Golden Dreams TMS&Herb

วันศุกร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2555

กลุ่มยาถ่าย -ว่านหางช้าง (ว่านแม่ยับ)

ว่านหางช้าง (ว่านแม่ยับ)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Belamcanda chinensis  (L.) DC.
ชื่อสามัญ Black Berry Lily, Leopard Flower
วงศ์   IRIDACEAE
ชื่ออื่น :  ว่านมีดยับ
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก สูง 0.6 - 1.2 เมตร มีเหง้าเลื้อยตามแนวขนานกับพื้นดิน ใบเดี่ยว แทงออกจากเหง้า เรียงซ้อนสลับ กว้าง 2 - 3 ซม. ยาว 30 - 45 ซม. เนื้อใบค่อนข้างหนา ดอกช่อ ออกที่ปลายยอด กลีบดอกสีส้มมีจุดประสีแดงกระจาย ผลแห้ง เมื่อแก่จะแตกอ้า และกระดกกลับไปด้านหลัง
ส่วนที่ใช้
ราก เหง้าสด ใบ เนื้อในลำต้น
สรรพคุณ :
  • ราก เหง้าสด  - แก้เจ็บคอ  
  • ใบเป็นยาระบายอุจจาระและแก้ระดูพิการของสตรีได้ดี
  • เนื้อในลำต้น 
    เป็นยาบำรุงธาตุ แก้โรคระดูพิการของสตรี
    -
      ใช้บำบัดโรคต่อมทอนซิลอักเสบ
    -
      ใช้เป็นยาถ่าย
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
  • แก้เจ็บคอ
    ใช้ราก หรือเหง้าสด 5-10 กรัม แห้ง 3-6 กรัม ต้มน้ำรับประทาน
  • เป็นยาระบาย และแก้ระดูพิการของสตรี
    ใช้ใบ 3 ใบ ปรุงในยาต้ม
ความรู้เพิ่มเติม เกี่ยวกับทางด้านความเชื่อ
          มีความเชื่อกันว่าเป็นว่านมหาคุณ ปลูกไว้หน้าบ้านกันภัยอันตรายต่างๆ เพราะสามารถนำว่านนี้มาใช้ประโยชน์ทางไสยคุณได้ เช่น
  • ดอก  - ใช้แก้ไสยคุณที่เกิดจากการกระทำจากผม
  • ใบ - ใช้แก้ไสยคุณที่เกิดจากการกระทำจาก เนื้อ
ต้น - ใช้แก้ไสยคุณที่เกิดจากการกระทำจาก กระดูก
ในภาคอีสาน นิยมปลูกเป็นว่านศิริมงคล แม่บ้านกำลังจะคลอดลูก ใช้ว่านหางช้างนี้พัดโบกที่ท้องเพื่อให้คลอดลูกง่ายขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น