Golden Dreams TMS&Herb

วันอังคารที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2554

กลุ่มยาแก้บิด ท้องเดิน ท้องร่วง โรคกระเพาะ - กระทือ

กระทือ

ชื่อวิทยาศาสตร์   Zingiber zerumbet  (L.) Smith.
วงศ์  Zingiberaceae
ชื่ออื่น :  กระทือป่า กะแวน กะแอน แสมดำ แฮวดำ เฮียวดำ (ภาคเหนือ) เฮียวแดง (แม่ฮ่องสอน)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้ล้มลุก ลำต้นเหนือดินกลม สูง 0.9-1.5 เมตร มีเหง้าใต้ดิน ต้นโทรมในหน้าแล้งแล้วงอกขึ้นใหม่ในหน้าฝน ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับในระนาบเดียวกัน รูปรูยาว กว้าง 5-7.5 ซม. ยาว 20-30 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบมนสอบ ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ สีเขียว ก้านใบเป็นกาบหุ้มลำต้น ดอก ออกเป็นช่อแทงออกจากเหง้าขึ้นมา ช่อดอกรูปทรงกระบอก มีใบประดับสีเขียวแกมแดง เรียงซ้อนกันแน่นเป็นระเบียบ ดอกสีเหลือง โคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด ดอกบานไม่พร้อมกัน ผล แบบผลแห้งแตก รูปทรงค่อนข้างกลม สีแดง เมล็ดสีดำ
ส่วนที่ใช้ : ราก เหง้า ต้น ใบ ดอก หัว หรือ เหง้าแก่สด  เก็บใบช่วงฤดูแล้ง
สรรพคุณ :
  • ราก  - แก้ไข้ตัวเย็น แก้ไข้ต่างๆ แก้ไข้ตัวร้อน แก้เคล็ดขัดยอก
  • เหง้า
    - บำรุงน้ำนม แก้ปวดมวนในท้อง แก้บิด บิดป่วงเบ่ง
    - แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ปวดท้อง ขับผายลม ขับปัสสาวะ
    - แก้จุกเสียด แก้เสมหะเป็นพิษ
    - ขับน้ำย่อย เจริญอาหาร
    - เป็นยาบำรุงกำลัง
    - แก้ฝี
  • ต้น
    - แก้เบื่ออาหาร ช่วยเจริญอาหาร ทำให้รับประทานอาหารมีรส
    - แก้ไข้
  • ใบ
    - ขับเลือดเน่าร้ายในเรือนไฟ
    - แก้เบาเป็นโลหิต
  • ดอก
    - แก้ไข้เรื้อรัง
    - ผอมแห้ง ผอมเหลือง
    - บำรุงธาตุ แก้ลม
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
  • รักษาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด และปวดท้อง บิดโดยใช้หัวหรือเหง้ากระทือสด ขนาดเท่าหัวแม่มือ 2 หัว (ประมาณ 20 กรัม) ย่างไฟพอสุก ตำกับน้ำปูนใสครึ่งแก้ว คั้นเอาน้ำดื่มเวลามีอาการ
    บางท้องถิ่นใช้หัวกระทือประกอบอาหาร เนื้อในมีรสขมและขื่นเล็กน้อย ต้องหั่นแล้วขยำกับน้ำเกลือนานๆ
    กระทือเป็นพืชที่มีสารอาหารน้อย
สารเคมี :
          Afzelin, Camphene, Caryophyllene
          น้ำมันหอมระเหยมี Zerumbone, Zerumbone Oxide

กลุ่มยาแก้บิด ท้องเดิน ท้องร่วง โรคกระเพาะ - กระชาย

กระชาย

ชื่อวิทยาศาสตร์   Boesenbergia rotunda (L.) Mansf.
ชื่อสามัญ  Kaempfer
วงศ์   Zingiberaceae
ชื่ออื่น :  กระชายดำ กะแอน ขิงทราย (มหาสารคาม) จี๊ปู ซีฟู เปาซอเร๊าะ เป๊าสี่ระแอน (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ละแอน (ภาคเหนือ)  ว่านพระอาทิตย์ (กรุงเทพฯ)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้ล้มลุก มีเหง้าสั้น แตกหน่อได้ รากอวบ รูปทรงกระบอกหรือรูปไข่ค่อนข้างยาว ปลายเรียว กว้าง 1-2 ซม. ยาว 4-10 ซม. ออกเป็นกระจุก ผิวสีน้ำตาลอ่อน เนื้อในสีเหลือง มีกลิ่นเฉพาะตัว ส่วนที่อยู่เหนือดินเป็นใบ มี 2-7 ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปรี กว้าง 5-12 ซม. ยาว 12-50 ซม. ปลายเรียวแหลม โคนมนหรือแหลม ขอบเรียบ เส้นกลางใบ ก้านใบ และกาบใบด้านบนเป็นร่อง ด้านล่างนูนเป็นสัน ก้านใบเรียบ ยาว 7-25 ซม. กาบใบสีชมพู ยาว 7-25 ซม. ระหว่างก้านใบและกาบใบมีลิ้นใบ ช่อดอกแบบช่อเชิงลด ออกที่ยอดระหว่างกาบใบคู่ในสุด ยาวประมาณ 5 ซม. แต่ละดอกมีใบประดับ 2 ใบ สีขาวหรือขาวอมชมพูอ่อน รูปใบหอก กว้างประมาณ 8 มม. ยาว 3.5-4.5 ซม. กลีบเลี้ยงสีขาวหรือขาวอมชมพูอ่อน โคนติดกันเป็นหลอด ยาวประมาณ 1.7 ซม. ปลายแยกเป็น 3 แฉก กลีบดอกสีขาวหรือขาวอมชมพูอ่อน โคนติดกันเป็นหลอด ยาวประมาณ 6 ซม. ปลายแยกเป็น 3 กลีบ รูปใบหอก ขนาดไม่เท่ากัน กลีบใหญ่ 1 กลีบ กว้างประมาณ 7 มม. ยาวประมาณ 1.8 ซม. อีก 2 กลีบ ขนาดเท่ากัน กว้างประมาณ 5 มม. ยาวประมาณ 1.5 ซม. เกสรเพศผู้ 6 อัน แต่ 5 อัน เปลี่ยนไปมีลักษณะเหมือนกลีบดอก โดย 2 กลีบบนสีชมพู รูปไข่กลับ ขนาดเท่ากัน กว้างประมาณ 1.2 ซม. ยาวประมาณ 1.7 ซม. อีก 3 กลีบล่างสีชมพูติดกันเป็นกระพุ้ง กว้างประมาณ 2 ซม. ยาวประมาณ 2.7 ซม. ปลายแผ่กว้างประมาณ 2.5 ซม. มีสีชมพูหรือม่วงแดงเป็นเส้นๆ อยู่เกือบทั้งกลีบโดยเฉพาะอย่างยิ่งตรงกระเปาะและปลายกลีบ มีเกสรเพศผู้ที่สมบูรณ์ 1 อัน ก้านชูอับเรณูหุ้มก้านเกสรเพศเมีย ผลแก่แตกเป็น 3 เสี่ยง เมล็ดค่อนข้างใหญ่
สรรพคุณ :
  • เหง้าใต้ดิน - มีรสเผ็ดร้อนขม แก้ปวดท้อง มวนในท้อง ท้องอืดท้องเฟ้อ บำรุงกำลัง บำรุงกำหนัด แก้กามตายด้าน เป็นยารักษาริดสีดวงทวาร
  • เหง้าและราก - แก้บิดมูกเลือด เป็นยาขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะพิการ ใช้เป็นยาภายนอกรักษาขี้กลาก
  • ใบ - บำรุงธาตุ แก้โรคในปาก คอ แก้โลหิตเป็นพิษ ถอนพิษต่างๆ
วิธีใช้และปริมาณที่ใช้ :
  1. แก้ท้องร่วงท้องเดิน
    ใช้เหง้าสด 1-2 เหง้า ตำหรือฝนเหง้าที่ปิ้งไฟแล้วกับน้ำปูนใส หรือคั้นให้ข้นๆ รับประทานครั้งละ 1-2 ช้อนแกง
  2. แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ จุกเสียด ปวดมวนในท้อง
    ใช้เหง้าและราก ประมาณครึ่งกำมือ (สดหนัก 5-10 กรัม, แห้ง 3-5 กรัม) ต้มเอาน้ำดื่ม หรือใช้ปรุงเป็นอาหารรับประทาน
  3. แก้บิด
    ใช้เหง้าสด 2 เหง้า บดให้ละเอียด เติมน้ำปูนใส คั้นเอาแต่น้ำดื่ม
  4. เป็นยาบำรุงหัวใจ
    ใช้เหง้าและรากกระชายปอกเปลือก ล้างน้ำให้สะอาด หั่นตากแห้ง บดเป็นผง ใช้ผงแห้ง 1 ช้อนชา ชงน้ำร้อน ½ ถ้วยชา รับประทานครั้งเดียว
  5. ยารักษาริดสีดวงทวาร
    ใช้เหง้าสด 60 กรัม ประมาณ 6-8 เหง้า ผสมกับเนื้อมะขามเปียก 60 กรัม เกลือแกง 3 ช้อนแกง ตำแล้วต้มกับน้ำ 6 แก้ว เคี่ยวให้เหลือ 2 แก้ว รับประทานครั้งละ ½ แก้ว ก่อนนอน รับประทานติดต่อกัน 1 เดือน ริดสีดวงทวารควรจะหาย
สารเคมี :
          ทั้งส่วนรากและส่วนต้น ประกอบด้วยสาร alpinetin, pinocembrin, cardamonin,boesenbergin A, pinostrobin และน้ำมันหอมระเหย และในส่วนรากยังพบ chavicinic acid อีกด้วย

กลุ่มยาแก้บิด ท้องเดิน ท้องร่วง โรคกระเพาะ - กระท้อน

กระท้อน

ชื่อวิทยาศาสตร์   Sandoricum koetjape ( Burm. f.) Merr.
ชื่อสามัญ  Sentul, Santol, Red sentol, Yellow sentol
วงศ์  MELIACEAE
ชื่ออื่น :  เตียน ล่อน สะท้อน (ภาคใต้) มะต้อง (ภาคเหนือ,อุดรธานี)  มะติ๋น (ภาคเหนือ) สตียา สะตู (มาเลย์-นราธิวาส) สะโต (มาเลย์-ปัตตานี) 
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ไม่ผลัดใบ สูง 15-40 เมตร ต้นเปลา ตรง แตกกิ่งต่ำ เปลือกสีเทาอมน้ำตาล ค่อนข้างเรียบ
ใบแก่จัดสีแดงอิฐหรือสีแสด ใบช่อ ยาว 20-40 ซม. ช่อติดเรียงสลับเวียนกันไป ใบปลายช่อเป็นใบเดี่ยว ดอกช่อ ออกรวมเป็นช่อ ไม่แยกแขนงตามปลายกิ่ง ช่อยาว 5-15 ซม. มีขนนุ่มทั่วไป ดอกเล็ก สีเหลืองอ่อน หรือเขียวอ่อนอมเหลือง ดอกสมบรูณ์เพศ กลิ่นหอมอ่อนๆ ผล กลมหรือแป้น อุ้มน้ำ ผลอ่อนสีเขียว แก่จัดสีเหลือง เมล็ดรูปไต เรียงตามแนวตั้ง 5 เมล็ด ออกดอกเดือน มกราคม -มีนาคม และเป็นผลเดือน มีนาคม - พฤษภาคม
ส่วนที่ใช้ : ใบสด เปลือก ผล ราก
สรรพคุณ :
  • ใบสด  -   ใช้ขับเหงื่อ ต้มอาบแก้ไข้
  • เปลือก  -  รักษาโรคผิวหนัง กลากเกลื้อน
  • ผลฝาดสมาน เป็นอาหาร
  • รากเป็นยาขับลม แก้ท้องเสีย บิด เป็นยาธาตุ
  • ต้น - เป็นไม้ใช้สอย

กลุ่มยาแก้บิด ท้องเดิน ท้องร่วง โรคกระเพาะ - ทับทิม

ทับทิม

ชื่อวิทยาศาสตร์  Punica granatum  L.
ชื่อสามัญ  Pomegranate , Punica apple
วงศ์   Punicaceae
ชื่ออื่น :   พิลา (หนองคาย) พิลาขาว มะก่องแก้ว (น่าน) มะเก๊าะ (เหนือ) หมากจัง (แม่ฮ่องสอน)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ยืนต้น หรือพรรณไม้พุ่ม ขนาดเล็ก ลักษณะผิวเปลือกลำต้นเป็นสีเทา ส่วนที่เป็นกิ่งหรือยอดอ่อนจะเป็นเหลี่ยม หรือ มีหนามแหลมยาวขึ้น ใบ ใบมีลักษณะเป็นรูปยาวรี โคนใบมน แคบ ส่วนปลายใบเรียวแหลมสั้น ผิวหลังใบ เกลี้ยงเป็นมัน ใต้ท้องใบจะเห็นเส้นใบได้ชัด ขนาดของใบกว้างประมาณ 1 - 1.8 ซม. ยาว ประมาณ 2.5 - 6 ซม. ดอก ดอกออกเป็นช่อ หรืออาจจะเป็น ดอกเดียว ในบริเวณปลายยอด หรือง่ามกิ่ง ลักษณะของดอกมีเป็น สีส้ม สีขาว หรือสีแดง ดอกหนึ่งมีกลีบดอกประมาณ 6 กลีบ ปลายกลีบ ดอกจะแยกออกจากกัน ตรงกลางดอกมีเกสร ตัวเมีย และตัวผู้ซึ่งมีอับเรณูเป็นสีเหลือง ขนาดของดอกบานเต็มที่มีเส้นผ้าศูนย์กลางประมาณ 2 - 3 ซม. ผลมีลักษณะเป็นรูปค่อนข้าง กลม ผิวเปลือกนอกหนาเกลี้ยง ผลเมื่อแก่หรือ สุกเต็มที่มีสีเหลืองปนแดง และลักษณะของผล จะแตก หรืออ้างออก ข้างในผลก็จะมีเมล็ดเป็น จำนวนมาก เป็นรูปเหลี่ยม มีสีชมพูสด ดอก ดอกออกเป็นช่อ หรืออาจจะเป็น ดอกเดียว ในบริเวณปลายยอด หรือง่ามกิ่ง ลักษณะของดอกมีเป็น สีส้ม สีขาว หรือสีแดง ดอกหนึ่งมีกลีบดอกประมาณ 6 กลีบ ปลายกลีบ ดอกจะแยกออกจากกัน ตรงกลางดอกมีเกสร ตัวเมีย และตัวผู้ซึ่งมีอับเรณูเป็นสีเหลือง ขนาดของดอกบานเต็มที่มีเส้นผ้าศูนย์กลางประมาณ 2 - 3 ซม. ผลมีลักษณะเป็นรูปค่อนข้าง กลม ผิวเปลือกนอกหนาเกลี้ยง ผลเมื่อแก่หรือ สุกเต็มที่มีสีเหลืองปนแดง และลักษณะของผล จะแตก หรืออ้างออก ข้างในผลก็จะมีเมล็ดเป็น จำนวนมาก เป็นรูปเหลี่ยม มีสีชมพูสด
ส่วนที่ใช้ :  ใบ ดอก เปลือกผลแห้ง เปลือกต้นและเปลือกราก เมล็ด
สรรพคุณ :
  • ใบ - อมกลั้วคอ ทำยาล้างตา
  • ดอก - ใช้ห้ามเลือด
  • เปลือกและผลแห้ง
    - เป็นยาแก้ท้องร่วง ท้องเดิน แก้บิด
    - แก้โรคลักกะปิดลักกะเปิด
  • เปลือกต้นและเปลือกราก
    - ใช้เป็นยาขับพยาธิตัวตืด , พยาธิตัวกลม
  • เมล็ด - แก้โรคลักกะปิดลักกะเปิด
วิธีและปริมาณที่ใช้
  1. ถ่ายพยาธิตัวตืดและพยาธิตัวกลม ได้ผลดี
    ใช้เปลือกสดของราก , ต้น ที่เก็บใหม่ๆ 60 กรัม หรือประมาณ 1/2 กำมือ เติมกานพลูหรือกระวานลงไปเล็กน้อย เพื่อแต่งรส ต้มกับน้ำ 3 ถ้วยแก้ว เคี่ยวให้เหลือ 1 1/2 ถ้วยแก้ว รับประทานครั้งละ 2 ช้อนโต๊ะ (30 ซี.ซี.) หลังจากนั้นประมาณ 2 ชั่วโมง รับประทานยาถ่าย เช่น ดีเกลือ 2 ช้อนโต๊ะตาม ควรอดอาหารก่อนรับประทานยา
     
  2. ยาแก้ท้องร่วง ท้องเดิน (ไม่ใช่บิด หรือ อหิวาตกโรค)
    ใช้เปลือกผล ตากแดดให้แห้ง ประมาณ 1/4 ของผล ฝนกับน้ำฝนหรือน้ำปูนใสให้ข้นๆ รับประทานครั้งละ 1-2 ช้อนแกง หรือต้มกับน้ำปูนใส แล้วดื่มน้ำที่ต้มก็ได้
     
  3. บิด (มีอาการปวดเบ่ง และมีมูก หรืออาจมีเลือดด้วย)
    ใช้เปลือกผลแห้งของทับทิม ครั้งละ 1 กำมือ (3-5 กรัม) ต้มกับน้ำ ดื่มวันละ 2 ครั้ง อาจใช้กานพลูหรืออบเชยแต่งกลิ่นให้น่าดื่มก็ได้
สารเคมี
           เปลือกผลมีรสฝาด เนื่องจากมี tannin 22-25% gallotannic acid สารสีเขียวอมเหลือง รากมีสารอัลคาลอยด์ ชื่อ pelletierine และอนุพันธ์ของ pelletierine
คุณค่าด้านอาหาร
          ทับทิมใช้รับประทานเป็นผลไม้รสหวาน หรือเปรี้ยวหวาน มีวิตามินซี และแร่ธาตุหลายตัว ช่วยป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน และบำรุงฟันให้แข็งแรง

กลุ่มยาแก้บิด ท้องเดิน ท้องร่วง โรคกระเพาะ - บานไม่รู้โรยดอกขาว

บานไม่รู้โรยดอกขาว

ชื่อวิทยาศาสตร์  Gomphrena globosa  L.
ชื่อสามัญ  Everlasting, Globe Amaranth
วงศ์  AMARANTHACEAE
ชื่ออื่น :  กุนนีดอกขาว, กุนหยินขาว, สามเดือนดอกขาว, ตะล่อม, สามปีบ่อเหยี่ว
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุกขนาดเล็ก สูงราว 2 ฟุต ลำต้นตั้งตรง กิ่งมีขนเล็กน้อย ใบเดี่ยวรูปรีปลายแหลม ขอบเรียบ มีขนนุ่มทั้งใบ ดอกเป็นกระจุกทรงกลมมีสีขาว แดง ชมพู นิยมใช้ชนิดดอกขาวทำยา ปลูกเป็นไม้ประดับ ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด
ส่วนที่ใช้ :  ดอก ทั้งต้น และราก
ดอก เก็บเมื่อดอกแก่ เอามาตากแห้ง เอาก้านดอกออกเก็บไว้ใช้ ดอกแห้งมีลักษณะกลมหรือยาวรี ส่วนมากออกเป็นช่อเดี่ยว แต่มีบางครั้งอาจติดกัน 2-3 ช่อ ดอกที่ดีคือดอกที่มีขนาดโตๆ
สรรพคุณ :
  • ดอก - รสจืด ชุ่มสุขุม
    ใช้บำรุงตับ แก้ตาเจ็บ แก้ไอระงับหอบหืด ขับปัสสาวะ แก้ปวดศีรษะ บิด ไอกรน แผลผื่นคัน ฝีประคำร้อย
  • รากขับปัสสาวะ แก้พิษต่างๆ
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
  • ดอกแห้ง - ใช้หนัก 3-10 กรัม ต้มน้ำดื่ม
  • ทั้งต้น  - ใช้หนัก 15-30 กรัม ต้มน้ำดื่ม
  • ใช้ภายนอก - ใช้ตำพอก หรือต้มเอาน้ำชะล้าง
ตำรับยา
  1. แก้หอบหืด
    ใช้ดอก 10 ดอก ต้มน้ำผสมเหล้าเล็กน้อย ดื่มวันละ 3 ครั้ง
  2. แก้บิดมูก
    ใช้ดอก 10 ดอก ต้มน้ำผสมเหล้าเล็กน้อยดื่ม
  3. แก้ปัสสาวะขัด
    ใช้ดอก 3-10 กรัม ต้มน้ำดื่มบ่อยๆ
  4. แก้เด็กเป็นโรคลมชัก
    ใช้ดอก 10 ดอก รวมกับตั๊กแตนแห้ง (oxya chinensis thumb.) 7 ตัว ตุ๋นรับประทาน
แก้เด็กตัวร้อนตาเจ็บ
ใช้ดอกสด 10-14 ดอก ต้มน้ำดื่ม หรือผสมกับฟังเชื่อมแห้ง ต้มน้ำดื่ม

กลุ่มยาแก้บิด ท้องเดิน ท้องร่วง โรคกระเพาะ - เปล้าน้อย

เปล้าน้อย

ชื่อวิทยาศาสตร์  Croton stellatopilosus Ohba
ชื่อพ้อง
: Croton sublyratus  Kurz
วงศ์  EUPHORBIACEAE
ชื่ออื่น :  เปล้าท่าโพ (ภาคตะวันออกเฉียงใต้)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้ต้น สูง 1-4 เมตร ผลัดใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปใบหอกกลับ กว้าง 4-6 ซม. ยาว 10-15 ซม. ดอกช่อ ออกที่ซอกใบบริเวณปลายกิ่ง ดอกย่อยขนาดเล็กแยกเพศ อยู่ในช่อเดียวกัน กลีบดอกสีนวล  ออกดอกเมื่อใบแก่ ผลเป็นผลแห้ง แตกได้ มี 3 พู
ส่วนที่ใช้ : ใบ ราก ดอก ผล เปลือก แก่น
สรรพคุณ :
  • ใบ  -   ใช้บำรุงธาตุ แก้โรคกระเพาะ บำรุงโลหิตประจำเดือน
    มีสาร
    disterpene alcohol (CS-684 หรือ plaunotol) มีฤทธิ์สมานแผลในกระเพาะอาหารได้เป็นอย่างดี รักษาโรคเกี่ยวกับทางเดินอาหาร เช่น แผลในกระเพาะ
  • ใบ ราก
    - แก้คัน รักษามะเร็งเพลิง
    - รักษาโรคผิวหนัง กลาก เกลื้อน
    - แก้พยาธิต่างๆ ริดสีดวงทวาร
    - แก้ไอเป็นโลหิต
    - เป็นยาปฏิชีวนะ
  • ดอก - ขับพยาธิ ฆ่าพยาธิ
  • ผล - แก้โรคน้ำเหลืองเสีย
  • เปลือก - บำรุงธาตุ
  • แก่น - ขับโลหิต
วิธีใช้
          นำใบ ค่อนข้างใบอ่อน ตากแห้ง บดละเอียด ต้มหรือชงน้ำดื่ม (ต้นเปล้าน้อยที่ปลูกมีอายุ 2 ปี ตัดใบนำมาใช้ได้ เก็บใบได้ปีละ 2 ครั้ง)
ข้อเสียของยาชงนี้
          ทำให้คนไข้ได้ตัวยาไม่สม่ำเสมอ ตัวยาไม่แน่นอน และได้ตัวยาอื่นๆ เจือปนด้วย ทำให้ประสิทธิภาพในการรักษาไม่สมบูรณ์ มีอาการข้างเคียง
          นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบวิธีการสกัดตัวยาเปล้าน้อยบริสุทธิ์ได้คือ  Plaunotol ออกมา
ขนาดรับประทานที่เหมาะสม คือ 3x8 มก./วัน ประมาณ 8 อาทิตย์ อาการคนไข้ดีขึ้น 80-90% และเมื่อส่องดูแผลพบว่าได้ผล 60-80%
อาการข้างเคียง น้อย มีเพียง 1-2 ราย ที่มีอาการผื่นขึ้น ท้องเสีย แน่นท้อง ท้องผูก Plaunotol ดูดซึมจากทางเดินอาหารได้ดี ส่วนใหญ่ถูก Oxidise ในตับ และขับออกทางปัสสาวะและอุจจาระ
ข้อดีของตัวยาบริสุทธิ์ Plaunotol คือ
  1. มีฤทธิ์สมานแผลในกระเพาะอาหาร และลำไส้ได้เป็นอย่างดี
  2. มีฤทธิ์กระตุ้นการสร้างเนื้อเยื่อบุลำไส้ที่เสียไป ทำให้แผลหายเร็วขึ้น
  3. มีฤทธิ์ลดปริมาณการหลั่งของกรดในกระเพาะอาหารน้อยลง และทำให้ระบบป้องกัน การดูดซับกรดของเนื้อเยื่อบุกระเพาะซึ่งถูกทำลายด้วยสารบางชนิด กลับคืนดี
  4. มีความเป็นพิษต่ำ
    นับว่าสมุนไพรเปล้าน้อยนี้ มีตัวยาที่ใช้ในการรักษาโรคกระเพาะได้อย่างดีเยี่ยม เป็น Broad Spectrum antiseptic ulcer drug
สารเคมี
          (E.Z,E) -7- hydroxymethyl -3, 11, 15-trimethy-2,6,10,14-hexadecate traen-1-01 มีชื่อว่า CS-684 หรือ Plaunotol, Plaunotol A,B,C,D,E
หมายเหตุ
          การขยายพันธุ์ ควรได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ หรือรากไหล จะได้พันธุ์แท้ เพาะจากเมล็ดมีการกลายพันธุ์ได้

กลุ่มยาแก้บิด ท้องเดิน ท้องร่วง โรคกระเพาะ - ฝรั่ง

ฝรั่ง

ชื่อวิทยาศาสตร์   Psidium guajava  L.
ชื่อสามัญ Guava
วงศ์   MYRTACEAE
ชื่ออื่น :  สุราษฎร์ธานี จุ่มโป่, ปัตตานี ชมพู่, เชียงใหม่ มะก้วย, เหนือ มะก้วยกา มะมั่น, แม่ฮ่องสอน มะกา, ตาก มะจีน, ใต้ ยามู ย่าหมู, นครพนม สีดา, จีนแต้จิ๋ว ปั๊กเกี้ย
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น ขนาดกลาง สูง 3-5 เมตร ผิวเปลือกต้นเรียบเกลี้ยง กิ่งอ่อนเป็นสี่เหลี่ยม ใบ หนา หยาบ ใต้ท้องใบเป็นริ้ว เห็นเส้นใบชัดเจน ขนขึ้นนวลบาง ใบยาวประมาณ 10 ซม. กว้างประมาณ 6 ซม. ดอกช่อ ช่อหนึ่งมีดอกย่อย 3 - 5 ดอก ดอกเล็ก สีขาวอมเขียวอ่อน กลีบเลี้ยงแข็ง ผล รูปทรงกลม รูปไข่ หรือรูปรี ผิว เกลี้ยง สีเขียว เนื้อในขาว รสหวาน กรอบ ผลสุกสีเหลือง- เขียว มีเมล็ดเล็กๆ แข็งอยู่ภายใน
ส่วนที่ใช้ : ใบเพสลาด ผลอ่อนสด ผลสุก เปลือกต้นสดๆ ราก
สรรพคุณ :
         
ฝรั่งมีสารแทนนินอยู่มาก สารนี้มีฤทธิ์ฝาดสมานน้ำมันหอมระเหยในใบฝรั่ง    สารแทนนินในฝรั่งยังยับยั้งการลุกลามของเชื้อโรค ช่วยสมานท้องและลำไส้ โดยช่วยลดอาการอักเสบของกระเพาะลำไส้ และช่วยลดอาการคลื่นไส้อาเจียน และยังช่วยอาการเกร็งตัวของลำไส้ ทำให้อาการปวดท้องบรรเทาลงได้ แก้ปวดเบ่ง
  • ใบ  -   แก้ท้องเสีย ท้องร่วง ท้องเดิน (ที่ไม่ใช่บิด หรืออหิวาตกโรค)  เป็นยาห้ามเลือด ใส่แผลสด ใช้ใบ 2-3 ใบเคี้ยวๆ ระงับกลิ่นปาก แก้ฝี เป็นยาล้างแผล ดูดหนองและถอนพิษบาดแผล แก้เหงือกบวม แก้พิษเรื้อรัง แก้ปวดเนื่องจากเล็บขบ แก้แพ้ยุง
  • ผลอ่อน - แก้ท้องเสีย ท้องร่วง ท้องเดิน ระงับกลิ่นปาก แก้บิดมูกเลือด มีไวตามินซีมาก เป็นกันหรือแก้โรคเลือดออกตามไรฟัน (ลักปิดลักเปิด) บำรุงเหงือกและฟัน บำรุงผิวพรรณ
  • ผลสุก - มีสารเพ็กตินอยู่มาก ใช้รับประทานเป็นยาระบายได้
  • ราก - แก้น้ำเหลืองเสีย เป็นฝี แผลพุพอง แก้เลือดกำเดาไหล
วิธีและปริมาณที่ใช้
  1. ใช้ฝรั่งแก้ท้องเสีย ท้องร่วง ท้องเดิน
    วิธีที่ 1 รับประทานสด
    - ใช้ส่วนที่เป็นยอดอ่อนๆ 7 ยอด หรือใบเพสลาด 6-8 ใบ ค่อยๆ เคี้ยวให้ละเอียดทีละน้อย ค่อยๆ กลืน แล้วดื่มน้ำตาม ถ้าเคี้ยวทีละมากๆ จะรู้สึกฝาดขม ถ้าเคี้ยวกับเกลือเล็กน้อย จะช่วยให้รับประทานง่ายขึ้น
    วิธีนี้ได้ผลมาก เพราะรับประทานทั้งน้ำและเนื้อของใบฝรั่งจนหมด ได้ตัวยาครบถ้วน
    - อาจรับประทานผลดิบ ครั้งละ 1-2 ผล โดยเคี้ยวก่อนค่อยกลืนก็ได้
    วิธีที่ 2 ต้มดื่ม- ใช้ใบเพสลาด 5-10 ใบ หรือเปลือกต้นสดๆ 1 ฝ่ามือ ใส่น้ำ 2 ถ้วยแก้ว ต้มเดือดนาน 5-30 นาที เคี่ยวให้เหลือ 1 ถ้วยแก้ว รับประทานครั้งละ รับประทานครั้งละ
    ½ - 1 แก้ว วันละ 2 ครั้งรับประทานตามอาการหนักเบา เวลาดื่มเติมเกลือเล็กน้อยทำให้ดื่มง่ายขึ้น
วิธีที่ 3 ชงน้ำร้อนดื่ม- เอายอดฝรั่ง  7 ยอด หรือใบฝรั่ง 6-10 ใบ ชงกับน้ำเดือด 2 แก้ว ปิดฝาไว้ 15-20 นาที ดื่มครั้งละ 1 แก้ว ดื่มบ่อย ๆ
วิธีที่ 4 ต้มคั้นเอาน้ำ- เอาใบฝรั่ง  6-10 ใบ ตำให้ละเอียด ผสมน้ำสุก 3-5 ช้อนแกง ต้มให้เข้ากัน กรองด้วยผ้าขาว เอาน้ำผสมเกลือเล็กน้อยดื่มจนหมด
วิธีที่
5 บดผงรับประทาน- ใช้ผลฝรั่งที่เกือบแก่ หั่นเป็นแว่นบาง ๆ ตากแห้งบดเป็นผง รับประทานครั้งละ ½-1ช้อนชา โดยผสมน้ำ วิธีนี้รสชาติดีเด็กดื่มได้ง่าย
  1.  ใช้เป็นยาห้ามเลือด               
-     ใช้ใบสดล้างน้ำให้สะอาด ตำให้ละเอียดพอกแผลที่มีเลือดออก เลือดจะหยุด
  1. ช่วยระงับกลิ่นปาก
-   ใช้ใบสด 3-5 ใบ เคี้ยวและคายกากออกทิ้ง
  1. เป็นยากันหรือแก้โรคลักปิดลักเปิด ฝรั่งมีไวตามินซีมาก
-   ใช้ผลโตเต็มที่แต่ไม่สุก รับประทานเป็นผลไม้ จะเป็นผลไม้ที่ช่วยบำรุงเหงือกและ
ฟัน ช่วยลดน้ำตาลในเลือด รักษาท้องลำไส้ไม่ให้ผูก ช่วยบำรุงผิวพรรณ คนที่ชอบเป็นฝีเป็นแผลพุพอง ถ้ารับประทานฝรั่งบ่อย ๆ ก็ช่วยบรรเทาลงไปได้
หมายเหตุ                                         
       ฝรั่งที่ควรปลูก ควรเป็นฝรั่งขี้นก เพราะมีโรคน้อย มีเพลี้ยแป้งน้อย ดูแลรักษาง่าย ที่สำคัญมีสรรพคุณทางยาที่ดีที่สุด มีไวตามินซีสูงกว่าฝรั่งพันธุ์อื่น ๆ
สารเคมี
      ใบ  มีน้ำมันหอมระเหย  ซึ่งประกอบด้วย Caryophyllene cineol, นอกจากนี้ยังมี Tannin, sesquiter penoids และ triterpenoid compounds. 
      ผล  มี fixed oil 6%  Volatile oil 0.365%  tannin 8-15%  beta-sitosterol, quercetin, Vitamin C (330 mg.%), Arabinose,

กลุ่มยาแก้บิด ท้องเดิน ท้องร่วง โรคกระเพาะ - เพกา

เพกา

ชื่อวิทยาศาสตร์   Oroxylum indicum  (L.) Kurz
ชื่อสามัญ  Broken Bones Tree
วงศ์  Bignoniaceae
ชื่ออื่น :  มะลิดไม้ มะลิ้นไม้ ลิดไม้ (เหนือ) ลิ้นฟ้า (เลย) หมากลิ้นก้าง หมากลิ้นซ้าง (ฉาน-เหนือ) กาโด้โด้ง (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี) ดอก๊ะ ด๊อกก๊ะ ดุแก (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) เบโก (มาเล-นราธิวาส)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้ต้น สูง 3-12 เมตรแตกกิ่งก้านน้อย ใบประกอบแบบขนนกสามชั้น ขนาดใหญ่ เรียงตรงข้ามรวมกันอยู่บริเวณปลายกิ่ง ใบย่อยรูปไข่หรือรูปไข่แกมวงรี กว้าง 4-8 ซม. ยาว 6-12 ซม. ดอกช่อ ออกที่ปลายยอดก้านช่อดอกยาว ดอกย่อยขนาดใหญ่กลีบดอกสีนวลแกมเขียว โคนกลีบเป็นหลอดสีม่วงแดง หนาย่น บานกลางคืน ผลเป็นฝัก รูปดาบ เมื่อแก่จะแตก ภายในเมล็ดแบน สีขาว มีปีกบางโปร่งแสง
ส่วนที่ใช้ : ราก เปลือกต้น ฝักอ่อน เมล็ด
สรรพคุณ :
  • ราก 
    -
      มีรสฝาดเย็น ขมเล็กน้อย ใช้บำรุงธาตุ ทำให้เกอดน้ำย่อยอาหาร เจริญอาหาร
    -   แก้ท้องร่วง แก้บิด แก้ไข้สันนิบาต-   ใช้ภายนอก รากฝนกับน้ำปูนใส ทาแก้อาการอักเสบ ฟกบวม
  • เพกาทั้ง 5  -  คือการใช้ส่วนราก ใบ ดอก ผล ต้น รวมกันจะมีรสฝาดเย็น มีสรรพคุณสมานแผล แก้อักเสบบวม แก้ท้องร่วง บำรุงธาตุ แก้น้ำเหลืองเสีย แก้ไข้เพื่อลม เพื่อเลือด
  • ฝักอ่อน  - รับประทานเป็นผัก ช่วยในการขับผายลม บำรุงธาตุ
  • เมล็ด  - ใช้เป็นยาถ่าย เมล็ดแก่ใช้เป็นยาระบาย แก้ไอ ขับเสมหะ
  • เปลือกต้น -รสฝาดเย็น และขมเล็กน้อย เป็นยาสมานแผล ทำน้ำเหลืองให้เป็นปกติ ขับน้ำเหลืองเสีย ขับเลือดดับพิษโลหิต บำรุงโลหิต แก้เสมหะจุกคอ ขับเสมหะ แก้บิด แก้อาการจุกเสียด
  • เปลือกต้นตำผสมกับสุรา-     ใช้เป็นยากวาดประซะพิษซางเด็กชนิดเม็ดเหลือง-      แก้ละองขึ้นในปาก คอลิ้น แก้ละอองไข้-     ใช้ฉีดพ่นตามตัวคนคลอดบุตรที่ทนการอยู่ไฟไม่ได้ ทำให้ผิวหนังชา-     ทารอบ ๆ ฝี แก้ปวดฝีทาแก้อาการฟกบวมอักเสบ
  • ปลือกต้นสดตำผสมกับน้ำส้ม  ซึ่งได้จากรังมดแดงหรือเกลือสินเธาว์-    รับประทานขับลมในลำไส้ แก้จุกเสียด แก้บิด แก้อาเจียนไม่หยุด-    รับประทานแก้เสมหะจุกคอ (ขับเสมหะ) ขับเลือดเน่าในเรือนไฟ บำรุงโลหิต
    นอกจากนี้เปลือกเพกา ใช้ร่วมกับสมุนไพรอื่น แก้เบาหวาน แก้โรคมานน้ำ เปลือกต้มรวมกับสมุนไพรหลายชนิด แยกเอาน้ำมันมาทาแก้

    -     แก้องคสูตร-    แก้ริดสีดวงทวารหนัก ทวารเบา-    แก้ฟกบวม แก้คัน
สารเคมี
            ราก      มี D-Galatose, Baicalein, Sitosterols
            แก่น     มี Prunetin, B- sitosterols
            ใบ        มี Aloe emodin
            เปลือก  มี  Baicalein, Chrysin, 6-Methylbaicalein

กลุ่มยาแก้บิด ท้องเดิน ท้องร่วง โรคกระเพาะ - ฟ้าทะลายโจร

ฟ้าทะลายโจร

ชื่อวิทยาศาสตร์   Andrographis paniculata (Burm.f.) Wall.ex Nees
ชื่อสามัญ   Kariyat , The Creat
วงศ์  ACANTHACEAE
ชื่ออื่น :  หญ้ากันงู (สงขลา) น้ำลายพังพอน ฟ้าละลายโจร (กรุงเทพฯ) ฟ้าสาง (พนัสนิคม) เขยตายยายคลุม สามสิบดี (ร้อยเอ็ด) เมฆทะลาย (ยะลา) ฟ้าสะท้าน (พัทลุง)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก สูง 30-70 ซม. ทุกส่วนมีรสขม กิ่งเป็นใบสี่เหลี่ยม ใบ เดี่ยว แผ่นใบสีเขียวเข้มเป็นมัน ดอก ช่อ ออกที่ปลายกิ่งและซอกใบ ดอกย่อย กลีบดอกสีขาว โคนกลีบติดกัน ปลายแยก 2 ปาก ปากบนมี 3 กลีบ มีเส้นสีม่วงแดงพาดอยู่ ปากล่างมี 2 กลีบ ผล เป็นฝัก เมื่อแก่เป็นสีน้ำตาล แตกได้ ภายในมีเมล็ดจำนวนมาก
ส่วนที่ใช้ :  ทั้งต้น ใบสด ใบแห้ง ใบจะเก็บมาใช้เมื่อต้นมีอายุได้ 3-5 เดือน
สรรพคุณ     มี 4 ประการคือ
  1. แก้ไข้ทั่ว ๆ ไป เช่น ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่
  2.  ระงับอาการอักเสบ  พวกไอ เจ็บคอ คออักเสบ ต่อมทอนซิล หลอดลมอักเสบ ขับเสมหะ รักษาโรคผิวหนังฝี
  3. แก้ติดเชื้อ พวกทำให้ปวดท้อง ท้องเสีย บิด และแก้กระเพาะลำไส้อักเสบ
  4. เป็นยาขมเจริญอาหาร         
     และการที่ฟ้าทะลายโจรมีสรรพคุณ 4 ประการนี้ จึงชวนให้เห็นว่าตัวยาต้นนี้ เป็นยาที่สามารถนำไปใช้กว้างขวางมาก จากเหตุผลที่ฟ้าทะลายโจรมีฤทธิ์ระงับการติดเชื้อหรือระงับการเจริญเติบโตของเชื้อโรคได้
ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์
       ใบฟ้าทะลายโจร มีสารเคมีประกอบอยู่หลายประเภท แต่ที่เป็นสาระสำคัญในการออกฤทธิ์ คือ สารกลุ่ม Lactone คือ
  1. สารแอดโดรกราโฟไลด์ (andrographolide)
  2. สารนีโอแอนโดรกราโฟไลด์ (neo-andrographolide)
  3. 14-ดีอ๊อกซี่แอนโดรกราโฟไลด์ (14-deoxy-andrographolide)
       ฟ้าทะลายโจรเป็นยาเก่าแก่ของประเทศจีน ที่ใช้ในการแก้ฝี แก้อักเสบ และรักษาโรคบิด การวิจัยด้านเภสัชวิทยาพบว่า ฟ้าทะลายโจรสามารถยับยั้ง เชื้อแบคทีเรียอันเป็นสาเหตุของการเป็นหนองได้ และมีการศึกษาวิจัยของโรงพยาบาลบำราศนราดูร ถึงฤทธิ์ในการรักษาโรคอุจจาระร่วงและบิด แบคทีเรีย เปรียบเทียบกับ เตตราซัยคลิน ในผู้ป่วย 200 ราย อายุระหว่าง 16-55 ปี ได้มีการเปรียบเทียบระยะเวลาที่ถ่ายอุจจาระเหลว จำนวนอุจจาระเหลว น้ำเกลือที่ให้ทดแทนระหว่างฟ้าทะลายโจรกับเตตราซันคลิน พบว่าสมุนไพรฟ้าทะลายโจร ลดจำนวนอุจจาระร่วงและจำนวนน้ำเกลือที่ให้ทดแทนอย่างน่าพอใจ แม้ว่าจากการทดสอบทางสถิติ จะไม่มีความแตกต่างโดยในสำคัญก็ตาม ส่วนการลดเชื้ออหิวาตกโรคในอุจจาระ ฟ้าทะลายโจรไม่ได้ผลดีเท่าเตตราซัยคลิน นอกจากนี้ยังมีโรงพยาบาลชุมชนบางแห่งได้ใช้ฟ้าทะลายโจรรักษาอาการเจ็บคอได้ผลดีอีกด้วย มีฤทธิ์เช่นเดียวกับเพ็นนิซิลินเมื่อเทียบกับยาแผนปัจจุบัน เท่ากับเป็นการช่วยให้มีผู้สนใจทดลองใช้ยานี้รักษาโรคต่าง ๆ มากขึ้น
วิธีและปริมาณที่ใช้
       1.      ถ้าใช้แก้ไข้เป็นหวัด ปวดหัวตัวร้อน
ใช้ใบและกิ่ง 1 กำมือ (แห้งหนัก 3 กรัม สดหนัก 25 กรัม) ต้มน้ำดื่มก่อนอาหารวันละ 2
ครั้ง เช้า-เย็น หรือเวลามีอาการ
       2.      ถ้าใช้แก้ท้องเสีย ท้องเดิน เป็นบิดมีไข้
ใช้ทั้งต้นหรือส่วนทั้ง 5 ของฟ้าทะลายโจร ผึ่งลมให้แห้ง หั่นชิ้นเล็ก ๆ ประมาณ 1 กำมือ
(หนักประมาณ 3-9 กรัม) ต้มเอาน้ำดื่มตลอดวัน
ตำรับยาและวิธีใช้
       1.      ยาชงมีวิธีทำดังนี้
          -     เอาใบสดหรือแห้งก็ได้ ประมาณ 5-7 ใบ แต่ใบสดจะดีกว่า
          -     เติมน้ำเดือดลงจนเกือบเต็มแก้ว
         -      ปิดฝาทิ้งไว้ประมาณครึ่งชั่วโมง หรือพอยาอุ่น แล้วรินเอามาดื่ม ขนาดรับประทาน
ครั้งละ 1 แก้ว วันละ 3-4 ครั้ง ก่อนอาหาร, ก่อนนอน
      2.      ยาเม็ด (ลูกกลอน) มีวิธีทำดังนี้
         -     เด็ดใบสดมาล้างให้สะอาดผึ่งในที่ร่ม ห้ามตากแดด ควรผึ่งในที่มีลมโกรก ใบจะได้
แห้งเร็ว
        -      บดเป็นผงให้ละเอียด
        -      ปั้นกับน้ำผึ้ง หรือน้ำเชื่อม เป็นเม็ดขนาดเท่าเม็ดถั่วเหลือง (หนัก 250 มิลลิกรัม)
แล้วผึ่งลมให้แห้ง เพราะถ้าปั้นรับประทานขณะที่ยังเปียกอยู่จะขมมาก ขนาดรับประทานครั้งละ  4-10 เม็ด วันละ 3-4 ครั้ง ก่อนอาหาร, ก่อนนอน
      3.      แค๊ปซูล มีวิธีทำคือ
            แทนที่ผงยาที่ได้จะปั้นเป็นยาเม็ด กลับเอามาใส่ในแค๊ปซูล เพื่อช่วยกลบรสขมของยา แค๊ปซูล ที่ใช้ ขนาดเบอร์ 2 (ผงยา 250 มิลลิกรัม) ขนาดรับประทานครั้งละ 3-5 แค๊ปซูล วันละ 3-4 ครั้ง ก่อนอาหาร ก่อนนอน
      4.      ยาทิงเจอร์หรือยาดองเหล้า
           เอาผงแห้งใส่ขวด แช่สุราที่แรง ๆ เช่น สุราโรง  40 ดีกรี ถ้ามี alcohol ที่รับประทานได้ (Ethyl alcohol) จะดีกว่าเหล้า แช่พอให้ท่วมยาขึ้นมาเล็กน้อย ปิดฝาให้แน่น เขย่าขวดวันละ  1 ครั้ง พอครบ 7 วัน จึงกรองเอาแต่น้ำ เก็บไว้ในขวดให้สะอาดปิดสนิท รับประทานครั้งละ 1-2 ช้อนโต๊ะ (รสขมมาก) วันละ 3-4 ครั้ง ก่อนอาหาร
      5.      ยาผงใช้สูดดม
           คือเอายาผงที่บดละเอียด มาใส่ขวดหรือกล่องยา ปิดฝาเขย่าแล้วเปิดฝาออก ผงยาจะเป็นควันลอยออกมา สูดดมควันนั้นเข้าไป ผงยาจะติดที่คอทำให้ยาไปออกฤทธิ์ที่คอโดยตรง ช่วยลดเสมหะ และแก้เจ็บคอได้ดี วิธีที่ดีกว่านี้คือวิธีเป่าคอ กวาดคอ หรือรับประทานยาชง ตรงที่คอจะรู้สึกขมน้อยมาก ไม่ทำให้ขยาดเวลาใช้ ใช้สะดวกและง่ายมาก ประโยชน์ที่น่าจะได้รับเพิ่มก็คือ ผงยาที่เข้าไปทางจมูก อาจจะช่วยลดน้ำมูก และช่วยฆ่าเชื้อที่จมูกด้วย
ขนาดที่ใช้
        สูดดมบ่อย ๆ วันละหลาย ๆ ครั้ง ถ้ารู้สึกคลื่นไส้ให้หยุดยาไปสักพัก จนความรู้สึกนั้นหายไป จึงค่อยสูดใหม่
ข้อควรรู้เกี่ยวกับตำรับยา
       สารแอนโดรกราโฟไลด์ (Andrographolide) สารในต้นฟ้าทะลายโจร ละลายในแอลกอฮอร์ได้ดีมาก ละลายในน้ำได้น้อย ดังนั้นยาทิงเจอร์ หรือยาดองเหล้าฟ้าทะลายโจร จึงมีฤทธิ์แรงที่สุด ยาชงมีฤทธิ์แรงรองลงมา ยาเม็ดมีฤทธิ์อ่อนที่สุด
ข้อควรระวัง
      บางคนรับประทาน ยาฟ้าทะลายโจร จะเกิดอาการปวดท้อง ท้องเสีย ปวดเอว เวียนหัว แสดงว่าแพ้ยา ให้หยุดยา และเปลี่ยนไปใช้ยาอื่น หรือลดขนาดรับประทานลง