Golden Dreams TMS&Herb

วันพฤหัสบดีที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2556

กลุ่มยาแก้โรคเรื้อน -ดองดึง

ดองดึง
ชื่อวิทยาศาสตร์  Gloriosa superba L.
ชื่อสามัญ :   Flame lily, Climbing lily, Turk's cap, Superb lily, Gloriosa lily
วงศ์ :   Colchicaceae
ชื่ออื่น :  ก้ามปู (ชัยนาท); คมขวาน, บ้องขวาน, หัวขวาน (ชลบุรี); ดาวดึงส์, ว่านก้ามปู (ภาคกลาง); พันมหา (นครราชสีมา); มะขาโก้ง (ภาคเหนือ); หมอยหีย่า (อุดรธานี) ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้เถาล้มลุกอายุหลายปี ยาวได้ถึง 5 เมตร มีเหง้าใต้ดินทรงกระบอกโค้ง ใบเดี่ยวเรียงสลับ หรือเรียงเป็นวงรอบข้อ 1-3 ใบรูปขอบขนานแกมรูปใบหอก ยาว 5-15 ซม. ปลายใบเรียวแหลมงอเป็นมือเกาะ ไร้ก้าน ดอกเดี่ยว ออกตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ดอกใหญ่ ยาว 6-10 ซม. ก้านดอกยาวประมาณ 5 ซม. ดอกมีสีแดงด้านบน หรือตามขอบกลีบ มีสีเหลืองด้านล่าง บางครั้งมีสีเหลืองซีด อมเขียว หรือสีแดงทั้งดอก เกศรเพศผู้มี 6 อัน ก้านยาว 3-5 ซม. อับเรณูยาวประมาณ 1 ซม. ก้านเกสรเพศเมียยาว 0.3-0.7 ซม. แยกเป็น 3 แฉก ผลรูปขอบขนาน ยาวประมาณ 5-10 ซม. แตกตามรอยประสาน เมล็ดกลมสีแดงส้มจำนวนมาก

ส่วนที่ใช้ :  หัว แป้งที่ได้จากหัว เมล็ด ราก
สรรพคุณ : ราก, หัวดองดึง  - แก้โรคเรื้อน คุดทะราด บาดแผล และขับผายลม รับประทานแก้ลมพรรดึก แก้เสมหะ แก้ลมจับโปง ลมเข้าข้อ (รูมาติซั่ม)  หัวเข่าปวดบวมได้ดี หัวใช้ต้มรับประทานแก้ท้องขึ้นอืดเฟ้อ แก้ลมจุกเสียด
- ขับพยาธิ สำหรับสัตว์พาหนะ
- ฝนทาแก้พิษงู พิษตะขาบ แมลงป่อง
- ทาแก้โรคผิวหนัง
- มีสารเมททิลโคลซิซี แป้งที่ได้จากหัว
, ราก
- แก้โรคหนองใน
  
- ใช้สารสะกัดสำหรับเปลี่ยนแปลงพันธุ์พืช
ข้อควรระวัง - สารมีฤทธิ์ข้างเคียงเป็นอันตรายถึงตายได้
                  - ราก พบ Methylcolchicine
ข้อมูลเพิ่มเติม
การแพร่กระจายพันธุ์ : ดองดึงมีถิ่นกำเนิดในอัฟริกาเขตร้อน ขึ้นเป็นวัชพืชทั่วไปในเอเชียเขตร้อน รวมทั้งไทย ตามที่โล่ง ชายป่า ดินปนทราย สามารถขึ้นได้บนดินที่ขาดความอุดมสมบูรณ์ จนถึงระดับความสูง 2500 เมตร (ในต่างประเทศ) นอกจากนี้พบปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไปในประเทศเขตอบอุ่น โดยเฉพาะในเรือนกระจก

ประโยชน์ : เหง้าดองดึงมีสารอัลคลอลอย์ดหลายชนิดที่มีพิษถึงเสียชีวิตโดยเฉพาะสาร colchicines ถ้าใช้ในปริมาณน้อยสามารถใช้รักษาโรคเก๊าและมะเร็งได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น