Golden Dreams TMS&Herb

วันอังคารที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

กลุ่มสมุนไพรแก้ฟกช้ำ ข้อเคล็ด ปวดข้อ เส้นเอ็นพิการ -สายน้ำผึ้ง

สายน้ำผึ้ง

ชื่อวิทยาศาสตร์  Lonicera japonica Thunb.
ชื่อสามัญ  Honey Suckle
วงศ์  Caprifoliaceae
ชื่ออื่น :  -
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้เถา กิ่งสีน้ำตาลเป็นมัน มีขนนุ่ม ใบเดี่ยวเกิดเป็นคู่ตรงกันข้าม มีขนตามเส้นกลางใบทั้งสองด้าน ด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน ก้านใบสั้น ดอกมีสีเหลืองอมส้ม กลิ่นหอม ออกเป็นช่อตามซอกใบ ดอกเป็นหลอดยาว 1.5-3 ซม. แยกเป็น 2 กลีบๆ บนมี 4 หยัก กลีบล่างมี 1 กลีบ เกสรเพศผู้ยาวกว่ากลีบดอก ผลกลมสีดำ เส้นผ่าศูนย์กลาง 6-7 ซม. เกลี้ยงไม่มีขน
ส่วนที่ใช้ :
ทั้งต้น ดอกตูม เถาสด
สรรพคุณ :
  • ทั้งต้น 
    -ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แก้แผลฝีต่างๆ
    - แก้ท้องร่วง ตับอักเสบ โรคลำไส้
    - ปวดเมื่อยตามข้อ
  • ดอกตูม
    - ใช้รักษาโรคผิวหนัง
    - ดอกคั้นรับประทานเป็นยาเจริญอาหาร
  • เถาสด - ใช้รักษา บิดไม่มีตัว (ท้องเสีย) ลำไส้อักเสบ
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
          ใช้เถาสด 100 กรัม สับเป็นท่อนเล็กๆ ใส่ลงในหม้อเคลือบ เติมน้ำลงไป 200 มิลลิลิตร แช่น้ำไว้ 12 ชั่วโมง แล้วต้มด้วยไฟอ่อนๆ 3 ชั่วโมง แล้วเติมน้ำให้ได้ 100 มิลลิลิตร กรองเอาน้ำรับประทานวันละ 1.6-2.4 มิลลิลิตร ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ให้เพิ่มหรือลดขนาดของยาตามอาการ โดยทั่วไปเริ่มต้นให้รับประทาน 20 มิลลิลิตร ทุก 4 ชั่วโมง เมื่ออาการดีขึ้นให้รับประทานครั้งละ 20 มิลลิลิตร ทุก 6 ชั่วโมง หลังจากอาการท้องร่วงหายไปให้รับประทานต่ออีก 2 วัน
สารเคมี
  • ใบ  มี lonicerin  และ luteolin-7-rhamnoglucoside
  • ดอก มี  luteolin-7-glucoside, inositol และ saponin
  • ผล  มี  Cryptosanthin

กลุ่มสมุนไพรแก้ฟกช้ำ ข้อเคล็ด ปวดข้อ เส้นเอ็นพิการ -เสม็ดแดง (ผักเม็ก)

เสม็ดแดง (ผักเม็ก)

ชื่อวิทยาศาสตร์  Syzygium  gratum  (Wight) S.N. Mitra  var. gratum
ชื่อสามัญ  -
วงศ์  Myrtaceae
ชื่ออื่น :  ไคร้เม็ด (เชียงใหม่) เม็ก (ปราจีนบุรี)  เม็ดชุน (นครศรีธรรมราช) เสม็ด (สกลนคร) เสม็ดเขา เสม็ดแดง (ตราด)  เสม็ดชุน (ภาคกลาง)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่มต้นไม่ผลัดใบ เปลือกต้นสีน้ำตาลแดง แตกสะเก็ดแผ่นบางๆ โคนต้นมักเป็นพูพอน ใบ เป็นใบเดี่ยวออกตรงข้าม ใบรูปหอก ขอบใบเรียบ ปลายใบแหลม ดอก ออกเป็นช่อซี่ร่มเล็กๆ สีเหลืองอ่อน  ออกที่ปลายยอด ออกดอกเดือน มีนาคม-เมษายน  ผล กลม สีขาว มีขนาดเล็ก ออกผลเดือน พฤษภาคม-มิถุนายน
ส่วนที่ใช้ : ใบสด
สรรพคุณและวิธีใช้ :          ใช้ใบสด ตำป่นปิดพอกแก้เคล็ดยอก ฟกบวมได้ดี  ใช้ผลมะกรูด หรือใบพลู รมควันใต้ใบเสม็ดพออุ่นๆ นาบท้องเด็กแก้ท้องขึ้น ท้องอืด ท้องเฟ้อในเด็ก แก้ปวดท้องได้ดีมาก

กลุ่มสมุนไพรแก้ฟกช้ำ ข้อเคล็ด ปวดข้อ เส้นเอ็นพิการ -แสลงใจ (โกฏกะกลิ้ง)

แสลงใจ (โกฏกะกลิ้ง)

ชื่อวิทยาศาสตร์  Strychnos nux-vomica   L.
ชื่อสามัญ  Nux-vomica Tree, Snake Wood
วงศ์  Strychnaceae
ชื่ออื่น :  กระจี้ กะกลิ้ง ตูมกาแดง แสลงทม แสลงเบื่อ แสลงเบือ
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ส่วนที่ใช้ :
ไม้ต้น สูงประมาณ 30 เมตร ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปไข่แกมขอบขนาน กว้าง 5 - 8 ซม. ยาว 7 - 12 ซม. ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ กลีบดอกสีเขียวอ่อน ผลเป็นผลสด รูปกลม เมล็ดกลมแบนคล้ายกระดุม สีเขียวแกมเทา มีขนสีน้ำตาลอ่อนนุ่มปกคลุม
สรรพคุณ :
  • เมล็ด 
    -
      มี Alkaloid  เรียกว่า Strychnine
    เป็นยาบำรุงหัวใจให้เต้นแรงและบำรุงประสาทอย่างแรง
    ยาที่เบื่อสุนัขให้ผงอัลคาลอยด์ของสตริกนิน 1 เกรน เบื่อสุนัขได้ 1 ตัว ก่อนตายมีอาการชักกะตุกจนตาย ภายใน 1-3 ชั่วโมง (**ฆ่าสัตว์ตัดชีวิตถือเป็นบาป ไม่ควรทำ)
    มีรสเมาเบื่อขมเล็กน้อย ตัดไข้ตัดพิษกระษัยเจริญอาหาร 
วิธีและปริมาณที่ใช้
          ทิงเจอร์นักสะวอมมิกา (Tincture Nux vomica) เป็นยาน้ำสีเหลืองทำจากเมล็ดของต้นแสลงใจ รับประทานได้ 5-15 หยด
          - เป็นยาบำรุงประสาท  ให้มีกำลังรู้สึกเฉียบแหลมขึ้น บำรุงเส้นประสาทชนิดโมเตอร์ ให้กระเพาะและลำไส้ขย้อนอาหารและขับน้ำไฟธาตุ
          -ใช้แก้โรคอัมพาต เส้นตายและเนื้อชาไม่รู้สึก
          -ใช้เป็นยาบำรุงความกำหนัด
          -ใช้เป็นยาบำรุงธาตุ เป็นยาระบายอย่างอ่อน
            ยานี้รับประทานมากไม่ได้เป็นยาพิษ
           
สตริกนินเป็นยาด่างที่แยกออกจากยานี้ รับประทานได้ 1/200 เกรน หรือ 1/100 เกรน ใช้ยาอย่างเดียวกับยานักสะวอมมิกา
          -ใช้แก้ในทางประสาทพิการ เส้นตาย หรือเป็นเหน็บชาต่างๆ
          -แก้โรคอันเกิดจาก ปากคอพิการ ขับพยาธิ ขับปัสสาวะ แก้พิษงู พิษตะขาบ พิษแมลงป่อง แก้ลมกระเพื่อมในท้อง แก้คลื่นเหียน แก้ลมพานไส้ แก้ริดสีดวงทวาร โลหิตพิการ ทำให้ตัวเย็น ขับลมในลำไส้
          ในเภสัชตำรับกล่าวว่า ลูกโกฏกะกลิ้งหรือลูกกกะจี้ หรือแสลงใจนั้น ประกอบด้วยเมล็ดแห้งสุกของ Strychnos nux vomica L. มีไม่มากกว่า 1% ของ Oganic วัตถุอื่นๆ และไม่น้อยกว่า 1.2% ของ Strychnos สรรพคุณ ของ Strychnos nux vomica  เนื่องจาก Strychnine ที่มีอยุ่ ใช้ผงผสมกับ Bismuth หรือ Pepsin ใส่ Cachet ใช้ในโรคธาตุพิการไม่มีกำลังย่อยอาหาร ใช้มากในยาผสมต่างๆ สำหรับบำรุงการย่อยอาหารในปาก ทำให้ขมและอยากอาหารในลำไส้ ทำให้ลำไส้เกิดอาการไหวตัว ใช้ผสมกับยาถ่ายต่างๆ เช่น Cascara ใช้ในโรคพรรดึกเรื้อรัง เนื่องขากลำไส้ไม่มีกำลัง ใช้ Extract อย่างแห้งผสมน้ำ เป็นยาเม็ดประกอบด้วยยาระบายหรือยาจำพวกเหล็ก สำหรับโรคโลหิตจาง
  • ใบ  - ตำกับสุรา พอกปิดแผลเรื้อรัง เน่าเปื่อยได้ดี แก้โรคไตพิการ
  • ราก รับประทานแก้ท้องขึ้น

กลุ่มสมุนไพรแก้ฟกช้ำ ข้อเคล็ด ปวดข้อ เส้นเอ็นพิการ -แสลงใจ (โกฏกะกลิ้ง)

แสลงใจ (โกฏกะกลิ้ง)

ชื่อวิทยาศาสตร์  Strychnos nux-vomica   L.
ชื่อสามัญ  Nux-vomica Tree, Snake Wood
วงศ์  Strychnaceae
ชื่ออื่น :  กระจี้ กะกลิ้ง ตูมกาแดง แสลงทม แสลงเบื่อ แสลงเบือ
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ส่วนที่ใช้ :
ไม้ต้น สูงประมาณ 30 เมตร ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปไข่แกมขอบขนาน กว้าง 5 - 8 ซม. ยาว 7 - 12 ซม. ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ กลีบดอกสีเขียวอ่อน ผลเป็นผลสด รูปกลม เมล็ดกลมแบนคล้ายกระดุม สีเขียวแกมเทา มีขนสีน้ำตาลอ่อนนุ่มปกคลุม
สรรพคุณ :
  • เมล็ด 
    -
      มี Alkaloid  เรียกว่า Strychnine
    เป็นยาบำรุงหัวใจให้เต้นแรงและบำรุงประสาทอย่างแรง
    ยาที่เบื่อสุนัขให้ผงอัลคาลอยด์ของสตริกนิน 1 เกรน เบื่อสุนัขได้ 1 ตัว ก่อนตายมีอาการชักกะตุกจนตาย ภายใน 1-3 ชั่วโมง (**ฆ่าสัตว์ตัดชีวิตถือเป็นบาป ไม่ควรทำ)
    มีรสเมาเบื่อขมเล็กน้อย ตัดไข้ตัดพิษกระษัยเจริญอาหาร 
วิธีและปริมาณที่ใช้
          ทิงเจอร์นักสะวอมมิกา (Tincture Nux vomica) เป็นยาน้ำสีเหลืองทำจากเมล็ดของต้นแสลงใจ รับประทานได้ 5-15 หยด
          - เป็นยาบำรุงประสาท  ให้มีกำลังรู้สึกเฉียบแหลมขึ้น บำรุงเส้นประสาทชนิดโมเตอร์ ให้กระเพาะและลำไส้ขย้อนอาหารและขับน้ำไฟธาตุ
          -ใช้แก้โรคอัมพาต เส้นตายและเนื้อชาไม่รู้สึก
          -ใช้เป็นยาบำรุงความกำหนัด
          -ใช้เป็นยาบำรุงธาตุ เป็นยาระบายอย่างอ่อน
            ยานี้รับประทานมากไม่ได้เป็นยาพิษ
           
สตริกนินเป็นยาด่างที่แยกออกจากยานี้ รับประทานได้ 1/200 เกรน หรือ 1/100 เกรน ใช้ยาอย่างเดียวกับยานักสะวอมมิกา
          -ใช้แก้ในทางประสาทพิการ เส้นตาย หรือเป็นเหน็บชาต่างๆ
          -แก้โรคอันเกิดจาก ปากคอพิการ ขับพยาธิ ขับปัสสาวะ แก้พิษงู พิษตะขาบ พิษแมลงป่อง แก้ลมกระเพื่อมในท้อง แก้คลื่นเหียน แก้ลมพานไส้ แก้ริดสีดวงทวาร โลหิตพิการ ทำให้ตัวเย็น ขับลมในลำไส้
          ในเภสัชตำรับกล่าวว่า ลูกโกฏกะกลิ้งหรือลูกกกะจี้ หรือแสลงใจนั้น ประกอบด้วยเมล็ดแห้งสุกของ Strychnos nux vomica L. มีไม่มากกว่า 1% ของ Oganic วัตถุอื่นๆ และไม่น้อยกว่า 1.2% ของ Strychnos สรรพคุณ ของ Strychnos nux vomica  เนื่องจาก Strychnine ที่มีอยุ่ ใช้ผงผสมกับ Bismuth หรือ Pepsin ใส่ Cachet ใช้ในโรคธาตุพิการไม่มีกำลังย่อยอาหาร ใช้มากในยาผสมต่างๆ สำหรับบำรุงการย่อยอาหารในปาก ทำให้ขมและอยากอาหารในลำไส้ ทำให้ลำไส้เกิดอาการไหวตัว ใช้ผสมกับยาถ่ายต่างๆ เช่น Cascara ใช้ในโรคพรรดึกเรื้อรัง เนื่องขากลำไส้ไม่มีกำลัง ใช้ Extract อย่างแห้งผสมน้ำ เป็นยาเม็ดประกอบด้วยยาระบายหรือยาจำพวกเหล็ก สำหรับโรคโลหิตจาง
  • ใบ  - ตำกับสุรา พอกปิดแผลเรื้อรัง เน่าเปื่อยได้ดี แก้โรคไตพิการ
  • ราก รับประทานแก้ท้องขึ้น

กลุ่มสมุนไพรแก้ฟกช้ำ ข้อเคล็ด ปวดข้อ เส้นเอ็นพิการ -ส้มป่อย

ส้มป่อย

ชื่อวิทยาศาสตร์  Acacia concinna   (Willd.) D.C.
ชื่อสามัญ  -
วงศ์  LEGUMINOSAE – MIMOSOIDEAE
ชื่ออื่น :  ส้มขอน (ฉาน-แม่ฮ่องสอน)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่มรอเลื้อย มีหนามตามลำต้น กิ่ง ก้านและใบ ใบ ประกอบแบบขนนกสองชั้น เรียงสลับ ยาว 7-20 ซม. ใบย่อยรูปขอบขนาน ขนาดเล็ก ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ เป็นช่อกลม กลีบดอกเป็นหลอด สีนวล ผลเป็นฝัก สีน้ำตาลดำ ผิวย่นขรุขระ ขอบมักเป็นคลื่น
ส่วนที่ใช้ :
ต้น ใบ ดอก ผล ราก ฝัก เมล็ด
สรรพคุณ :
  • ต้น  -   แก้ตาพิการ
  • ใบ  -  แก้โรคตา ชำระเมือกมันในลำไส้ ยาถ่ายเสมหะ แก้บิด ฟอกล้างโลหิตระดู
  • ดอก  -  แก้เส้นพิการให้บริบูรณ์
  • ผลแก้น้ำลายเหนียว
  • ราก แก้ไข้
  • ฝักปิ้งให้เหลือง ชงน้ำจิบแก้ไอ ขับเสมหะ เป็นยาถ่ายทำให้อาเจียน ฟอกผมแก้รังแค แก้ไข้จับสั่น ปิดแผลโรคผิวหนัง
  • เมล็ด - คั่วให้เกรียมบดให้ละเอียด นัตถุ์ทำให้คันจมูกและจามดี
  • ใบ - ตำห่อผ้าประคบเส้นให้เส้นอ่อน

กลุ่มสมุนไพรแก้ฟกช้ำ ข้อเคล็ด ปวดข้อ เส้นเอ็นพิการ -ไพล

ไพล

ชื่อวิทยาศาสตร์  Zingiber montanum (Koenig) Link ex Dietr.
ชื่อสามัญ   Z.purpureum  Roscoe
วงศ์  Zingiberaceae
ชื่ออื่น :  ปูลอย ปูเลย (ภาคเหนือ) ว่านไฟ (ภาคกลาง) มิ้นสะล่าง(ฉาน-แม่ฮ่องสอน)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุกสูง 0.7-1.5 เมตร มีเหง้าใต้ดิน เปลือกสีน้ำตาลแกมเหลือง เนื้อในสีเหลืองถึงเหลืองแกมเขียว แทงหน่อหรือลำต้นเทียมขึ้นเป็นกอ ซึ่งประกอบด้วยกาบหรือโคนใบหุ้มซ้อนกัน ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนานแกมใบหอก กว้าง 3.5-5.5 เซนติเมตร ยาว 18-35 เซนติเมตร ดอกช่อ แทงจากเหง้าใต้ดิน กลีบดอกสีนวล ใบประดับสีม่วง ผลเป็นผลแห้งรูปกลม
ส่วนที่ใช้ :
เหง้าไพลที่แก่จัด
สรรพคุณ :  รักษาอาการเคล็ดขัดยอก ข้อเคล็ด ข้อเท้าแพลง ฟกช้ำบวม
รายละเอียดสรรพคุณด้านอื่นๆ ดูจาก http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_06_6.htm

กลุ่มสมุนไพรแก้ฟกช้ำ ข้อเคล็ด ปวดข้อ เส้นเอ็นพิการ -ว่านนางคำ

ว่านนางคำ

ชื่อวิทยาศาสตร์  Curcuma aromatica   Salisb.
ชื่อสามัญ :   -
วงศ์ :   Zingiberaceae
ชื่ออื่น :  -
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก เหง้าและหัวสีเหลือง มีกลิ่นหอมใบเดี่ยว ออกเป็นกระจุกใกล้ราก ประมาณ 5-7 ใบ รูปใบหอกกว้าง กว้าง 10-14 ซม. ยาว 40-70 ซม. ปลายเรียวแหลม ท้องใบมีขน ดอกช่อเชิงลด มักมีดอกก่อนใบงอกจากเหง้า ช่อดอกยาวประมาณ 5-8 ซม.ใบประดับที่ปลายช่อสีชมพู ใบประดับที่รองรับดอกสีขาวแกมเขียว ปลายโค้ง ยาวได้ถึง 6 ซม. ใบประดับย่อยสีขาว ยาวประมาณ 2 ซม. กลีบเลี้ยงยาวประมาณ 2 ซม. กลีบดอกสีขาวแกมชมพู แฉกกลางรูปไข่กว้าง แฉกข้างรูปขอบขนาน กลีบปากรูปโล่แยกเป็น 3 แฉก สีเหลืองเข้ม
ส่วนที่ใช้ :  หัว ราก
สรรพคุณ :
  • หัว 
    -
       ใช้ฝนทาแก้เม็ดผื่นคัน prurigo
    -   เป็นยาขับลมในลำไส้และแก้ปวดท้อง
    -
       ใช้ตำพอกแก้ฟกช้ำ และข้อเคล็ด
  • ราก -  ใช้เป็นยาขับเสมหะและยาสมาน แก้ลงท้อง แก้โรคหนองในเรื้อรัง แยกสารได้
    น้ำมันหอมเรซิน
                           4.47
    น้ำตาล
                                      1.21
    ยาง กรด ฯลฯ
                             10.10
    แป้ง
                                         18.75
    ใยไม้
                                        25.40
    เถ้า
                                             7.51
    ความชื้น
                                       9.76
    ธาตุ ไข่ขาว (
    Albuminiadse)

กลุ่มสมุนไพรแก้ฟกช้ำ ข้อเคล็ด ปวดข้อ เส้นเอ็นพิการ -เถาเอ็นอ่อน

เถาเอ็นอ่อน

ชื่อวิทยาศาสตร์  Cryptolepis buchanani  Roem.&Schult.
ชื่อสามัญ  -
วงศ์  Asclepiadaceae
ชื่ออื่น :  กวน (ฉาน-แม่ฮ่องสอน)  เครือเถาเอ็น (เชียงใหม่)  ตีนเป็ดเครือ (ภาคเหนือ)  เมื่อย (ภาคกลาง)  นอออหมี (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)  หญ้าลิเลน (ปัตตานี)  หมอนตีนเป็ด (สุราษฎร์ธานี)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้เลื้อยพาดพันต้นไม้อื่น เปลือกเถาเรียบสีน้ำตาลอมดำ พอแก่เปลือกจะหลุดล่อนออกเป็นแผ่น ทุกส่วนของต้นมี น้ำยางสีขาว ใบ เป็นใบเดี่ยวออกตรงข้ามกัน ใบรูปรี ปลายใบมนมีหางสั้น โคนใบสอบ หลังใบเรียบเป็นมันและลื่น ท้องใบเรียบสีขาลนวล ก้านใบสั้น ดอก ออกเป็นดอกช่อ ตามซอกใบ ดอกย่อยสีเหลืองอ่อน กลีบดอก 5 กลีบ โคนกลีบดอกเชื่อมติดกัน กลีบเลี้ยงสีเขียว 5 กลีบ ผล ทรงกระบอก ติดกันเป็นคู่ ปลายผลแหลม ผิวเป็นมันลื่น พอแก่แตกออกด้านเดียว เมล็ดรูปรีสีน้ำตาล มีขนปุยสีขาวติดอยู่
ส่วนที่ใช้ :  เถา ใบ
สรรพคุณ :
เถา  -  ต้มรับประทานเป็นยาแก้เมื่อย ทำให้เส้นเอ็นหย่อน จิตใจชุ่มชื่น เป็นยาบำรุงเส้นเอ็นในร่างกายให้แข็งแรง แก้เส้นเอ็นพิการ
ใบ -  ใช้โขลกให้ละเอียด ห่อผ้าทำลูกประคบ ประคบตามเส้นเอ็นที่ปวดเสียวและตึงเมื่อยขบ ทำให้เส้นยืดหย่อนดี

กลุ่มสมุนไพรแก้ฟกช้ำ ข้อเคล็ด ปวดข้อ เส้นเอ็นพิการ -กำลังพญาเสือโคร่ง

กำลังพญาเสือโคร่ง

ชื่อวิทยาศาสตร์  Betula alnoides   Buch.-Ham.ex G.Don
ชื่อสามัญ  Birch
วงศ์  Betulaceae
ชื่ออื่น :  กำลังเสือโคร่ง(เชียงใหม่)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นไม้ยืนต้น สูง ๒๐ -๓๕ เมตร วัดรอบลำต้นประมาณ ๑-๒ เมตร เปลือกไม้(ที่ยังไม่ลอก) มีสีน้ำตาล เทา หรือ เกือบดำ มีรูระบายอากาศเป็นจัดขาวเล็กๆ กลม บ้างรีบางปะปนอยู่ เปลือกมีกลิ่นคล้ายการบูร เวลาแก่จะอกออกเป็นชั้นๆ คล้ายกระดาษ ที่ยอดอ่อน ก้านใบและช่อดอกมีขนสีเหลือง หรือ สีน้ำตาล ปกคลุม หูใบเป็นรูปสามเหลี่ยม หรือ แคบ ยาวประมาณ ๓-๘ มม.ใบ เป็นรูปไข่ถึงรูปไข่แกมหอก หรือรูปหอก เนื้อใบบาง คล้ายกระดาษ หรือ หนา ด้านใต้ของใบมีตุ่ม โคนใบป้านเกือบเป็นเส้นตรง ขอบใบหยักแบบฟันเลื่อยสองชั้นหรือสามชั้น ซี่หยักแหลม ปลายใบเรียวแหลม เส้นแขนงใบ ๗-๑๐ คู่  ดอก ออกเป็นช่อยาวคล้ายหางกระรอก ออกตามง่ามใบแห่งละ ๒-๕ ช่อ ดอกย่อยไม่มีก้าน ช่อดอกเพศผู้ยาว ๕-๘ ซม. กลีบรองดอกเป็นรูปโล่หรือกลม มีแกนอยู่ตรงกลาง ปลายค่อนข้างแหลม มีขนที่ขอบเกสรเพศผู้ ๔-๗ อันติดอยู่ที่แกนกลาง ช่อดอกเพศเมียยาว ๓-๙ ซม. กลีบรองดอกไม่มีก้าน มี ๓ หยัก ด้านนอกมีขน รังไข่แบน กรอบนอกเป็นรูปไข่ หรือเกือบกลม มีขน ท่อรังไข่ยาวกว่ารังไข่เล็กน้อย ผลแก่ร่วงง่าย แบน มีปีก ๒ ข้างปีกบางและโปร่งแสง
แหล่งที่พบ มักขึ้นในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย การออกดอก
ระหว่างเดือน พฤศจิกายน - เดือนกุมภาพันธ์
ส่วนที่ใช้ :
เปลือกต้นไม้
สรรพคุณ :
  • เปลือกต้น 
    - มีน้ำมันหอมระเหยชนิดหนึ่ง กลิ่นฉุนแรงคล้ายน้ำมันระกำ แต่ถ้าทิ้งจนเปลือกแห้ง กลิ่นทำให้เส้นเอ็นแข็งแรง 
    - ช่วยชำระล้างไตให้สะอาด บำรุงกองธาตุให้เป็นปกติ
    - ขับลมในลำไส้
    - ใช้บำบัดอาการผู้ป่วยเป็นโรคเกี่ยวกับมดลูกของผู้หญิงไม่สมบูรณ์ มดลูกชอกช้ำ อักเสบเนื่องจากการกระทบกระเทือน แท้งบุตร มดลูกไม่แข็งแรงให้หายเป็นปกติ
วิธีและปริมาณที่ใช้
          ใช้เปลือกต้น ถากออกจากลำต้น พอประมาณตามความต้องการ ใส่ภาชนะหรือกาน้ำ ต้มน้ำให้เดือด เคี่ยวไฟอ่อนๆ น้ำสมุนไพรจะเป็นสีแดง (ถ้าปรุงรสให้หอมหวานใช้ชะเอมพอสมควรกับน้ำตาลกรวด) ให้รับประทานขณะน้ำสมุนไพรอุ่นๆ จะมีคุณภาพดียิ่งขึ้น          ถ้าใช้ดองกับสุรา สีจะแดงเข้ม (ถ้าจะปรุงรสและกลิ่นให้เติมน้ำผึ้ง-โสมตังกุย) สรรพคุณจะแรงขึ้นทวีคูณ ต้ม-ดองสุราได้ถึง3-4 ครั้ง จนกว่าจะหมดสีของสมุนไพร