Golden Dreams TMS&Herb

วันพุธที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2558

การตั้งคอมพิวเตอร์

การตั้งคอมพิวเตอร์
         ท่านผู้อ่านที่ทำงานกับ computer หรือเล่นเกม หรือเพื่อการศึกษาหากท่านใช้เวลากับมันมากโดยที่ปรับโต๊ะ เก้าอี้ หรือจอ monitor ไม่ถูกต้องอาจจะทำให้ปวดตา ปวดคอ ปวดหลัง บทความนี้จะเป็นคำแนะนำการทำงานกับ computer

การปรับ Keyboad
         การทำงานกับ computer นานจะมีปัญหาเกี่ยวกับแขน ข้อมือ และมือ คำแนะนำต่อไปนี้จะทำให้ท่านทำงานสบายขึ้น
  • ปรับความสูงของ keyboard เพื่อให้หัวไหล่ได้พัก แขนแนบลำตัว keyboard อยู่ตรงหน้าไม่เอียงซ้ายหรือขวา
  • Keyboardควรอยู่ใกล้กับผู้ใช้เพื่อที่จะไม่ต้องเอื้อมมือ
  • ข้อศอกควรได้ฉาก90 องศา แขนส่วนปลายจะขนานกับพื้น
  • Mouse ควรวางข้างKeyboard
  • ขณะที่ไม่ได้ทำงานควรพักแขนไว้บนท้องไม่ควรพักแขนไว้บน Keyboard หรือ Mouse

การตั้งDesktops

  • โต๊ะที่วาง computer ควรจะสูง 25-29 นิ้วขึ้นกับส่วนสูงของผู้ใช้
  • ปรับเก้าอี้ให้แขนขนานกับพื้นขณะทำงานและแขนควรอยู่สูงจากต้นขา 2นิ้ว
  • ใต้โต๊ะควรเป็นพื้นที่ว่างเพื่อยืดเท้า
  • ของที่ใช้บ่อยควรอยู่ใกล้มือ
  • ถ้าใช้ที่หนีบกระดาษควรอยู่ระดับเดียวกับ monitor

การปรับ Monitors

การปรับแต่งMonitorจะช่วยให้ตาและระบบกล้ามเนื้อทำงานได้ดีขึ้นคำแนะนำนี้จะช่วยอาการปวดตาปวดคอ และเมื่อยกล้ามเนื้อไหล่
  • เช็ดจอให้สะอาด
  • ปรับความสว่างให้พอเหมาะ
  • จอ monitor ตั้งอยู่ตรงหน้าเพื่อที่จะต้องไม่หมุนคอ
  • จอควรห่างจากตัวผู้ใช้ 20-26 นิ้ว
  • จอทำมุกกับแนวดี่ง10-20 องศา
  • ให้แสงจากหน้าต่างเข้าทางข้างเพื่อป้องกันการสะท้อนของแสง
  • จอไม่ควรได้รับแสงโดยตรงเพราะจะทำให้เกิดการสะท้อนของแสงหรืออาจจะใส่แผ่นกรองแสง
  • ขอบบนของจอmonitor ควรอยู่ระดับเดียวกับตา

การปรับแสง

  • แสงที่ใช้ไม่ควรเกิน18-46 แรงเทียน
  • แสงควรเข้าทางด้านข้างเพื่อป้องกันการสะท้อนของแสง
  • วางจอmonitor โดยหันด้างข้างของจอ monitor ไปหาหน้าต่าง
  • ไม่ควรใช้โคมไฟ
  • ผนังด้านหลังจอmonitorควรทาสีทึบเพื่อป้องกันสะท้อนของแสง
  • ใช้แผ่นกันการสะท้อนของแสง

การปรับเก้าอี้

เชื่อกันว่าการนั่งเป็นการผ่อนคลาย ความจริงการนั่งนานๆจะทำให้กระดูกหลัง หมอนรองกระดูกได้รับน้ำหนักอยู่ตลอดเวลา นอกจากหลังแล้วยังมีผลต่อเท้าเนื่องจากเลือดจะไปกองที่เท้า ข้อแนะนำนี้จะช่วยให้ท่านผู้อ่านทำงานกับ computer อย่างสบาย
  • อย่าท่าใดท่าหนึ่งนานๆ
  • เปลี่ยนท่านั่งและยืนสลับกัน
  • ปรับเบาะพิงหลังให้รองบริเวณเอวอาจจะใช้หมอนหรือผ้าหนุนด้วยก็ได้ท่านั่งที่ดีควรจะเป็นท่าที่ขาตั้งฉากกับลำตัว
  • ปรับความสูงของเก้าอี้เพื่อให้เท้าวางบนพื้น
  • นั่งหลังพิงพนักพิง
  • ต้นขาขนานกับพื้น เข่าอยู่แนวระนาบเดียวกับข้อสะโพก
  • เข่าควรอยู่ห่างจากเบาะนั่ง 2-3 นิ้ว
  • อย่านั่งหลังโก่ง
  • ปรับความสูงของที่พักแขนให้แขนและไหล่ได้พักขณะทำงาน

รับประทานอาหารมื้อค่ำมีผลต่อความอ้วน

รับประทานอาหารมื้อค่ำมีผลต่อความอ้วน

        ก่อนหน้านี้มีความเชื่อกันว่าการรับประทานอาหารมื้อเย็นหากรับประทานดึกจะทำให้อ้วน แต่ยังไม่การศึกษาว่าทำให้อ้วนจริงหรือเปล่า จนกระทั่ง Rika Yokoyama, MS และคณะจากญี่ปุ่นได้สึกษาถึงผลการรับประทานอาหารค่ำดึกไปว่าจะเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคอ้วนหรือไม่
         การศึกษานี้ใช้คน 10 คนอายุเฉลี่ย 40 ปี ดัชนีมวลกายประมาณ 23.1 โดยให้รับประทานอาหารเช้าเวลา 8.00 น อาหารบ่ายเวลา 13.00 น ส่วนอาหารค่ำปกติเวลา 19.00 น ส่วนอาหารค่ำดึก 22.00 น ผู้วิจัยจะให้ผู้ทดลองรับประทานอาหารตามเวลาดังกล่าว ชนิดของอาหารจะเหมือนกัน โดยรับประทานอาหารในห้องซึ่งสามารถวัดปริมาณออกซิเจน และคาร์บอนไดออกไซด์เพื่อวัดปริมาณพลังงานที่ใช้ นอกจากนั้นยังวัดความหิวด้วยผลการศึกษา
  • ผู้ที่รับประทานอาหารมื้อเย็นเร็วจะมีการใช้พลังงานมากกว่าผู้ที่ทานอาหารมื้อเย็นดึก เนื่องจากผู้ที่รับอาหารมื้อเย็นเร็วจะมีเวลาืำกิจกรรมนานกว่าผู้ที่รับดึก ดังนั้นผู้ที่รับประทานอาหารเย็นเร็วจะมีโอกาศอ้วนน้อยกว่า
  • ระดับน้ำตาลและปริมาณอินซูลินในเลือดของผู้ที่รับประทานอาหารเย็นเร็วจะต่ำกว่าผู้ที่รับประทานดึก
  • กรดไขมันในผู้ที่รับประทานอาหารเร็วจะต่ำกว่าผู้ที่รับประทานมื้อเย็นดึก
  • ผู้ที่รับประทานอาหารเย็นดึกจะหิวเก่งกว่าคนที่รับประทานเร็ว
Obesity 2010: The Obesity Society 28th Annual Scientific Meeting. Poster 202-P. Presented October 12, 2010.

ข้อเสนอแนะ
         แม้ว่าจะเป็นการศึกษาที่ใช้คนไม่มากแต่ข้อมูลออกไปในทิศทางเดียวกันว่าอาหารมื้อเย็นควรจะรับไม่เกินเวลา 19 น เพราะหากรับสายหรือดึกจะก่อผลเสียต่อสุขภาพ