Golden Dreams TMS&Herb

วันพฤหัสบดีที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

กลุ่มยารักษาเบาหวาน -โทงเทง

โทงเทง
ชื่อวิทยาศาสตร์  Physalis angulata  L.
ชื่อสามัญ  Hogweed, Ground Cherry
วงศ์  SOLANACEAE
ชื่ออื่น :  ต้อมต๊อก บาตอมต๊อก (เชียงใหม่)  ตะเงหลั่งเช้า (จีน)  ปุงปิง (ปัตตานี) ปิงเป้ง (หนองคาย)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุกขนาดเล็ก ลำต้นอวบน้ำเปลือกเกลี้ยงสีเขียว โคนสีม่วงแดงและสีค่อย ๆ จางลงเป็นสีเขียวใสเป็นเหลี่ยม ยอดเป็นสีเขียวอ่อน ลำต้นสูงประมาณ 25 - 50 เซนติเมตร สูงเต็มที่ 120 เซนติเมตร แตกกิ่งก้านสาขา ใบ เป็นใบเดี่ยวสีเขียวเรียงสลับออกตามข้อ ๆ ละใบ มีก้านยาว 2 - 3 เซนติเมตร ลักษณะใบคล้ายใบพริก รูปหอกป้าน ปลายแหลมและขอบใบเรียบ ใบกว้าง 3 - 4 เซนติเมตร ยาว 4 - 7 เซนติเมตร มีเส้นแขนงใบ 5 - 7 คู่ ดอก ออกระหว่างก้านใบกับลำต้น ดอกเล็กคล้ายดอกพริก แต่กลีบดอกสั้นและแข็งกว่า ดอกตูมทรงรีปลายแหลม เวลาบานเป็นรูปแตร มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.5 - 2 เซนติเมตร กลีบดอกชั้นในมีสีเหลืองอ่อน กลีบดอกชั้นนอกหรือกลีบเลี้ยงมีสีเขียวอ่อน จำนวน 5 กลีบ ซึ่งจะเจริญเติบโตขยายตัวหุ้มผลภายในไว้หลวม ๆ ทำให้ดูเสมือนว่าผลพอง ออกดอกตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์เรื่อยไปจนถึงเดือนพฤศจิกายน ผล ผลโทงเทงมีกลีบดอกชั้นนอกหุ้มเหมือนโคมจีนสีเขียวอ่อนมีลายสีม่วง ผลภายในมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1-2 เซนติเมตร ผลกลมใสมีสีเขียวอ่อน และเมื่อสุกกลายเป็นสีเหลือง เมล็ด ในผลมีเมล็ดขนาดเล็กมีจำนวนมาก รูปกลมแบน เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.2 - 0.3 มิลลิเมตร มีเมือกหุ้มคล้ายมะเขือเทศจำนวนมาก
ส่วนที่ใช้ :  ทั้งต้น ราก เยื่อหุ้มผลแห้ง
สรรพคุณ :
  • ทั้งต้น  - รักษาดีซ่าน ไอหืดเรื้อรัง แผลมีหนอง เจ็บคอ
  • ราก - ใช้ขับพยาธิ รักษาโรคเบาหวาน
วิธีและปริมาณที่ใช่
  • ยารักษาโรคหืด
    ใช้ทั้งต้นแห้ง 1/2 กิโลกรัม ต้มกับน้ำ เติมน้ำตาลกรวดลงไปให้หวาน รับประทานครั้งบะ 1/4 ถ้วยแก้ว วันละ 3 ครั้ง หลังอาหารเป็นเวลา 10 วัน หยุดยา 3 วัน รับประทานต่อไปอีก 10 วัน พักอีก 3 วัน แล้วรับประทานต่อไปอีก 10 วัน หอบหืดจะได้ผลดี
    ข้อควรระวัง - ในการรับประทานสมุนไพรโทงเทงนี้ใน 1-5 วันแรก บางคนอาจมีอาการอึดอัด เวียนศีรษะ นอนไม่หลับ หงุดหงิด หลังจากนั้นอาหารเหล่านี้จะหายไปเอง
  • ยารักษาแผลในปาก เจ็บคอ
    -
    ใช้เยื่อหุ้มผลแห้งที่เอาเมล็ดออกแล้วหนัก 10 กรัม เปลือกส้ม 6 กรัม ต้มกับน้ำผสมน้ำตาลกรวดพอหวานเล็กน้อย ใช้ดื่มต่างน้ำ
    - ใช้ทั้งต้น ตำละลายกับสุรา เอาสำลีชุบน้ำยาอมไว้ข้างแก้ม กลืนน้ำผ่านลำคอทีละน้อย แก้ต่อมน้ำลายอักเสบ (ต่อมทอนซิล) แก้ฝีในลำคอ (แซง้อ) หรือ ละลายกับน้ำส้มสายชูก็ได้ แก้ความอักเสบในลำคอได้ดีมาก
    ใช้ภายใน แก้ร้อนในกระหายน้ำ ใช้ภายนอก แก้ฟกบวมอักเสบ ทำให้เย็น
  • ยาขับพยาธิ รักษาโรคเบาหวาน
    ใช้รากต้มกับน้ำรับประทาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น