะไม่เกิดโรคหมอนกระดูกทับเส้นประสาท
  2. กระดูกสันหลังส่วนเอวเป็นตำแหน่งที่พบบ่อยที่สุดโดยเฉพาะบริเวณกระดูกเอวข้อที่4-5 กดทับเส้นประสาทคู้5ของเส้นประสาทที่ไปเลี้ยงบริเวณเอวผู้ป่วยจะกระดกไม่ขึ้น กระดกนิ้วหัวแม่เท้าไม่ขึ้นและมีอาการชาบริเวณดังรูป
Muscles - กล้ามเนื้อหลัง Muscle
        กล้ามเนื้อและเอ็นจะทำหน้าที่ประคับประคองกระดูกสันหลัง หากมีการอักเสบก็จะทำให้มีการหดเกร็งของกล้ามเนื้อทำให้เกิดอาการปวดหลัง การที่มีอาการปวดหลังมากกว่า 2 สัปดาห์อาจจะทำให้เกิดอาการปวดหลังเรื้อรังได้เนื่องจากเมื่อปวด ก็ทำให้ไม่ได้ใช้กล้ามเนื้อกลุ่มนั้น ทำให้กล้ามเนื้อกลุ่มนั้นไม่แข็งแรงผลทำให้ข้อไม่แข็งแรงทำให้ปวดหลังเรื้อรังในที่สุด นอกจากอาการปวดหลังจะเกิดจากตัวกล้ามเนื้อหลัง แล้วยังอาจจะเกิดจากการอักเสบของกล้ามเนื้อขาด้วย เนื่องจากร่างกายจะไปใช้ข้อที่กระดุกหลังมากกว่าข้อที่สะโพก
สำหรับตำแหน่งที่มักจะทำให้เกิดอาการปวดได้แก่
  • บริเวณกระดูกคอ cervical
  • บริเวณกระดูกหน้าอก thorax
  • บริเวณกระดูกเอว lumbar
ส่วนกระดูก sacrum เป็นกระดูก 5 ชิ้นเชื่อมติดกันและต่อกับกระกระดูกสะโพกที่เรียกว่า sacroiliac joint

วันอาทิตย์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2557

การจัดการกับความเครียด

การจัดการกับความเครียด

ความเครียด
         ความเครียดสามารถเกิดได้ทุกแห่งทุกเวลาอาจจะเกิดจากสาเหตุภายนอกเช่น การย้ายบ้าน การเปลี่ยนงาน ความเจ็บป่วย การหย่าร้าง ภาวะว่างงานความสัมพันธ์กับเพื่อน ครอบครัว หรืออาจจะเกิดจากภายในผู้ป่วยเอง เช่นความต้องการเรียนดี ความต้องการเป็นหนึ่งหรือความเจ็บป่วย
เครียดความเครียดเป็นระบบเตือนภัยของร่างกาย ให้เตรียมพร้อมที่กระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง การมีความเครียดน้อยเกินไปและมากเกินไปไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพ ส่วนใหญ่เข้าใจว่าความเครียดเป็นสิ่งไม่ดี มันก่อให้เกิดอาการปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ หัวใจเต้นเร็ว แน่นท้อง มือเท้าเย็น แต่ความเครียดก็มีส่วนดีเช่น ความตื่นเต้นความท้าทายและความสนุก สรุปแล้วความเครียดคือสิ่งที่มาทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงชีวิต ซึ่งมี่ทั้งผลดีและผลเสีย

ชนิดของความเครียด
  1. Acute stress คือความเครียดที่เกิดขึ้นทันที และร่างกายก็ตอบสนองต่อความเครียดนั้นทันทีเหมือนกัน โดยมีการหลั่งฮอร์โมนความเครียด เมื่อความเครียดหายไป ร่างกายก็จะกลับสู่ปกติเหมือนเดิมฮอร์โมนก็จะกลับสู่ปกติ ตัวอย่างความเครียด
  • เสียง
  • อากาศเย็นหรือร้อน
  • ชุมชนที่คนมากๆ
  • ความกลัว
  • ตกใจ
  • หิวข้าว
  • อันตราย
  1. Chronic stress หรือความเครียดเรื้อรังเป็นความเครียดที่เกิดขึ้นทุกวันและร่างกายไม่สามารถตอบสนองหรือแสดงออกต่อความเครียดนั้น ซึ่งเมื่อนานวันเข้าความเครียดนั้นก็จะสะสมเป็นความเครียดเรื้อรัง ตัวอย่างความเครียดเรื้อรัง
  • ความเครียดที่ทำงาน
  • ความเครียดที่เกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
  • ความเครียดของแม่บ้าน
  • ความเหงา
ฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับความเครียด
         เมื่อมีภาวะกดดันหรือความเครียดร่างกายจะฮอร์โมนที่เรียกว่า cortisol และ adrenaline ฮอร์โมนดังกล่าวจะทำให้ความดันโลหิตสูงและหัวใจเต้นเร็วเพื่อเตรียมพร้อมให้ร่างกายแข็งแรง และมีพลังงานพร้อมที่จะกระทำเช่นการวิ่งหนีอันตราย การยกของหนีไฟถ้าหากได้กระทำฮอร์โมนนั้นจะถูกใช้ไป ความกดดัน หรือความเครียดจะหายไป แต่ความเครียดหรือความกดดันมักจะเกิดขณะที่นั่งทำงาน ขับรถ กลุ่มใจไม่มีเงินค่าเทอมลูก ความเครียดหรือความกดดันไม่สามารถกระทำออกมาได้เกิดโดยที่ไม่รู้ตัว ทำให้ฮอร์โมนเหล่านั้นสะสมในร่างกายจนกระทั่งเกิดอาการทางกายและทางใจ

ผลเสียต่อสุขภาพ
         ความเครียดเป็นสิ่งปกติที่สามารถพบได้ทุกวัน หากความเครียดนั้นเกิดจากความกลัวหรืออันตราย ฮอร์โมนที่หลั่งออกมาจะเตรียมให้ร่างกายพร้อมที่จะต่อสู้ อาการทีปรากฏก็เป็นเพียงทางกายเช่นความดันโลหิตสูงใจสั่น แต่สำหรับชีวิตประจำวันจะมีสักกี่คนที่จะทราบว่าเราได้รับความเครียดโดยที่เราไม่รู้ตัวหรือไม่มีทางหลีกเลี่ยง การที่มีความเครียดสะสมเรื้อรังทำให้เกิดอาการทางกาย และทางอารมณ์ อ่านรายละเอียดที่นี่

คุณมีความเครียดหรือไม่
         ถามตัวคุณเองว่ามีอาการเหล่านี้หรือไม่
อาการแสดงทางร่างกาย
มึนงง ปวดตามกล้ามเนื้อ กัดฟัน ปวดศีรษะ แน่นท้อง เบื่ออาหาร นอนหลับยาก หัวใจเต้นเร็ว หูอื้อ มือเย็น อ่อนเพลีย ท้องร่วง ท้องผูก จุกท้อง มึนงง เสียงดังให้หู คลื่นไส้อาเจียน หายใจไม่อิ่ม ปวดท้อง
อาการแสดงทางด้านจิตใจ
วิตกกังวล ตัดสินใจไม่ดี ขี้ลืม สมาธิสั้น ไม่มีความคิดริเริ่ม ความจำไม่ดี ไม่สามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ
อาการแสดงทางด้านอารมณ์
โกรธง่าย วิตกกังวล ร้องไห้ ซึมเศร้า ท้อแท้ หงุดหงิด ซึมเศร้า มองโลกในแง่ร้าย นอนไม่หลับ กัดเล็บหรือดึงผมตัวเอง
อาการแสดงทางพฤติกรรม
รับประทานอาหารเก่ง ติดบุหรี่สุรา โผงผาง เปลี่ยนงานบ่อย แยกตัว

อาการของความเครียด

การแก้ไขเมื่ออยู่ในภาวะที่เครียดมาก
โรคทางกายที่เกิดจากความเครียด
โรคทางเดินอาหาร
โรคหัวใจ
ติดสุรา
ภูมิคุ้มกันต่ำลง
เป็นหวัดง่าย
อุบัติเหตุขณะทำงาน
การฆ่าตัวตายและมะเร็ง
        หากท่านมีอาการเครียดมากและแสดงออกทางร่างกายดังนี้
  • อ่อนแรงไม่อยากจะทำอะไร
  • มีอาการปวดตามตัว ปวดศีรษะ
  • วิตกกังวล
  • มีปัญหาเรื่องการนอน
  • ไม่มีความสุขกับชีวิต
  • เป็นโรคซึมเศร้า
ให้ท่านปฏิบัติตามคำแนะนำ 10 ประการ
  1. ให้นอนเป็นเวลาและตื่นเป็นเวลา เวลาที่เหมาะสมสำหรับการนอนคือเวลา 22.00น.เมื่อภาวะเครียดมาก จะทำให้ความสามารถในการกำหนดเวลาของชีวิต( Body Clock )เสียไป ทำให้เกิดปัญหานอนไม่หลับหรือตื่นง่าย การกำหนดเวลาหลับและเวลาตื่นจะทำให้นาฬิกาชีวิตเริ่มทำงาน และเมื่อความเครียดลดลง ก็สามารถที่จะหลับได้เหมือนปกติ ในการปรับตัวใช้เวลาประมาณ 3 สัปดาห์ บางครั้งเมื่อไปนอนแล้วไม่หลับเป็นเวลา 45 นาที ให้หาหนังสือเบาๆมาอ่าน เมื่อง่วงก็ไปหลับ ข้อสำคัญอีกประการหนึ่งคือให้ร่างกายได้รับแสงแดดยามเช้า เพื่อส่งสัญญาณให้ร่างกายปรับเวลา
  2. หากเกิดอาการดังกล่าวต้องจัดเวลาให้ร่างกายได้พัก เช่นอาจจะไปพักร้อน หรืออาจจะจัดวาระงาน งานที่ไม่สำคัญและไม่เร่งด่วนก็ให้หยุดไม่ต้องทำ
  3. ให้เวลากับครอบครัวในวันหยุด อาจจะไปพักผ่อนหรือรับประทานอาหารนอนบ้าน
  4. ให้เลื่อนการเปลี่ยนแปลงใหญ่ๆในช่วงนี้ เช่นการซื้อรถใหม่ การเปลี่ยนบ้านใหม่ การเปลี่ยนงาน เพราะการเปลี่ยนแปลงจะทำให้เกิดความเครียด
  5. หากคุณเป็นคนที่ชอบทำงานหรือชอบเรียนให้ลดเวลาลงเหลือไม่เกิน 40 ชม.สัปดาห์
  6. การรับประทานอาหารให้รับประทานผักให้มากเพราะจะทำให้สมองสร้าง serotoninเพิ่มสารตัวนี้จะช่วยลดความเครียด และควรจะได้รับวิตามินและเกลือแร่ในปริมาณที่เพียงพอ
  7. หยุดยาคลายเครียด และยาแก้โรคซึมเศร้า
  8. ให้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และอาจจะมีการเต้นรำด้วยก็ดี
หากปฏิบัติตามวิธีดังกล่าวแล้วยังมีอาการของความเครียดให้ปรึกษาแพทย์

ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความเครียด
  • ความเครียดเหมือนกันทุกคนหรือไม่ สิ่งที่กระตุ้นให้เกิดความเครียดในแต่ละคนไม่เหมือนกัน และการตอบสนองต่อความเครียดก็แตกต่างในแต่ละคน
  • ความเครียดเป็นสิ่งไม่ดีจริงหรือไม่ ความเครียดเปรียบเหมือนสายกีตาร์ตึงไปก็ไม่ดี หย่อนไปเสียก็ไม่ไพเราะ เช่นกันเครียดมากก็มีผลต่อสุขภาพเครียดพอดีจะช่วยสร้างผลผลิต และความสุข
  • จริงหรือไม่ที่ความเครียดมีอยู่ทุกแห่งคุณไม่สามารถจัดการกับมันได้ แม้ว่าจะมีความเครียดทุกแห่งแต่คุณสามารถวางแผนที่จะจัดการกับงาน ลำดับความสำคัญ ความเร่งด่วนของงานเพื่อลดความเครียด
  • จริงหรือไม่ที่ไม่มีอาการคือไม่มีความเครียด ไม่จริงเนื่องจากอาจจะมีความเครียดโดยที่ไม่มีอาการก็ได ้และความเครียดจะสะสมจนเกินอาการ
  • ควรให้ความสนใจกับความเครียดที่มีอาการมากๆใช่หรือไม่ เมื่อเริ่มเกิดอาการความเครียดแม้ไม่มากก็ต้องให้ความสนใจ เช่นอาการปวดศีรษะ ปวดท้องเพราะอาการเพียงเล็กน้อยจะเตือนว่าคุณต้องเปลี่ยนแปลงวิธีการดำเนินชีวิตเพื่อลดความเครียด
  • ความเครียดคือโรคจิตใช่หรือไม่ ไม่ใช่เนื่องจากโรคจิตจะมีการแตกแยกของความคิด บุคลิคเปลี่ยนไปไม่สามารถดำเนินชีวิตเหมือนคนปกติ
  • ขณะที่มีความเครียดคุณสามารถทำงานได้อีก แต่คุณต้องจัดลำดับก่อนหลังและความสำคัญของงาน
  • ไม่เชื่อว่าการเดินจะช่วยผ่อนคลายความเครียด การเดินจะช่วยผ่อนคลายความเครียดนั้น
  • ความเครียดไม่ใช่ปัญหาเพราะเพียงแค่สูบบุหรี่ความเครียดก็หายไป การสูบบุหรี่หรือดื่มสุราจะทำให้ลืมปัญหาเท่านั้น นอกจากไม่สามารถแก้ปัญหาแล้วยังก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพในระยะยาวอีกด้วย
เมื่อใดต้องปรึกษาแพทย์
  • เมื่อคุณรู้สึกเหมือนคนหลงทางหาทางแก้ไขไม่เจอ
  • เมื่อคุณกังวลมากเกินกว่าเหตุและไม่สามารถควบคุม
  • เมื่ออาการของความเครียดมีผลต่อคุณภาพชีวิตเช่นการนอน การรับประทานอาหารงานที่ทำความสัมพันธ์ของคุณกับคนรอบข้าง

การใช้ยานิโคติน

การใช้ยานิโคติน

Nicotine inhaler
         โดยการพ่นยาเข้าทางปาก ยาจะถูกดูดซึมทางเยื่อบุในปากและคอ ข้อเสียอาจจะทำให้เกิดอาการไอ

Nicotine spray
         โดยการพ่นยาเข้าในจมูก อาจจะก่อให้ระคายเคืองต่อจมูก

ข้อห้ามใช้นิโคติน
         ผู้ที่มีโรคหัวใจ หรือขณะตั้งครรภ์ควรจะอยู่ในความดูแลของแพทย์โดยใกล้ชิด

การเลิกสูบบุหรี่ด้วยตัวเอง

การเลิกสูบบุหรี่ด้วยตัวเอง
sg
เพราะในบุหรี่หรือยาสูบมีสารนิโคติน ซึ่งออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท-สมอง มีฤทธิ์การเสพติดสูงมาก การสูบบุหรี่ทำให้สมอง และระบบประสาทส่วนกลางได้รับสารนิโคตินรวดเร็วมากคือประมาณ 6 วินาที เร็วกว่าการได้รับยาเสพติดอื่นๆ เร็วกว่าการฉีดเฮโรอินเข้าเส้นเลือดเสียอีก
เมื่อสมองและระบบประสาทส่วนกลางได้รับสารนิโคตินอย่างรวดเร็วง่ายดายและฤทธิ์เสพติดของบุหรี่ ทำให้มีความพอใจ มีความอยากบุหรี่เมื่อระดับนิโคตินในเลือดลดต่ำลง
แต่โดยที่การสูบบุหรี่ส่วนหนึ่งเป็นการติดพฤติกรรม หรือความเคยชินต่อพฤติกรรมการสูบบุหรี่ที่คุ้นเคยมาเป็นระยะเวลาหนึ่ง ทำให้ยากต่อการละ-เลิก แต่ก็ไม่ยากเกินความสามารถ หากเราต้องการจะเอาชนะใจตนเองให้ได้

เลิกสูบบุหรี่แล้วดีอย่างไร
         ในสัปดาห์แรกที่เลิกสูบบุหรี่ จะมีอาการอยากบุหรี่อยู่ สัปดาห์ต่อมาอาการอยากจะน้อยลง ความอยากจะหายไปและต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรม จริงจัง ตั้งใจเลิกพฤติกรรมที่เคยชินต่อการสูบบุหรี่ เช่น ดื่มกาแฟ ดื่มสุรา นั่งเล่นที่โต๊ะอาหารหลังอิ่ม หากคุณคิดอยากเลิกสูบบุหรี่ คงอยากทราบว่าโดยทั่วไปมีวิธีอะไรบ้าง
  1. การดูแลตัวเอง พร้อมความตั้งใจสูง กำลังใจของผู้ต้องการเลิกบุหรี่เอง และบุคคลรอบข้าง
  2. การให้สุขศึกษา เข้าคลินิกอดบุหรี่ อาจเป็นกลุ่มหรือรายบุคคล
  3. การใช้ยาช่วยระงับ ลด อาการเครียด เช่นยานอนหลับ
  4. การใช้สารนิโคตินทดแทน ในรูปแบบต่างๆเช่นหมากฝรั่ง แผ่นแปะผิวหนังนิโคติน
  5. การฝังเข็มช่วยลดอาการอยาก คลายอาการหงุดหงิด
  6. รับคำปรึกษาจากแพทย์
  7. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเอง
  8. การใช้สื่อต่างๆสร้างพลัง-กำลังใจ การรวมกลุ่มโปรแกรมอดบุหรี่สำหรับชุมชน
เมื่อคุณเลิกบุหรี่
         ร่างกายและปอดของคุณจะปลอดจากสารพิษในควันบุหรี่ ปอดจะโปร่งจากนิโคติน สารทาร์หรือน้ำมันดิน ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ก๊าซและสารเคมีอื่นๆอีกหลายพันชนิด ทางเดินหายใจจะรู้สึกโล่ง สะดวกกว่าเดิมภายใน 2 สัปดาห์ เสมหะจะลดลง ลดความเสี่ยงต่อโรคติดเชื้อทางเดินหายใจ เช่นคออักเสบ หลอดลมอักเสบ เนื่องจากไม่มีควันบุหรี่ที่เป็นสารก่อระคายเคือง และเสี่ยงต่อการที่ทำให้ติดเชื้อมากขึ้น ที่สำคัญคือลดอัตราเสี่ยงต่อมะเร็งของอวัยวะต่างๆ ลดโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ โรคถุงลมโป่งพอง

วิธีเลิกบุหรี่ด้วยตัวเอง
         โดยส่วนใหญ่ ผู้ที่เลิกบุหรี่ได้ เลิกได้ด้วยตัวเองโดยไม่จำเป็นต้องใช้ยา หรือสารนิโคตินแทนบุหรี่ การใช้สารนิโคตินทดแทนมิได้หมายความว่าจะสามารถเลิกบุหรี่ได้ทุกคน ความตั้งใจจริง กำลังใจการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเอง การลดความเครียดช่วงที่อยากบุหรี่ ลดอาการอยากบุหรี่ เบี่ยงเบนความสนใจความอยากบุหรี่ได้

วิธีที่ผู้เลิกสูบบุหรี่ได้สำเร็จแนะนำคือ
  1. เตรียมตัว ตั้งใจแน่วแน่ ว่าต้องเลิกบุหรี่ด้วยตัวเอง เตรียมความพร้อมทังร่างกายและจิตใจ
  • ให้จดบันทึกเวลาและเหตุผลการสูบบุหรี่ จดเหตุการณ์ที่ทำให้อยากสูบบุหรี่ เช่นการดื่มสุรา กาแฟ สูบขณะขับรถ
  • เปลี่ยนพฤติกรรม เช่นเก็บบุหรี่ไว้อีกที่หนึ่ง ใช้มืออีกข้างสูบแทน ขณะสูบบุหรี่ไม่ต้องทำอะไรให้นึกว่าทำไมถึงสูบ
  • ให้สูบนอกอาคาร
  • เมื่ออยากสูบบุหรี่ให้รอสัก2-3 นาทีคิดเรื่องอื่นเพื่อเปลี่ยนความสนใจหรือเคี้ยวหมากฝรั่งและดื่มน้ำมากๆ
  • ซื้อบุหรี่ครั้งละซองและซื้อชนิดที่ไม่เคยสูบ
  1. กำหนดวัน"ปลอดบุหรี่"ของตนเองอาจจะเป็นวันสำคัญทางศาสนา วันเกิดของตนเอง หรือบุตร-ภรรยา ไม่ควรเลือกช่วงที่เครียด ควรหาใครบางคนรับรู้และคอยช่วยเหลือ
  2. แจ้งแก่คนในครอบครัว ที่ทำงาน นายจ้าง เพื่อนสนิท เพื่อนร่วมงาน เพื่อให้กำลังใจเป็นแรงสนับสนุนให้เลิกได้สำเร็จ
  3. เมื่อถึงวันสำคัญ ที่กำหนดแล้วว่า"วันปลอดบุหรี่"ให้หยุดเลย 
  • ทิ้งบุหรี่และอุปกรณ์ทั้งหมด เพื่อไม่ให้สิ่งเหล่านั้นมากระตุ้นให้อยากบุหรี่อีก
  • เปลี่ยนพฤติกรรม เช่นไม่ดื่มกาแฟ
  • ให้งดสุรา กาแฟ อาหารรสจัด ละเว้นการรับประทานอาหารให้อิ่มจนเกินไป 
  • ไม่ควรนั่งที่โต๊ะอาหารนานเกินไป เพราะหลังอาหารทุกมื้อจะอยากบุหรี่อีก 
  • ควรดื่มน้ำผลไม้ เช่นน้ำส้ม น้ำมะนาว เพราะความเป็นกรดจะชะล้างนิโคตินออกไป
  • เมื่ออยากสูบบุหรี่ให้หางานอย่างอื่นทำ เคียวหมากฝรั่ง หรือไปในที่ๆสูบบุหรี่ไม่ได้ เช่นโรงหนัง รถเมล์ ขี่จักรยาน เดินเล่น โทรคุยกับเพื่อน
  • ให้รางวัลตัวเองเมื่ออดบุหรี่ได้โดยไปดูหนัง
  1. เมื่อเริ่มเลิกบุหรี่ได้แล้ว
  • ในช่วงแรกที่อดบุหรี่อาจจะรู้สึกหงุดหงิด ให้สูดหายใจเข้าออกลึกๆ ดื่มน้ำมากๆเพื่อลดความอยากหรืออาจจะอาบน้ำถ้าเป็นไปได้
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ หางานอดิเรกทำเพื่อคลายเครียด เพราะส่วนใหญ่หลังเลิกบุหรี่ น้ำหนักตัวจะเพิ่มขึ้น การออกกำลังกาย การควบคุมอาหาร อดอาหารหวาน ลดอาหารไขมัน จะเป็นการคุมน้ำหนักได้อีกทางหนึ่ง
  • ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ทำประจำตอนสูบบุหรี่ เลี่ยงสถานการณ์ สถานที่ที่เคยสูบบุหรี่เป็นประจำ
  • ฝึกปฏิเสธ ซ้อมพูดกับตัวเอง เพื่อนฝูง"ไม่ครับ" "ผมไม่สูบ""นายแน่มากที่เลิกสูบบุหรี่ได้"
  • ให้นึกถึงสิ่งที่ดีๆเมื่ออดบุหรี่ได้
  • เมื่อเกิดความเครียดหรือปัญหาให้หาทางแก้ไขและบอกตัวเองว่าบุหรี่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้อีกต่อไปแล้ว
  • หยอดกระปุกให้ลูกเมื่อไม่ได้สูบบุหรี่
  • หากท่านล้มเหลวครั้งแรกให้พยายามใหม่ มีหลายคนที่สามารถประสบผลสำเร็จเมื่อมีความพยายาม
  • บอกเพื่อนร่วมงานหรือครับครัวว่า ห้ามสูบบุหรี่ใกล้ตัว ห้ามหยิบยื่นบุหรี่ ห้ามทิ้งบุหรี่ไว้ให้เห็น ห้ามชักชวนให้สูบบุหรี่
  • ปิดประกาศหน้าห้องว่า"เขตปลอดบุหรี่"
  • ใช้เวลาส่วนใหญ่ในที่ๆสูบบุหรี่ไม่ได้
  • หลีเลี่ยงกาแฟ สุรา อาหารรสจัด
อาการที่เกิดขึ้นจากการอดบุหรี่ และวิธีแก้ไข
  1. หงุดหงิด งุ่นง่าน อยากสูบบุหรี่จนแทบคุมไม่ได้เพราะร่างกายคุณติดนิโคติน และนี่เองเป็นสาเหตุให้คุณอยากสูบบุหรี่ การแก้ไข
  • ดื่มน้ำให้มากที่สุด ดื่มบ่อยๆเพื่อชำระนิโคตินออกจากร่างกายให้หมดไปให้เร็วที่สุด
  • ออกกำลังกาย เช่นเดินเร็วๆ ปั่นจักรยาน เพื่อช่วยผ่อนคลาย เหงื่อจะช่วยขับนิโคตินออกไป
  • อาบน้ำอุ่น และถูตัวด้วยผ้าขนหนูให้ทั่วตัวจะทำให้ผ่อนคลายได้ดี
  • พูดคุยกับคนข้างเคียงที่คุ้นเคย เพื่อระบายความหงุดหงิดออกไปบ้าง
  • งดเว้นอาหารจากเนื้อสัตว์ อาหารติดมัน และอาหารรสจัดต่างๆ
  1. ง่วง กระสับกระส่าย ไม่มีสมาธิในการใช้ความคิด การแก้ไข
  • นอนหลับ หรือนั่งเพื่อผ่อนคลายในห้องที่เงียบๆ ฟังเพลงเบาๆผ่อนความรู้สึกสับสนออกไป
  • งดเว้นงานที่ต้องใช้ความคิดมากๆ
  • พักร้อนหรือลาครึ่งวันเพื่อพักผ่อน
  • ดื่มนมอุ่นๆ
  1. โกรธ ขุ่นเคืองง่าย การแก้ไข
  • อดทนกับอารมณ์ของตัวเอง บอกคนข้างเคียงให้ทราบ และขอร้องให้อดทน เข้าใจคุณ
  • แสดงออกในทางสร้างสรรค์ เช่นเต้นรำ เล่นกีฬา ออกกำลังกาย
  • ถ้าทนไม่ไหวให้ทุบหมอน ชกหมอน เข้าห้องน้ำตะโกนก็ช่วยได้
  • เขียนระบายความรู้สึกในสมุดบันทึก
  • คุยปัญหากับเพื่อนสนิท
  1. หมดแรง ปวดศีรษะ ไอมีเสมหะ เจ็บคอ หายใจผิดปกติ บุหรี่เป็นตัวกระตุ้น เมื่อไม่ได้สูบทำให้หมดแรงเป็นธรรมดา วิธีแก้ไข
  • หากิจกรรมที่กระตุ้นความรู้สึกมีชีวิตชีวาขึ้น เช่นออกกำลังกาย เต้นรำ
  • พักผ่อนด้วยวิธีการนอนหรือออกไปสูดอากาศธรรมชาติ
  • ดื่มน้ำอุ่น หรือน้ำผลไม้จะช่วยให้ชุ่มคอ
  • รับประทานยาแก้ปวด
         อาการทางกายเหล่านี้เป็นการเปลี่ยนแปลงทางเคมีเพื่อปรับตัวสู่ภาวะปกติเท่านั้น อย่าตกใจ อาการจะเป็นชั่วคราวประมาณ 72 ชั่วโมงเท่านั้น

วันเสาร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2557

สูบบุหรี่มือสอง

สูบบุหรี่มือสอง
         คุณไม่สูบุหรี่แต่คุณก็มีสิทธิ์เป็นโรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่ หากคุณอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่คนสูบบุหรี่เราเรียกคนที่ได้รับบุหรี่ โดยที่ไม่ได้สูบว่า

ประโยชน์ของการเลิกบุหรี่
  1. การหยุดสูบบุหรี่เป็นผลดีต่อสุขภาพอย่างมาก และเป็นผลดีที่เกิดทันทีที่เลิกบุหรี่ทั้งในเพศชายและหญิง ไม่ว่าจะป่วยจากโรคจากการสูบบุหรี่แล้วหรือไม่ก็ตาม
  2. ผู้ที่เลิกบุหรี่จะมีอายุยาวกว่าผู้ที่ยังคงสูบบุหรี่ต่อไปโดยผู้ที่เลิกบุหรี่ก่อนอายุ 50 ปี จะมีโอกาสเสียชีวิตเพียงครึ่งหนึ่งของผู้ที่ยังสูบต่อ
  3. การเลิกบุหรี่จะลดโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปอด มะเร็งระบบอื่นๆหัวใจวายกะทันหัน เส้นเลือดสมองตีบตันกะทันหัน โรคถุงลมโป่งพองและโรคปอดเรื้อรังอื่นๆ
  4. ผู้หญิงที่หยุดสูบบุหรี่ก่อนตั้งครรภ์หรือระหว่าง 3-4 เดือนแรกของการตั้งครรภ์จะลดความเสี่ยงที่ลูกจะมีน้ำหนักแรกคลอดน้อยกว่าปกติ
  5. ผลดีต่อสุขภาพจากการหยุดสูบบุหรี่มีมาก น้ำหนักเพิ่มขึ้น ซึ่งจะเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 2.3กิโลกรัม
  6. ความเสียงของการเสียชีวิตจะลดลงอย่างรวดเร็วเมื่อหยุดสูบบุหรี่

การหยุดสูบบุหรี่กับการเกิดมะเร็งทางเดินหายใจ
  1. การหยุดสูบบุหรี่ลดอัตราการเกิดมะเร็งปอดเมื่อเทียบกับผู้ที่ยังคงสูบบุหรี่ต่อไป โดยพบว่าหลังหยุดสูบบุหรี่ 10ปี ความเสียงของการเกิดมะเร็งปอดจะเท่ากับร้อยละ30-50ของผู้ที่ยังสูบต่อไป
  2. การลดอัตราเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปอดในผู้ที่หยุดสูบบุหรี่ พบทั้งชายและหญิง ทั้งผู้ที่สูบบุหรี่ธรรมดาและบุหรี่ก้นกรอง
  3. การหยุดสูบบุหรี่ลดอัตราการเกิดมะเร็งที่คอ และกล่องเสียง
  4. การหยุดสูบบุหรี่ ลดความผิดปกติที่จะกลายเป็นมะเร็งระยะแรกของเยื่อบุลำคอ กล่องเสียงและปอด

การหยุดสูบบุหรี่กับการเกิดมะเร็งระบบอื่นๆ
  1. หลังจากหยุดสูบบุหรี่ 5 ปี อัตราเสี่ยงของการเกิดมะเร็งช่องปากและหลอดอาหารส่วนต้นจะลดลงครึ่งหนึ่งเมื่อเทียบกับคนที่สูบต่อ และอัตราเสี่ยงยังคงลดลงต่อไปหลังจากหยุดสูบเกิน 5 ปี
  2. การหยุดสูบบุหรี่ลดอัตราการเกิดมะเร็งตับอ่อน การลดนี้จะพบเมื่อหยุดบุหรี่มากกว่า 10 ปีขึ้นไป
  3. อัตราเสี่ยงต่อมะเร็งปากมดลูกลดลงอย่างมากในหญิงที่เลิกบุหรี่ แม้ว่าจะหยุดเพียง 2-3 ปี

การหยุดสูบบุหรี่กับการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
  1. การหยุดสูบบุหรี่จะลดอัตราการเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบลงได้ครึ่งหนึ่งหลังจากหยุดสูบได้ 1 ปีและจะลดลงอย่างช้าๆต่อไป หลังจากหยุด 15 ปีความเสี่ยงจะเหมือนผู้ที่ไม่ได้สูบบุหรี่
  2. ในผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเส้นเลือดหัวใจตีบ การหยุดสูบบุหรี่ การหยุดบุหรี่จะลดโอกาสของการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตาย และโอกาสการเสียชีวิตกะทันหันอย่างมาก รายงานการวิจัยพบว่าโอกาสเสียชีวิตก่อนวัยอันควรลดลงถึงร้อยละ 50
  3. การหยุดสูบบุหรี่จะลดโอกาสการตีบตันของหลอดเลือดส่วนอื่นๆของร่างกาย เช่นเส้นเลือดตีบตันที่ขา
  4. การหยุดสูบบุหรี่ลดความเสี่ยงของการเกิดลมปัจจุบันจากเส้นเลือดสมองตีบและแตก ความเสี่ยงนี้จะลดลงเท่ากับผู้ที่ไม่เคยสูบบุหรี่ภายในเวลา 5 ปีแต่บางรายอาจต้องใช้เวลาถึง 15 ปีความเสียงจึงลดลงเหมือนผู้ที่ไม่เคยสูบบุหรี่

การหยุดสูบบุหรี่กับโรคปอดชนิดอื่นๆ
  1. การหยุดสูบบุหรี่จะลดอาการไอ ลดจำนวนเสมหะ ลดอาการหายใจเสียงหวีด ลดการติดเชื้อทางเดินหายใจ เช่น หลอดลมอักเสบและปอดบวม
  2. ในผู้ที่ยังไม่เป็นถุงลมโป่งพอง การหยุดสูบบุหรี่จะทำให้สมรรถภาพปอดดีขึ้นร้อยละ5ภายใน2-3เดือนหลังเลิกบุหรี่
  3. ผู้ที่หยุดสูบบุหรี่อย่างถาวร อัตราการเสียชีวิตจากโรคถุงลมโป่งพองลดลงเมื่อเทียบกับผู้ที่สูบต่อ
การหยุดสูบบุหรี่และการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักตัว
  1. น้ำหนักตัวเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 2.3 กิโลกรัมซึ่งไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ มีเพียงร้อยละ 3.5ที่น้ำหนักเพิ่มกว่า 9 กิโลกรัม สาเหตุที่เพิ่มเกิดจากการรับประทานอาหารมากเกินไป
  2. การออกกำลังกายสม่ำเสมอ รับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคโดยลดไขมัน อาหารทอดจะทำให้คุมน้ำหนักได้
การหยุดสูบบุหรี่และการเจริญพันธุ์
  1. หญิงที่หยุดสูบบุหรี่ก่อนการตั้งครรภ์จะให้กำเนิดบุตรที่มีน้ำหนักใกล้เคียงเด็กปกติ
  2. ถึงแม้จะมีการลดจำนวนบุหรี่ระหว่างการตั้งครรภ์ บุตรที่คลอดออกมาก็จะมีน้ำหนักตัวน้อยเหมือนกับผู้ที่ไม่ได้ลดจำนวนบุหรี่ลง
  3. การสูบบุหรี่จะทำให้ประจำเดือนหมดเร็วขึ้น 1-2 ปี
การเปลี่ยนแปลงด้านจิตใจและพฤติกรรมหลังการหยุดสูบบุหรี่
  1. ในระยะแรกของการหยุดสูบบุหรี่มักจะมีความกังวล หงุดหงิดอารมณ์ร้อน โกรธง่าย ไม่มีสมาธิ อยากอาหารมาก มีความอยากสูบบุหรี่ตลอดเวลา อาการเหล่านี้จะหายไปในระยะเวลาอันสั้น แต่ความรู้สึกอยากบุหรี่และความรู้สึกว่ารสชาติอาหารดีขึ้นจะยังคงอยู่ต่อไประยะหนึ่ง
  2. ในระยะแรกของการหยุดสูบบุหรี่ สมรรถภาพของการทำงานง่ายๆหลายชนิดที่ต้องใช้สมาธิจะลดลงเป็นเวลาสั้นๆ แต่ไม่พบความผิดปกติของความจำ และความสามารถในการเรียนรู้ และการทำงานที่ใช้ความสามารถสูงๆอื่นๆภายหลังสูบบุหรี่
  3. เมื่อเทียบระหว่างผู้ที่ยังสูบบุหรี่กับผู้ที่หยุดแล้ว พบว่าผู้ที่หยุดสูบมีความมั่นใจในตัวเองสูงกว่า และควบคุมตัวเองได้ดีกว่า
  4. ผู้ที่หยุดสูบบุหรี่แล้วมีพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรคอื่นๆมากกว่าผู้ที่ยังสูบบุหรี่ต่อไป

ผลเสียของการสูบบุหรี่


ผลเสียของการสูบบุหรี่
sd
         ทุกปีจะมีผู้เสียชีวิตจากบุหรี่ปีละ 400000
คนหรืออาจจะมากว่านั้นแต่ละปีรัฐบาลต้องเสียงบประมาณเป็นค่ารักษาโรคที่เกิดจากบุหรี่มากมาย โทษของบุหรี่สมัยนี้มีมากว่าสมัยก่อนหลายเท่าเนื่องจากบุหรี่ปัจจุบันมีสารนิโคตินและ tar ต่ำทำให้คนสูดบุหรี่เข้าปอดให้ลึกๆ
         ผู้ที่อยู่กับผู้ที่สูบบุหรี่ก็ได้รับผลเช่นเดียวกันเราเรียกกลุ่มนี่ว่าสูบบุหรี่มือสอง ควันที่ออกจากผู้สูบบุหรี่จะมีสารที่มีขนาดเล็กสามารถเข้าปอดของผู้สูบบุหรี่มือสองผลเสียของการสูบบุหรี่ได้แก่
  1. โรคหัวใจ
การสูบบุหรี่จะทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ผู้ที่สูบบุหรี่จะเพิ่มอัตราการเกิดโรหัวใจ 5 เท่าเมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ ผู้ที่สูบบุหรี่จะมีระดับไขมัน HDL-Cholesterol(ไขมันซึ่งป้องกันหลอกเลือดแดงตีบ)ต่ำ และยังกระตุ้นระบบประสาทอัตโนมัติทำให้หัวใจและหลอดเลือดเกิดโรค ยิ่งสูบมากยิ่งมีโอกาสเกิดโรคมาก โดยเฉพาะคุณผู้หญิงที่สูบบุหรี่จะมีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจมากกว่าผู้ชายที่สูบบุหรี่เนื่องจาการสูบบุหรี่มีผลต่อระดับฮอร์โมน estrogen มีรายงานว่าผู้ที่สูบุหรี่มือสองเมื่ออยู่ในห้องที่สูบบุหรี่เพียงครึ่งชั่วโมงระดับของสารต้านอนุมูลอิสระในเลือดเช่นวิตามิน ซีจะมีระดับลดลง
  1. โรคมะเร็ง 
 ร้อยละ30ของผู้ป่วยมะเร็งจะสูบบุหรี่ ผู้ป่วยมะเร็งปอดจะสูบุหรี่ร้อยละ85 ผู้ที่สูบบุหรี่มือสองจะมีการเพิ่มขึ้นของมะเร็งปอดร้อยละ 25 ผู้ที่สูบุหรี่ที่มีไส้กรองจะมีอุบัติการณ์ของมะเร็งปอดชนิด adenocarcinoma สูงเนื่องจากผู้ป่วยจะสูดเข้าแรงมากทำให้สารก่อมะเร็งเข้าสู่ปอด ผู้ที่สูบบุหรี่ที่ใส่ menthol ก็มีโอกาสเป็นมะเร็งปอดสูง นอกจากมะเร็งปอดแล้วบุหรี่ยังก่อให้เกิดมะเร็งที่คอ ปาก หลอดอาหาร ไตกระเพาะปัสสาวะ มดลูก

  1. โรคอัมพาตและสมองเสื่อม
ผู้ที่สูบบุหรี่วันละซองจะมีโอกาสเสี่ยงต่อโรคอัมพาต2เท่าครึ่งเมื่อเทียบกับคนที่ไม่สูบ และยังพบว่าปัจจัยเสี่ยงยังคงมีอยู่หลังหยุดสูบบุหรี่ 14 ปี นอกจากนั้นยังพบโรคสมองเสื่อมเพิ่มในผู้ที่สูบบุหรี่
  1. โรคปอด
ปีหนึ่งจะมีผู้ที่สูบบุหรี่เสียชีวิตจากโรคถุงลมโป่งพอง ปอดบวม หลอดลมอักเสบเป็นจำนวนมาก
  1. การตั้งครรภ์และทารก
ผู้ที่สูบบุหรี่วันละซองโดยเฉพาะที่เริ่มสูบตั้งแต่อายุ 18 ปีจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรค เป็นหมัน ครรภ์นอกมดลูกและการแท้งและยังเพิ่มอัตราการตายในทารก การสูบบุหรี่จะไปลดกรดโฟลิก กรดโฟลิกจะมีส่วนช่วยป้องกันความพิการแต่กำเนิด ลูกที่เกิดจากแม่ที่สูบบุหรี่มักจะมีน้ำหนักตัวน้อยกว่าปกติ
สำหรับเด็กที่เติบโตในสิ่งแวดล้อมที่พ่อหรือแม่ที่สูบบุหรี่จะมีอุบัติการณ์การเกิดโรคหอบหืด โรคหลอดลมอักเสบ ปอดบวม เพิ่มขึ้นร้อยละ50
  1. การสูบบุหรี่กับสุขภาพช่องปาก
การสูบบุหรี่สามารถทำให้โรคมะเร็งในช่องปากและโรคเหงือก โดยควันบุหรี่จะทำลายเนื้อเยื่อที่ยึดระหว่างเหงือกและฟันทำให้เหงือกร่น ทำให้ดื่มน้ำร้อนหรือน้ำเย็นจะเสียว เกิดฟันผุ ทำให้แผลหายช้า มีกลิ่นปาก มีคราบบุหรี่ติดที่เหงือกและฟัน
  1. การสูบบุหรี่กับโรคกระดูกและกล้ามเนื้อ
โรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่เป็นโรคที่สามารถป้องกันได้ ผู้ที่สูบจะมีอายุสั้นกว่าผู้ที่ไม่สูบประมาณ 7-10ปี บุหรี่นอกจากจะทำให้เกิดโรคมะเร็ง โรคหัวใจและหลอดเลือดยังก่อให้เกิดโรคข้อและกระดูกดังนี้
  • โรคกระดูกพรุน การสูบบุหรี่จะลดเลือดที่ไปเลี้ยงกระดูก นิโคตินที่อยู่ในบุหรี่ยังลดการสร้างกระดูกและลดการดูดซึมแคลเซียมทำให้ผู้ที่สูบมีโรคกระดูกพรุน กระดูกหักง่าย
  • การสูบบุหรี่ทำให้กระดูกสะโพกหักง่ายเนื่องจากกระดูกพรุน
  • การสูบบุหรี่ทำให้เกิดการอักเสบของข้อและกระดูกจากการออกกำลังได้ง่าย มีการฉีกของเอ็นและกล้ามเนื้อ
  • การสูบบุหรี่ทำให้กระดูกที่หักต่อติดกันได้ยากและทำให้แผลหายช้า
  • การสูบบุหรี่ทำให้ประสิทธิภาพของนักกีฬาลดลงเนื่องจากการทำงานของปอดสู้ผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ไม่ได้ ผู้ที่สูบบุหรี่จะหายใจมากกว่าผู้ที่ไม่สูบ 3 ครั้ง
  • ผู้ที่สูบบุหรี่มีโรคปวดหลังมากกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่
  1. การสูบบุหรี่กับโรคทางเดินอาหาร
         การสูบบุหรี่ทำให้เกิดโรคร้ายแรงมากมาย และมีการเปลี่ยนแปลงระบบต่างๆรวมทั้งระบบอาหาร โรคทางเดินอาหารที่สัมพันธ์กับบุหรี่มีดังนี้

Heartburn 
         หรือคนไทยเรียกร้อนใน ผู้ป่วยจะมีอาการจุกหน้าอก เกิดจาการที่บุหรี่ทำให้หูรูดที่กั้นระหว่างกระเพาะและหลอดอาหารหย่อนตัว กรดจากกระเพาะล้นเข้าไปยังหลอดอาหารทำให้เกิดการอักเสบ

Peptic Ulcer
         เชื่อว่าบุหรี่ทำให้เกิดการติดเชื้อ Helicobacter pylori (H.pylori)ได้ง่าย เชื้อดังกล่าวเป็นสาเหตุของโรคกระเพาะอาหาร นอกจากนั้นการสูบบุหรี่ยังทำให้ตับอ่อนไม่สามารถสร้างด่างได้มากพอ กรดที่มาจากกระเพาะจึงมีความเป็นกรดมากจึงทำให้เกิดแผลโดยเฉพาะแผลที่ลำไส้เล็กส่วนต้น duodenal ulcer และจะหายยากกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่

โรคตับ
         ตับมีหน้าที่กำจัดของเสียออกจากร่างกาย มีหลักฐานว่าการสูบบุหรี่จะทำให้ความสามารถในการกำจัดของเสียลดลง