Golden Dreams TMS&Herb

วันอาทิตย์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2555

กลุ่มยาขับปัสสาวะ -อ้อยแดง

อ้อยแดง

ชื่อวิทยาศาสตร์  Saccharum officinarum  L.
ชื่อสามัญ  Sugar cane
วงศ์  Poaceae (Gramineae)
ชื่ออื่น :  อ้อย อ้อยขม อ้อยดำ (ภาคกลาง) กะที (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ส่วนที่ใช้ :
ทั้งต้น  ต้น น้ำอ้อย  ผิวของต้นอ้อย มี wax
สรรพคุณ :
  • ทั้งต้น - แก้ปัสสาวะพิการ แก้ขัดเบา แก้ช้ำรั่ว แก้โรคนิ่ว แก้ไอ
  • ต้น - แก้อาการขัดเบา แก้ปัสสาวะพิการ แก้ไข้ตัวร้อน แก้พิษตานซาง บำรุงธาตุน้ำ แก้ร้อนใน กระหายน้ำ แก้เสมหะเหนียว ทำให้ชุ่มชื่นในลำคอ ในอก บำรุงกำลัง บำรุงหัวใจ ขับน้ำเหลือง แก้ช้ำใน รักษาโรคไซนัส
  • น้ำอ้อย - รักษาโรคนิ่ว บำรุงหัวใจ ทำให้ชุ่มชื่นในลำคอ แก้เสมหะ แก้หืด ไอ ขับปัสสาวะ บำรุงกำลัง เจริญอาหาร เจริญธาตุ
  • ผิวของต้นอ้อย มี wax เอามาทำยา และเครื่องสำอาง
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
          ขับปัสสาวะ แก้อาการขัดเบา
          ใช้ลำตันทั้งสดและแห้งขออ้อยแดง วันละ 1 กำมือ (สด 70-90 กรัม แห้ง หนัก 30-40 กรัม) หั่นเป็นชิ้นๆ ต้มกับน้ำดื่ม ครั้งละ 1 ถ้วยชา (75 มิลลิลิตร) วันละ 2 ครั้ง ก่อนอาหารเช้า-เย็น
          อ้อยแดงมีฤทธิ์ในทางขับปัสสาวะได้ในหนูขาว กองวิจัยทางการแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ รายงานว่า อ้อยแดงไม่มีพิษเฉียบพลัน
สารเคมี :
  • ราก มี Nitrogenase
  • ต้น มี Alcohols, Phenolic esters and ethers Alkaloids, Amino acids, Asparagine
  • น้ำอ้อย มี Cacium , Potassium, Magnesium, Phosphorus, Sulfur
  • ใบ มี 5, 7-Dimethyl-apigenin-4-O-B-D-glycosideส่วน
  • ดอก พบ 5-0-Methyl apigenin

กลุ่มยาขับปัสสาวะ -หญ้าหนวดแมว

หญ้าหนวดแมว
ชื่อวิทยาศาสตร์  Orthosiphon aristatus (Blume) Miq.
ชื่อพ้อง : O. grandiflorus  Bold.
ชื่อสามัญ  Java tea, Kidney Tea Plant, Cat's Whiskers
วงศ์ Lamiaceae ( Labiatae)
ชื่ออื่น :  บางรักป่า (ประจวบคีรีขันธ์) พยับเมฆ (กรุงเทพฯ) อีตู่ดง (เพชรบูรณ์)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ พืชล้มลุกขนาดเล็ก ลำต้นกิ่งอ่อนเป็นสี่เหลี่ยม สูง 0.3-0.8 เมตร ใบเดี่ยวเรียงตรงข้าม แผ่นใบรูปสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด ขอบใบหยัก แผ่นใบสีเขียวเข้ม ดอกช่อ ออกตรงปลายยอด มี 2 พันธุ์ ชนิดดอกสีขาวอมม่วงอ่อน กับพันธุ์ดอกสีฟ้า บานจากล่างขึ้นข้างบน เกสรเพศผู้เป็นเส้นยาวยื่นออกมานอกกลีบดอก ผล เป็นผลแห้งไม่แตก
ส่วนที่ใช้
ราก ทั้งต้น ใบและต้นขนาดกลางไม่แก่ไม่อ่อนจนเกินไป
สรรพคุณ :
  • ราก - ขับปัสสาวะ
  • ทั้งต้น -  แก้โรคไต ขับปัสสาวะ รักษาโรคกระษัย รักษาโรคปวดตามสันหลัง และบั้นเอว รักษาโรคนิ่ว รักษาโรคเยื่อจมูกอักเสบ
  • ใบ -  รักษาโรคไต รักษาโรคปวดข้อ ปวดหลัง ไขข้ออักเสบ ลดความดันโลหิต รักษาโรคเบาหวาน ลดน้ำขับกรดยูริคแอซิดจากไต
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
  • ขับปัสสาวะ
    1. ใช้กิ่งกับใบหญ้าหนวดแมว ขนาดกลาง ไม่แก่หรืออ่อนจนเกินไป ล้างสะอาด นำมาผึ่งในที่ร่มให้แห้ง นำมา 4 กรัม หรือ 4 หยิบมือ ชงกับน้ำเดือด 1 ขวดน้ำปลา (750 ซีซี.) เหมือนกันชงชา ดื่มต่างน้ำตลอดวัน รับประทานนาน 1-6 เดือน
    2. ใช้ต้นกับใบวันละ 1 กอบมือ (สด 90- 120 กรัม แห้ง 40- 50 กรัม ) ต้มกับน้ำรับประทาน ครั้งละ 1 ถ้วยชา (75 ซีซี.) วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร
ข้อควรระวัง - คนที่เป็นโรคหัวใจ ไต ห้ามรับประทาน เพราะมีสารโปตัสเซียมสูงมาก ถ้าไตไม่ปกติ จะไม่สามารถขับโปตัสเซียมออกมาได้ ซึ่งทำให้เกิดโทษต่อร่างกายอย่างร้ายแรง
การวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์
          หญ้าหนวดแมวมีโปรแตสเซียมสูงประมาณร้อยละ 0.7-0.8 มี Glycoside ที่มีรสขม ชื่อ orthsiphonin นอกจากนี้ก็พบว่ามี essential (0.2-0.6%) saponin alkaloid, organic acid และ fatty oil อีกด้วย จากรายงานพบว่ามีสารขับปัสสาวะได้ ยาที่ชงจากใบใช้บำบัดโรคเกี่ยวกับไตได้หลายชนิดด้วยกัน ใช้บำบัดโรคเกี่ยวกับกระเพาะปัสสาวะ เช่น โรคไตอักเสบ

        ** โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล นายแพทย์ วีรสิงห์ เมืองมั่น และคณะ พบว่าได้ใช้ยาชงจากหญ้าหนวดแมว 4 กรัม ชงกับน้ำเดือด 750 ซีซี. ดื่มต่างน้ำในคนไข้ 27 คน พบว่าทำให้ปัสสาวะคล่องและใส อาการปวดนิ่วลดลงได้และนิ่วขนาดเล็กลง และหลุดออกมาได้เอง มีผู้ป่วยร้อยละ 40 ผู้ป่วยหายจากปวดนิ่วร้อยละ 20 กองวิจัยทางการแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ รายงานเรื่องพิษเฉียบพลันว่าไม่มีพิษ
สารเคมี :
          ต้น มี Hederagenin, Beta-Sitosterol, Ursolic acid
          ใบ มี Glycolic acid, Potassium Salt Orthosiphonoside, Tannin, Flavone Organic acid และน้ำมันหอมระเหย

กลุ่มยาขับปัสสาวะ -สมอพิเภก

สมอพิเภก
ชื่อวิทยาศาสตร์  Terminalia bellirica  (Gaertn.) Roxb.
ชื่อสามัญ   Beleric myrobalan
วงศ์  Combretaceae
ชื่ออื่น :  ลัน (เชียงราย) สมอแหน (กลาง) แหน แหนขาว แหนต้น (เหนือ) สะคู้ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ซิบะดู่ (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบ สูง 15-35 เมตร ลำต้นเปลาตรง โคนต้นมักเป็นพูพอน เปลือกสีเทาอมน้ำตาลหรือเป็นสีดำๆ ด่างๆ เป็นแห่งๆ ค่อนข้างเรียบหรือแตกเป็นร่องเล็กๆ ไปตามยาวลำต้น เปลือกในสีเหลือง เรือนยอดกลมแผ่กว้างและค่อนข้างทึบ กิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขนประปราย ใบ เป็นชนิดใบเดี่ยว ติดเวียนกันเป็นกลุ่มตามปลายๆ กิ่ง ทรงใบรูปรีแกมรูปไข่กลับ กว้าง 9-15 ซม. ยาว 13-19 ซม. โคนใบสอบมาสู่ก้านใบ ส่วนที่ค่อนไปทางปลายใบผายกว้าง ปลายสุดจะหยัดคอดเป็นติ่งแหลมสั้นๆ เส้นแขนงใบโค้งอ่อน มี 6-10 คู่ เส้นใบแบบเส้นร่างแหเห็นชัดทางด้านท้องใบ เนื้อใบค่อนข้างหนา หลังใบเขียวเข้มและมีขนสีน้ำตาลกระจายทั่วไป ท้องใบสีจางหรือสีเทามีขนนุ่มๆ คลุม แต่ทั้งสองด้านขนจะหลุดร่วงไปเมื่อใบแก่จัด ขอบใบเรียบ ก้านใบยาว 4-6 ซม. บริเวณกึ่งกลางก้านจะมีต่อมหรือตุ่มหูด หนึ่งคู่ ดอก เล็ก สีขาวอมเหลือง ออกเป็นช่อเดี่ยวๆ แบบหางกระรอก ที่ง่ามใบหรือรอยแผลใบตามกิ่ง ปลายช่อจะห้อยย้อยลง ช่อยาว 10-15 ซม. ดอกเพศผู้ส่วนใหญ่จะอยู่ตามปลายๆ ช่อ ส่วนดอกสมบูรณ์เพศจะอยู่ตามโคนช่อ กลีบฐานดอก มี 5 กลีบ โคนกลีบเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วยเล็กๆ ทั้งหมดมีขนทั่วไป เกสรเพศผู้มี 10 อัน เรียงซ้อนกันอยู่สองแถว รังไข่ ค่อนข้างแป้น ภายในมีช่องเดียวและมีไข่อ่อน 2 หน่วย หลอดท่อรังไข่มีหลอดเดียว ผล กลมหรือกลมรีๆ แข็ง ผิวนอกปกคลุมด้วยขนสีน้ำตาลหนาแน่น ออกรวมกันเป็นพวงโตๆ
ส่วนที่ใช้ :
ผลอ่อน ผลแก่ เมล็ดใน ใบ ดอก เปลือก แก่น ราก
สรรพคุณ :
  • ผลอ่อน - มีรสเปรี้ยว แก้ไข้ แก้ลม เป็นยาระบาย ยาถ่าย
  • ผลแก่ - มีรสฝาด แก้โรคในตา บำรุงธาตุ แก้ไข้ แก้ริดสีดวงทวารหนัก เป็นยาแก้ท้องร่วง ท้องเดิน
  • เมล็ดใน - แก้บิด บิดมูกเลือด
  • ใบ - แก้บาดแผล
  • ดอก - แก้โรคในตา
  • เปลือกต้น - ต้มขับปัสสาวะ
  • แก่น - แก้ริดสีดวงพรวก
  • ราก - แก้โลหิต อันทำให้ร้อน
ขนาดและปริมาณที่ใช้ :
  • ขับปัสสาวะ - ใช้เปลือก ต้น ต้มรับประทาน ขับปัสสาวะ
  • เป็นยาระบาย ยาถ่าย - ใช้ผลโตแต่ยังไม่แก่ 2-3 ผล ต้มกับน้ำ 1 ถ้วยแก้ว ใส่เกลือเล็กน้อย รับประทานครั้งเดียว
  • ป็นยาแก้ท้องร่วง ท้องเดิน (ไม่ใช่บิด หรือ อหิวาตกโรค)  - ใช้ผลแก่ 2-3 ผล ต้มกับน้ำ 2 ถ้วยแก้ว ใส่เกลือเล็กน้อย เคี่ยวจนเหลือ 1 ถ้วยแก้ว ใช้รับประทาน

กลุ่มยาขับปัสสาวะ -สับปะรด

สับปะรด

ชื่อวิทยาศาสตร์  Ananas comosus  (L.) Merr.
ชื่อสามัญ  Pineapple
วงศ์  Bromeliaceae
ชื่ออื่น :  แนะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ขนุนทอง ยานัด ย่านนัด (ใต้) บ่อนัด (เชียงใหม่) เนะซะ (กะเหรี่ยงตาก) ม้าเนื่อ (เขมร) มะขะนัด มะนัด (เหนือ) หมากเก็ง (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน) สับปะรด (กรุงเทพฯ) ลิงทอง (เพชรบูรณ์)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุกอายุหลสบปร สูง 90-100 ซม. ลำต้นใต้ดิน ปล้องสั้น ไม่แตกกิ่งก้านมีแต่กาบใบห่อหุ้มลำต้น ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงเวียนถี่ ไม่มีก้านใบ ใบเรียวยาว โคนใบเป็นกาบหุ้มลำต้น ปลายแหลม ขอบใบมีหนาม แผ่นใบสีเขียวเข้มและเป็นทางสีแดง ด้านล่างมีนวลแป้งสีขาว ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายยอด ดอกเรียงอัดกันแน่นรอบแกนช่อดอก ก้านช่อใหญ่แข็งแรง กลีบดอก 3 กลีบ ด้านบนสีชมพูอมม่วง ด้านล่างสีขาว เกสรเพศผู้ 6 อัน เรียบกัน 2 ชั้น ผล เป็นผลรวมรูปรี โคนกว้าง ปลายสอบ มีใบสั้นเป็นกระจุกที่ปลายผล เรียกว่าตะเกียง ผลสุกสีเหลืองสดและฉ่ำน้ำ
ส่วนที่ใช้
ราก หนาม ใบสด ผลดิบ ผลสุก ไส้กลางสับปะรด เปลือก จุก แขนง ยอดอ่อนสับปะรด
สรรพคุณ :
  • ราก - แก้นิ่ว ขับปัสสาวะ แก้กระษัย ทำให้ไตมีสุขภาพดี แก้หนองใน แก้มุตกิดระดูขาว แก้ขัดข้อ
  • หนาม - แก้พิษฝีต่างๆ แก้ไข้ ลดความร้อน ไข้พา ไข้กาฬ
  • ใบสด - เป็นยาถ่าย ฆ่าพยาธิในท้อง ยาขับปัสสาวะ แก้กระษัย
  • ผลดิบ - ใช้ห้ามโลหิต แก้โรคทางเดินปัสสาวะ ฆ่าพยาธิ และขับระดู
  • ผลสุก - ขับปัสสาวะ ขับเหงื่อ และบำรุงกำลัง ช่วยย่อยอาหาร แก้หนองใน มุตกิด กัดเสมหะในลำคอ
  • ไส้กลางสับปะรด - แก้ขัดเบา
  • เปลือก - ขับปัสสาวะ แก้กระษัย ทำให้ไตมีสุขภาพดี
  • จุก - ขับปัสสาวะ แก้นิ่ว แก้หนองใน มุตกิดระดูขาว
  • แขนง - แก้โรคนิ่ว
  • ยอดอ่อนสับปะรด - แก้นิ่ว
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
          แก้อาการขัดเบา ช่วยขับปัสสาวะ ใช้เหง้าสดหรือแห้งวันละ 1 กอบมือ (สดหนัก 200-250 กรัม แห้งหนัก 90-100 กรัม) ต้มกับน้ำดื่ม ครั้งละ 1 ถ้วยชา (75 มิลลิลิตร) วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร
คุณค่าด้านอาหาร : สับปะรด รับประทานเป็นผลไม้ มีแร่ธาตุและวิตามินที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย
สารเคมี :
  • เหง้า มี Protein
  • ลำต้น มี Bromelain, Peroxidase, Amylase, Proteinase
  • ใบ มี Hemicellulose, Bromelain, Campestanol
  • ผล มี Acetaldehyde, Ethyl acetate, Acetone
  • น้ำมันหอมระเหย มี Isobutanol.

กลุ่มยาขับปัสสาวะ -สามสิบ

สามสิบ

ชื่อวิทยาศาสตร์  Asparagus racemosus  Willd.
วงศ์  Asparagaceae
ชื่ออื่น :  จ๋วงเครือ (ภาคเหนือ) เตอสีเบาะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ผักชีช้าง (หนองคาย) ผักหนาม (นครราชสีมา) พอควายเมะ (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่) สามร้อยราก (กาญจนบุรี)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้เลื้อย ปีนป่ายขึ้นที่ต้นไม้ข้างเคียงด้วยหนาม หนามเปลี่ยนมาจากใบเกล็ดบริเวณข้อ หนามโค้งกลับ ยาว1-4 มม. ลำต้นสีขาวแกมเหลือง ต้นกลมเส้นผ่าศูนย์กลาง 2-5 มม. ปีนป่ายขึ้นได้สูงถึง 5 เมตร แตก แขนงเป็นเถาห่างๆ บริเวณข้อมีกิ่งแตกแขนงแบบรอบข้อและกิ่งนี้เปลี่ยนเป็นสีเขียวลักษณะแบน รูปขอบขนาน กว้าง 0.5-1 มม. ยาว 0.5-2.5 มม. ปลายแหลม ทำหน้าที่แทนใบ (cladophyll) ลำต้นผิวเรียบ ลื่นเป็นมัน ใบ ใบเดี่ยว เรียงตัวแบบสลับ ใบเป็นเกล็ด รูปสามเหลี่ยม ฐานกว้าง0.5-4 มม. ยาว 1-4 มม. ใบเกล็ดมี อายุสั้นๆต่อมาแข็งขึ้นและเปลี่ยนเป็นหนามโค้งกลับ(recurved) ดอก ดอกช่อ raceme เกิดที่ซอกกิ่ง (cladophyll) ก้านช่อดอกยาว 3-15 มม. ดอกย่อย เส้นผ่าศูนย์ กลางดอกบาน 3-4 มม. ก้านดอกย่อยยาว 2-3 มม. กลีบ (tepals) 6 กลีบ สีขาว แยกกันเป็น 2 วง วงนอก 3 กลีบ วง ใน 3 กลีบ กลีบกว้าง 0.5-1 มม. ยาว 2.5-3.5 มม. กลีบรูปขอบขนาน ปลายกลีบมน ขอบเรียบ เกสรเพศผู้ จำนวน 6 อัน มาก เรียงตัวตรงข้ามกับกลีบ ก้านชูอับเรณูยาวขนานกับกลีบ ก้านชูอับเรณูลักษณะเป็นเส้นเล็กๆ สีขาวแกมเหลือง ยาว 2-2.5 มม. อับเรณูสีน้ำตาลอ่อน ยาว 0.3-0.5 มม. เกสรเพศเมีย 1 อัน รังไข่ superior ovary สีเขียวแกมเหลือง ลักษณะทรงกลม 3 พู เส้นผ่าศูนย์กลางรังไข่ 1-1.5 มม. ก้านเกสรตัวเมีย 1 อัน ยาว 0.5 มม. ยอดเกสรตัวเมีย แยกเป็น 3 แฉก ผลและเมล็ด ผลสด berry สีแดง หรือแดงงอมม่วง เส้นผ่าศูนย์กลาง 5-8 มม.
ส่วนที่ใช้ :  ราก
สรรพคุณ :
          มีฤทธิ์ขับปัสสาวะ หล่อลื่นและกระตุ้น
          มีรสเย็น หวานชุ่ม บำรุงเด็กในครรภ์ บำรุงตับปอดให้เกิดกำลังเป็นปกติ
วิธีใช้ :
         นำรากมา ต้ม, เชื่อม หรือทำแช่อิ่ม รับประทานเป็นอาหาร กรอบดีมาก

กลุ่มยาขับปัสสาวะ -ทานตะวัน

ทานตะวัน

ชื่อวิทยาศาสตร์  Helianthus annuus  L.
ชื่อสามัญ  Sunflower.
วงศ์  Asteraceae (Compositae)
ชื่ออื่น :  บัวตอง (ภาคเหนือ) ชอนตะวัน (ภาคกลาง)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ส่วนที่ใช้ :
แกนต้น ใบ ดอก ฐานรองดอก เมล็ด เปลือกเมล็ด ราก
สรรพคุณ :
  • แกนต้น - ขับปัสสาวะ แก้นิ่วในทางเดินปัสสาวะ นิ่วในไต ปัสสาวะเป็นเลือด ปัสสาวะขุ่นขาว ไอกรน แผลมีเลือดออก
  • ดอก - ขับลม ทำให้ตาสว่าง แก้วิงเวียน หน้าบวม บีบมดลูก
  • ใบ, ดอก - แก้หลอดลมอักเสบ
  • ฐานรองดอก - แก้อาการปวดหัว ตาลาย ปวดฟัน ปวดท้อง โรคกระเพาะ ปวดประจำเดือน ฝีบวม
  • เมล็ด - แก้บิด มูกเลือด ขับหนองใน ฝีฝักบัว ขับปัสสาวะ เสมหะ แก้ไอ แก้ไข้หวัด
  • เปลือกเมล็ด - แก้อาการหูอื้อ
  • ราก - แก้อาการปวดท้อง แน่นหน้าอก ฟกช้ำ เป็นยาระบาย ขับปัสสาวะ
ข้อห้ามใช้ : ห้ามใช้ในหญิงมีครรภ์
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
          1. แก้อาการปวดหัว ตาลาย  ใช้ฐานรองดอกที่แห้งแล้ว ประมาณ 25- 30 กรัม นำมาตุ๋น กับไข่ 1 ฟอง รับประทานหลังอาหารวันละ 2 ครั้ง
          2. แก้อาการช่วยขับปัสสาวะขุ่นขาว และขับปัสสาวะ ให้ใช้แกนกลางลำต้น ยาวประมาณ 60 ซม. (หรือประมาณ 15 กรัม ) และรากต้นจุ้ยขึ้งฉ่ายราว 60 กรัม ใช้ต้มคั้นเอาน้ำ หรือใช้ผสมกับน้ำผึ้งรับประทาน
          3. แก้อาการปวดท้องโรคกระเพาะ และปวดท้องน้อยก่อนหรือระยะที่เป็นรอบเดือน ให้ใช้ฐานรองดอก 1 อัน หรือประมาณ 30- 60 กรัม และกระเพาะหมู 1 อัน แล้วใส่น้ำตาลทรายแดง ประมาณ 30 กรัม ต้มกรองเอาน้ำรับประทาน
          4. แก้อาการมูกโลหิต ให้ใช้เม็ดประมาณ 30 กรัม ใส่น้ำตาลเล็กน้อย ต้มน้ำนานราว 60 นาที แล้วใช้ดื่ม
          5. ช่วยลดความดันโลหิต ให้ใช้ใบสด 60 กรัม (แห้ง 30 กรัม ) และโถวงู่ฉิกสด 60 กรัม (แห้ง 30 กรัม ) นำมาต้มเอาน้ำรับประทาน
          6. แก้อาการปวดฟัน ให้ใช้ดอกที่แห้งแล้ว ประมาณ 25 กรัม นำมาสูบเหมือนยาสูบ หรือใช้ฐานรองดอก 1 อัน พร้อมรากเกากี้ นำมาตุ๋นกับไข่รับประทาน
         7. โรคไอกรน ให้ใช้แกนกลางลำต้นโขลกให้ละเอียด แล้วนำมาผสมกับน้ำตาล ทรายขาว ชงด้วยน้ำร้อนรับประทาน
         8. แก้อาการไอ ให้ใช้เมล็ดคั่วให้เหลือง ชงน้ำดื่มกิน
         9. แก้อาการหูอื้อ ให้ใช้เปลือกเมล็ดประมาณ 10- 15 กรัม ต้มน้ำรับประทาน
        10. ขับพยาธิไส้เดือน ให้ใช้รากสดประมาณ 30 กรัม เติมน้ำตาลทรายแดงเล็กน้อย ต้มน้ำรับประทาน
        11. แผลที่มีเลือดไหล ให้ใช้แกนกลางลำต้นโขลกให้ละเอียดแล้วนำมาพอก บริเวณแผล
สารเคมี : สารเคมีในใบ ถ้านำมาสกัดด้วยแอลกอฮอล์ (0.2%) มีฤทธิ์สามารถช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของพารามีเซียม (paramecium) และเชื้อแบคทีเรีย Bacillus aureus แต่ไม่มีฤทธิ์ต่อเชื้อ แบคทีเรีย Bacillus coli และนอกจากนี้ยังสามารถใช้เป็นยาต้านโรคมาลาเรีย และช่วยเสริมฤทธิ์ยาควินิน

กลุ่มยาขับปัสสาวะ -ตะไคร้

ตะไคร้

ชื่อวิทยาศาสตร์  Cymbopogon citratus  Stapf.
ชื่อสามัญ  Lemon Grass, Lapine
วงศ์  Poaceae (Gramineae)
ชื่ออื่น :  จะไคร้ (ภาคเหนือ) ไคร (ภาคใต้) คาหอม (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน) ห่อวอตะไป่ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) หัวสิงโต (เขมร-ปราจีนบุรี) ตะไคร้แกง (ทั่วไป)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ส่วนที่ใช้ :
  • ทั้งต้น  เก็บได้ตลอดปี ล้างให้สะอาด ใช้สดหรือผึ่งให้แห้งในที่ร่ม เก็บไว้ใช้
  • ราก  เก็บได้ตลอดปี ล้างให้สะอาด ใช้สด ใบสด
สรรพคุณ :
  • ทั้งต้น
    1. รสฉุน สุมขุม แก้หวัด ปวดศีรษะ ไอ
    2. แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด ขับลมในลำไส้ บำรุงไฟธาตุ
    3. ทำให้เจริญอาหาร แก้ปวดกระเพาะอาหาร แก้ท้องเสีย
    4. แก้ปวดข้อ ปวดเมื่อย ฟกช้ำจากหกล้ม ขาบวมน้ำ
    5. แก้โรคทางเดินปัสสาวะ นิ่ว ขับปัสสาวะ ประจำเดือนมาผิดปกติ
    6. แก้ปัสสาวะเป็นเลือด แก้โรคหืด
  • ราก
    1. แก้เสียดแน่น แสบบริเวณหน้าอก ปวดกระเพาะอาหารและขับปัสสาวะ
    2. บำรุงไฟธาตุ ขับปัสสาวะ แก้นิ่ว แก้ปัสสาวะพิการ
    3. รักษาเกลื้อน แก้อาการขัดเบา
  • ใบสด - มีสรรพคุณช่วยลดความดันโลหิตสูง แก้ไข้
  • ต้น -  มีสรรพคุณเป็นยาขับลม แก้ผมแตกปลาย เป็นยาช่วยให้ลมเบ่งขณะคลอดลูก ใช้ดับกลิ่นคาว แก้เบื่ออาหาร บำรุงไฟธาตุให้เจริญ แก้โรคทางเดินปัสสาวะ นิ่วปัสสาวะพิการ แก้หนองใน
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
  • แก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด ปวดท้อง -ใช้ลำต้นแก่ๆ ทุบพอแหลก ประมาณ 1 กำมือ (ประมาณ 40- 60 กรัม ) ต้มเอาน้ำดื่ม หรือประกอบเป็นอาหาร
    - นำตะไคร้ทั้งต้นรวมทั้งรากจำนวน 5 ต้น สับเป็นท่อน ต้มกับเกลือ ต้ม 3 ส่วน ให้เหลือ 1 ส่วน รับประทานครั้งละ 1 ถ้วยแก้ว รับประทาน 3 วัน จะหายปวดท้อง
  • แก้อาการขัดเบา ผู้ที่ปัสสาวะขัดไม่คล่อง (แต่ต้องไม่มีอาการบวม)
    - ใช้ต้นแก่สด วันละ 1 กำมือ (ประมาณ 40- 60 กรัม , แห้งหนัก 20- 30 กรัม ) ต้มกับน้ำดื่มครั้งละ 1 ถ้วยชา (75 มิลลิลิตร) วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร
    - ใช้เหง้าแก่ที่อยู่ใต้ดิน ฝานเป็นแว่นบางๆ คั่วไปอ่อนๆ พอเหลือง ชงเป็นชาดื่ม ครั้งละ 1 ถ้วยชา วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร
คุณค่าทางด้านอาหาร :
          ตะไคร้ยังมีประโยชน์ต่อร่างกาย เพราะช่วยเพิ่มเกลือแร่ที่จำเป็นหลายชนิด เช่น แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก และยังมีวิตามินเอ รวมอยู่ด้วย
สารเคมี :
          ใบ - มีน้ำมันหอมระเหย 0.4-0.8% ประกอบด้วย Citral 75-85 %  Citronellal, Geraniol Methylheptenone เล็กน้อย , Eugenol และ Methylheptenol
          ราก - มี อัลคาลอยด์ 0.3%

กลุ่มยาขับปัสสาวะ -กระเจี๊ยบแดง

กระเจี๊ยบแดง

ชื่อวิทยาศาสตร์  Butea monosperma (Lam.) Taub
ชื่อพ้อง : Butea frondosa  Wild.
ชื่อสามัญ  Flame of the Forest, Bastard Teak
วงศ์  Leguminosae-Papilionoideae
ชื่ออื่น :  กวาว ก๋าว (ภาคเหนือ) จอมทอง (ภาคใต้) จ้า (เขมร) ทองธรรมชาติ ทองพรหมชาติ ทองต้น (ภาคกลาง)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ส่วนที่ใช้
ดอก ยาง ใบ เมล็ด
สรรพคุณ :
  • ดอก - รับประทานเป็นยาถอนพิษไข้ แก้กระหายน้ำ
    - ผสมเป็นยาหยอดตา แก้เจ็บตา ฝ้าฟาง
    - เป็นยาขับปัสสาวะ สมานแผลปากเปื่อย แก้พิษฝี
  • ยาง - ใช้แก้ท้องร่วง
  • ใบ
    -
    ตำพอกฝี และสิว แก้ปวด ถอนพิษ
    - แก้ท้องขึ้น ขับพยาธิ แก้ริดสีดวง
  • เมล็ด
    - ขับไส้เดือน
    - บดผสมน้ำมะนาว ทาแก้ผิวหนังอักเสบเป็นผื่นแดงและแสบร้อน
ข้อควรระวัง : เนื่องจากหลักฐานทางด้านความเป็นพิษมีน้อย จึงควรที่จะได้ระมัดระวังในการใช้ และไม่ควรใช้ติดต่อกันนานๆ
ด้านฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา มีรายงาน 2 ฉบับคือ
  1. รายงานผลด้านฮอร์โมนเพศหญิง ผู้วิจัยพบว่า ถ้าใช้สารสกัดด้วยแอลกอฮอล์ในขนาดตั้งแต่ 3.2 มก./กก./วัน ขึ้นไปมีผลด้านฮอร์โมนเพศหญิง
  2. รายงานเรื่องการสกัดแยกสารไดโซบิวตริน (Isobutrin) และ บิวตริน (Butrin) ซึ่งมีฤทธิ์ป้องกันอันตรายต่อตับเนื่องจากสารพิษ ได้แก่ คาร์บอน เตทตร้าคลอไรด์ และ กาแลคโตซามีน ได้
สารเคมี - สารเคมีที่พบในดอกทองกวาว คือ Pongamin (Karanin), Kaempferol, ?-sitosterol, Glabrin, Glabrosaponin, Stearic acid, Palmitic acid, Butrin, Isobutrin coreopsin, Isocoreopsin, Sulfurein monospermoside และ Isomonospermoside สารที่พบส่วนใหญ่คือสาร ซึ่งเป็นองค์ประกอบของสีดอกทองกวาว มีสารที่มีรสหวานคือ glabrin.

กลุ่มยาขับปัสสาวะ -กระเจี๊ยบแดง

กระเจี๊ยบแดง

ชื่อวิทยาศาสตร์  Hibiscus sabdariffa  L.
ชื่อสามัญ  Jamaican Sorel, Roselle
วงศ์  Malvaceae
ชื่ออื่น :  กระเจี๊ยบ  กระเจี๊ยบเปรี้ย  ผักเก็งเค็ง  ส้มเก็งเค็ง  ส้มตะเลงเครง
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก อายุปีเดียว สูง 1-2 เมตร เปลือกต้นเรียบ ลำต้นและกิ่งสีม่วงแดง ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ใบหยักเว้าลึก 3-5 แฉก แต่ละแฉกกว้าง 0.5-3 ซม. ยาว 3-8 ซม. โคนใบมน ปลายใบแหลม ก้านใบยาว 4-15 ซม. ดอก ออกเดี่ยวตามซอกใบ มีริ้วประดับสีแดง กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกัน ปลายแยก 5 แฉก สีแดงเข้ม อวบน้ำ กลีบดอก 5 กลีบ สีเหลือง ตรงกลางดอกสีม่วงแดง เกสรเพศผู้จำนวนมาก ผล รูปไข่ สีแดงเข้ม มีกลีบเลี้ยง ติดทนขนาดใหญ่รองรับอยู่จนผลแก่ ผลแห้งแตกได้ เมล็ดสีน้ำตาลจำนวนมาก
ส่วนที่ใช้ :
กลีบเลี้ยงของดอก หรือกลีบที่เหลืออยู่ที่ผล ใบ ดอก ผล เมล็ด
สรรพคุณ :
  • กลีบเลี้ยงของดอก หรือกลีบที่เหลืออยู่ที่ผล 1. เป็นยาลดไขมันในเส้นเลือด และช่วยลดน้ำหนักด้วย
    2. ลดความดันโลหิตได้โดยไม่มีผลร้ายแรงแต่อย่างใด
    3. น้ำกระเจี๊ยบทำให้ความเหนียวข้นของเลือดลดลง
    4. ช่วยรักษาโรคเส้นโลหิตแข็งแรงได้ดี
    5. น้ำกระเจี๊ยบยังมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ เป็นการช่วยลดความดันอีกทางหนึ่ง
    6. ช่วยย่อยอาหาร เพราะไม่เพิ่มการหลั่งของกรดในกระเพาะ
    7. เพิ่มการหลั่งน้ำดีจากตับ
    8. เป็นเครื่องดื่มที่ช่วยให้ร่างกายสดชื่น เพราะมีกรดซีตริคอยู่
  • ใบ - มีรสเปรี้ยว แก้โรคพยาธิตัวจี๊ด ยากัดเสมหะ แก้ไอ ขับเมือกมันในลำคอให้ลงสู่ทวารหนัก
  • ดอกแก้โรคนิ่วในไต แก้โรคนิ่วในกระเพาะปัสสาวะขัดเบา ละลายไขมันในเส้นเลือด กัดเสมหะ ขับเมือกในลำไส้ให้ลงสู่ทวารหนัก
  • ผล - ลดไขมันในเลือด แก้กระหายน้ำ รักษาแผลในกระเพาะ
  • เมล็ดรสเมา บำรุงธาตุ บำรุงกำลัง แก้ดีพิการ ขับปัสสาวะ ลดไขมันในเส้นเลือด
    นอกจากนี้ ได้บ่งสรรพคุณโดยไม่ได้ระบุว่าใช้ส่วนใด ดังนี้คือ แก้อ่อนเพลีย บำรุงกำลัง บำรุงธาตุ แก้ดีพิการ แก้ปัสสาวะพิการ แก้คอแห้งกระหายน้ำ แก้ความดันโลหิตสูง กัดเสมหะ แก้ไอ ขับเมือกมันในสำไส้ ลดไขมันในเลือด บำรุงโลหิต ลดอุณหภูมิในร่างกาย แก้โรคเบาหวาน แก้เส้นเลือดตีบตัน นอกจากใช้เดี่ยวๆ แล้วยังใช้ผสมในตำรับยาร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นใช้ถ่ายพยาธิตัวจี๊ด
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
          โดยนำเอากลีบเลี้ยง หรือกลีบรองดอกสีม่วงแดง ตากแห้งและบดเป็นผง ใช้ครั้งละ 1 ช้อนชา  (หนัก 3 กรัม) ชงกับน้ำเดือด 1 ถ้วย (250 มิลลิลิตร) ดื่มเฉพาะน้ำสีแดงใส ดื่มวันละ 3 ครั้ง ติดต่อกันทุกวันจนกว่าอาการขัดเบาและอาการอื่นๆ จะหายไป
สารเคมี :
สารเคมีที่สำคัญใน ดอก พบ Protocatechuic acid. hibiscetin, hibicin, organic acid, malvin, gossypetin

คุณค่าด้านอาหาร

          น้ำกระเจี๊ยบแดง มีรสเปรี้ยว นำมาต้มกับน้ำ เติมน้ำตาล ดื่มแก้ร้อนใน กระหายน้ำ และช่วยป้องกันการจับตัวของไขมันในเส้นเลือดได้ และยังนำมาทำขนมเยลลี่ แยม หรือใช้เป็นสารแต่งสี ใบอ่อนของกระเจี๊ยบเป็นผักได้ หรือใช้แกงส้ม รสเปรี้ยวกำลังดี กระเจี๊ยบเปรี้ยวมีชื่อเรียกอีกชื่อว่า "ส้มพอเหมาะ" ในใบมี วิตามินเอ ช่วยบำรุงสายตา ส่วนกลีบเลี้ยงและกลีบดอก มีสารแคลเซียม ช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง          น้ำกระเจี๊ยบแดงที่ได้สีแดงเข้ม สาร Anthocyanin นำไปแต่งสีอาหารตามต้องการ