Golden Dreams TMS&Herb

วันศุกร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2553

สมุนไพรเพื่อวัยผู้สูงอายุ

สมุนไพรเพื่อวัยผู้สูงอายุ


วัยสูงอายุเป็นวัยที่ร่างกายเสื่อมโทรมในหลายด้านมีปัญหาสุขภาพและโรคประจำตัวต่างๆมากมาย ในการป้องกันและบำบัดรักษาโรคผู้สูงอายุนั้นนอกจากยาแผนปัจจุบันชึ่งต้องนำเข้ามาจากต่างประเทศเป็นจำนวนเงินมากมายแล้วสมุนไพรจำนวนมากสามารถใช้ทดแทนได้ดีและใช้กันมาแล้วหลายชั่วอายุคน

สมุนไพรบำรุงกระดูก

ผู้สูงอายุมักประสพปัญหาเกี่ยวกับโรคกระดูกพรุน เนื่องจากเซลล์ของกระดูกมีการสลายมากกว่าการสร้างโรคกระดูกพรุนพบในหญิงมากกว่าชายการสูญเสียแคลเชียมที่กระดูกทำให้ความแข็งแรงของกระดูกลดลง กระดูกหักง่ายการได้รับแคลเชียมที่เพียงพอจะช่วยเพิ่มความแน่นของกระดูกดังนั้นผู้สุงอายุ ควรได้รับอาหารที่มี แคเชี่ยมเพียงพอประมาณวันละ800มิลลิกรัม แคเชี่ยมมีมากในน้ำนม ปลาป่น กุ้งแห้ง และผักใบเขียวที่มีปริมาณแคลเซียมสูงได้แก่ ใบยอ ใบช้าพลู ฝักมะขามอ่อน ยอดแค ผักกะเฉด และยอดสะเดา เป็นต้น

ยอ ชื่ออื่นๆ : ยอบ้าน, แยใหญ่, มะตาเสือ

-ใบยอ มีแคลเซียมสูง (469-841 มก./100 ก.)ใบใช้ประกอบอาหาร เช่นห่อหมก แกงอ่อม เป็นต้น
-สรรพคุณทางยา : ใบอ่อนมีรสขม ใช้เป็นยาลดความร้อนในร่างกาย แก้ไข บำรุงธาตุ แก้ท้องร่วงในเด็กแก้เหงือกปวด บวม ปวดข้อ

ช้าพลู ชื่ออื่นๆ : ชะพลู, พลูนก, ผักปูนก, ผักแคนก, พลูลิง,ผักอีไร, นมวา, ผักปูนา

-ใบช้าพลูนิยมใช้เป็นผักรับประทานกับเมี่ยงคำ ส้มตำ ข้าวยำ และใช้ทำแกงเลียง ในใบประกอบด้วยแคลเซียมในปริมาณสูง (601 มก./100 ก.) และยังพบธาตุฟอสฟอรัส เหล็ก และ ไวตามินต่างๆ ใบช้าพลูมีปริมาณสารออกซาเลทค่อนข้างสูง (691 มก/100 ก.)จึงไม่ควรรับประทานเป็นประจำ
-สรรพคุณทางยา : ตำราไทยใช้ราก ใช้ใบช้าพลูเป็นยาขับลม ทั้งต้นใช้ใบขับเสมหะ รากและผลใช้รักษาบิด ใบมีรสเผ็ดเล็กน้อยใช้แก่ธาตุพิการ บำรุงธาตุ คุมเสมหะให้ปกติ แก้จุกเสียด

มะขาม ชื่ออื่นๆ : หมากแกง, ตะลูบ, ขาม

-ฝักมะขามอ่อนมีแคลเซียมสูง (429 มก/100 ก.)ทางด้าน อาหารใช้ยอดอ่อน ใบอ่อน ดอก ฝัก ฝักแก่ และอ่อนของ มะขาวเปรี้ยวเป็นอาหาร ยอดอ่อนใช้ปรุงแกง ดอกใช้ยำ ส่วนฝักอ่อนใช้ตำน้ำพริก เนื้อในฝักแก่มีรสเปรี้ยว เปรี้ยวอมหวาน หรือหวาน ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ รับประทานเป็น ผลไม้ หรือใช้ปรุงแต่งรสเปรี้ยวในอาหาร
-สรรพคุณทางยา : มะขามเปียกใช้เป็นยาระบายอ่อนๆ แก้ไอ ขับเสมหะ ฝักอ่อนมีแคลเซียม และ
ไวตามินสูง บำรุงกระดูก และช่วยป้องกันเลือดออกตามไรฟัน

แค ชื่ออื่นๆ : แคบ้าน, แคแดง

-ยอดแคลเซียมสูง(395 มก/100 ก.) นิยมนำมาลวก เป็นผักจิ้มน้ำพริกดอกแคนิยมใช้ปรุงอาหาร เช่น แกงส้ม และใช้ลวกเป็นผักจิ้ม
-สรรพคุณทางยา : ยอดอ่อนใช้รับประทานแก้ไข้หัวลม (ไข้ที่เกิดขึ้นเมื่ออากาศเปลี่ยนแปลง) เปลือกต้นมีรสขมฝาดใช้แก้ท้องเสีย น้ำต้มเปลือกใช้ล้างบาดแผล

ผักกะเฉด ชื่ออื่นๆ : ผักรู้นอน, ผักหนอง, ผักหละหนอง, ผักกะเฉดน้ำ

-ใบและลำต้นที่แกะนวมออกแล้ว ใช้รับประทานเป็นผัก ใช้ปรุงเป็นอาหาร เช่น แกงส้ม และยำต่างๆ ต้นสดมีโปรตีนสูง (6.4ก./100 ก.) และมีแคลเซียมสูง (387 มก/100 ก.)
-สรรพคุณทางยา : ผักกะเฉดมีรสเย็น ช่วยบรรเทาความร้อน ใช้ดับพิษร้อนถอนพิษไข้ ถอนพิษยาเบื่อเมา ช่วยบำรุงกระดูก เนื่องจากมีแคลเซียมค่อนมาก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น