Golden Dreams TMS&Herb

วันพุธที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2555

กลุ่มยาลดความดันโลหิตสูง -มะขาม

มะขาม
ชื่อวิทยาศาสตร์  Tamarindus indica  L.
ชื่อสามัญ  Tamarind, Indian date
วงศ์  Leguminosae – Caesalpinioideae
ชื่ออื่น :  ขาม (ภาคใต้) ตะลูบ(ชาวบน-นครราชสีมา) ม่องโคล้ง (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี) อำเปียล (เขมร-สุรินทร์) หมากแกง (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน) ส่ามอเกล (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์: ไม้ต้นขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่แตกกิ่งก้านสาขามาก เปลือกต้นขรุขระและหนา สีน้ำตาลอ่อน ใบ เป็นใบประกอบ ใบเล็กออกตามกิ่งก้านใบเป็นคู่ ใบย่อยเป็นรูปขอบขนาน ปลายใบและโคนใบมน ดอก ออกเป็นช่อเล็กๆ ตามปลายกิ่ง หนึ่งช่อมี 10-15 ดอก ดอกย่อยขนาดเล็ก กลีบดอกสีเหลืองและมีจุดประสีแดงอยู่กลางดอก ผล เป็นฝักยาว รูปร่างยาวหรือโค้ง ยาว 3-20 ซม. ฝักอ่อนมีเปลือกสีเขียวอมเทา สีน้ำตาลเกรียม เนื้อในติดกับเปลือก เมื่อแก่ฝักเปลี่ยนเป็นเปลือกแข็งกรอบหักง่าย สีน้ำตาล เนื้อในกลายเป็นสีน้ำตาลหุ้มเมล็ด เนื้อมีรสเปรี้ยว และหวาน
ส่วนที่ใช้
ราก เปลือก ทั้งต้น แก่น ใบ เนื้อในฝัก ฝักดิบ เมล็ด เปลือกเมล็ด ดอกสด
สรรพคุณ :
  • รากแก้ท้องร่วง สมานแผล รักษาเริม และงูสวัด
  • เปลือกต้น - แก้ไข้ ตัวร้อน
  • แก่น - กล่อมเสมหะ และโลหิต ขับโลหิต ขับเสมหะ รักษาฝีในมดลูก รักษาโรคบุรุษ เป็นยาชักมดลูกให้เข้าอู่
  • ใบสด (มีกรดเล็กน้อย) - เป็นยาถ่าย ยาระบาย ขับลมในลำไส้ แก้ไอ แก้บิด รักษาหวัด ขับเสมหะ หยอดตารักษาเยื่อตาอักเสบ แก้ตามัว  ฟอกโลหิต ขับเหงื่อ ต้มผสมกับสมุนไพรอื่นๆ อาบหลังคลอดช่วยให้สะอาดขึ้น
  • เนื้อหุ้มเมล็ด - แก้อาการท้องผูก เป็นยาระบาย ยาถ่าย ขับเสมหะ แก้ไอ กระหายน้ำ เป็นยาสวนล้างท้อง
  • ฝักดิบ - ฟอกเลือด และลดความอ้วน เป็นยาระบายและลดอุณหภูมิในร่างกาย บรรเทาอาการไข้
  • เมล็ดในสีขาว - เป็นยาถ่ายพยาธิไส้เดือนตัวกลมในลำไส้ พยาธิเส้นด้าย
  • เปลือกเมล็ด - แก้ท้องร่วง แก้บิดลมป่วง สมานแผลที่ปาก ที่คอ ที่ลิ้น และตามร่างกาย รักษาแผลสด ถอนพิษและรักษาแผลที่ถูกไฟลวก รักษาแผลเบาหวาน
  • นื้อในฝักแก่ (มะขามเปียก) - รับประทานจิ้มเกลือ แก้ไอ ขับเสมหะ
  • ดอกสด - เป็นยาลดความดันโลหิตสูง
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
  1.  เป็นยาถ่ายพยาธิไส้เดือน ตัวกลม ตัวเส้นด้าย ได้ผลดีใช้เมล็ดคั่วกะเทาะเปลือกออก แล้วเอาเนื้อในเมล็ดแช่น้ำเกลือจนนุ่ม รับประทานเนื้อทั้งหมด ครั้งละ 20-30 เมล็ด
  2. เป็นยาระบาย ยาถ่าย- ใช้เนื้อที่หุ้มเมล็ด (มะขามเปียก) แกะเมล็ดแล้วขนาด 2 หัวแม่มือ (15-30 กรัม) จิ้มเกลือรับประทาน แล้วดื่มน้ำตามมากๆ
    - เอามะขามเปียกละลายน้ำอุ่นกับเกลือ ฉีดสวนแก้ท้องผูก
  3. แก้ท้องร่วง-เมล็ดคั่วให้เกรียม กะเทาะเปลือกรับประทาน
    -เปลือกต้น ทั้งสดและแห้ง ประมาณ 1-2 กำมือ (15-30 กรัม) ต้มกับน้ำปูนใส หรือ น้ำ รับประทาน
  4. รักษาแผลเมล็ดกะเทาะเปลือก ต้ม นำมาล้างแผลและสมานแผลได้
  5. แก้ไอและขับเสมหะใช้เนื้อในฝักแก่ หรือมะขามเปียก จิ้มเกลือรับประทานพอควร
  6. เป็นยาลดความดันสูงใช้ดอกสด ไม่จำกัดจำนวน ใช้แกงส้มหรือต้มกับปลาสลิดรับประทาน
สารเคมี :
  • ใบ  มี  Alcohols, phenolic esters and ethers. Sambubiose, Carboxylic acid, Oxalic acid
  • ดอก  มี  a - Oxoglutaric acid, Glyoxalic acid , Oxaloacetic acid
  • ผล มี  Alcohols, Aldehydes; Citric acid Ketones, Vitamin B1, Essential Oil, Enzyme.

กลุ่มยาลดความดันโลหิตสูง -บัวบก


บัวบก
ชื่อวิทยาศาสตร์  Centella asiatica (L.) Urban.
ชื่อสามัญ  Asiatic pennywort, Indian pennywort
วงศ์ Apiaceae (Umbelliferae)
ชื่ออื่น :  ผักหนอก (ภาคเหนือ)  ผักแว่น (ภาคใต้)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก ลำต้นเป็นไหลทอดเลื้อยไปตามดินที่ชื้นแฉะ ขึ้นง่าย มีรากฝอยออกตามข้อ ใบชูตั้งขึ้น มีไหลงอกออกจากต้นเดิม ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปไต ขนาดกว้างและยาว 2-5 ซม. ปลายใบกลม โคนใบเว้า ขอบใบหยัก แผ่นใบสีเขียวมีขนเล็กน้อย ก้านใบยาว ดอก ออกเป็นช่อแบบซี่ร่มตามซอกใบ มีดอกย่อย 2-3 ดอก กลีบดอกมี 5 กลีบ สีม่วงอมแดงกลับกัน ผล เป็นผลแห้งแตกแบน เมล็ดสีดำ
ส่วนที่ใช้
ทั้งต้นสด
สรรพคุณ :
  • ใบ - มีสาร Asiaticoside ทำยาทาแก้แผลโรคเรื้อน
  • ทั้งต้นสด
    - เป็นยำบำรุงกำลัง บำรุงหัวใจ แก้อ่อนเพลีย เมื่อยล้า
    - รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก หรือมีการชอกช้ำจากการกระแทก แก้พิษงูกัด
    - ปวดศีรษะข้างเดียว
    - ขับปัสสาวะ
    - แก้เจ็บคอ
    - เป็นยาห้ามเลือด ส่าแผลสด แก้โรคผิวหนัง
    - ลดความดัน แก้ช้ำใน
  • เมล็ด - แก้บิด แก้ไข้ ปวดศีรษะ
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
  • ใช้เป็นยาแก้ปวดศีรษะข้างเดียว
    ใช้ต้นสดไม่จำกัด รับประทาน หรือคั้นน้ำจากต้นสดรับประทาน ควรรับประทานติดต่อกัน 2-3 วัน
  • ใช้เป็นยาแก้เจ็บคอ
    ใช้ทั้งต้นสด 10-20 กรัม หรือ 1 กำมือ ตำคั้นน้ำเติมน้ำส้มสายชู 1-3 ช้อนแกง จิบบ่อยๆ
  • เป็นยาลดความดันโลหิตสูง
    ใช้ทั้งต้นสด 30-40 กรัม คั้นน้ำจากต้นสด เติมน้ำตาลเล็กน้อย รับประทาน 5-7 วัน
  • ยาแก้ช้ำใน (พลัดตกหกล้ม)
    ใช้ต้นสด 1 กำมือ ล้างให้สะอาด ตำคั้นน้ำ เติมน้ำตาลเล็กน้อย ดื่ม 1 ครั้ง รับประทานติดต่อกัน 5-6 วัน
  • เป็นยาถอนพิษรักษาแผลน้ำร้อนลวก
    ใช้ทั้งต้นสด 2-3 ต้น ล้างให้สะอาด ตำให้ละเอียดพอกแผลไฟไหม้ ช่วยลดอาการปวดแสบปวดร้อน
  • เป็นยาห้ามเลือด ใส่แผลสด
    ใช้ใบสด 20-30 ใบ ล้างให้สะอาด ตำพอกแผลสด ช่วยห้ามเลือดและรักษาแผลให้หายเร็ว
สารเคมี : สารสกัดจากใบบัวบกประกอบด้วย madecassoside asiatic acid, asiaticoside, centelloside, centellic acid brahminoside, brahmic acid.

กลุ่มยาลดความดันโลหิตสูง -ระย่อมน้อย

ระย่อมน้อย
ชื่อวิทยาศาสตร์  Rauvolfia serpentina (L.) Benth. ex Kurz
วงศ์  Apocynaceae
ชื่ออื่น :  กอเหม่ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) กะย่อม (ภาคใต้) เข็มแดง (ภาคเหนือ) คลาน ตูมคลาน มะโอ่งที สะมออู  (กะเหรียง-กาญจนบุรี) ระย่อม (ภาคกลาง)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่ม สูง 30-70 ซม. มียางขาว ใบ เดี่ยว เรียงตรงข้ามหรือรอบๆ ข้อๆ ละ 3 ใบ รูปวงรีหรือรูปใบหอก กว้าง 4-8 ซม. ยาว 7-20 ซม. ดอก ช่อ ออกที่ปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงสีขาวแกมเขียว เมื่อกลีบดอกโรยจะเปลี่ยนเป็นสีแดง กลีบดอกสีขาว โคนกลีบเป็นหลอดสีแดง ผลเป็นผลสด รูปวงรี
ส่วนที่ใช้
รากสด รากแห้ง น้ำจากใบ ดอก เปลือก
สรรพคุณ :
  • รากสด - เป็นยารักษาหิด
  • รากแห้ง - เป็นยาลดความดันโลหิตสูง เป็นยากล่อมประสาท ทำให้ง่วงนอน และอยากอาหาร
  • ดอก - แก้โรคตาแดง
  • น้ำจากใบ - ใช้รักษาโรคแก้ตามัว
  • เปลือก - แก้ไข้พิษ
  • กระพี้ - บำรุงโลหิต
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
  • เป็นยารักษาหิด
    ใช้รากสด 2-3 ราก นำมาตำให้ละเอียด เติมน้ำมันพืชพอแฉะๆ ใช้ทาบริเวณที่เป็นหิดวันละ 2-3 ครั้ง จนกว่าจะหาย
  • ป็นยาลดความดันโลหิตสูง
    ใช้รากแห้ง 200 มิลลิกรัมต่อวัน รับประทาน 1-3 อาทิตย์ติดต่อกัน โดยป่นเป็นผงคลุกกับน้ำผึ้ง รับประทานเป็นยาเม็ด
    ข้อควรระวัง - การรับประทานต้องสังเกต และระมัดระวังเป็นพิเศษ ถ้ามีอาการวิงเวียนศีรษะ หน้ามืด ใจสั่น หรือมีอาการผิดปกติ ให้หยุดยาทันที โดยเฉพาะระย่อม
  • รากระย่อม ปรุงเป็นยารับประทานทำให้ง่วงนอน และอยากอาหาร

กลุ่มยาลดความดันโลหิตสูง -กาหลง

กาหลง
ชื่อวิทยาศาสตร์  Bauhinia acuminata  L.
วงศ์  Leguminosae – Caesalpinioideae
ชื่ออื่น :  กาแจ๊ะกูโด (มลายู-นราธิวาส); กาหลง (ภาคกลาง); โยธิกา (นครศรีธรรมราช); ส้มเสี้ยว (ภาคกลาง); เสี้ยวน้อย (เชียงใหม่)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่ม สูง 1-3 เมตร กิ่งอ่อนมีขนทั่วไป กิ่งแก่ค่อนข้างเกลี้ยง ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่หรือเกือบกลม กว้าง 9-13 ซม. ยาว 10-14 ซม. ปลายเว้าลงมาสู่เส้นกลางใบลึกเกือบครึ่งแผ่นใบ ทำให้ปลายแฉกทั้ง 2 ข้างแหลม โคนรูปหัวใจ ขอบเรียบ เส้นใบออกจากโคนใบ 9-10 เส้น ปลายเส้นกลางใบมีติ่งเล็กแหลม แผ่นใบด้านบนเกลี้ยง ด้านล่างมีขนเล็กละเอียด ก้านใบยาว 3-4 ซม. มีขนหูใบเรียวแหลม ยาวประมาณ 1 ซม. ร่วงง่าย มีแท่งรยางค์เล็กๆ อยู่ระหว่างหูใบ ช่อดอกแบบช่อกระจะสั้นๆ ออกตรงข้ามกับใบที่อยู่ตอนปลายกิ่ง มี 3-10 ดอก ก้านดอกยาว 0.5-1.5 ซม. โคนก้านดอกมีใบประดับขนาดเล็ก 2-3 ใบ รูปสามเหลี่ยมเรียวแหลม ดอกตูมรูปกระสวย ยาว 2.5-4 ซม. ดอกบาน เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 5-8 ซม. กลีบเลี้ยง 5 กลีบ ติดกันคล้ายกาบกว้าง 1-1.8 ซม. ยาว 2.5-4 ซม. ปลายเรียวแหลมและแยกเป็นพู่เส้นสั้นๆ 5 เส้น กลีบดอก 5 กลีบ สีขาว รูปรีหรือรูปไข่กลับ มักมีขนาดไม่เท่ากัน ปลายมน โคนสอบ กว้างประมาณ 2 ซม. ยาว 4-6 ซม. เกสรเพศผู้ 10 อัน ก้านชูอับเรณูแต่ละอันยาวไม่เท่ากัน มีตั้งแต่ 1.5-2.5 ซม. อับเรณูสีเหลือง รูปขอบขนาน ยาว 3-5 มม. ก้านชูเกสรเพศเมียยาวประมาณ 1 ซม. รับไข่รูปขอบขนาน ยาว 6-8 มม. ก้านเกสรเพศเมียยาว 1-2 ซม. ยอดเกสรเพศเมียเป็นแผ่นกลม ฝักแบน คล้ายรูปขอบขนาน กว้าง 1-1.5 ซม. ยาว 9-15 ซม. ปลายและโคนฝักสอบแหลม ปลายฝักมีติ่งแหลม ยาวประมาณ 8 มม. ขอบฝักเป็นสันหนา มี 5-10 เมล็ด เมล็ดเล็ก คล้ายรูปขอบขนาน
ส่วนที่ใช้ :
 ดอก
สรรพคุณ :
  • ดอก - รับประทาน แก้ปวดศีรษะ
    - ลดความดันของโลหิตที่ขึ้นสูง
    - แก้เลือดออกตามไรฟัน
    - แก้เสมหะพิการ