Golden Dreams TMS&Herb

วันพุธที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

กลุ่มพืชถอนพิษ - เสลดพังพอนตัวผู้ (ซองระอา)

เสลดพังพอนตัวผู้ (ซองระอา)

ชื่อวิทยาศาสตร์  Barleria lupulina Lindl.
ชื่อสามัญ  Hop Headed Barleria
วงศ์  ACANTHACEAE
ชื่ออื่น :  พิมเสนต้น (ภาคกลาง) ทองระอา ช้องระอา ลิ้นงูเห่า เสลดพังพอนตัวผู้ (กรุงเทพฯ) คันชั่ง (ตาก) อังกาบ อังกาบเมือง (ไทย) ก้านชั่ง (พายัพ) ชื่อภาษาอังกฤษ
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่ม สูงประมาณ 1 เมตร มีหนามแหลมยาว ข้อละ 2 คู่ ถึง 3 คู่กิ่งก้าน ก้านใบสีน้ำตาลแดง ใบเดี่ยวสีเขียวเข้ม เส้นกลางใบแดง ดอกช่อออกที่ปลายกิ่ง ช่อดอกยาว 8 ซม. มีใบประดับสีน้ำตาลแดง ค่อนข้างกลม กลีบดอกสีส้ม ผลเป็นฝักรูปไข่
ส่วนที่ใช้ :
ราก ใบ ส่วนทั้ง 5
สรรพคุณ :
  • ราก  -  แก้ตาเหลือง หน้าเหลือง เมื่อยตัว กินข้าวไม่ได้ แก้เจ็บท้อง แก้ผิดอาหาร ถอนพิษงู พิษแมลงสัตว์กัดต่อย แก้ปวดฟัน  
  • ใบ - ถอนพิษแมลงสัตว์กัดต่อย แก้ลมพิษ รักษาเม็ดผื่นคันตามผิวหนัง แก้โรคเบาหวาน แก้ปวดแผล แผลจากของมีคมบาด แก้โรคฝีต่างๆ รักษาโรคคางทูม แก้โรคไฟลามทุ่ง แก้ขยุ้มตีนหมา แก้โรคงูสวัด รักษาโรคเริม ถอนพิษจากเม็ดตุ่มฝีดาษ รักษาโรคฝีดาษ แก้ฟกช้ำ แก้ช้ำบวมเนื่องจากถูกของแข็ง ถอนพิษไข้ พิษไข้ทรพิษ แก้ปวดฟัน เหงือกบวม แก้ริดสีดวงทวาร แก้ยุงกัด แก้พิษไฟลวกน้ำร้อนลวก แก้ปวดจากปลาดุกแทง
  • ส่วนทั้ง 5 - ใช้เหมือนเสลดพังพอนตัวเมีย และใช้แทนเสลดพังพอนตัวเมียได้ แต่ใบเสลดพังพอนตัวเมียมีรสจืด ใบเสลดพังพอนตัวผู้มีรสขมมาก และเสลดพังพอนตัวผู้มีฤทธิ์อ่อนกว่าเสลดพังพอนตัวเมีย
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
         
ใช้เหมือนเสลดพังพอนตัวเมียทุกอย่าง
สารเคมี
:
         
ต้น  พบ Iridiod glycoside, Acetyl barlerin , Barlerin, Shanzhiside methyl ester.

กลุ่มพืชถอนพิษ - เสลดพังพอนตัวเมีย (พญาปล้องทองง)

เสลดพังพอนตัวเมีย (พญาปล้องทองง)

ชื่อวิทยาศาสตร์  Clinacanthus nutans (Burm.f) Lindau.
ชื่อสามัญ  -
วงศ์  ACANTHACEAE
ชื่ออื่น :  ผักมันไก่ ผักลิ้นเขียด (เชียงใหม่) พญาปล้องดำ (ลำปาง) พญาปล้องทอง (ภาคกลาง) ลิ้นมังกร โพะโซ่จาง (กะเหรี่ยง) เสลดพังพอนตัวเมีย
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นไม้พุ่มเลื้อย ลำต้นและกิ่งก้านสีเขียว ใบเป็นใบเลี้ยงเดี่ยวออกตรงข้ามกัน รูปรีแคบขอบขนาน กลีบดอกสีแดงส้ม โคนกลีบดอกติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 2 ส่วน ขึ้นตามป่า หรือปลูกกันตามบ้าน ขยายพันธุ์โดยวิธีปักชำ เสลดพังพอนมีชื่อพ้องกัน คือ เสลดพังพอนตัวผู้ และเสลดพังพอนตัวเมีย แต่ต่างกันที่เสลดพังพอนตัวผู้มีหนาม สรรพคุณอ่อนกว่าเสลดพังพอนตัวเมีย เพื่อไม่ให้สับสนจึงเรียกเสลดพังพอนตัวเมียว่า พญายอ และตำรายาไทยนิยมนำมาทำยา
ส่วนที่ใช้ :
ส่วนทั้ง 5  ใบสด  ราก
สรรพคุณ :
  • ส่วนทั้ง 5  -   ใช้ถอนพิษ โดยเฉพาะพิษแมลงสัตว์กัดต่อย ตะขาบ แมลงป่อง รักษาอาการอักเสบ งูสวัด ลมพิษ แผลน้ำร้อนลวก
  • ใบ - นำมาสกัดทำทิงเจอร์และกรีเซอรีน ใช้รักษาแผลผิวหนังชนิดเริ่ม Herpes และรักษาแผลร้อนในในปาก Apthous ตับพิษร้อน แก้แผลน้ำร้อนลวก
  • ราก  - ปรุงเป็นยาขับปัสสาวะ ขับประจำเดือน แก้ปวดเมื่อยบั้นเอว 
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
  • รักษาอาการอักเสบ ถอนพิษ รักษาแผลร้อนในในปาก เริม งูสวัด
    - ใช้ใบเสลดพังพอนตัวเมียสด 10-20 ใบ (เลือกใบสีเขียวเข้มสดเป็นมันไม่อ่อนไม่แก่จนเกินไป)นำมาตำผสมกับเหล้าหรือน้ำมะนาว คั้นเอาน้ำดื่มหรือเอาน้ำทาแผลและเอากากพอกแผล
    - ใช้ใบเสลดพังพอน 1
    ,000 กรัม หมักใน alcohol 70 % 1,000 ซีซี. หมักไว้ 7 วัน นำมากรองแล้วเอาไประเหยให้เหลือ 500 ซีซี. เติม glycerine pure ลงไปเท่ากับจำนวนที่ระเหยไป (500 ซีซี.) นำน้ำยาเสลดพังพอนกรีเซอรีนที่ได้ทาแผลเริม งูสวัด แผลร้อนในปาก ถอนพิษต่างๆ
  • ทาบริเวณที่แมลงสัตว์กัดต่อยเป็นผื่นคัน
    - ใช้ใบสด 5-10 ใบ ตำขยี้ทาบริเวณที่เป็นแผลที่แพ้ จะยุบหายได้ผลดี
  • แก้แผลน้ำร้อนลวก
    - ใช้ใบตำเคี่ยวกับน้ำมะพร้าวหรือน้ำมันงา เอากากพอกแผลที่ถูกน้ำร้อนลวกหรือไฟไหม้ แผลจะแห้ง
    - นำใบมาตำให้ละเอียดผสมกับสุรา ใช้พอกบริเวณที่ถูกไฟไหม้หรือน้ำร้อนลวก มีสรรพคุณดับพิษร้อนได้ดี
สารเคมี :
          ราก  พบ Betulin, Lupeol, β-sitosterol
          ใบ  พบ Flavonoids

กลุ่มพืชถอนพิษ - ว่านหางจระเข้

ว่านหางจระเข้

ชื่อวิทยาศาสตร์  Aloe vera  (L.)  Burm.f.
ชื่อพ้อง : Aloe barbadensis  Mill
ชื่อสามัญ  Star cactus, Aloe, Aloin, Jafferabad, Barbados
วงศ์  Asphodelaceae
ชื่ออื่น :  หางตะเข้ (ภาคกลาง) ว่านไฟไหม้ (ภาคเหนือ)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุกอายุหลายปี สูง 0.5-1 เมตร ลำต้นเป็นข้อปล้องสั้น ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงเวียนรอบต้น ใบหนาและยาว โคนใบใหญ่ ส่วนปลายใบแหลม ขอบใบเป็นหนามแหลมห่างกัน แผ่นใบหนาสีเขียว มีจุดยาวสีเขียวอ่อน อวบน้ำ ข้างในเป็นวุ้นใสสีเขียวอ่อน ดอก ออกเป็นช่อกระจะที่ปลายยอด ก้านช่อดอกยาว ดอกสีแดงอมเหลือง โคมเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 6 แฉก เรียงเป็น 2 ชั้น รูปแตร ผล เป็นผบแห้งรูปกระสวย
ส่วนที่ใช้ :
วุ้นในใบสด  ยางในใบ  เหง้า
สรรพคุณ :
  • วุ้นในใบสด 
    - บรรเทาอาการปวดศีรษะ
    - รักษาแผลน้ำร้อนลวก ไฟไหม้
    - ถอนพิษ แก้ปวดแสบปวดร้อน แผลเรื้อรัง
  • ยางในใบ - ทำยาดำ เป็นยาระบาย
  • เหง้า  - ต้มเอาน้ำรับประทาน แก้หนองใน
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
  • บรรเทาอาการปวดศีรษะ
    เลือกใบว่านหางจระเข้ที่อยู่ล่างสุด ใบสด 1 ใบ (เพราะมีตัวยามากกว่า) ฝานตามขวางใบ หนาประมาณ 1/4 ซม. ใช้ปูนแดงทาตรงเนื้อที่มีลักษณะคล้ายวุ้นสีขาวใสๆ แล้วเอาทางด้านปูนแดงปิดบนขมับ
  • รักษาแผลน้ำร้อนลวก ไฟไหม้ ถอนพิษ
    ปอกเปลือกสีเขียวออก ล้างยางสีเหลืองออกให้หมด ขูดเอาวุ้นใสออกมาทาพอกบริเวณแผลที่ถูกไฟไหม้ หรือน้ำร้อนลวกให้ชุ่ม เปลี่ยนวุ้นทุกวันจนกว่าจะหาย ช่วยระงับความเจ็บปวดด้วยและป้องกันการติดเชื้อ ช่วยให้แผลหายเร็วและไม่เกิดแผลเป็น
    ** วุ้นว่านหางจระเข้ ยังใช้ทารักษาผิวไหม้ที่เกิดจากแดดเผาได้
ข้อควรระวัง :  ก่อนใช้ว่านทดสอบดูว่าแพ้หรือไม่ โดยเอาวุ้นทาบริเวณท้องแขนด้านใน ถ้าผิวไม่คันหรือแดงก็ใช้ได้

กลุ่มพืชถอนพิษ - รางจืด

รางจืด

ชื่อวิทยาศาสตร์  Thumbergia laurifolia   Lindl.
วงศ์  Acanthaceae
ชื่ออื่น :  กำลังช้างเผือก ขอบชะนาง เครือเขาเขียว ยาเขียว (ภาคกลาง) คาย รางเย็น  (ยะลา)  จอลอดิเออ ซั้งกะ ปั้งกะล่ะ พอหน่อเตอ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ดุเหว่า (ปัตตานี) ทิดพุด (นครศรีธรรมราช) น้ำนอง (สระบุรี) ย่ำแย้ แอดแอ (เพชรบูรณ์)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้เลื้อย/ไม้เถา เนื้อแข็ง  ใบ ใบเดี่ยว ออกตรงข้าม รูปขอบขนานหรือรูปไข่ ปลายใบเรียวแหลม โคนใบมนเว้า  มีเส้น 3 เส้นออกจากโคนใบ ดอก มีสีม่วงอมฟ้า ออกเป็นช่อห้อยลงตามซอกใบ ใบประดับสีเขียวประแดง กลีบเลี้ยงรูปจาน ดอกรูปแตรสั้น โคนกลีบดอกสีเหลืองอ่อน เชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 5 กลีบ เกสรเพศผู้ 4 อันผล เป็นฝักกลม ปลายเป็นจะงอย เมื่อแก่แตกเป็น 2 ซีก
ส่วนที่ใช้ :
 ใบ ราก และเถาสด
สรรพคุณ : รางจืดที่มีประสิทธิภาพ คือรางจืดชนิดเถาดอกม่วง
  • รากและเถา - รับประทานแก้ร้อนใน กระหายน้ำ
  • ใบและราก - ใช้ปรุงเป็นยาถอนพิษไข้ เป็นยาพอกบาดแผล น้ำร้อนลวก ไฟไหม้ ทำลายพิษยาฆ่าแมลง พิษจากสตริกนินให้เป็นกลาง พิษจากดื่มเหล้ามากเกินไป หรือยาเบื่อชนิดต่างๆ เข้าสู่ร่างกายโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม เช่น ติดอยู่ในฝักผลไม้ที่รับประทาน เมื่ออยู่ในสถานที่ห่างไกล การนำส่งแพทย์ต้องใช้เวลา อาจทำให้คนไข้ถึงแก่ชีวิตได้ ถ้ามีต้นรางจืดปลูกอยู่ในบ้าน ใช้ใบรางจืดไม่แก่ไม่อ่อนเกินไปนัก หรือรากที่มีอายุเกิน 1 ปีขึ้นไป และมีขนาดเท่านิ้วชี้ มาใช้เป็นยาบรรเทาพิษเฉพาะหน้าก่อนนำส่งโรงพยาบาล (รากรางจืดจะมีตัวยามากกว่าใบ 4-7 เท่า) ดินที่ใช้ปลูก ถ้าผสมขี้เถ้าแกลบหรือผงถ่านป่น จะช่วยให้ต้นรางจืดมีตัวยามากขึ้น
วิธีใช้ :
  • ใบสด สำหรับคน 10-12 ใบ
    สำหรับวัวควาย 20-30 ใบ
    นำใบสดมาตำให้ละเอียดผสมกับน้ำซาวข้าวครึ่งแก้ว คั้นเอาแต่น้ำดื่มให้หมดทันทีที่มีอาการ อาจให้ดื่มซ้ำได้อีกใน 1/2 - 1 ชั่วโมงต่อมา
  • รากสด
    สำหรับคน 1-2 องคุลี
    สำหรับวัวควาย 2-4 องคุลี
    นำรากมาฝนหรือตำกับน้ำซาวข้าว แล้วดื่มให้หมดทันทีที่มีอาการ อาจใช้ซ้ำได้อีกใน 1/2 - 1 ชั่วโมง ต่อมา
คำเตือน :  การใช้รางจืดสำหรับถอนพิษยาฆ่าแมลง ยาพิษและสตริกนินนั้น ต้องใช้ยาเร็วที่สุดเท่าที่จำทำได้ จึงจะได้ผลดี ถ้าพิษยาซึมเข้าสู่ร่างกายมากแล้ว หรือทิ้งไว้ข้ามคืน รางจืดจะได้ผลน้อยลง

กลุ่มพืชถอนพิษ - พุดตาน

พุดตาน

ชื่อวิทยาศาสตร์  Hibiscus mutabilis  L.
ชื่อสามัญ :  Cotton rose, Confederate rose
วงศ์  Malvaceae
ชื่ออื่น :  ดอกสามสี  สามผิว (ภาคเหนือ)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ม้พุ่ม สูงประมาณ 5 เมตร  ต้นและกิ่งมีขนสีเทา  ใบ เดี่ยว ออกสลับ รูปไข่โคนรูปหัวใจ ปลายแหลม  ขอบใบเว้าลึก มี 3- 5 แฉก  ใบมีขนสาก  ดอก  ซ้อนใหญ่งามมาก แรกบานมีสีขาว แล้วเปลี่ยนเป็นสีชมพูและแดง  ออกตามซอกใบและปลายกิ่ง  มีริ้วประดับ 7- 10 อัน  ผล กลม  เมื่อแก่แตกเป็น 5 แฉก  เมล็ด รูปไต มีขน ออกดอกตลอดปี 
ส่วนที่ใช้ :
ใบสด หรือใบตากแห้ง ดอก เก็บดอกตอนเริ่มบานเต็มที่ รากเก็บได้ตลอดปี ตากแห้งหรือใช้สดก็ได้
สรรพคุณ :
  • ยารักษาคางทูม
  • ยาถอนพิษ รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก แผลมีหนอง
  • ยาแก้งูสวัด
วิธีและปริมาณที่ใช้
  • ยารักษาคางทูม
    -
    ใช้ใบแห้ง 10-15 ใบ บดให้ละเอียด เติมไข่ขาวผสมให้เข้ากัน เพื่อให้ยาจับกันเป็นแผ่น นำไปพอกปิดบริเวณที่บวมเป็นคางทูม เปลี่ยนยาวันละ 2 ครั้ง จนกว่าจะหายบวม
    -
    ใช้ดอก อย่างแห้ง หนัก 3-12 กรัม ใบสด 30-40 กรัม ต้มน้ำรับประทาน ใช้ภายนอก บดเป็นผงผสม หรือใช้สดตำพอก
  • ยาดถอนพิษ รักษาแผลน้ำร้อนลวก ไฟไหม้ แผลมีหนอง
    -
    ใช้ใบสด 3-4 ใบ ล้างน้ำให้สะอาด ตำให้ละเอียดแล้วผสมกับน้ำมันพืช ใช้ทาแผลน้ำร้อนลวก ไฟไหม้ แผลมีหนอง
  • ยาแก้งูสวัด
    - ใช้ใบสด 4-5 ใบ ล้างให้สะอาด ตำให้ละเอียด เติมน้ำซาวข้าว ใช้ทาบริเวณที่เป็น ทาบ่อยๆ
    -
    รากใช้เป็นยาทาภายนอก ตำพอกหรือบดเป็นผงผสมพอก
สารเคมี
  • ใบ มี Flavonoid glycosides , phenol, amino acid, tannin
  • ดอก มี Flavonoid glycosides จะมีปริมาณเปลี่ยนไปตามสีของดอกไม้เมื่อบานเต็มที่ สีแดงจะมี anthocyanin ในตอนที่ดอกมีสีแดงเข้ม จะมีปริมาณของ  anthocyanin เป็น 3 เท่าของตอนที่มีดอกเป็นสีชมพู

กลุ่มพืชถอนพิษ - ผักบุ้งทะเล

ผักบุ้งทะเล

ชื่อวิทยาศาสตร์  Ipomoea pes-caprae ( L.) R.br.
ชื่อสามัญ  Goat's Foot Creeper, Beach Morning Glory
วงศ์  Convolvulaceae
ชื่ออื่น :  ละบูเลาห์ (มลายู-นราธิวาส)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้เลื้อยล้มลุก เลื้อยไปตามผิวทรายหรือดิน ชอบขึ้นในพื้นที่ใกล้ทะเล ทั้งต้นมีน้ำยางสีขาว ใบ เดี่ยว แผ่นใบกว้าง โคนใบรูปหัวใจ ปลายใบเว้าลึก ดอก ช่อ มี 4-6 ดอก กลีบดอกสีชมพูอมม่วง กลีบดอกติดกันปลายบานคล้ายปากแตร ดอกบานตอนเช้า บ่ายๆ จะหุบเหี่ยว ผล เป็นผลแห้งแตกได้
ส่วนที่ใช้
ใบ รากสด ทั้งต้น เมล็ด
สรรพคุณ :
  • ใบสด  -   เป็นยาพอก ต้มอาบรักษาโรคผิวหนัง แก้ปวดไขข้อบวมอักเสบมีหนอง
  • รากสด - ขับปัสสาวะในโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ แก้โรคเท้าช้าง ปวดฟัน ผดผื่นคันมีน้ำเหลือง
  • ทั้งต้น - แก้อาการอักเสบจากพิษแมงกระพรุนไฟ ถอนพิษลมเพลมพัด ต้มอาบแก้โรคคันตามผิวหนัง
  • เมล็ด - ป้องกันโรคตะคริว
วิธีและปริมาณที่ใช้
  • แก้พิษแมงกระพรุนไฟ แก้แพ้พิษต่างๆ
    - ใช้ใบโขลก พอก ถอนพิษ
    - ใช้รากสด 1 ราก นำมาฝนกับน้ำฝนให้ข้นๆ อาจใช้เหล้าโรงหรือแอลกอฮอล์ผสมด้วยจะได้ผลดี ใช้ทาบ่อยๆ
สารเคมี
  • ใบ พบ Fumaric acid, Succinic acid, Citric acid, Maleic acid, Curcumene, Ergotamine
  • ลำต้นเหนือดิน พบ Behenic acid, Benzoic acid, Butyric acid, Essential Oil, Potassium Chloride, Myristic acid, Sodium chloride, ß-Sitosterol
  • ทั้งต้น พบ Citric acid, Fumaric acid, Hyperoside, Malic acid, Isoquercitrin, Succinic acid, Tartaric acid
  • เมล็ด พบ Dehydrocacalohastine, Cacalol methyl ether, Ergotamine, Matorin, Matorin acetate

กลุ่มพืชถอนพิษ - เทียนกิ่ง

เทียนกิ่ง

ชื่อวิทยาศาสตร์  Lawsonia inermis  L.
ชื่อสามัญ  Henna
วงศ์  Lythraceae
ชื่ออื่น :  เทียนขาว เทียนแดง เทียนไม้ (ภาคกลาง)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่ม สูง 3-5 เมตร เปลือกต้นเรียบสีน้ำตาล กิ่งอ่อนสีเขียวนวล แตกกิ่งก้านเล็กเป็นพุ่มกว้าง ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกัน รูปรี กว้าง 1-2 ซม. ยาว 3-4 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบรูปลิ่ม ขอบใบเรียบ แผ่นใบสีเขียว ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ดอกสีแดงหรือสีขาว กลีบดอก 4 กลีบ ยับย่น เกสรเพศผู้มี 8 อัน เกสรเพศเมียมี 1 อัน ผล รูปทรงกลม สีเขียว พอแก่เป็นสีน้ำตาล ผลแห้ง แตกได้
ส่วนที่ใช้
ใบสดและแห้ง ราก เปลือกต้น ดอก ผล
สรรพคุณ :
  • ใบ 
    -
      มีตัวยาสำคัญชื่อลอร์โซน (Lawsone) มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรค ใช้ทำยากันเล็บถอด เล็บช้ำ เล็บขบ แก้ปวดนิ้วมือนิ้วเท้า แผลมีหนอง ถอนพิษปวดแสบปวดร้อน ฝี แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก แผลฟกช้ำ ผิวหนังอักเสบ
    - รักษากามโรค แก้ปวดท้อง ท้องร่วง ขับปัสสาวะ
    - ในสมัยโบราณ ใช้เป็นเครื่องสำอาง พอกเล็บ เป็นยาย้อมผม ขน
  • ราก - ใช้ขับประจำเดือน รักษาตาเจ็บ ขับปัสสาวะ และรักษาโรคลมบ้าหมู
  • เปลือก - ขับน้ำเหลืองเสียในโรคเรื้อน
  • ดอก - ใช้ขับประจำเดือน แก้ปวดศีรษะ รักษาดีซ่าน
  • ผล - ใช้ขับประจำเดือน
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
  • ยากันเล็บถอด เล็บขบ เล็บช้ำ
วิธีที่ 1  ใช้ใบเทียนกิ่งสด 20-30 ใบ ล้างให้สะอาดตำให้ละเอียด เอาข้าวสุกปั้นเป็นก้อนขนาดเท่าแม่มือ เผาไฟให้บางส่วนดำเป็นถ่านตำรวม ใส่เกลือเล็กน้อย พอกที่เล็บซึ่งถูกของหนักๆ ทับ หรือตรงจมูกเล็บเป็นหนอง หนองก็จะหาย เล็บไม่ถอด
วิธีที่ 2 ใช้ใบเทียนกิ่งสด 20-30 ใบ

กลุ่มพืชถอนพิษ - เทียนบ้าน

เทียนบ้าน

ชื่อวิทยาศาสตร์  Impatiens balsamina  L.
ชื่อสามัญ  Garden Balsam
วงศ์  BALSAMINACEAE
ชื่ออื่น :  เทียนดอก เทียนไทย เทียนสวน (ภาคกลาง)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุกสูง 30-80 ซม. ลำต้นอวบน้ำและค่อนข้างโปร่งแสง ออกดอกออกผลแล้วต้นจะตาย ใบเดี่ยวเรียงสลับรอบลำต้น รูปวงรี ขอบใบหยักฟันเลื่อย ดอกเดี่ยวหรือเป็นกระจุก ออกที่ซอกใบ กลีบดอกมีสีชมพู แดง ม่วง ขาว ผลเป็นผลแห้ง เมื่อแก่จัดจะแตกออก เปลือกผลม้วนขมวดขึ้น และดีดเมล็ดที่ค่อนข้างกลมสีน้ำตาลออกมา เพื่อช่วยกระจายพันธุ์
ส่วนที่ใช้ใบทั้งสดและแห้ง ยอดสด ต้นและรากสด เมล็ดแห้ง
สรรพคุณ :
  • ใบสด แก้ปวดข้อ ยารักษากลากเกลื้อน แก้ฝีและแผลพุพอง ยากันเล็บถอด
  • ใบแห้ง แก้แผลอักเสบ ฝีหนอง แผลเน่าเปื่อย รักษาแผลเรื้อรัง
  • ยอดสด แก้จมูกอักเสบ บวมแดง
  • ต้นสด แก้แผลงูสวัด
  • รากสด แก้บวมน้ำ ตำพอกแผลที่ถูกเสี้ยนหรือแก้วตำ
  • เมล็ดแห้ง แก้ประจำเดือนไม่มา ขับประจำเดือน
ขนาดและวิธีใช้
          -แก้ปวดข้อ ใช้ใบสดต้มกับน้ำผสมเหล้าดื่ม
          - ยารักษากลากเกลื้อน ใช้ใบสด 1 กำมือ ตำให้ละเอียด ตำทั้งน้ำและเนื้อบริเวณที่เป็น ทาบ่อยๆ จนกว่าจะหาย
          - แก้ฝีและแผลพุพอง ใช้ใบสด 5-10 ใบ ล้างให้สะอาด ตำให้ละเอียด นำมาพอกที่เป็นแผล วันละ 3 ครั้ง จนกว่าจะหาย
          - ยากันเล็บถอด ใช้ใบ ยอดสด 1 กำมือ ล้างให้สะอาด ตำให้ละเอียด เติมน้ำตาลทรายแดง 1/2 ช้อนชา พอกตรงเล็บ เปลี่ยนยาเช้า-เย็น
          - แก้แผลอักเสบ ฝีหนอง แผลเน่าเปื่อย  ใช้ใบแห้ง 10- 15 กรัม ต้มกับน้ำดื่ม เช้า-เย็น
          - รักษาแผลเรื้อรัง ใช้ใบแห้งบดเป็นผงผสมพิมเสนใส่แผล
          - แก้จมูกอักเสบ บวมแดง ใช้ยอดสดตำกับน้ำตาลแดง พอกบริเวณที่เป็น เปลี่ยนเช้า-เย็น
          - แก้แผลงูสวัด ใช้ต้นสดตำ คั้นเอาน้ำดื่ม เอากากพอกแผล
          - แก้บวมน้ำ ใช้รากสด 4-5 ราก ต้มกับเนื้อรับประทาน 3-4 ครั้ง
          - แก้ประจำเดือนไม่มา ขับประจำเดือน ใช้เมล็ดแห้งของต้นเทียนบ้านชนิดดอกสีขาว 60 กรัม บดเป็นผงรวมกับตังกุย 10 กรัม ผสมกับน้ำผึ้ง ปั้นเป็นยาเม็ด รับประทานครั้งละ 3 กรัม วันละ 3 เวลา หลังอาหาร