Golden Dreams TMS&Herb

วันพฤหัสบดีที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2556

กลุ่มยาแก้โรคเรื้อน -สลอด

สลอด
ชื่อวิทยาศาสตร์  Croton tiglium L.
ชื่อสามัญ  Purging Croton, Croton Oil Plant
วงศ์  EUPHORBIACEAE
ชื่ออื่น :  บะกั้ง (แพร่) มะข่าง มะคัง มะตอด หมากทาง หัสคืน (ภาคเหนือ) ลูกผลาญศัตรู สลอดต้น หมากหลอด (ภาคกลาง) หมากยอง (แม่ฮ่องสอน)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่ม สูง 3-6 ม. ต้นเกลี้ยง ใบเดี่ยวรูปไข่ เรียงสลับกัน ปลายใบแหลม ฐานใบกลม ขอบใบหยัก แบบซี่ฟัน มีเส้นใบ 3-5 เส้น ที่ฐานใบมีต่อม 2 ต่อม เนื้อใบบาง ก้านใบเรียวเล็ก ดอกเล็ก ออกเดี่ยว ๆ หรือออกเป็นช่อที่ยอด ใบประดับมีขนาดเล็ก ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียอยู่บนต้นเดียวกัน หรืออยู่ต่างต้นกัน ดอกเพศผู้ มีขนรูปดาว กลีบรองกลีบดอก 4-6 กลีบ ปลายกลีบมีขน กลีบดอก 4-6 กลีบ ขอบกลีบมีขน ฐานดอกมีขน และมีต่อมจำนวนเท่ากันและอยู่ตรงข้ามกันกับกลีบรองกลีบดอก เกสรผู้มีจำนวนมาก ก้านเกสรไม่ติดกัน เมื่อดอกยังอ่อนอยู่ ก้านเกสรจะโค้งเข้าข้างใน ดอกเพศเมีย กลีบรองกลีบดอกรูปไข่ มีขนที่โคนกลีบ ไม่มีกลีบดอก หรือถ้ามีก็เล็กมาก รังไข่มี 2-4 ช่อง ผลแก่จัดแห้งและแตก รูปขอบขนานหรือรี กว้าง 1-1.5 ซม. ยาวประมาณ 2 ซม. หน้าตัดรูปสามเหลี่ยมมนๆ เมล็ดรูปขอบขนานแกมรูปรี สีน้ำตาลอ่อน (ลีนา ผู้พัฒนพงศ์, 2530)

ส่วนที่ใช้ :
 ใบ ดอก ผล เมล็ด เปลือก ราก
สรรพคุณ :
  • ใบ  -  แก้ตะมอย แก้ไส้ด้าน ไส้ลาม (กามโรคที่เกิดเนื้อร้ายจากปลายองค์กำเนิดกินลามเข้าไปจนถึงต้นองค์กำเนิด)
  • ดอกฆ่าเชื้อโรคกลากเกลื้อน แก้คุดทะราด
  • ผล - แก้ลมอัมพฤกษ์ ดับเดโชธาตุ มีให้เจริญ
  • เมล็ด - เป็นยาถ่ายอย่างแรง ถ่ายร้อนคอ ปวดมวน ก่อนใช้ต้องทำการประสะก่อน (อันตราย)
  • เปลือกต้น - แก้เสมหะอันคั่งค้างอยู่ในอกและลำคอ
  • ราก - แก้โรคเรื้อน ถ่ายเสมหะ ถ่ายโลหิตและลม
วิธีการใช้
  • ส่วนใบ - ก่อนจะนำมาผสมยา ให้นึ่งเสียก่อน
  • เมล็ด - เป็นยาถ่ายอย่างแรง การใช้เมล็ดเป็นยาถ่ายต้องระวังมาก เพราะน้ำมันในมเล็ดสลอดมีพิษร้อนคอ ไข้ปวดมวนและระบายจัด ก่อนใช้ผสมยา ต้องคั่วจนเกรียมให้หมดน้ำมันเสียก่อน อีกวิธีหนึ่งเอาเมล็ดใส่ในข้าวสุกปั้นเป็นก้อนแล้วต้มให้นานๆ จึงใช้ผสมยา อีกวิธีหนึ่งต้องเอาเมล็ดสลอดใส่ปากไหปลาร้า ทิ้งไว้ 3 วัน จึงเอาขึ้นมาตากแห้งใช้ผสมยาได้เมื่อจะทำยาระบาย ต้องมียาคุมฤทธิ์ไว้ให้ดี มิฉะนั้นจะมีคลื่นเหียน ปวดมวนไชท้องอย่างยิ่ง ฉะนั้น การใช้สลอดนี้ ถ้ายาคุมฤทธิ์ไว้ได้ดีก็จะเป็นยาวิเศษขนานหนึ่ง แต่ถ้าวิธีคุมฤทธิ์ไว้ไม่ดีก็อย่าบังควรใช้เลย ให้ใช้ยาขนานอื่นแทน

กลุ่มยาแก้โรคเรื้อน -สบู่เลือด

สบู่เลือด
ชื่อวิทยาศาสตร์  Stephania pierrei  Diels
วงศ์  MENISPERMACEAE
ชื่ออื่น :  บัวกือ (เชียงใหม่, เพชรบุรี)  บัวเครือ (เพชรบูรณ์) บัวบก (กาญจนบุรี,นครราชสีมา) เปล้าเลือดเครือ (ภาคเหนือ)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก มีหัวใต้ดินีขนาดใหญ่  กลมแป้น เปลือกหัวสีน้ำตาล เนื้อในสีขาวนวล รสชาติมันและเฝื่อนเล็กน้อย ลำต้นแทงขึ้นจากหัว โค้งงอลงสู่พื้นดิน เป็นไม้กึ่งเลื้อยทอดยาวได้ประมาณ 3-5 เมตร ใบ เป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปเกือบกลม หรือ กลมคล้ายใบบัว แต่จะมีขนาดเล็กกว่า เส้นผ่าศูนย์กลางใบประมาณ 3-6  ซม.  ก้านใบยาว 2-3.5  ซม. ติดที่กลางแผ่นใบ ดอกออกเป็นช่อกระจุกที่ซอกใบ เป็นดอกแยกเพศ กลีบเลี้ยง 4-5 กลีบ รูปขอบขนาน สีเหลือง ไม่มีกลีบดอก ผลมีลักษณะเป็นทรงกลม มี 1 เมล็ด รูปเกือกม้า
ส่วนที่ใช้ :  หัว ก้าน ต้น ใบ ดอก เถา
สรรพคุณ :
  • ต้น -  กระจายลมที่แน่นในอก
  • ใบ - บำรุงธาตุไฟ ใส่บาดแผลสดและเรื้อรัง
  • ดอก - ฆ่าเชื้อโรคเรื้อน ทำให้อุจจาระละเอียด
  • เถา - ขับโลหิตระดู  ขับพยาธิในลำไส้
  • หัว, ก้าน - แก้เสมหะเบื้องบน ทำให้เกิดกำลัง บำรุงกำหนัด
  • ราก - บำรุงเส้นประสาท
วิธีใช้
  • หัวกับก้านรับประทานกับสุรา ทำให้หนังเกิดอาการชาอยู่ยงคงกระพัน ถูกเฆี่ยน ตีไม่เจ็บไม่แตก พวกนักดื่มนิยมกันนัก
  • หัวหั่นเป็นชิ้นบางๆ สัก 3 แว่น ตำโขลกกับน้ำซาวข้าวหรือสุราก็ได้ให้ละเอียดๆ แล้วคั้นเอาแต่น้ำดื่ม ประมาณ 1 ถ้วยชา เช้า-เย็น และก่อนนอน แก้ตกเลือดของสตรี แก้มุตกิด ระดูขาว หรือตกขาวได้อย่างชงัด เป็นผลมากแล้ว

กลุ่มยาแก้โรคเรื้อน -พิลังกาสา

พิลังกาสา
ชื่อวิทยาศาสตร์  Ardisia polycephala  Wall.
ชื่อสามัญ   ตีนจำ (เลย) ผักจำ ผักจ้ำแดง (เชียงใหม่, เชียงราย)
วงศ์  MYRSINACEAE
ชื่ออื่น :  กะเบาข้าวแข็ง กะเบาข้าวเหนียว กะเบา กะเบาเบ้าแข็ง (ภาคกลาง) มะกูลอ กะตงคง (ลาว-เชียงใหม่) กะดงเบา (ลำปาง) กะเบาใหญ่ (นครราชสีมา) เบา กูลา (ปัตตานี) หัวค่าง (ประจวบ) กะเบาตึกกะเบาดึก กราเบา (เขมร) ตั้วโฮ่งจี๊ (จีน)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :  ไม้ต้นขนาดย่อม สูง 2-3 เมตร ใบเป็นใบเดี่ยว ออกสลับกันเป็นคู่ ๆ ตามข้อต้น ลักษณะใบเป็นรูปไข่ ปลายแหลม โคนใบสอบ ขอบใบเรียบ ไม่มีจักร ใบจะหนา ใหญ่ มีสีเขียวเป็นมัน ดอกออกเป็นช่ออยู่ตามปลายกิ่ง หรือตามส่วนยอด ดอกมีสีชมพูอมขาว ผลโตเท่าขนาดเม็ดนุ่น เมื่อยังอ่อนเป็นสีแดง ผลแก่จะเป็นสีม่วงดำ
ส่วนที่ใช้ :  ทั้ง 5 คือ ใบ ดอก ราก เมล็ด ผล
สรรพคุณ : ใบอ่อนรับประทานเป็นผักได้
ใบ  -   มีรสร้อน แก้โรคตับพิการ แก้ท้องเสีย แก้ไอ
ดอก -  ฆ่าเชื้อโรค
ผล - แก้ไข้ ท้องเสีย แก้โรคเรื้อน
เมล็ด - แก้ลมพิษ
ต้น - แก้โรคเรื้อน กุดถัง โรคผิวหนัง
ราก - แก้กามโรค หนองใน พอกปิดแผล ถอนพิษงูกัด ใช้กากพอกแผล เอาน้ำดื่ม

กลุ่มยาแก้โรคเรื้อน -เลี่ยน

เลี่ยน
ชื่อวิทยาศาสตร์  Melia azedarach  L.
ชื่อสามัญ  Bastard Cedar, Persian Lilac
วงศ์ Meliaceae
ชื่ออื่น :  เลี่ยน, เลี่ยน Lian, เคี่ยน Khian (Central); เกรียน Krian (Northern); เลี่ยนใบหใญ่ Lian bai yai (Central); เฮี่ยน Hian (Northern), ดอกเลี่ยน,ต้นเลี่ยน,ใบเลี่ยน,ผลเลี่ยน,รากเลี่ยน,เกรียน,เคี่ยน,เฮี่ยน
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ตระกูลเดียวกันกับสะเดา ลักษณะลำต้นและใบมีความใกล้เคียงกันกับสะเดา มีความสูงประมาณ 20-30 เมตร เป็นต้นไม้ที่มีการเจริญเติบโตเร็ว แตกกิ่งก้านออกไปรอบ ๆ ลำต้นเป็นจำนวนมาก เปลือกผิวลำต้นมีสีน้ำตาล มีแผลเป็นร่องตามยาว ลำต้นเจริญขึ้นตรง ทรงพุ่มกลมรูปกรวยโปร่ง ใบออกเป็นช่อ ช่อหนึ่งมีใบอยู่ประมาณ 3-5 ใบ ช่อใบยาวประมาณ 12 - 15 เซนติเมตร ลักษณะของใบย่อย ปลายใบแหลมเรียวโคนใบสอบขอบใบหยักแบบฟันเลื่อย บนใบเกลี้ยงสีเขียวส่วนล่างของใบมีขนสีเขียวอ่อนเห็นเส้นใบชัด ขนาดความกว้างของใบประมาณ 3-5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 3-6 เซนติเมตร ออกดอกเป็นช่อ เป็นกระจุกใหญ่ออกตามปลายกิ่งที่ง่าม ใบ ดอกมีฐานรองดอกเล็กมีกลีบดอก 5-6 กลีบ ดอกมีสีม่วงอ่อนหรือสีฟ้า กลิ่นหอม ผลกลม รี สีเขียวมีขนาดโตประมาณ 0.5 เซนติเมตร เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง
ภายในผลมีเมล็ดประมาณ 4-5 เมล็ด


ส่วนที่ใช้
ส่วนทั้ง 5
สรรพคุณ ทุกส่วนของต้นเลี่ยน รสขม เมา แก้โรคผิวหนัง แก้โรคเรื้อนและกุดถัง ทำให้ผิวหนังดำเกรียมแล้วลอกเป็นขุย เป็นยาอายุวัฒนะ ทำให้ร่างกายแข็งแรง
  • ยาง - แก้ม้ามโต
  • เมล็ด - แก้ปวดในข้อ
  • ผล - แก้โรคเรื้อนและฝีคันทะมาลา
  • ดอก - แก้โรคผิวหนัง
  • น้ำคั้นจากใบ - ขับพยาธิ ขับปัสสาวะ แก้นิ่ว บำรุงโลหิต ประจำเดือน
  • ดอกและใบ - พอกแก้ปวดศีรษะ ปวดประสาท
  • เปลือกต้น - รักษาเหา
วิธีและปริมาณที่ใช้
  • ทาแก้โรคผิวหนัง โรคเรื้อน กุดถึง
    ใช้ดอก 1 ช่อเล็ก หรือ ผล 5-7 ผล
    เอาดอกหรือผลตำให้ละเอียด เติมน้ำมันพืช แล้วใช้ทาบริเวณที่เป็นวันละ 2-3 ครั้ง ติดต่อกันจนกว่าจะหาย
  • ใช้รักษาเหา
    ใช้เปลือกต้นประมาณครึ่งฝ่ามือ หรือ ผลที่โตเต็มที่สดๆ 10-15 ผล โขลกให้ละเอียด เติมน้ำมันมะพร้าว 3-4 ช้อนแกง ชะโลมผมที่เป็นเหาทิ้งไว้ 1 ชั่วโมง แล้วสระให้สะอาดติดต่อกัน 2-3 วัน
  • ใช้เป็นยาฆ่าแมลงและไล่แมลง
    ใช้ใบเปลือกแห้งต้มกับน้ำ ใช้ฉีดไล่ตั๊กแตนและตั๊กแตนห่า
  • ผล ใช้เบื่อปลา
    โดยใช้ผล ตำๆ แล้วเทลงในบ่อปลา จะฆ่าปลาได้ เป็นพิษต่อตัวมวน มวนชอบทำอันตรายต่อผลส้ม เป็นพิษต่อคน (ถ้ารับประทานถึงขนาดหนึ่งจะทำให้อาเจียนและท้องเดิน)
สารเคมี : มีสารกลุ่มแอลคาลอยด์ ชื่อ Azadirachtin, Toosendanin ในส่วนผลยังพบ Bakayknin, Steroid สารขมชื่อ Margosine, Fixed oil และกำมะถัน

กลุ่มยาแก้โรคเรื้อน -ดองดึง

ดองดึง
ชื่อวิทยาศาสตร์  Gloriosa superba L.
ชื่อสามัญ :   Flame lily, Climbing lily, Turk's cap, Superb lily, Gloriosa lily
วงศ์ :   Colchicaceae
ชื่ออื่น :  ก้ามปู (ชัยนาท); คมขวาน, บ้องขวาน, หัวขวาน (ชลบุรี); ดาวดึงส์, ว่านก้ามปู (ภาคกลาง); พันมหา (นครราชสีมา); มะขาโก้ง (ภาคเหนือ); หมอยหีย่า (อุดรธานี) ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้เถาล้มลุกอายุหลายปี ยาวได้ถึง 5 เมตร มีเหง้าใต้ดินทรงกระบอกโค้ง ใบเดี่ยวเรียงสลับ หรือเรียงเป็นวงรอบข้อ 1-3 ใบรูปขอบขนานแกมรูปใบหอก ยาว 5-15 ซม. ปลายใบเรียวแหลมงอเป็นมือเกาะ ไร้ก้าน ดอกเดี่ยว ออกตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ดอกใหญ่ ยาว 6-10 ซม. ก้านดอกยาวประมาณ 5 ซม. ดอกมีสีแดงด้านบน หรือตามขอบกลีบ มีสีเหลืองด้านล่าง บางครั้งมีสีเหลืองซีด อมเขียว หรือสีแดงทั้งดอก เกศรเพศผู้มี 6 อัน ก้านยาว 3-5 ซม. อับเรณูยาวประมาณ 1 ซม. ก้านเกสรเพศเมียยาว 0.3-0.7 ซม. แยกเป็น 3 แฉก ผลรูปขอบขนาน ยาวประมาณ 5-10 ซม. แตกตามรอยประสาน เมล็ดกลมสีแดงส้มจำนวนมาก

ส่วนที่ใช้ :  หัว แป้งที่ได้จากหัว เมล็ด ราก
สรรพคุณ : ราก, หัวดองดึง  - แก้โรคเรื้อน คุดทะราด บาดแผล และขับผายลม รับประทานแก้ลมพรรดึก แก้เสมหะ แก้ลมจับโปง ลมเข้าข้อ (รูมาติซั่ม)  หัวเข่าปวดบวมได้ดี หัวใช้ต้มรับประทานแก้ท้องขึ้นอืดเฟ้อ แก้ลมจุกเสียด
- ขับพยาธิ สำหรับสัตว์พาหนะ
- ฝนทาแก้พิษงู พิษตะขาบ แมลงป่อง
- ทาแก้โรคผิวหนัง
- มีสารเมททิลโคลซิซี แป้งที่ได้จากหัว
, ราก
- แก้โรคหนองใน
  
- ใช้สารสะกัดสำหรับเปลี่ยนแปลงพันธุ์พืช
ข้อควรระวัง - สารมีฤทธิ์ข้างเคียงเป็นอันตรายถึงตายได้
                  - ราก พบ Methylcolchicine
ข้อมูลเพิ่มเติม
การแพร่กระจายพันธุ์ : ดองดึงมีถิ่นกำเนิดในอัฟริกาเขตร้อน ขึ้นเป็นวัชพืชทั่วไปในเอเชียเขตร้อน รวมทั้งไทย ตามที่โล่ง ชายป่า ดินปนทราย สามารถขึ้นได้บนดินที่ขาดความอุดมสมบูรณ์ จนถึงระดับความสูง 2500 เมตร (ในต่างประเทศ) นอกจากนี้พบปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไปในประเทศเขตอบอุ่น โดยเฉพาะในเรือนกระจก

ประโยชน์ : เหง้าดองดึงมีสารอัลคลอลอย์ดหลายชนิดที่มีพิษถึงเสียชีวิตโดยเฉพาะสาร colchicines ถ้าใช้ในปริมาณน้อยสามารถใช้รักษาโรคเก๊าและมะเร็งได้

กลุ่มยาแก้โรคเรื้อน -กระเบาน้ำ

กระเบาน้ำ
ชื่อวิทยาศาสตร์  Hydnocarpus  anthelminthicus  Pieere ex Laness.

ชื่ออื่น : กระเบา (ทั่วไป) ตึก (เขมร-ภาคตะวันออก) กระเบาเบ้าแข็ง กระเบาใหญ่, กาหลง (ภาคกลาง) ตัวโฮ่งจี๊ (จีน)  เบา (สุรษฎร์ธานี)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้นขนาดกลาง สูง 10-20 ม. ลำต้นเปลา ใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปใบหอกแกมรูปไข่ หรือรูปขอบขนาน ปลายสอบเรียว โคนสอบหรือมน เบี้ยวเล็กน้อย ขอบเรียบ เส้นแขนงใบ และเส้นใบย่อยเห็นได้ชัดทางด้านล่าง ดอกแยกเพศ อยู่ต่างต้น ดอกเพศผู้ออกเดี่ยวๆ ตามง่ามใบ กลิ่นหอมมาก กลีบเลี้ยง 5 กลีบ มีขนอ่อนนุ่มทั้ง 2 ด้าน กลีบดอก 5 กลีบ สีชมพู เกสรเพศผู้ 5 อัน ดอกเพศเมียออกเป็นช่อสั้นๆ ตามง่ามใบ กลีบเลี้ยงและกลีบดอกเหมือนกับดอกเพศผู้ เกสรเพศผู้ไม่สมบูรณ์ 5 อัน ยอดเกสรเพศเมียแยกเป็น 5 แฉก รังไข่รูปไข่หรือรูปไข่กลับ มีขนสั้นๆ ผลกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 8-12 ซม. ผิวเรียบ เปลือกแข็ง มีขนหรือเกล็ดสีน้ำตาล มี 30-50 เมล็ด อัดกันแน่น เมล็ดรูปไข่ เบี้ยว ปลายทั้ง 2 ข้างมน
ส่วนที่ใช้ ผลแก่สุก เมล็ด น้ำมันในเมล็ด (Chaumoogra Oil)
สรรพคุณ :
ผลแก่สุก  - ใช้รับประทานเนื้อในเป็นอาหารคล้ายเผือกต้ม
น้ำมันในเมล็ด
- ใช้ดัดแปลงทางเคมีเป็นยารับประทานหรือยาฉีดหรือยาทาภายนอก บำบัดโรงเรื้อน มะเร็ง คุดทะราด และโรคผิวหนัง ผื่นคันที่มีตัวทุกชนิด เพราะมีรสเมา สามารถฆ่าเชื้อโรคได้ดี
- ใช้ปรุงเป็นน้ำมันใส่ผมรักษาโรคบนศีรษะได้ด้วย
วิธีและปริมาณที่ใช้ - ใช้เมล็ดแก่เต็มที่ 10 เมล็ด แกะเอาเปลือกออก ตำให้ละเอียด เติมน้ำมันมะพร้าวหรือน้ำมันพืชพอเข้าเนื้อ ใช้ทาโรคผิวหนังได้แทบทุกชนิด
ข้อมูลเพิ่มเติม น้ำมันที่บีบได้จากเมล็ดเรียกว่า น้ำมันกระเบา (Chaulmoogra oil หรือ Hydnocarpus oil) มีส่วนประกอบส่วนใหญ่เป็น chaulmoogric acid และ hydnocarpic acid น้ำมันกระเบานำมาใช้รักษาโรคเรื้อน และโรคผิวหนังอย่างอื่นอีก เช่น โรคเรื้อนกวาง หิด นอกจากนี้ ยังใช้แก้อาการปวดบวมตามข้อ เนื้อผลกินได้

วันพุธที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2556

กลุ่มยาแก้อาเจียน -ว่านกาบหอย

ว่านกาบหอย

ชื่อวิทยาศาสตร์  Tradescantia spathacea  Stearn
ชื่อสามัญ  Oyster plant , White flowered tradescantia
วงศ์  Commelinaceae
ชื่ออื่น :  กาบหอยแครง ว่านหอยแครง (กรุงเทพฯ)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก สูง 20-45 ซม. ลำต้นอวบใหญ่ แตกใบรอบเป็นกอ ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงซ้อนเป็นวงรอบ รูปใบหอก ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ หลังใบสีเขียว ท้องใบสีม่วงแดง เนื้อใบหนา ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบ แต่ละช่อประกอบด้วยใบประดับสีม่วงปนเขียว รูปหัวใจคล้ายหอยแครง มี 2 กาบ โคนกาบทั้งสองประกบเกยซ้อนและโอยหุ้มดอกสีขาว ดอกสีขาวเล็กอยู่รวมเป็นกระจุก กลีบดอก 3 กลีบ รูปไข่ สีขาว แผ่นกลีบหนา เกสรเพศผู้มี 6 อัน ผล รูปรี กว้าง 2.5-3 มม. ยาว 3.5 มม. มีขนเล็กน้อย ผลแก่แตกออกเป็น 3 ซีก เมล็ดเล็ก
ส่วนที่ใช้ :
ใช้ใบสด หรือตากแห้งเก็บไว้ใช้ และดอก เมื่อเก็บดอกที่โตเต็มที่ แล้วตากแห้ง หรืออบด้วยไอน้ำ 10 นาที แล้วจึงนำไปตากแห้ง เก็บเอาไว้ใช้
สรรพคุณ :
  • ใบ - แก้ร้อนใน กระหายน้ำ แก้ไอ อาเจียนเป็นโลหิต แก้ฟกช้ำภายใน เนื่องจากพลัดตกจากที่สูงหรือหกล้มฟาดถูกของแข็ง แก้บิด ถ่ายเป็นเลือด แก้ปัสสาวะเป็นเลือด
  • ดอกรสชุ่มเย็น ต้มกับเนื้อหมูรับประทาน ใช้ขับเสมหะ แก้ไอแห้งๆ แก้อาเจียนเป็นโลหิต เลือดกำเดาออก ห้ามเลือด แก้ปัสสาวะเป็นเลือด แก้ไอเป็นเลือด แก้บิดถ่ายเป็นเลือด
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
  • ใบ  ใช้ต้มน้ำดื่ม ครั้งละ 15- 30 กรัม ใช้ภายนอก โดยการตำพอก
  • ดอก ใช้ดอกแห้งหนัก 10- 15 กรัม หรือ ดอกสด หนัก 30- 60 กรัม ต้มน้ำดื่ม
ตำรับยา :
  • แก้ไอ ร้อนใน กระหายน้ำ แก้อาเจียนเป็นโลหิต แก้ฟกช้ำภายใน เนื่องจากพลัดตกจากที่สูง หรือหกล้มฟาดถูกของแข็ง
    ใช้ใบสด 3 ใบ ต้มน้ำผสมน้ำตาลกรวดเล็กน้อยดื่ม
แก้หวัด ไอ มีเสมหะปนเลือด เลือดกำเดาออก บิดจากแบคทีเรีย
ใช้ดอกแห้ง 20-30 ดอก ต้มน้ำดื่ม

กลุ่มยาแก้อาเจียน -ยอบ้าน

ยอบ้าน

ชื่อวิทยาศาสตร์  Morinda citrifolia  L.
ชื่อสามัญ  Indian Mulberry
วงศ์  Rubiaceae
ชื่ออื่น :  ยอบ้าน (ภาคกลาง) มะตาเสือ (ภาคเหนือ) ยอ แยใหญ่ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น สูง 2-6 เมตร เปลือกต้นสีน้ำตาล แตกเป็นสะเก็ดแล้วหลุดออก กิ่งอ่อนเป็นสี่เหลี่ยม ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้าม รูปรี กว้าง 8-15 ซม. ยาว 10-20 ซม. ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ สีเขียวเข้มเป็นมัน ดอก ออกเป็นช่อกลมตามซอกใบ ดอกสีขาว กลีบดอกโคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 5 แฉก มีกลิ่นหอม ผล เป็นผลรวม ผิวขรุขระเป็นตุ่ม ผลสุกมีกลิ่นเหม็นเอียน เมล็ดสีน้ำตาลมีหลายเมล็ด
ส่วนที่ใช้
ใบ ราก ผลดิบ ผลสุก
สรรพคุณ :
  • ใบ -  มีวิตามินเอ 40,000 กว่ายูนิตสากลต่อ 100 กรัม มีคุณสมบัติในการบำรุงสายตา หัวใจ คั้นน้ำทาแก้โรคเก๊าท์ ปวดตามข้อเล็กๆ ของนิ้วมือ นิ้วเท้า หรือคั้นน้ำสระผมฆ่าเหา แก้กระษัย ใช้ใบปรุงเป็นอาหาร แก้ท้องร่วง
  • ราก -  ใช้เป็นยาระบาย แก้กระษัย ใช้สกัดสีออกมา เป็นสีย้อมผ้าได้ โดยผสมส่วนของเกลือต่างๆ สามารถเปลี่ยนเป็นสีต่างๆ ได้ตามต้องการ ซึ่งสีเดิมของรากจะมีสีเหลือง หรือเหลืองปนแดง หากผสมตามส่วนด้วยเกลือ อาจจะได้สีแดง ชมพู น้ำตาลอ่อน สีม่วงแดง หรือสีดำ เป็นต้น
  • ผลโตเต็มที่แต่ไม่สุก  - จิ้มน้ำผึ้งรับประทาน มีคุณสมบัติเป็นยาขับลม บำรุงธาตุ เจริญอาหาร ขับลมในลำไส้ กระเพาะอาหาร แก้เหงือกเปื่อยเป็นขุมบวม ขับเลือดลม ขับโลหิตประจำเดือน
  • ผลดิบ -  ต้มน้ำรับประทานกับรากผักชี แก้อาการอาเจียนของหญิงมีครรภ์
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
          นำผลยอโตเต็มที่แต่ไม่สุก ฝานเป็นชิ้นบางๆ ย่างหรือคั่วไฟอ่อนๆ ให้เหลืองกรอบ ใช้ครั้งละ 1 กำมือ (10-15 กรัม) ต้มหรือชงกับน้ำ เอาน้ำที่จิบทีละน้อย และบ่อยๆ ครั้งจะได้ผลดีกว่าดื่มครั้งเดียว
สารเคมี : ผลยอนั้นมีสารเคมี Asperuloside, caproic acid, caprylic acid และ glucose

กลุ่มยาแก้อาเจียน -มะกล่ำต้น

มะกล่ำต้น

ชื่อวิทยาศาสตร์  Adenanthera pavonina  L.
ชื่อสามัญ  Red Wood, Coral Woood
วงศ์  Mimosaceae
ชื่ออื่น :  มะโหกแดง (ภาคเหนือ) มะหัวแดง มะแดง มะก้ำต้น มะกล่ำตาช้าง ไฟ (ใต้) ปี้จั่น
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้นขนาดกลาง ใบ เป็นใบประกอบซ้อน มีใบย่อย 3-4 คู่ ใบย่อยเป็นใบประกอบ มีใบย่อย 5-9 คู่ รูปกลมรีเสมอกันทั้งใบ ขนาดเท่าหัวแม่มือ สีเขียวเข้ม มักออกที่ปลายกิ่ง ดอก ออกช่อสีเหลือง ผล กลมยาวบิด เมื่อแก่แตกออกเห็นเมล็ดสีแดงสดกลมแป้น มีชนิดเมล็ดเล็กและชนิดโต
ส่วนที่ใช้ :  ราก เมล็ด ใบ
สรรพคุณ :
  • รากรสเปรี้ยวเล็กน้อย แก้ทางเสมหะ แก้ร้อนใน แก้อาเจียน แก้หืดไอ และพิษฝี
  • มล็ด, ใบ - แก้ริดสีดวงทวารหนัก
  • เมล็ดใน - เป็นยาเบื่อพยาธิ และเบื่อไส้เดือนได้ดี ถ้าผสมกับยาอื่นที่ทำให้ระบายด้วยแล้ว ก็จะได้ประโยชน์ทั้งเบื่อไส้เดือน และระบายออกมาด้วย

กลุ่มยาแก้อาเจียน -พระจันทร์ครึ่งซีก

พระจันทร์ครึ่งซีก
ชื่อวิทยาศาสตร์  Lobelia chinensis  Lour.
วงศ์  Campanulaceae
ชื่ออื่น :  บัวครึ่งซีก (ชัยนาท)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก ลำต้นขนาดเล็ก ตามข้อมีรากออก ลำต้นเลื้อยทอดไปตามพื้นดิน ชูส่วนยอดขึ้น มียางสีขาว ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปใบหอก กว้าง 0.2-0.6 ซม. ยาว 1-2 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบตัด ขอบใบจักเป็นฟันเลื่อยตื้นเกือบเรียบ แผ่นใบเรียบสีเขียวเป็นมัน ก้านใบสั้นมาก ดอก ออกดอกเดี่ยวตามซอกใบ ดอกสีม่วงอ่อน กลีบเลี้ยงสีเขียวอมม่วง มี 5 กลีบ กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 5 แฉก หลอดดอกแยกผ่าออก ทำให้กลีบดอกเรียงเพียงด้านเดียว หลอดดอกด้านนอกมีขนสีขาว ผล เป็นผลแห้ง แตกออกได้
ส่วนที่ใช้ :
 ทั้งต้นสด ขณะที่ดอกกำลังบาน
สรรพคุณ :           ลดไข้ แก้หอบหืด บำรุงปอด แก้อาเจียนเป็นเลือด วัณโรค ปอดพิการอักเสบ ทอนซิลอักเสบ เจ็บคอ ตาแดง ไส้ติ่งอักเสบ ลำไส้อักเสบ บิด ขับปัสสาวะ (เพื่อลดอาการบวมจากไตอักเสบ) ท้องมาน (เนื่องจากพยาธิใบไม้ในเลือดและดีซ่าน) ยาแก้มะเร็ง กระเพาะอาหาร หรือที่ทวารหนัก แก้ข้ออักเสบ เคล็ดขัดยอก บวมเจ็บ ฝี แผลเปื่อย บาดแผล กลากเกลื้อน ผื่นคัน และแก้คัดจมูก หรือโรคแพ้ เนื่องจากการใช้ยา เข้ารากย่อม
ข้อห้ามใช้
          ห้ามใช้ในคนที่มีอาการท้องอืด อาหารไม่ย่อย อุจจาระหยาบเหลว (จีนเรียก ม้ามพร่อง)

ตำรับยาและวิธีใช้
  • แก้อาเจียนเป็นเลือด  ใช้ต้นสดตำผสมกับสุราเล็กน้อย รับประทาน
  • ท้องเสีย  ใช้ต้นสด 15- 30 กรัม (1 กำมือ) ต้มน้ำดื่ม
  • ทอนซิลอักเสบ ใช้ต้นสดตำให้ละเอียด ปั้นเป็นก้อนขนาดไข่ไก่ ใส่ในถ้วย เติมเหล้าเข้าไป 90 ซีซี. ผสมให้เข้ากัน คั้นเอาน้ำแบ่งอม 3 ครั้งๆ ละ 10-20 นาที แล้วบ้วนทิ้ง
  • บิด ใช้ต้นสด 60 กรัม ต้มน้ำ เติมน้ำตาลแดงดื่ม
  • บวมน้ำ (เพราะไตอักเสบ) ท้องมาน (เนื่องจากพยาธิใบไม้) ใช้ต้นสด 30- 60 กรัม ต้มน้ำดื่ม
  • ดีซ่าน ขัดเบา บวมน้ำ ใช้ต้นสด 30 กรัม ผสมกับรากหญ้าคา ( Imperata cylindrica Beauv ) 30 กรัม ต้มน้ำใส่น้ำตาลทราย แบ่งกิน 2 ครั้ง เช้า-เย็น
  • เคล็ดขัดยอก บวมเจ็บ ใช้ต้นสด 60 กรัม น้ำ 180 ซีซี. ต้มให้เหลือ 90 ซีซี. กรองเอาน้ำเก็บไว้ นำกากที่เหลือไปต้มอีกครั้งตามอัตราส่วนเดิม นำน้ำกรองครั้งที่ 2 รวมกับครั้งแรก ให้เหลือ 60 ซีซี. เทใส่ขวดเก็บไว้ เวลาใช้เอาสำลีชุบน้ำยา ปิดบริเวณที่ปวดบวม
  • ฝี แผลเปื่อย ผิวหนังอักเสบ ใช้ต้นสดพอประมาณ ใส่เกลือเล็กน้อย ตำให้แหลก พอกบริเวณที่เป็น
  • เต้านมอักเสบ  ใช้ต้นสด ตำให้ละเอียด พอกบริเวณที่เป็น
  • ตาแดง ใช้ต้นสดจำนวนพอสมควร ล้างให้สะอาด ตำให้ละเอียด นำมาพอกบนหนังตา เอาผ้าก็อตที่สะอาดปิด เปลี่ยนยาวันละ 2 ครั้ง
สารเคมี :  สารสำคัญคือ Lobeline, Flavone และ Inulin

กลุ่มยาแก้อาเจียน -ปีกแมลงสาบ หรือ ก้ามปูหลุด


ปีกแมลงสาบ หรือ ก้ามปูหลุด

ชื่อวิทยาศาสตร์  Tradescantia zebrina  Loudon  ( Zebrina pendula  Schnizl.)
วงศ์  Commelinaceae
ชื่ออื่น :  ก้ามปูหลุด (กรุงเทพฯ)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก แตกแขนงมาก ลำต้นทอดราบไปตามพื้นและชูส่วนปลายกิ่งสูง 10-30 ซม. ลำต้นอวบสีเขียวหรือเขียวประม่วงจนถึงม่วงลายเขียว มีข้อและปล้องชัด ใบเดี่ยว เรียงสลับ กาบใบเป็นปลอกหุ้มรอบข้อสูงประมาณ 1 ซม. ที่กาบใบมีลายเส้นสีม่วงเป็นแนวตามความยาวและมีขน ใบรูปไข่หรือรูปรี กว้าง 1.5-3 ซม. ยาว 3-8 ซม. ปลายแหลม โคนมน เบี้ยว ขอบเรียบ สีม่วงและมีขนประปราย เส้นกลางใบสีม่วง แผ่นใบด้านบนสีเขียวสลับแถบสีเงินและประสีม่วง ด้านล่างสีม่วงหรือม่วงสลับเขียว ช่อดอกสั้น ออกที่ยอด มีใบประดับใหญ่ 2 ใบ ซึ่งมีขนาดไม่เท่ากันประกบหุ้มช่อดอกอ่อนไว้ ดอกจะทยอยบานโผล่เหนือใบประดับ ดอกบานเต็มที่กว้างประมาณ 1 ซม. ก้านดอกสั้นมาก กลีบเลี้ยงสีขาว บาง โคนติดกันเป็นหลอด ยาวประมาณ 4 มม. ปลายแยกเป็น 2 แฉก มีขน กลีบดอกโคนติดกันเป็นหลอดเรียวสีขาว ยาวประมาณ 1 ซม. ปลายแยกเป็นกลีบรูปไข่ 3 กลีบ กว้าง 4-5 มม. ยาว 6-8 มม. กลีบด้านบนสีม่วง ด้านล่างสีขาว เกสรเพศผู้ 6 อัน ก้านชูอับเรณูสีขาว มีขนยาวสีม่วง อับเรณูสีนวล รังไข่เล็ก ก้านเกสรเพศเมียเรียว ยอดเกสรเพศเมียมี 3 แฉก ผลเล็กมาก
ส่วนที่ใช้ :
เก็บทั้งต้นสด ล้างสะอาด หรือตากแห้งเก็บเอาไว้ใช้
สรรพคุณ :
          ทั้งต้นรสชุ่ม เย็นจัด มีพิษ ใช้แก้อาเจียนเป็นโลหิต หนองใน ตกขาว บิด ฝีอักเสบ สตรีมีครรภ์ ห้ามรับประทาน ก้านและใบมี Calcium oxalate, Gum
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
          ใช้ทั้งต้นแห้งหนัก 15- 30 กรัม (สดใช้ 60- 90 กรัม ) ต้มกับน้ำดื่มหรือคั้นเอาน้ำดื่ม
  • แก้ไอเป็นเลือด
    ใช้ต้นสด 60- 90 กรัม ต้มกับปอดหมูหนัก 120 กรัม ผสมน้ำต้มให้เหลือ 1 ชาม ดื่มหลังอาหารวันละ 2 ครั้ง
  • แก้โรคหนองใน
    ใช้ต้นสด 60- 120 กรัม ใส่น้ำต้มให้เหลือ 1 ถ้วย ดื่มหลังอาหารวันละ 2 ครั้ง
  • แก้สตรีมีตกขาวมาก
    ใช้ต้นสด 60- 120 กรัม น้ำตาลกรวด 30 กรัม  ต่าฉ่าย (Mytilum crassitesta Lischke) 30 กรัม  ผสมน้ำต้มให้เหลือครึ่งชาม ดื่มหลังอาหารวันละ 2 ครั้ง
  • แก้บิดเรื้อรัง
    ใช้กาบหุ้มดอกสดหนัก 150 กรัม  ข้าวสารคั่วจนเกรียม (เริ่มไหม้) 30 กรัม ต้มน้ำแบ่งดื่มเป็น 3 ครั้ง

กลุ่มยาแก้อาเจียน -ขิง

ขิง

ชื่อวิทยาศาสตร์  Zingiber officinale  Roscoe
ชื่อสามัญ  Ginger
วงศ์  Zingiberaceae
ชื่ออื่น :  ขิงแกลง ขิงแดง (จันทบุรี) ขิงเผือก (เชียงใหม่) สะเอ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :  ไม้ล้มลุก มีเหง้าใต้ดิน สีน้ำตาลแกมเหลือง เนื้อในสีนวล มีกลิ่นเฉพาะ จะแทงหน่อหรือลำต้นเทียมขึ้นมาเหนือพื้นดิน ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปขอบขนาน แกมรูปใบหอก กว้าง 1.5-2 ซม. ยาว 15-20 ซม. ขอบใบเรียบ แผ่นใบสีเขียวเข้มเป็นมัน  ดอก ออกเป็นช่อ แทงออกจากเหง้าใต้ดิน ใบประดับเรียงเวียนสลับสีเขียวอ่อน ดอกสีเหลืองแกมเขียว ผล เป็นผลแห้ง ทรงกลม ขนาดประมาณ 1 ซม. เป็น 3 พู เมล็ดหลายเมล็ด
ส่วนที่ใช้
เหง้าแก่สด  ต้น  ใบ  ดอก  ผล
สรรพคุณ :
  • เหง้าแก่สด 
    - ยาแก้อาเจียน
    - ยาขมเจริญอาหาร
    - ยาแก้ท้องขึ้น ท้องอืดเฟ้อ ขับลม
    - แก้ไอ ขับเสมหะ บำรุงธาตุ
    - สามารถต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร ลดอาการจุกเสียดได้ดี
    - มีฤทธิ์ในการขับน้ำดี เพื่อย่อยอาหาร
    - แก้ปากคอเปื่อย แก้ท้องผูก
    - ลดความดันโลหิต
  • ต้น - ขับผายลม แก้จุกเสียดแน่นเฟ้อ แก้นิ่ว บำรุงไฟธาตุ แก้คอเปื่อย ช่วยย่อยอาหาร ฆ่าพยาธิ แก้โรคตา แก้บิด แก้ลมป่วง แก้ท้องร่วงอย่างแรง แก้อาเจียน
  • ใบ - แก้โรคกำเดา ขับผายลม แก้นิ่วแก้เบาขัด แก้คอเปื่อย บำรุงไฟธาตุ ช่วยย่อยอาหาร ฆ่าพยาธิ แก้โรคตา  ขับลมในลำไส้
  • ดอก - ทำให้ชุ่มชื่น แก้โรคตาแฉะ ฆ่าพยาธิ ช่วยย่อยอาหาร แก้คอเปื่อย บำรุงไฟธาตุ  แก้นิ่ว แก้เบาขัด แก้บิด
  • ผล - แก้ไข้
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
  • ยาแก้อาเจียน
    ใช้ขิงแก่สด หรือแห้ง ขิงสดขนาดหัวแม่มือ (ประมาณ 5 กรัม) ทุบให้แตก ถ้าแห้ง 5-7 ชิ้น ต้มกับน้ำดื่ม
    นำขิงสด 3 หัว หัวโตยาวประมาณ 5 นิ้ว ใส่น้ำ 1 แก้ว ต้มจนเหลือ 1/2 แก้ว (ประมาณ 15-20 นาที หลังจากเดือดแล้ว) รินเอาน้ำดื่ม
  • ยาขมเจริญอาหาร
    ใช้เหง้าสดประมาณ 1 องคุลี ถ้าผงแห้งใช้ 1/2 ช้อนโต๊ะ หรือประมาณ 0.6 กรัม
    ผงแห้งชงกับน้ำดื่ม เหง้าสดต้มน้ำ หรือปรุงอาหาร เช่น ผัด หรือรับประทานสดๆ เช่น กับลาบ แหนม และอื่นๆ
  • แก้อาการท้องอืดเฟ้อ จุกเสียดและปวดท้อง
    - น้ำกระสายขิง น้ำขิง 30 กรัม มาชงด้วยน้ำเดือด 500 ซีซี ชงแช่ไว้นาน 1 ชั่วโมง กรองรับประทานครั้งละ 2 ช้อนโต๊ะ
    - ใช้ขิงแก่ต้มกับน้ำ รินน้ำดื่มแก้โรคจุกเสียด ทำให้หลับสบาย
    - ขิงแก่ยาว 2 นิ้ว ทุบพอแหลก เทน้ำเดือดลงไปครึ่งแก้ว ปิดฝา ตั้งทิ้งไว้นาน 5 นาที รินเอาแต่น้ำมาดื่มระหว่างอาหารแต่ละมื้อ
    - ใช้ผงขิงแห้ง 1 ช้อนโต๊ะปาดๆ หรือ 0.6 กรัม ถ้าขิงแก่สดยาวประมาณ 1 องคุลี หรือประมาณ 5 กรัม ต้มกับน้ำ เติมน้ำตาลดื่มทุกๆ วัน ถ้าเป็นผงขิงแห้งให้ชงน้ำร้อน เติมน้ำตาลดื่ม
  • แก้ไอและขับเสมหะ
    ใช้ขิงสดฝนกับน้ำมะนาว แทรกเกลือ ใช้กวาดคอหรือจิบบ่อยๆ
  • ลดความดันโลหิต
    ใช้ขิงสดเอามาฝานต้มกับน้ำรับประทาน
สารเคมี
          เหง้า พบ  Gingerol Zingiberene, Zingiberone Zingiberonol, Shogoal, Fenchone, Camphene Cineol Citronellol
          ใน น้ำมันหอมระเหย พบสาร Bisabolene, Zingiberone Zingiberol, Zingiberene, Limonene, Citronellol Gingerol, Camphene, Borneol, Cineol
          ทั้งต้น พบ 5 - (1) - 6 - Gingerol
          ใบ  พบ Shikimic acid