Golden Dreams TMS&Herb

วันพฤหัสบดีที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2556

กลุ่มยาแก้โรคเรื้อน -กระเบาน้ำ

กระเบาน้ำ
ชื่อวิทยาศาสตร์  Hydnocarpus  anthelminthicus  Pieere ex Laness.

ชื่ออื่น : กระเบา (ทั่วไป) ตึก (เขมร-ภาคตะวันออก) กระเบาเบ้าแข็ง กระเบาใหญ่, กาหลง (ภาคกลาง) ตัวโฮ่งจี๊ (จีน)  เบา (สุรษฎร์ธานี)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้นขนาดกลาง สูง 10-20 ม. ลำต้นเปลา ใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปใบหอกแกมรูปไข่ หรือรูปขอบขนาน ปลายสอบเรียว โคนสอบหรือมน เบี้ยวเล็กน้อย ขอบเรียบ เส้นแขนงใบ และเส้นใบย่อยเห็นได้ชัดทางด้านล่าง ดอกแยกเพศ อยู่ต่างต้น ดอกเพศผู้ออกเดี่ยวๆ ตามง่ามใบ กลิ่นหอมมาก กลีบเลี้ยง 5 กลีบ มีขนอ่อนนุ่มทั้ง 2 ด้าน กลีบดอก 5 กลีบ สีชมพู เกสรเพศผู้ 5 อัน ดอกเพศเมียออกเป็นช่อสั้นๆ ตามง่ามใบ กลีบเลี้ยงและกลีบดอกเหมือนกับดอกเพศผู้ เกสรเพศผู้ไม่สมบูรณ์ 5 อัน ยอดเกสรเพศเมียแยกเป็น 5 แฉก รังไข่รูปไข่หรือรูปไข่กลับ มีขนสั้นๆ ผลกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 8-12 ซม. ผิวเรียบ เปลือกแข็ง มีขนหรือเกล็ดสีน้ำตาล มี 30-50 เมล็ด อัดกันแน่น เมล็ดรูปไข่ เบี้ยว ปลายทั้ง 2 ข้างมน
ส่วนที่ใช้ ผลแก่สุก เมล็ด น้ำมันในเมล็ด (Chaumoogra Oil)
สรรพคุณ :
ผลแก่สุก  - ใช้รับประทานเนื้อในเป็นอาหารคล้ายเผือกต้ม
น้ำมันในเมล็ด
- ใช้ดัดแปลงทางเคมีเป็นยารับประทานหรือยาฉีดหรือยาทาภายนอก บำบัดโรงเรื้อน มะเร็ง คุดทะราด และโรคผิวหนัง ผื่นคันที่มีตัวทุกชนิด เพราะมีรสเมา สามารถฆ่าเชื้อโรคได้ดี
- ใช้ปรุงเป็นน้ำมันใส่ผมรักษาโรคบนศีรษะได้ด้วย
วิธีและปริมาณที่ใช้ - ใช้เมล็ดแก่เต็มที่ 10 เมล็ด แกะเอาเปลือกออก ตำให้ละเอียด เติมน้ำมันมะพร้าวหรือน้ำมันพืชพอเข้าเนื้อ ใช้ทาโรคผิวหนังได้แทบทุกชนิด
ข้อมูลเพิ่มเติม น้ำมันที่บีบได้จากเมล็ดเรียกว่า น้ำมันกระเบา (Chaulmoogra oil หรือ Hydnocarpus oil) มีส่วนประกอบส่วนใหญ่เป็น chaulmoogric acid และ hydnocarpic acid น้ำมันกระเบานำมาใช้รักษาโรคเรื้อน และโรคผิวหนังอย่างอื่นอีก เช่น โรคเรื้อนกวาง หิด นอกจากนี้ ยังใช้แก้อาการปวดบวมตามข้อ เนื้อผลกินได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น