Golden Dreams TMS&Herb

วันพุธที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2554

กลุ่มยาแก้ไข้ ลดความร้อน -สะเดา (สะเดาไทย)

สะเดา (สะเดาไทย)

ชื่อวิทยาศาสตร์  Azadirachta indica A. Juss. var. siamensis  Valeton
ชื่อสามัญ Siamese neem tree, Nim , Margosa, Quinine
ชื่ออื่น :  สะเลียม (ภาคเหนือ)  กะเดา (ภาคใต้)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น สูง 5-10 เมตร เปลือกต้นแตกเป็นร่องลึกตามยาว ยอดอ่อนสีน้ำตาลแดง ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงสลับรูปใบหอก กว้าง 3-4 ซม. ยาว 4-8 ซม. โคนใบมนไม่เท่ากัน ขอบใบจักเป็นฟันเลื่อย แผ่นใบเรียบ สีเขียวเป็นมัน ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่งขณะแตกใบอ่อน ดอกสีขาวนวล กลีบเลี้ยงมี 5 แฉก โคนติดกัน กลีบดอกโคนติดกัน ปลายแยกเป็น 5 แฉก ผล รูปทรงรี ขนาด 0.8 - 1 ซม. ผิวเรียบ ผลอ่อนสีเขียว สุกเป็นสีเหลืองส้ม เมล็ดเดี่ยว รูปรี 
ส่วนที่ใช้ :
ดอกช่อดอก  ขนอ่อน ยอด เปลือก ก้านใบ กระพี้ ยาง แก่น ราก ใบ ผล ต้น เปลือกราก น้ำมันจากเมล็ด
สรรพคุณ :
  • ดอก ยอดอ่อน  -  แก้พิษโลหิต กำเดา แก้ริดสีดวงในลำคอ คันดุจมีตัวไต่อยู่ บำรุงธาตุ ขับลม ใช้เป็นอาหารผักได้ดี
  • ขนอ่อน - ถ่ายพยาธิ แก้ริดสีดวง แก้ปัสสาวะพิการ
  • เปลือกต้น - แก้ไข้ เจริญอาหาร แก้ท้องเดิน บิดมูกเลือด
  • ก้านใบ - แก้ไข้ ทำยารักษาไข้มาลาเรีย
  • กระพี้ - แก้ถุงน้ำดีอักเสบ
  • ยาง - ดับพิษร้อน
  • แก่น - แก้อาเจียน ขับเสมหะ
  • ราก - แก้โรคผิวหนัง แก้เสมหะ ซึ่งเกาะแน่นอยู่ในทรวงอก
  • ใบ,ผล - ใช้เป็นยาฆ่าแมลง บำรุงธาตุ
  • ผล มีสารรสขม - ใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ และยาระบาย แก้โรคหัวใจเดินผิดปกติ
  • เปลือกราก - เป็นยาฝาดสมาน แก้ไข้ ทำให้อาเจียน แก้โรคผิวหนัง
  • น้ำมันจากเมล็ด - ใช้รักษาโรคผิวหนัง และยาฆ่าแมลง
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
  • เป็นยาขมเจริญอาหาร
    ช่อดอกไม่จำกัด ลวกน้ำร้อน จิ้มน้ำปลาหวาน หรือน้ำพริก หรือใช้เปลือกสด ประมาณ 1 ฝ่ามือ ต้มน้ำ 2 ถ้วยแก้ว รับประทานครั้งละ 1/2 ถ้วยแก้ว
  • ใช้เป็นยาฆ่าแมลง
    สะเดาให้สารสกัดชื่อ
    Azadirachin ใช้ฆ่าแมลงโดยสูตร สะเดาสด 4 กิโลกรัม ข่าแก่ 4 กิโลกรัม  ตะไคร้หอม 4 กิโลกรัม นำแต่ละอย่างมาบดหรือตำให้ละเอียด หมักกับน้ำ 20 ลิตร 1 คืน น้ำน้ำยาที่กรองได้มา 1 ลิตร ผสมน้ำ 200 ลิตร ใช้ฉีดฆ่าแมลงในสวนผลไม้ และสวนผักได้ดี โดยไม่มีพิษและอันตราย
สารเคมี :
          ผล   มีสารขมชื่อ bakayanin
          ช่อดอก  มีสารพวกไกลโคไซด์ ชื่อ nimbasterin 0.005% และน้ำมันหอมระเหยที่มีรสเผ็ดจัดอยู่ 0.5%  นอกนั้นพบ  nimbecetin, nimbesterol, กรดไขมัน และสารที่มีรสขม          เมล็ด  มีน้ำมันขมชื่อ margosic acid 45% หรือบางที่เรียก Nim Oil และสารขมชื่อ nimbin, nimbidin
          Nim Oil  มี nimbidin  เป็นส่วนมากและเป็นตัวออกฤทธิ์มีกำมะถันอยู่ด้วย

กลุ่มยาแก้ไข้ ลดความร้อน -ลูกใต้ใบ

ลูกใต้ใบ

ชื่อวิทยาศาสตร์  phyllanthus amarus  Schum & Thonn.
ชื่อสามัญ  Egg Woman
วงศ์  Euphorbiaceae
ชื่ออื่น :  มะขามป้อมดิน  หญ้าใต้ใบ  หญ้าใต้ใบขาว
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก สูง 10 - 60 เซนติเมตร ทุกส่วนมีรสขม ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียวปลายคี่ มีใบย่อย 23 - 25 ใบ ใบย่อยรูปขอบขนานแกมไข่กลับ ปลายใบมนกว้างโคนใบมนแคบ ขนาดประมาณ 0.40 X 1.00 เซนติเมตร ก้านใบสั้นมากและมีหูใบสีขาวนวลรูปสามเหลี่ยมปลายแหลมเกาะติด 2 อัน ดอกแยกเพศ เพศเมียมักอยู่ส่วนโคน เพศผู้มักอยู่ส่วนปลายก้านใบ ดอกขนาดเล็กสีขาว เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.08 เซนติเมตร ผลทรงกลมผิวเรียบสีเขียวอ่อนนวล ขนาดประมาณ 0.15 เซนติเมตร เกาะติดอยู่ที่ใต้โคนใบย่อย เมื่อแก่จะแตกเป็น 6 พู แต่ละพูจะมี 1 เมล็ด เมล็ดสีน้ำตาลรูปเสี้ยว 1/6 ของทรงกลม ขนาดประมาณ 0.10 เซนติเมตร
ส่วนที่ใช้ :
 ทั้งต้นสด
สรรพคุณ :
        
เป็นยาแก้ไข้ ลดความร้อน ขับปัสสาวะ
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
           นำต้นสด 1 กำมือ ต้มกับน้ำ 2 ถ้วยแก้ว เคี่ยวให้เหลือ 1
½ ถ้วยแก้ว รับประทานครั้งละครึ่งถ้วยแก้ว
สารเคมี :  Potassium, phyllanthin, hypophyllanthin

กลุ่มยาแก้ไข้ ลดความร้อน -ย่านาง

ย่านาง

ชื่อวิทยาศาสตร์  Tiliacora triandra  (Colebr.) Diels
ชื่อสามัญ  Bamboo grass
วงศ์  Menispermaceae
ชื่ออื่น :  จ้อยนาง (เชียงใหม่)  เถาย่านาง เถาวัลย์เขียว (กลาง) ยาดนาง (สุราษฎร์ธานี)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้เถาเลื้อยพัน กิ่งอ่อนมีขนอ่อนปกคลุม เมื่อแก่แล้วผิวค่อนข้างเรียบ รากมีขนาดใหญ่ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกติดกับลำต้นแบบสลับ รูปร่างใบคล้ายรูปไข่หรือรูปไข่ขอบขนานปลายใบเรียว ฐานใบมน ขนาดใบยาว 5 - 10 ซม. กว้าง 2 - 4 ซม. ขอบใบเรียบ ก้านใบยาว 1 ซม. ดอกออกตามซอกโคนก้านใบเป็นช่องยาว 2 - 5 ซม. ช่อหนึ่ง ๆ มีดอกขนาดเล็กสีเหลือง 3 - 5 ดอก ดอกแยกเพศอยู่คนละต้นไม่มีกลีบดอก ผลรูปร่างกลมรีขนาดเล็ก สีเขียว เมื่อแก่กลายเป็นสีเหลืองอมแดงและกลายเป็นสีดำ
ส่วนที่ใช้
รากแห้ง
สรรพคุณ :
  • รากแห้ง -  แก้ไข้ทุกชนิด 
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
          ใช้รากแห้งครั้งละ 1 กำมือ (15 กรัม) ต้มกับน้ำ ดื่มก่อนอาหาร วันละ 3 ครั้ง
สารเคมี :
          รากมี isoquinolone alkaloid ได้แก่ tilacorine, tiacorinine, nortiliacorinine A, tiliacotinine 2 - N - Oxide, และ tiliandrine, tetraandrine, D - isochondrodendrine (isoberberine)

กลุ่มยาแก้ไข้ ลดความร้อน -มะปราง

มะปราง

ชื่อวิทยาศาสตร์  Bouea macrophylla  Griffith
ชื่อสามัญ  Marian Plum , Plum Mango
วงศ์  Anacardiaceae
ชื่ออื่น :  ปราง (ภาคใต้)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น มีทรงต้นค่อนข้างแหลม มีกิ่งก้านสาขาค่อนข้างทึบต้นโต มีขนาดสูง 15-30 เซนติเมตร มีรากแก้วแข็งแรง ใบ มะปรางเป็นไม้ผลที่มีใบมาก ใบเรียว ขนาดใบโดยเฉลี่ยกว้าง 3.5 เซนติเมตร ยาว 14 เซนติเมตร ปีหนึ่งมะปรางจะแตกใบอ่อน 1-3 ครั้ง ดอก มะปรางจะมีดอกเป็นช่อ เกิดบริเวณปลายกิ่งแขนง ช่อดอกยาว 8-15 เซนติเมตร เป็นดอกสมบูรณ์เพศ (เกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกัน) ดอกบานจะมีสีเหลือง ในไทยออกดอกช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม ผล มีลักษณะทรงกลมรูปไข่และกลม ปลายเรียวแหลม มะปรางช่อหนึ่งมีผล 1-15 ผล ผลดิบมีสีเขียวอ่อน-เขียวเข้มตามอายุของผล ผลสุกมีสีเหลืองหรือเหลืองอมส้ม เปลือกผลนิ่ม เนื้อสีเหลืองแดงส้มออกแดงแล้วแต่ชนิดพันธุ์ รสชาติหวาน-อมหวานอมเปรี้ยว หรือเปรี้ยว-เปรี้ยวจัด เมล็ด มะปรางผลหนึ่งจะมี 1 เมล็ด ส่วนผิวของกะลาเมล็ดมีลักษณะเป็นเส้นใย เนื้อของเมล็ดทั้งสีขาวและสีชมพูอมม่วง รสขมฝาดและขม ลักษณะเมล็ดคล้ายเมล็ดมะม่วง หนึ่งเมล็ดเพาะกล้าได้ 1 ต้น
ส่วนที่ใช้ :
ราก ใบ น้ำจากต้น
สรรพคุณ :
  • รากแก้ไข้กลับ  ถอนพิษสำแดง
  • ใบ - ยาพอกแก้ปวดศีรษะ
  • น้ำจากต้น - ยาอมกลั้วคอ

กลุ่มยาแก้ไข้ ลดความร้อน -ฟ้าทะลายโจร

ฟ้าทะลายโจร

ชื่อวิทยาศาสตร์   Andrographis paniculata (Burm.f.) Wall.ex Nees
ชื่อสามัญ   Kariyat , The Creat
วงศ์   ACANTHACEAE
ชื่ออื่น :   หญ้ากันงู (สงขลา) น้ำลายพังพอน ฟ้าละลายโจร (กรุงเทพฯ) ฟ้าสาง (พนัสนิคม) เขยตายยายคลุม สามสิบดี (ร้อยเอ็ด) เมฆทะลาย (ยะลา) ฟ้าสะท้าน (พัทลุง)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :  ไม้ล้มลุก สูง 30-70 ซม. ทุกส่วนมีรสขม กิ่งเป็นใบสี่เหลี่ยม ใบ เดี่ยว แผ่นใบสีเขียวเข้มเป็นมัน ดอก ช่อ ออกที่ปลายกิ่งและซอกใบ ดอกย่อย กลีบดอกสีขาว โคนกลีบติดกัน ปลายแยก 2 ปาก ปากบนมี 3 กลีบ มีเส้นสีม่วงแดงพาดอยู่ ปากล่างมี 2 กลีบ ผล เป็นฝัก เมื่อแก่เป็นสีน้ำตาล แตกได้ ภายในมีเมล็ดจำนวนมาก
ส่วนที่ใช้ :  ทั้งต้น ใบสด ใบแห้ง ใบจะเก็บมาใช้เมื่อต้นมีอายุได้ 3-5 เดือน
สรรพคุณ : แก้ไข้หวัด ตัวร้อน ระงับการอักเสบ เจ็บคอ แก้ติดเชื้อและเป็นยาขมเจริญอาหาร รักษาโรคบิด ท้องร่วงและโรคท้องเสียชนิดเฉียบพลัน จึงนับได้ว่าฟ้าทะลายโจรเป็นยาครอบคลุมได้กว้างขวาง เหมาะสำหรับเป็นยาสามัญประจำบ้านแบบไทย ๆ ได้อย่างดียิ่ง      
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
  • ดอก
  • ใบ
สารเคมี -
ข้อควรระวัง : ผู้ที่มีความดันโลหิตต่ำไม่ควรใช้ฟ้าทะลายโจร เพราะยาฟ้าทะลายโจรเป็นยาที่มีสรรพคุณในการลดความดันอยู่แล้ว ถ้าหากผู้ที่เป็นโรคความดันต่ำ และมาใช้ฟ้าทะลายโจรจะทำให้เกิดอาการหน้ามืด วิงเวียน มึนงง วิธีแก้คือหยุดยาทันที ภายใน 3-4 ชั่วโมง อาการจะดีขึ้น เพราะตัวยาสามารถถูกขับออกไปไม่มียาตกค้างในร่างกาย ฟ้าทะลายโจรเหมาะสำหรับ "หวัด ร้อน" คือ อาการที่เหงื่อออก เจ็บคอ กระหายน้ำ ท้องผูก ปัสสาวะมีสีเข้ม แต่ฟ้าทะลายโจรจะไม่เหมาะกับผู้ที่มีอาการของ "หวัดเย็น" คือ ไม่มีเหงื่อ อุ้งมืออุ้งเท้าเย็น ปัสสาวะมาก รู้สึกหนาวสะท้าน ถ้าเป็นหวัดเย็น แล้วกินฟ้าทะลาโจรอาการ จะกำเริบขึ้นได้ เช่น หนาวสั่น คลื่นไส้ ดังนั้นก่อนที่จะกินฟ้าทะลายโจรแก้ไข้จึงควรพิจารณาในเรื่องเหล่านี้ด้วย

กลุ่มยาแก้ไข้ ลดความร้อน -พิมเสนต้น

พิมเสนต้น

ชื่อวิทยาศาสตร์  Pogostemon cablin (Blanco) Benth.
ชื่อพ้อง :  P. patchouli  Pellet var. suavis  Hook f.
ชื่อสามัญ  Patchouli
วงศ์  Labiatae
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :  ไม้ล้มลุก สูง 30-75 ซม. ทุกส่วนมีกลิ่นหอม ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่ กว้าง 5-8 ซม. ยาว 7-10 ซม. ขอบใบหยักมน ดอกช่อ ออกที่ซอกใบและปลายกิ่ง กลีบดอกสีขาวประม่วง ผลแห้ง ไม่แตก
ส่วนที่ใช้ :
ใบ
สรรพคุณ :
  • ใบ - ปรุงเป็นยาเย็น ถอนพิษร้อน แก้ไข้ทุกชนิด ทำให้ความร้อนในร่างกายลดลง โดยมากมักปรุงเป็นยาเขียว ถอนพิษไข้ และยาหอมก็เข้าใบพิมเสนต้นนี้

กลุ่มยาแก้ไข้ ลดความร้อน -ฝ้ายแดง

ฝ้ายแดง

ชื่อวิทยาศาสตร์  Gossypium arboreum  L.
ชื่อสามัญ  Ceylon Cotton , Chinese Cotton , Tree Cotton
วงศ์  Malvaceae
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่ม สูง 2.5-3.5 เมตร ลำต้นสีน้ำตาลแดง ใบ ใบเดี่ยวออกเวียนสลับ รูปไข่หรือค่อนข้างกลม กว้าง 4-5 เซนติเมตร ยาว 5-7 เซนติเมตร ขอบหยักลึก 3-7 แฉก ปลายแหลมหรือมน โคนเว้า ก้านใบและเส้นใบสีแดงคล้ำ ดอก สีแดงเข้ม หรือ สีเหลืองอ่อน กลางดอกสีม่วงแดง ออกเดี่ยวตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ใบประดับ 3 ใบ รูปสามเหลี่ยมซ้อนกัน กลีบเลี้ยง 5 กลีบ เชื่อมกันเป็นรูปถ้วย กลีบดอก ๕ กลีบ เกสรตัวผู้จำนวนมาก ก้านเกสรเชื่อมกันเป็นหลอดล้อมรอบเกสรตัวเมีย ปลายเกสรตัวเมียแยกเป็น 5 แฉก ผล กลม หัวท้ายแหลม เมื่อแก่แตกได้ เมล็ดค่อนข้าง กลมสีเขียว จำนวนมากคลุมด้วยขนยาวสีขาว
ส่วนที่ใช้ :
เปลือกราก  ใบ
สรรพคุณ :
  • เปลือกราก - บดเป็นผง ชงน้ำเดือดดื่มช่วยขับปัสสาวะ บีบมดลูก ช่วยขับน้ำคาวปลา
  • ใบ  -   ปรุงเป็นยารับประทานแก้ไข้ ขับเหงื่อ จำพวกยาเขียว และเป็นยาเด็ก แก้พิษตานทรางของเด็กได้ดี

กลุ่มยาแก้ไข้ ลดความร้อน -ปลาไหลเผือก

ปลาไหลเผือก

ชื่อวิทยาศาสตร์  Eurycoma longifolia  Jack
วงศ์  Simaroubaceae
ชื่ออื่น :  คะนาง ขะนาง ไหลเผือก (ตราด) ตุงสอ แฮพันชั้น (ภาคเหนือ) หยิกปอถอง หยิกไม่ถึง เอียนดอย (ภาคอีสาน) เพียก (ภาคใต้) กรุงบาดาล (สุราษฎร์ธานี) ตรึงบาดาล (ปัตตานี) ตุวุเบ๊าะมิง ดูวุวอมิง (มลายู-นราธิวาส)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่มกึ่งไม้ต้นขนาดเล็ก สูงได้ถึง 10 เมตร ลำต้นตรง เปลือกต้นเรียบ สีน้ำตาลอมดำ แตกกิ่งก้านน้อย กิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขนปกคลุม ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกปลายใบคู่ ออกเรียงสลับหนาแน่นที่ปลายยอด ใบย่อยมี 7-8 คู่ รูปใบหอกหรือรูปรี กว้าง 1.5-6.5 ซม. ยาว 5-20 ซม. ปลายใบเรียวแหลม โคนใบเบี้ยว ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบสีเขียวเข้ม ดอก ออกเป็นช่อใหญ่ตามซอกใบ ดอกสีม่วงแดง ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.1 ซม. กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็น 5-6 แฉก กลีบดอกเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็น 5-6 กลีบ รูปไข่มีขน เป็นดอกสมบูรณ์เพศ ก้านช่อดอกสีแดง ผล รูปกลมรี กว้าง 0.5-1.2 ซม. ยาว 1-1.7 ซม. ออกเป็นพวง ผิวเรียบ ผลสดสีเขียว สุกเป็นสีแดง เมล็ดเดี่ยว
ส่วนที่ใช้
รากปลาไหลเผือก
สรรพคุณ :
          รากปลาไหลเผือก - รสขมจัด เบื่อเมาเล็กน้อย ถ่ายฝีในท้อง ถ่ายพิษต่างๆ ใช้เป็นยาแก้ไข้ ตัดไข้ทุกชนิด ใช้ผสมยาจันทลิ้นลา* ใช้เป็นยาตัดไข้ ใช้รับประทานแก้วัณโรคในระยะบวมขึ้น
* ยาจันทลิ้นลา เป็นยาตำรับโบราณ ใช้รักษไข้ แก้อาการชัก

วันอังคารที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2554

กลุ่มยาแก้ไข้ ลดความร้อน -ประยงค์

ประยงค์

ชื่อวิทยาศาสตร์  Aglaia odorata  Lour
วงศ์  Meliaceae
ชื่ออื่น :  ขะยง ขะยม พะยงค์ ยม (ภาคเหนือ) ประยงค์ใบใหญ่ (ภาคกลาง) หอมไกล (ภาคใต้)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่มกึ่งไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 2-3 เมตร แตกกิ่งก้านตั้งแต่โคนต้น เปลือกต้นเรียบ สีเทา ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก  ออกเรียงสลับ รูปรี ปลายใบมน โคนใบแหลม ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ สีเขียวเป็นมัน ก้านใบแผ่ออกเป็นปีก ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบ ดอกสีเหลือง กลีบดอกมี 6 กลีบ ซ้อนกันเป็นรูปทรงกลมไม่บาน ผล รูปทรงกลมรี ผิวเรียบเป็นมัน ผลอ่อนสีเหลืองอ่อน ผลสุกสีแดง เมล็ดเดี่ยว สีน้ำตาล
ส่วนที่ใช้
ดอก  ก้าน และใบ
สรรพคุณ :
  • ดอก - ช่วยเร่งการคลอด แก้อาการเมาค้าง ฟอกปอด ทำให้หูตาสว่าง แก้ร้อนดับกระหาย อึดอัดแน่นหน้าอก ไอ วิงเวียนศีรษะ ทำให้จิตใจปลอดโปร่ง
  • ก้านและใบ - แก้แผลบวมฟกช้ำ จากการหกล้ม หรือถูกระทบกระแทก ฝีมีหนองทั้งหลาย
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
          ดอก หรือก้านและใบ แห้ง 3-10 กรัม ต้มน้ำดื่ม ใช้ภายนอก เคี่ยวให้ข้น ใช้ทาแผลบวมฟกช้ำ

ข้อห้ามใช้ - หญิงมีครรภ์ห้ามดื่ม
สารเคมีที่พบ
          ใบ มี Aglaiol, Aglaiondiol, (24 S) - Aglaitriol  (24 R) - Aglaitriol, อัลคาลอยด์ Odoratine และ Odoratinol
การเก็บมาใช้
          ช่อดอกและใบ  เก็บในฤดูร้อน ตอนออกดอก ตากแห้งแยกเก็บไว้ใช้
หมายเหตุ :
          เป็นไม้ที่เหมาะที่จะปลูกเป็นรั้ว ดอกมีกลิ่นหอม แต่โตชา
  • ดอกแห้ง  -  ใช้อบเสื้อผ้า บุหรี่ และแต่งกลิ่นใบชา
  • รากและใบ
    - ในฟิลิปปินส์ ใช้ต้มเป็นยาบำรุงร่างกาย
    - แก้โรคเกี่ยวกับทรวงอก แก้ไข้และอาการชัก
  • ยาชงจากดอก - ใช้ดื่มแบบน้ำชา เป็นยาเย็น แก้ไข้ พุพอง
  • ราก - ในไทยใช้เป็นยาทำให้อาเจียน ถอนพิษเบื่อเมา

กลุ่มยาแก้ไข้ ลดความร้อน -ประคำดีควาย

ประคำดีควาย

ชื่อวิทยาศาสตร์  Sapindus emarginatus  Wall.
ชื่อสามัญ  Soap Nut Tree
วงศ์  Sapindaceae
ชื่ออื่น :  มะคำดีควาย
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น สูง 10-30 เมตร เปลือกต้นสีน้ำตาลอ่อน แตกเป็นร่องลึกตามแนวยาว ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อย 2-4 ใบ รูปรีแกมรูปขอบขนาน กว้าง 5-7 ซม. ยาว 10-14 ซม. ปลายใบและโคนใบมน ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ สีเขียว ดอก ดอกแยกเพศ อยู่ต้นเดียวกัน ออกเป็นช่อที่ปลายยอด ดอกสีขาวนวล กลีบดอกมี 5 กลีบ ก้านช่อดอกมีขนปกคลุม ผล รูปทรงกลม ผิวเรียบ หรือมีรอยย่นที่ผลบ้าง ผลสดสีเขียว เมล็ดเดี่ยว
ส่วนที่ใช้ : ผลแก่ และตากแดดจนแห้ง   ใบ  ราก  ต้น  เปลือก  ดอก  เมล็ด
สรรพคุณ :
  • ผลแก่  - แก้ไข้ ดับพิษร้อนภายใน ดับพิษทุกอย่าง แก้ไข้แก้เลือด แก้หอบเนื่องจากปอดชื้น ปอดบวม แก้กาฬ แก้โรคผิวหนัง แก้พิษตานซาง แก้เสลดสุมฝีอันเปื่อยพัง แก้จุดกาฬ ผลผสมในตำรับยาร่วมกับสมุนไพรอื่นๆ รักษาโรคตัวร้อนนอนไม่หลับ นอนสะดุ้งผวา แก้สลบ แก้พิษ หัด สุกใส แก้ฝีเกลื่อน แก้ปากเปื่อย แก้สารพัดพิษ สรพัดกาฬ แก้ไข้จับเซื่องซึม แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้สารพัดไข้ทั้งปวง
  • ใบ - แก้พิษกาฬ ดับพิษกาฬ
  • ราก
    - แก้ริดสีดวงมองคร่อ แก้หืด
    - รากผสมในตำรับยาร่วมกับสมุนไพรอื่น ใช้แก้ฝีในท้อง
  • ต้น - แก้ลมคลื่นเหียน
  • เปลือกต้น
    - แก้กระษัย แก้พิษร้อน แก้พิษไข้
    - เปลือกต้นผสมในตำรับยากับสมุนไพรอื่นใช้แก้ฝีหัวคว่ำ ฝีอักเสบ
  • ดอก - แก้พิษ เม็ดผื่นคัน
  • เมล็ด - แก้โรคผิวหนัง
วิธีใช้และปริมาณ :
          ผลประคำดีควาย สุมให้เป็นถ่าน แล้วปรุงเป็นยารบประทาน          ผลประคำดีควาย ใช้รักษาชันนะตุหัวเด็กได้ ผลต้มแล้วเกิดฟอง สุมหัวเด็กแก้หวัด แก้รังแค ใช้ซักผ้าและสระผมได้          โดยเอาผลประมาณ 5 ผล ทุบพอแตก ต้มกับน้ำประมาณ 1 ถ้วย ทาที่หนังศีรษะ ทาบริเวณที่เป็นวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น จนกว่าจะหาย (ระวังอย่าให้เข้าตา จะทำให้แสบตา)
สารสำคัญ คือ          Quercetin, Quercetin -3 - a - A- arabofuranoside, ß - Sitosterol, Emarginatoside, O - Methyl-Saponin, Sapindus - Saponin

กลุ่มยาแก้ไข้ ลดความร้อน -ประทัดใหญ่ ประทัดจีน

ประทัดใหญ่ ประทัดจีน

ชื่อวิทยาศาสตร์  Quassia amara  L.
ชื่อสามัญ  Stave-wood, Sironum wood
วงศ์  Simaroubaceae
ชื่ออื่น :  ปิง ประทัด  (ภาคกลาง)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่ม สูง 1.5-3 เมตร แตกกิ่งก้านมากเป็นพุ่มเตี้ย เปลือกต้นเรียบ  สีน้ำตาล ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงสลับ ใบย่อยมี 5 ใบ รูปรีหรือรูปไข่กลับ  กว้าง 2-3 ซม. ยาว 3-5 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบรูปลิ่ม ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ สีเขียว ก้านใบรวมสีแดงมีครีบแผ่ออกทั้งสองข้าง ใบอ่อนสีแดง ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ดอกสีแดงสด กลีบดอกไม่บานจะหุ้มเกสรอยู่เป็นรูปกรวยคว่ำ ก้านช่อดอกสีแดง ผล เป็นผลกลุ่ม ผลย่อยรูปไข่กลับ สีแดงคล้ำ
ส่วนที่ใช้ :
ราก  ใบ  เนื้อไม้  เปลือก
สรรพคุณ :
  • รากมีรสขมจัด ใช้ปรุงเป็นยาแก้ไข้ได้ดี
  • ใบ - ทาผิวหนัง แก้คัน
  • เปลือกและเนื้อไม้ - เป็นยาบำรุงน้ำย่อย ทำให้เกิดอยากรับประทานอาหาร
  • เนื้อไม้ - นำมาสกัดเป็นยาขับพยาธิเส้นด้ายสำหรับเด็ก
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
  • ใช้เป็นยาแก้ไข้มาเลเรีย
    ต้มเนื้อไม้ประทัดจีน (ประทัดใหญ่) 4 กรัม ด้วยน้ำ 4 ถ้วยแก้ว เคี่ยวให้เหลือ 2 ถ้วยแก้ว รับประทานครั้งละ 1/4 ถ้วยแก้ว วันละ 2 ครั้ง ก่อนอาหาร เช้า-เย็น
  • ใช้เป็นยาขมเจริญอาหาร และเป็นยาขับพยาธิเส้นด้าย
    ใช้เนื้อไม้ 0.5 กรัม ประมาณ 4-5 ชิ้น ชงน้ำเดือด 1/2 ถ้วยแก้ว รับประทานครั้งเดียว

กลุ่มยาแก้ไข้ ลดความร้อน -บอระเพ็ด

บอระเพ็ด

ชื่อวิทยาศาสตร์  Tinospora crispa  (L.) Miers ex Hook.f.& Thomson
วงศ์  Menispermaceae
ชื่ออื่น :  ตัวเจตมูลยาน เถาหัวด้วน (สระบุรี) หางหนู (สระบุรี,อุบลราชธานี) จุ่งจิง เครือเขาฮอ (ภาคเหนือ) เจตมูลหนาม (หนองคาย)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :  ไม้เถาเลื้อยพาดพันต้นไม้อื่น เถากลมมีขนาดใหญ่เป็นปุ่มปม สีเทาอมดำ มีรสขม เปลือกลอกออกได้ ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปหัวใจ ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ สีเขียว ก้านใบยาว 8-10 ซม. ดอก ออกตามซอกใบ ดอกแยกเพศอยู่คนละช่อ ดอกสีเขียวอมเหลือง มีขนาดเล็กมาก ผล รูปทรงค่อนข้างกลม สีเหลืองหรือสีแดง
ส่วนที่ใช้ :
ราก ต้น ใบ ดอก ผล ส่วนทั้ง 5  เถาสด
สรรพคุณ :
  • ราก 
    - แก้ไข้เหนือ ไข้สันนิบาต แก้ไข้พิษ ไข้จับสั่น
    - ดับพิษร้อน ถอนพิษไข้
    - เจริญอาหาร
  • ต้น
    - แก้ไข้ แก้ไข้พิษ แก้ไข้กาฬ แก้ไข้เหนือ
    - บำรุงกำลัง บำรุงธาตุ
    - แก้อาการแทรกซ้อน ขณะที่เป็นไข้ทรพิษ
    - แก้ไข้เพื่อโลหิต แก้เลือดพิการ
    - แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้สะอึก แก้พิษฝีดาษ
    - เป็นยาขมเจริญอาหาร
    - เป็นยาอายุวัฒนะ
  • ใบ
    - แก้ไข้ แก้ไข้พิษ แก้ไข้กาฬ แก้ไข้จับสั่น
    - ขับพยาธิ แก้ปวดฝี
    - บำรุงธาตุ
    - ยาลดความร้อน
    - ทำให้ผิวพรรณผ่องใส หน้าตาสดชื่น
    - รักษาโรคผิวหนัง ผดผื่นคันตามร่างกาย
    - ช่วยให้เสียงไพเราะ
    - แก้โลหิตคั่งในสมอง
    - เป็นยาอายุวัฒนะ
  • ดอก
    - ฆ่าพยาธิในท้อง ในฟัน ในหู
  • ผล
    - แก้เสมหะเป็นพิษ แก้ไข้พิษ
    - แก้สะอึก และสมุฎฐานกำเริบ
  • ส่วนทั้ง 5
    บำบัดรักษาโรค ดังนี้
    - เป็นยาอายุวัฒนะ แก้ปวดเมื่อย แก้ไข้ปวดศีรษะ รักษาฟัน รักษาโรคริดสีดวงทวาร ช่วยให้เจริญอาหาร แก้ฝีมดลูก ฝีมุตกิต แก้ร้อนใน รักษาโรคเบาหวาน ลดความร้อน แก้ดีพิการ แก้เสมหะ เลือดลม แก้ไข้จับสั่น
วิธีการและปริมาณที่ใช้ :
          ใช้เป็นยารักษาอาการดังนี้
  • อาการไข้ ลดความร้อน
    - ใช้เถาแก่สด  หรือต้นสด ครั้งละ 2 คืบครึ่ง (30-40 กรัม) ตำคั้นเอาน้ำดื่ม หรือต้มกับน้ำโดยใช้ น้ำ 3 ส่วน ต้มเคี่ยวให้เหลือ 1 ส่วน ดื่มวันละ 2 ครั้ง ก่อนอาหารเช้า-เย็น หรือเวลามีอาการ
    - หรือใช้เถาสด ดองเหล้า ความแรง 1 ใน 10 รับประทานครั้งละ 1 ช้อนชา ของยาที่เตรียมแล้ว
  • เป็นยาขมช่วยเจริญอาหาร เมื่อมีอาการเบื่ออาหาร
    โดยใช่ขนาดและวิธีการเช่นเดียวกับใช้แก้ไข้
สารเคมี : ประกอบด้วยแคลคาลอยด์หลายชนิด  เช่น Picroretine, berberine นอกจากนี้ยังประกอบด้วย  colonbin, tintotuberide, N - trans - feruloyltyramine, N - cisferuloytyramine, phytosterol, methylpentose

กลุ่มยาแก้ไข้ ลดความร้อน -ว่านธรณีสาร

ว่านธรณีสาร

ชื่อวิทยาศาสตร์ Phyllanthus pulcher  Wall. ex Müll.Arg.
วงศ์  Euphorbiaceae
ชื่ออื่น :  เสนียด (กรุงเทพฯ) กระทืบยอบ (ชุมพร) ตรึงบาดาล (ประจวบคีรีขันธ์) ก้างปลาดิน ดอกใต้ใบ (นครศรีธรรมราช) คดทราย (สงขลา) ก้างปลาแดง ครีบยอด (สุราษฎร์ธานี) รุรี (สตูล) ก้างปลา (นราธิวาส)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่มสูง 1-1.5 เมตร เปลือกต้นเรียบ สีน้ำตาล มีรอยแผลใบชัดเจน ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปรีแกมขอบขนาน กว้าง 0.8-1.3 ซม. ยาว 1.5-2.5 ซม. โคนใบเบี้ยว ปลายใบมน ขอบใบเรียบ หลังใบและท้องใบเรียบ สีเขียว ดอก ดอกแยกเพศอยู่ต้นเดียวกัน ดอกเพศผู้ออกเป็นกระจุกตามซอกใบ กลีบดอกมี 4 กลีบ ดอกเพศเมียออกตามซอกใบในส่วนของก้านใบ ดอกห้อยลง กลีบดอกมี 6 กลีบ โคนติดกัน สีม่วงแดง ปลายแหลม ปลายเป็นสีเขียว ขอบจักเป็นฝอย ผล รูปทรงกลม สีน้ำตาลอ่อน
ส่วนที่ใช้ :
ใบแห้ง
สรรพคุณ :
ใบแห้ง
-
  ป่นเป็นผง ผสมกับพิมเสนดีพอควร
-
  ใช้กวาดคอเด็ก แก้เด็กตัวร้อน แก้พิษตานทรางของเด็กได้ดี และขับลมในลำไส้

กลุ่มยาแก้ไข้ ลดความร้อน -ท้าวยายม่อม ( หัว )

ท้าวยายม่อม ( หัว )

ชื่อวิทยาศาสตร์  Tacca leontopetaloides  (L.) Kuntze
วงศ์  Taccaceae
ชื่ออื่น :  ไม้เท้าฤๅษี (ภาคกลาง) สิงโตดำ (กรุงเทพฯ) บุกรอ (ตราด)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุกอายุหลายปี มีหัวเป็นแป้ง กลมหรือรี ใบรูปฝ่ามือ มี 3 แฉก แต่ละแฉกเป็นใบประกอบหลายแฉกย่อย ใบรูปฝ่ามือกว้างได้ 120 ซม. ยาว ได้ 70 ซม. ก้านใบยาว 20-170 ซม. รวมกาบใบ ช่อดอกมี 1-2 ช่อ ยาวได้ถึง 170 ซม. แต่ละช่อมี 20-40 ดอก แผ่นกลีบประดับมี 4-12 อัน เรียง 2 วง กลีบขนาดเกือบเท่าๆ กับ รูปไข่ รูปขอบขนานหรือรูปใบหอก สีเขียวเข้ม ยาว 2.5-10 ซม. กลีบประดับรูปเส้นด้ายมี 20-40 อัน สีเขียวขาวอมม่วง ยาว 10-25 ซม. ดอกสีเขียวอมเหลือง กลีบรวม 6 กลีบ เรียง 2 วง วงนอกรูปรีหรือรูปใบหอก ยาว 0.4-0.7 ซม. วงในรูปไข่หรือรูปขอบขนาน ยาวประมาณ 0.5-0.8 ซม. เกสรเพศผู้ 6 อัน ปลายแผ่เป็นแผ่น ก้านเกสรเพศเมียสั้น ปลายเกสรแยกเป็น 3 แฉก ผลมีเนื้อหลายเมล็ด เกือบกลมหรือทรงรี ห้อยลง เส้นผ่านศูนย์กลางยาว 1.5-2.5 ซม. เมล็ดจำนวนมาก
ส่วนที่ใช้
หัว
สรรพคุณ :
         
หัวที่ใช้ทำเป็นแป้งได้ เรียกว่า William's arrow root แป้งเท้ายายม่อมเป็นอาหารอย่างดีสำหรับคนไข้ที่เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย ให้คนไข้รับประทานดี เกิดกำลังและชุ่มชื่นหัวใจ
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
          ใช่แป้งละลายน้ำดิบ ใส่น้ำตาลกรวด ตั้งไฟกวนจนสุก ให้คนไข้รับประทาน