Golden Dreams TMS&Herb

วันอาทิตย์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2555

กลุ่มยาขับปัสสาวะ -กระเจี๊ยบแดง

กระเจี๊ยบแดง

ชื่อวิทยาศาสตร์  Butea monosperma (Lam.) Taub
ชื่อพ้อง : Butea frondosa  Wild.
ชื่อสามัญ  Flame of the Forest, Bastard Teak
วงศ์  Leguminosae-Papilionoideae
ชื่ออื่น :  กวาว ก๋าว (ภาคเหนือ) จอมทอง (ภาคใต้) จ้า (เขมร) ทองธรรมชาติ ทองพรหมชาติ ทองต้น (ภาคกลาง)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ส่วนที่ใช้
ดอก ยาง ใบ เมล็ด
สรรพคุณ :
  • ดอก - รับประทานเป็นยาถอนพิษไข้ แก้กระหายน้ำ
    - ผสมเป็นยาหยอดตา แก้เจ็บตา ฝ้าฟาง
    - เป็นยาขับปัสสาวะ สมานแผลปากเปื่อย แก้พิษฝี
  • ยาง - ใช้แก้ท้องร่วง
  • ใบ
    -
    ตำพอกฝี และสิว แก้ปวด ถอนพิษ
    - แก้ท้องขึ้น ขับพยาธิ แก้ริดสีดวง
  • เมล็ด
    - ขับไส้เดือน
    - บดผสมน้ำมะนาว ทาแก้ผิวหนังอักเสบเป็นผื่นแดงและแสบร้อน
ข้อควรระวัง : เนื่องจากหลักฐานทางด้านความเป็นพิษมีน้อย จึงควรที่จะได้ระมัดระวังในการใช้ และไม่ควรใช้ติดต่อกันนานๆ
ด้านฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา มีรายงาน 2 ฉบับคือ
  1. รายงานผลด้านฮอร์โมนเพศหญิง ผู้วิจัยพบว่า ถ้าใช้สารสกัดด้วยแอลกอฮอล์ในขนาดตั้งแต่ 3.2 มก./กก./วัน ขึ้นไปมีผลด้านฮอร์โมนเพศหญิง
  2. รายงานเรื่องการสกัดแยกสารไดโซบิวตริน (Isobutrin) และ บิวตริน (Butrin) ซึ่งมีฤทธิ์ป้องกันอันตรายต่อตับเนื่องจากสารพิษ ได้แก่ คาร์บอน เตทตร้าคลอไรด์ และ กาแลคโตซามีน ได้
สารเคมี - สารเคมีที่พบในดอกทองกวาว คือ Pongamin (Karanin), Kaempferol, ?-sitosterol, Glabrin, Glabrosaponin, Stearic acid, Palmitic acid, Butrin, Isobutrin coreopsin, Isocoreopsin, Sulfurein monospermoside และ Isomonospermoside สารที่พบส่วนใหญ่คือสาร ซึ่งเป็นองค์ประกอบของสีดอกทองกวาว มีสารที่มีรสหวานคือ glabrin.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น