Golden Dreams TMS&Herb

วันอังคารที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2554

กลุ่มยาแก้บิด ท้องเดิน ท้องร่วง โรคกระเพาะ - โมกมัน

โมกมัน

ชื่อวิทยาศาสตร์   Wrightia pubescens R.br.
วงศ์  Apocynaceae
ชื่ออื่น :  โมก, มูก (ภาคกลาง); มูกเกื้อ (จันทบุรี); โมกมัน (ชลบุรี, กาญจนบุรี, นครราชสีมา)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลางผลัดใบ สูง 8-20 เมตร ลำต้นเปลาตรง เปลือกสีเทาอ่อนถึงน้ำตาล ลักษณะคล้ายไม้ก๊อก ถ้าตัดทุกส่วนที่ยังสดอยู่จะมีน้ำยางสีขาวเหนียวๆ ซึมออกมา เรือนยอดรูปทรงกลม ทึบ กิ่งและยอดอ่อนมีขนนุ่มหนาแน่น ใบ เป็นชนิดใบเดี่ยว ติดตรงข้ามเป็นคู่ๆ ทรงใบรูปรีๆ รูปไข่และไข่กลับ กว้าง 3-8 ซม. ยาว 7-18 ซม. โคนใบสอบ ปลายใบเรียวแหลม เนื้อใบบาง มีขนนุ่มทั้งสองด้าน บางทีด้านหลังใบของใบแก่เกลี้ยงหรือเกือบเกลี้ยง เส้นแขนงใบ มี 8-15 คู่ เส้นใบย่อยเห็นไม่ค่อยชัด ดอก สีขาวอมเหลือง บิดเวียนเป็นรูปกังหัน ออกรวมกันเป็นช่อแบบเป็นพวงกระจายตามปลายกิ่ง ช่อยาว 4-6 ซม. มีหลายดอก ดอกเมื่อเริ่มบานใหม่ๆ ภายนอกสีเขียวอ่อน ส่วนด้านในสีขาวอมเหลือง เมื่อดอกใกล้โรยจะเปลี่ยนเป็นสีม่วงแกมเหลืองหรือม่วงแดง ดอกบานเต็มที่กว้างประมาณ 2.5 ซม. กลีบฐานดอกเชื่อมติดกันเป็นกรวยที่โคนกลีบ ปลายแยกเป็นแฉกมนๆ 5 แฉก มีขนแน่นทั้งสองด้าน โคนกลีบดอกจะเชื่อมติดกันเป็นหลอดยาวถึง 10 มม. ปลายแยกเป็นกลีบรูปขอบขนาน 5 กลีบ ในดอกตูมกลีบจะบิดเป็ฯเกลียวตามเข็มนาฬิกา เมื่อดอกบานกลีบจะบิดเวียนกันเป็นรูปกังหัน แต่ละกลีบยาว 8-16 มม. และมีระยางพิเศษสีส้มคล้ำจนถึงสีม่วงอยู่ถัดจากชั้นกลีบดอกเข้าไป ระยางนี้สั้นกว่าเกสรตัวผู้ เกสรตัวผู้ มี 5 อัน ติดอยู่ใกล้ๆ ปากหลอดกลีบดอกด้านใน ก้านเกสรสั้น ส่วนอับเรณูสีขาว รังไข่ รูปรีๆ ภายในแบ่งเป็น 2 ช่อง แต่ละช่องมีไข่อ่อนมาก ผล เป็นฝักรูปทรงกระบอกยาว 17-35 ซม. โตวัดผ่าศูนย์กลาง 8-13 ซม. มีร่องระหว่างกลางตามยาวฝัก ทำให้ฝักดูเป็นสองพู เมื่อฝักแก่จัดจะแตกอ้าออกตามแนวร่องนี้ ผิวฝักแข็งขรุขระไปด้วยตุ่มช่องระบายอากาศ เมล็ด รูปรีๆ คล้ายข้าวเปลือก ปลายข้างหนึ่งจะมีขนสีขาวเป็นพู่ สามารถปลิวไปตามลมได้ไกลๆ
ส่วนที่ใช้ :  ใบ ดอก ผล เปลือก แก่น ราก กระพี้
สรรพคุณ :
  • ใบ - ขับเหงื่อ
  • ดอก - เป็นยาระบาย
  • ผล  - แก้โรครำมะนาด
  • เปลือก - แก้โรคคุดทะราด
  • กระพี้  - บำรุงถุงน้ำดี
  • แก่น - ขับโลหิตเสีย
  • ราก  - ขับลม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น