Golden Dreams TMS&Herb

วันศุกร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2553

สมุนไพรบำรุงสายตา

สมุนไพรบำรุงสายตา


ผู้สูงอายุมักมีปัญหาเกี่ยวกับโรคสายตา เช่น ตาฝ้าฝาง เคืองตา และมักจะขาดไวตามินหลายชนิดรวมถึงไวตามินเอ ซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับสายตา และการมองเห็น ผู้สูงอายุ จึงควรรับประทานพืชผักต่างๆ ที่มีไวตามินเอ สูง เช่น ยอดแค ใบกะเพรา ใบขี้เหล็ก แครอท ผักเชียงดา ยอดฟักขาว ผักบุ้ง ฟักทอง เป็นต้น

กะเพรา ชื่ออื่นๆ : กะเพราขาว, กะเพราแดง, กอมก้อ, กอมก้อดง

-ใบกะเพราประกอบด้วยสาารอาหารหลายชนิด เช่น เบต้าแคโรทีน ไวตามินซี ไนอะซิน ฟอสฟอรัส เหล็ก และแคลเซียมในใบกะเพราจะมีเบต้าแคโรทีนสูง (7,857 ไมโครกรัม/100 กรัม) ซึ่งสารนี้จะเปลี่ยนเป็นไวตามินเอในร่างกายของคนเรา กะเพราแดงมีฤทธิ์แรงกว่ากะเพราขาว ในทางยาจึงนิยมใช้กะเพราแดง ส่วนกะเพราขาวนิยมใช้ปรุงอาหาร ช่วยดับกลิ่นคาว เช่น ใช้ปรุงแกงป่า เนื้อ ปลา และผัดเผ็ดต่างๆ
-สรรพคุณทางยา : นอกจากกะเพราจะช่วยบำรุงสายตาแล้ว ยังให้ประโยชน์อื่นๆ อีก ได้แก่
1. ใช้เป็นยาลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ แก้อาการแน่น จุกเสียด แก้ปวดท้องทั้งเด็กและผู้ใหญ่
2. แก้คลื่นไส้อาเจียน จากอายุไม่ปกติ
3. ขับเหงื่อ ขับน้ำนมสำหรับหญิงแม่ลูกอ่อน
4. ช่วยบรรเทาอาการหอบหืด
5. ใช้ภายนอกแก้ กลาก เกลื้อน และช่วยไล่ยุง

ขี้เหล็ก ชื่ออื่นๆ : ขี้เหล็กบ้าน, ขี้เหล็กหลวง, ขี้เหล็กแก่น, ขี้เหล็กใหญ่, ยะหา

-ดอกตูม และใบอ่อนใช้เป็นอาหาร เช่น แกงขี้เหล็ก และลวกเป็นผักจิ้ม ในใบขี้เหล็กมีเบต้าแคโรทีน สูง (7,181 ไมโครกรัม/100 กรัม ) และมีสารสำคัญเป็นมารจำพวกโครโมน ซึ่งสารดังกล่าวจะเปลี่ยนเป็นบาราคอล (barakol)เมื่ออยู่ ในสภาวะที่เป็นกรด และยังพบแอนทราควิโนนเล็กน้อยซึ่งทำให้มีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อนๆ
-สรรพคุณทางยา : นอกจากจะช่วยบำรุงสายตาแล้ว ใบ และ ดอกอ่อนของขี้เหล็กยังใช้เป็นยาระบายอ่อนๆ แก้ท้องผูก ช่วยให้นอนหลับ คลายกังวล ระงับประสาท ส่วนแก่นใช้เป็น ยาระบาย ฟอกโลหิต และช่วยบำรุงโลหิต

แครอท ชื่ออื่นๆ : ผักกาดหัวเหลือง, ผักชีหัว

-หัว (ราก) แครอทใช้เป็นผักสลัด ผักจิ้ม และใช้ประกอบ อาหารหลายชนิด ในหัวประกอบด้วยเบต้าแคโรทีน ซึ่งเป็นสารส้มเหลืองในปริมาณสูง (6,994 ไมโครกรัม/100 กรัม) ใช้แต่งสีให้อาหารมีสีเหลือง
-สรรคุณทางยา : สารเบต้าแคโรทีนจะเปลี่ยนเป็นไวตามิน เอ ภายในร่างกาย ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อสายตา โดยเฉพาะโรคตาฟาง นอกจากนี้หัวแครอทยังช่วยขับปัสสาวะ เนื่องจาก มีปริมาณเกลือโปแตสเซียมสูง และยังมีรายงานว่าน้ำมันหอมระเหยในหัวแครอทยังมีฤทธิ์ขับพยาธิไส้เดือนได้อีกด้วย

ผักเซียงดา ชื่ออื่นๆ : ผักเจียงคา

-ยอดอ่อนของผักเซียงดา เป็นผักที่ชาวเหนือนิยมรับประทาน ทั้งในรูปผักสด และนำมาแกงกับปลาแห้ง และใช้เป็นส่วนประกอบในแกงแค ยอดอ่อนของผักเซียงดามีเบต้าแคโรทีน สูง (5905 ไมโครกรัม/100 กรัม)
-สรรพคุณทางยา : ในตำราไทยไม่มีการบันทึกสรรพคุณทางยาของผักเซียงดา ส่วนทางเหนือใช้ใบผักเซียงดาตำละเอียด นำมาพอกกระหม่อมเพื่อรักษาไข้ รักษาหวัด หรือใช้เป็น ส่วนประกอบในตำหรับยาแก้ไข้

ฟักข้าว ชื่ออื่นๆ : ผักข้าว ขี้กาเครือ พุคู้เด๊าะ

-ฟักข้าวเป็นพืชที่ใช้ยอดอ่อน ใบอ่อน และผลอ่อนรับประทานเป็นผักได้ โดยนำมานึ่งหรือลวกให้สุกทานกับน้ำพริก หรือ นำไปปรุงเป็นแกง เช่น แกงแค ยอดอ่อนของฟักข้าวมีรสขม ออกหวาน มีเบต้าแคโรทีนค่อนข้างมาก (4,782 ไมโคกรัม/100 กรัม) จึงช่วยบำรุงสายตา
-สรรพคุณทางยา : ใบใช้เป็นยาถอนพิษ ใช้เป็นส่วนผสมในยาเขียว รากรสเย็น และรสเบื่อเล็กน้อย ใช้ถอนพิษไข้ทั้งปวง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น