Golden Dreams TMS&Herb

วันเสาร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

กลุ่มยารักษาหูด -มะม่วงหิมพานต์

มะม่วงหิมพานต์
ชื่อวิทยาศาสตร์  Anacardium occidentale  L.
ชื่อสามัญ  Cashew nut tree
วงศ์  ANACARDIACEAE
ชื่ออื่น :  กะแตแก (มลายู-นราธิวาส) กายี (ตรัง)  ตำหยาว ท้ายล่อ ส้มม่วงชูหน่วย  (ภาคใต้)  นายอ (มลายู-ยะลา) มะม่วงกาสอ (อุตรดิตถ์)  มะม่วงกุลา มะม่วงลังกา มะม่วงสินหน มะม่วงหยอด (ภาคเหนือ) มะม่วงทูนหน่วย ส้มม่วงทูนหน่วย (สุราษฎร์ธานี) มะม่วงยางหุย มะม่วงเล็ดล่อ (ระนอง)  มะม่วงไม่รู้หาว  มะม่วงหิมพานต์ (ภาคกลาง) มะม่วงสิโห (เชียงใหม่)  มะโห (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน)  ยาโงย ยาร่วง (ปัตตานี)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น สูงได้ถึง 12 เมตร เปลือกเรียบ สีน้ำตาล ใบเดี่ยว เรียงเวียน รูปไข่กลับถึงรูปรีกว้าง โคนใบแหลม ปลายใบกลม ใบหนาเหมือนแผ่นหนัง เกลี้ยง ช่อดอกแบบช่อแยกแขนงหรือช่อเชิงหลั่น ใบประดับรูปขอบขนานแกมรูปไข่ สีเขียวอ่อน มีแถบสีแดง แล้วเปลี่ยนเป็นสีแดง ดอกแยกเพศร่วมต้น สีขาวนวล ดอกมีกลิ่นหอม ผลเปลือกแข็งเมล็ดเดียว รูปไต สีน้ำตาลปนเทา เมล็ดรูปไต ส่วนของฐานรองดอกขยายใหญ่ อวบน้ำ รูประฆังคว่ำ มีกลิ่นหอม กินได้
ส่วนที่ใช้
ยางจากผลสด ที่ยังไม่สุก  1 ผล ที่เด็ดออกมาใหม่ๆ, ยางจากต้น เมล็ด
สรรพคุณ :
  • ยางจากผลสด ยางจากต้น  -  เป็นยารักษาหูด
  • เมล็ด - ผสมยารับประทาน แก้กลากเกลื้อน และโรคผิวหนัง แก้เนื้อหนังชาในโรคเรื้อน
  • ยางจากต้น
    - ทำลายตาปลา และกัดทำลายเนื้อที่ด้านเป็นปุ่มโต
      
    - แก้เลือดออกตามไรฟัน
วิธีและปริมาณที่ใช้
  • ยางจากผลสด - ที่ยังไม่สุก 1 ผล ที่เด็ดออกมาใหม่ๆ ใช้ยางจากผลทางตรงบริเวณที่เป็นหูด ทาบ่อยๆจนกว่าจะหาย
  • ยางจากต้นสด - ทาตรงตาปลา หรือเนื้อที่ด้านเป็นบุ๋มโต ทาบ่อยๆ จนกว่าจะหาย

กลุ่มยารักษาหูด -น้ำนมราชสีห์

น้ำนมราชสีห์
ชื่อวิทยาศาสตร์  Euphorbia hirta  L.
ชื่อสามัญ  Garden Spurge
วงศ์  EUPHORBIACEAE
ชื่ออื่น :  ผักโขมแดง (ภาคกลาง) หญ้าน้ำหมึก (ภาคเหนือ) หญ้าหลังอึ่ง (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุกขนาดเล็ก ลำต้นมีขนสีน้ำตาลปนเหลือง ใบ ใบเรียงตรงข้าม ใบเดี่ยว รูปรี ปลายใบแหลม โคนใบสอบเบี้ยวเล็กน้อย ขอบใบหยักฟันเลื่อย ผิวใบมีขนทั้งสองด้าน ดอก ดอกช่อออกตามซอกใบ ดอกแยกเพศ ไม่มีกลีบดอกและกลีบเลี้ยง ใบประดับเป็นรูปถ้วยสีเขียว เกสรตัวผู้มี 5 อัน เกสรตัวเมียมี 1 อัน รังไข่รูปกลมแกมสามเหลี่ยม มีท่อรังไข่ 3 อัน ผล ผลแห้งแตกได้ 3 พู ผลกลม
ส่วนที่ใช้
ใช้ทั้งต้น เก็บในฤดูร้อนล้างให้สะอาดตากแห้งเก็บเอาไว้ใช้หรือใช้สด, ยาง
สรรพคุณ :
  • ทั้งต้น  รสฉุน เปรี้ยว เย็นจัด ใช้ดับร้อน แก้พิษ ขับน้ำนม แก้ชื้น ผดผื่นคัน ลำไส้อักเสบเฉียบพลัน บิดจากแบคทีเรีย หนองใน สัสสาวะเป็นเลือด ฝีในปอด ฝีที่เต้านม ฝีพิษบวมแดง ขาเป็นกลาก เน่าเปื่อย
  • ยาง  ใช้กัดหูด ตาปลา
ิธีและปริมาณที่ใช้
  • ใช้ทั้งต้นแห้ง 6-7 กรัม (สด 30-60 กรัม) ต้มน้ำดื่ม
  • ใช้ภายนอก  ต้มเอาน้ำชะล้างหรือตำพอกแผล
ตำรับยา
  • แก้บิดมูกเลือด
    ใช้ทั้งต้นแห้ง 15-25 กรัม ผสมน้ำตาลทราย บิดถ่ายเป็นมูกให้ผสมน้ำตาลแดง ใช้น้ำต้มสุกตุ๋นเอาน้ำดื่ม
  • แก้เบาขัด หนองใน ปัสสาวะเป็นเลือด
    ใช้ต้นสด 30-60 กรัม ผสมน้ำดื่มวันละ 2 ครั้ง
  • แก้ฝีมีหนองลึกๆ
    ใช้ใบสด 1 กำมือ ผสมเกลือและน้ำตาบทรายแดงอย่างละเล็กน้อยตำพอก
  • แก้ฝีในปอด
    ใช้ต้นสด 1 กำมือ ตำคั้นเอาน้ำครึ่งแก้ว ผสมน้ำดื่ม
  • แก้ฝีที่เต้านม
    ใช้ต้นสด 60 กรัม รวมกับเต้าหู้ 120 กรัม ต้มรับประทาน
    ใช้ต้นสด 1 กำมือ ผสมเกลือเล็กน้อย ตำผสมน้ำร้อนเล็กน้อยพอกบริเวณที่เป็น
  • แก้เด็กเป็นตานขโมย (ผอม พุงโร ก้นปอด)
    ใช้ต้นสด 30 กรัม กับตับหมู 120 กรัม ตุ๋นรับประทาน
  • แก้เด็กศีรษะมีแผลเปื่อยเน่า มีน้ำเหลือง
    ใช้ต้นสด 1 กำมือ ต้มเอาน้ำชะล้างแผล
  • แก้ขาเป็นกลาก เน่าเปื่อย
    ใช้ต้นสด 100 กรัม แช่ในแอลกอฮอล์ 75% จำนวน 500 มิลลิลิตร 3-5 วัน เอาไว้ทาบริเวณที่เป็นบ่อยๆ
  • แก้บาดแผลมีเลือดออก
    ใช้ใบสดขยี้หรือตำพอกแผลห้ามเลือด
  • ยางใช้กัดหูด ตาปลา
    ใช้ยางขาวทาที่เป็นบ่อยๆ

กลุ่มยารักษาหูด - งา

 งา
ชื่อวิทยาศาสตร์  Sesamum indicum  L.
ชื่อสามัญ    Sesame
วงศ์  Pedaliaceae
ชื่ออื่น :  งาขาว งาดำ  นีโซ (กระเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ไออยู่มั้ว (จีน)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก สูงประมาณ 30-100 ซม. ลำต้นเป็นเหลี่ยม มีร่องตามยาวของลำต้น มีขนปกคลุม ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามหรือสลับ ลักษณะใบเป็นรูปไข่ หรือรูปใบหอก กว้างประมาณ 2-5 ซม. ยาวประมาณ 6-10 ซม. ดอกเป็นดอกเดี่ยว เป็นหลอด ออกที่ซอกใบ กลีบดอกสีขาวหรือสีชมพู ออกโดยรอบลำต้นตอนบน ผลเป็นผลแห้ง มี 4 พู เมล็ดแบน ขนาดเล็ก มีจำนวนมาก รูปไข่ สีดำ เรียก"งาดำ" สีขาวหรือสีนวล เรียก" งาหม่น"
ส่วนที่ใช้
ดอกงา เมล็ดงา
สรรพคุณ :
  • ดอกงา - รักษาหูด
  • เมล็ดงา - มีรสฝาด หวาน ขม รับประทานให้เกิดกำลัง ให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย
วิธีและปริมาณที่ใช้
  • รักษาหูด
    - ใช้ดอกงา
       นำดอกงาที่เก็บในตอนเช้า ซึ่งยังมีน้ำค้างอยู่มาถูกับหูดวันละ 3 ครั้ง ภายใน 7-10 วัน จะเห็นผล
    - ถ้าจำเป็นต้องใช้ดอกแห้ง ให้นำมาแช่น้ำนาน 30 นาที ต้มให้เดือด แล้วใช้น้ำต้มล้างบริเวณที่เป็นหูดภายใน 10 วัน หูดจะหลุดออก
รับประทานให้เกิดกำลังและให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย - ใช้เมล็ดงา

กลุ่มยารักษาหูด -กะเพรา

กะเพรา
ชื่อวิทยาศาสตร์  Ocimum sanctum  L.
ชื่อสามัญ  Holy basil,  Sacred Basil
วงศ์   Lamiaceae (Labiatae)
ชื่ออื่น :  กะเพราขน กะเพราขาว กะเพรา (ภาคกลาง) กอมก้อ กอมก้อดง (เชียงใหม่) อีตู่ไทย (ภาคอีสาน)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่ม สูง 30-60 ซม. โคนต้นค่อนข้างแข็ง กะเพราแดงลำต้นสีแดงอมเขียว ส่วนกะเพราขาวลำต้นสีเขียวอมขาว ยอดอ่อนมีขนสีขาว ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกัน รูปรี กว้าง 1-3 ซม. ยาว 2.5-5 ซม. ปลายใบมนหรือแหลม โคนใบแหลม ขอบใบจักเป็นฟันเลื่อย แผ่นใบสีเขียว มีขนสีขาว ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายยอด ดอกสีขาวแกมม่วงแดงมีจำนวนมาก กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกัน ปลายเรียวแหลม ด้านนอกมีขน กลีบดอกแบ่งเป็น 2 ปาก ปากบนมี 4 แฉก ปากล่างมี 1 แฉก ปากล่างยาวกว่าปากบน มีขนประปราย เกสรเพศผู้มี 4 อัน ผล เป็นผลแห้ง เมื่อแตกออกจะมีเมล็ด สีดำ รูปไข่
ส่วนที่ใช้ :  
ใบสด
สรรพคุณ :
         
ใช้ใบสดของกะเพรา ถ้าเป็นกะเพราแดงจะมีฤทธิ์แรงยิ่งขึ้น ขยี้ทาตรงหัวหูด เช้า-เย็น จนกว่าหัวหูดจะหลุด
สารเคมี :
          ใบ มี Apigenin, Citric acid, Fumric acid , Luteolin, Tartaric acid, Ursolic acid, Malic acid