Golden Dreams TMS&Herb

วันศุกร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

สรรพคุณสมุนไพรไทยแท้ๆๆ

วัตถุดิบมาตรฐานเพื่อสุขภาพที่ดีกว่า

1.กล้วยดิบ - รักษาแผลในกระเพาะ และ ทางเดินอาหาร แก้ท้องเสีย เคลือบกระเพาะ ป้องกันกระเพาะ

2.ขมิ้นชัน - รักษาแผลในกระเพาะอาหาร และ ลำใส้ แก้ท้องเสีย ท้องขึ้น อืดเฟ้อ อาหารไม่ย่อย แก้โรคกระเพาะ ลดการอักเสบในกระเพาะ แก้ผื่นคัน บำรุงตับ เพิ่มน้ำดี

3.ทองพันชั่ง - รักษาโรคผิวหนังผื่นคัน พุพอง แก้ปวดกระดูก น้ำเหลืองเสีย

4.กะเม็ง - บำรุงโลหิต ห้ามเลือด แก้ริดสีดวงทวาร ขับพิษร้อน ภายใน แก้น้ำเหลืองเสีย ผื่นคัน รักษาโรคไตตับ ไอมาก แก้หอบหืด ดีซ่าน ปวดเมื่อยตามร่างกาย

5.ดีบัว - บำรุงหัวใจ ดับพิษร้อนในทรวงอก ขยายหลอดเลือดหัวใจ แก้ร้อนในกระหายน้ำ บำรุงสายตา-กำลัง ช่วยให้นอนหลับสนิท

6.หญ้าลูกใต้ใบ - แก้ไข้ ลดความร้อน แก้พิษตานซาง แก้ดีซ่าน ไวรัสตับอักเสบ ริดสีดวง ขับระดูขาว ขับปัสสาวะ โรคติดเชื้อทางปัสสาวะ แก้ปวดหลัง ปวดเอว นิ่วในไต บรรเทาเบาหวาน

7.สาหร่ายเกลียวทอง - มีโปรตีน วิตามินเกลือแร่ และ คุณค่าทางอาหารสูงช่วยบำรุงสุขภาพให้แข็งแรง เป็นอาหารเสริมให้อาการของโรคเรื้อรังบรรเทา  เช่นเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ปวดหัวข้างเดียว กระเพาะอักเสบ ตับอักเสบ โรคหัวใจไขมันในเลือด ปวดหัวเข่า ปวดข้อ ปวดหลัง ปวดเอว ปวดเมื่อยตาม ร่างกาย

8.ว่านชักมดลูก - รักษามดลูกพิการ ปวดมดลูก ปวดรอบเดือน ใส้เลื่อน มดลูกหย่อน ริดสีดวงทวาร ป้องกัน          มะเร็ง

9.ฟ้าทะลายโจร      -        แก้ไข้ แก้ไอ เจ็บคอ ไซนัส ต่อมทอลซิลอักเสบหลอดลมอักเสบ ภูมิแพ้ แก้ร้อนใน โรคติดเชื้อใน กระเพาะ บิด ท้องเสีย ลดน้ำตาลในเลือด

10.ส้มแขก - ช่วยลดน้ำหนัก ลดความอ้วน ยับยั้งการสร้างไขมันส่วนเกิน เปลี่ยนไขมันให้เป็นพลังงาน ให้วิตามินซี- สร้างเสริมแคลเซี่ยมให้ร่างกาย
11.มะขามแขก - ช่วยการขับถ่าย เป็นยาระบาย

12.ใบส้มป่อย - ช่วยการขับถ่าย  ลดไขมันในร่างกาย

13.กระเทียมสด - ให้วิตามินบี 1 ช่วยระบบประสาท และ สมองทำงานดีขึ้น ลดระดับน้ำตาลในเลือด ลดไขมันในร่างกาย  ป้องกันการอุดตันของหลอดเลือด ลดความดันโลหิต และ เบาหวาน

14.สบู่เลือด - บำรุงกำลังให้แข็งแรง แก้โลหิตเป็นพิษ ผอมแห้งแรงน้อย โรคเบาหวาน โลหิตจาง ปวดศรีษะ ปรับความดัน โลหิตให้เป็นปรกติ ช่วยปรับ ร่างกายให้เป็นหนุ่ม-สาวขึ้น ลดสิวฝ้า ด่างดำ เป็นยาอายุวัฒนะ

15.ขิงแดง - แก้หวัด หอบหืด ไอ ขับเสมหะ หายใจคล่องขับลม แก้ท้องอืด จุกเสียด แน่นเฟ้อ คลื่นไส้อาเจียน แก้บิดช่วยย่อยไขมันเจริญอากาศธาติ

16.พริกไท - ลดความอ้วย สลายไขมัน ช่วยความจำ แก้ปวดท้องรอบเดือน บำรุงธาติ ช่วยโลหิตไหลเวียนดีขึ้น ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพทางเพศ

17.กระเจี๊ยบแดง - แก้ร้อนใน กระหายน้ำ ขับเสมหะ มีแคลเซียมบำรุงกระดูกและฟัน มีวิตามินซีส้างภูมิต้าน          ทานโรค ลดไขมันในเลือด

18.ขี้เหล็ก - คลายเครียด ลดวิตกกังวล ช่วยให้นอนหลับดี บำรุงโลหิต ขับปัสสาวะ แก้ท้องผูก มีวิตามินเอ และ ซีสูง บำรุงธาติ

19.หญ้าหนวดแมว - ขับปัสสาวะ รักษาไต ลดเบาหวาน-ความดันโลหิต แก้ปวดหลัง ปวดเอว ขับกรดยูริค

20.เพชรสังฆาต - แก้ริดสีดวงทวาร ทำให้ฝ่อได้ ไล่ลมในลำไส้  กินต่อเนื่องทำให้ริดสีดวงฝ่อได้

21.เถาวัลย์เปรียง - ถ่ายเส้น ถ่ายกษัย แก้เส้นตึง เส้นขอด เหน็บชา ถ่ายเสมหะ แก้ปวดเมื่อย ซูบผอม บำรุงฯ

22. เหงือกปลาหมอ -        แก้หวัด แพ้อากาศ แก้หืดหอบ ปวดเมื่อย ปวดข้อ นอนไม่หลับ บำรุงร่างกาย แก้ผิว     หนังผื่นคัน แผลพุพอง น้ำเหลืองเสีย

23.มะระขี้นก - แก้เบาหวาน ลดน้ำตาลในเลือด บำรุงสายตา มีไวตามินเอ และ ซี สูง ช่วยสร้างภูมิต้านทาน แก้อาการม้าม และตับ พิการ แก้ร้อนในกระหายน้ำ บำรุงกำลัง เจริญอาหาร

24. ดอกคำฝอย - ลดความดันโลหิต ลดไขมันในเส้นเลือด ป้องกันการอุดตันในเส้นเลือด บำรุงโลหิต หัวใจ ประสาท

25. กระชายแดง - รักษาแผลในปาก แก้ปวดเมื่อย แก้บิด ท้องอืดเฟ้อ บำรุงกำลัง ทำให้กระชุ่มกระชวย และ อารมณ์ดี

26 หัวบุก - ลดความอ้วน ดูดซับไขมันส่วนเกิน ลดไขมันในเส้นเลือด ดูดขับสารพิษ- ขับลมบำรุงธาติ แก้คัน บรรเทา
เบาหวาน ลดน้ำตาล บำรุงร่างกายให้แข็งแรง

28.บอระเพ็ด - แก้ไขบำรุงน้ำดี แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้ไข้เหนือ ไข้กาฬ แก้ร้อนใน ปรับน้ำหนัก ป้องกันผมหงอกก่อนวัย รักษาเบาหวาน ลดน้ำตาลในเลือด เป็นยาบำรุง

29.ว่านทองคำ - ลดการอักเสบของสิว ช่วยลบรอยแผลเป็นที่เกิดจากสิว บำรุงผิวพรรณให้นวลเนียนช่วยให้ร่างกายผ่อนคลาย ระบายดี

30.รางจืด - ถอนพิษเมาเบื่อต่างๆ ขับสารพิษในร่างกาย แก้พิษสุราเรื้อรัง เมาค้าง แก้พิษจากสารเคมี แก้แพ้ยาต่างๆ ภูมิแพ้ผื่นคันเนื่องจากอาหารเป็นพิษ

31.มะตูม - ขับเสมหะ ช่วยย่อยอาหาร ขับลม บำรุงธาติ แก้กระหายน้ำ ขับกรดยูริค ลดอาการเก๊าท์      แก้อ่อนเพลีย บำรุงร่างกาย ปรับธาติ ปรับระบบขับถ่าย

32.ใบแป๊ะก๊วย - ช่วยปรับระบบหมุนเวียนโลหิต ลดการเกาะตัวของเกล็ดเลือดทำให้เส้นเลือดไม่อุดตัน ป้องกันความจำเสื่อม-จำดี แก้ไมเกรน เซลล์ประสาท-หัวใจ 

33.เห็ดหลินจือ - ช่วยบำรุงสุขภาพ บำรุงสมอง รักษาโรคหัวใจ เบาหวาน ภูมิแพ้ เป็นหวัดสร้างภูมิคุ้มกัน ป้องกันมะเร็ง ปรับความดันโลหิต เป็นยาอายุวัฒนะ

34.หัวแห้วหมู - บำรุงธาติ ขับลม แก้ปวดท้องจากการเกร็งของกล้ามเนื้อ ลดการอักเสบ แก้อาเจียร          บำรุงกำลัง

35.ไพล - แก้ฟกบวม แก้ปวดท้อง จุกเสียด แก้ท้องอืด แก้ท้องผูก รักษาโรคหอบหืด

36.หนุมานประสานกาย - แก้ช้ำใน แก้หวัด แพ้อากาศ หืดหอบ ไอเรื้อรัง หลอดลมอักเสบ เส้นเลือด ในสมองอุดตัน

37.หญ้าดอกขาว - แก้ไข้หวัด ไอหอบ ดีซ่าน แก้ตับอักเสบเฉียบพลัน หลอดลมอักเสบ โรคกระเพาะ ลดน้ำตาล รักษาแผลเบาหวาน แก้เหน็บชา ปวดเมื่อย ปวดหลัง-เอว แก้อ่อนเพลีย ทำให้เบื่อบุหรี่

38.เถาเอนอ่อน - บำรุงเส้นเอ็นให้แข็งแรง แก้เส้นตึง ขัดยอก เอ็นพิการ และ ช่วยคลายเส้น

40.กวาวเครือขาว - บำรุงสุขภาพ บำรุงกำลัง บำรุงเนื้อหนังให้เต่งตึง เพิ่มทรวงอก บำรุงสายตา เป็นยาอายุวัฒนะ เหมาะมากกับสตรีวัยทอง หรือ ที่บกพร่องฮอรืโมน

41.กวาวเครือแดง - เหมาะมากกับเพศชายที่ต้องการบำรุกำลัง ร่างกาย สายตา ป้องกันผมหงอกก่อนวัย เสริมสมรรถภาพทางเพศ เป็นยาอายุวัฒนะ

42. เบญจโลกวิเชียร - แก้ไข้ แก้พิษ ไข้กาฬเริม งูสวัสดิ์ ถอนพิษสำแดง แก้ไข้ดีและโลหิต ขับพิษทุกชนิดภายในร่างกาย ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกัน ไม่ให้บกพร่อง ป้องกันโรคแทรก

43. ยาหอมพรสวรรค์ - แก้ลมวิงเวียนศรีษะ หน้ามืด ตาลาย ใจสั่น บำรุงกำลัง สมอง หัวใจ แก้ลมพิษ แน่นในอก จุกเสียด แน่นเฟ้อ
 

วันพฤหัสบดีที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

สรรพคุณขิง

ขิง
ชื่อท้องถิ่น ขิงบ้าน ขิงป่า ขิงแครง ขิงเขา ขิงดอกเดียว(ภาคกลาง) ขิงแดง ขิงแกลง(จันทบุรี) ขิงเผือก(เชียงใหม่) ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ขิงเป็นพืชล้มลุกมีลำต้นใต้ดินซึ่งมีลักษณะคล้ายมือหรือที่เรียกว่า เหง้าเปลือกเหง้ามีสีเหลืองอ่อน แต่เนื้อภายในมีสีเหลืองอมเขียว ขิงจัดเป็นพืชตระกูลเดียวกันกับข่า ขมิ้น กระวาน เร่ว ขิงอ่อนมีสีขาวออกเหลือง มีรสเผ็ดและกลิ่นหอม ยิ่งแก่ยิ่งมีรสเผ็ดร้อน ลำต้นบนดินมีลักษณะเป็นกอสูงประมาณ 90 เซนติเมตร ถ้ากนใบเป็นกาบหุ้มซ้อนกัน ใบเป็นใบเดี่ยวออกสลับเรียงกันเป็นสองแถว มีรูปร่างคล้ายใบไผ่ ปลายใบเรียวแหลม ดอกมีสีขาวออกเป็นช่อบนยอดที่แยกออกมาจากลำต้นซึ่งไม่มีใบที่ก้านดอก ดอกมีลักษณะเป็นทรงพุ่มปลายดอกแหลม มีเกล็ดอยู่รอบๆดอกจะแซมออกมาตามเกล็ด ผลมีลักษณะกลมแข็ง
สารสำคัญที่พบ กลิ่นหอมเฉพาะตัวของขิงเกิดจากน้ำมันหอมระเหยในเหง้า ซึ่งมีสารสำคัญคือ เซสควิเทอร์ฟีน ไฮโดรคาร์บอน เซสควิเทอร์ฟีน แอลกอฮอล์ โมโนเทอร์ฟีนอยด์ เอสเตอร์ ฟีนอล รสเผ็ดร้อนและกลิ่นฉุนเกิดจากน้ำมันชัน ในเหง้าเช่นเดียวกัน ส่วนประกอบอื่นๆคือ แป้งและยางเมือก นอกจากนี้ ขิงยังมีสารอาหารที่มีคุณค่าต่อร่างกายอีก คือ โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต แคลเซียม วิตามินเอ ฯลฯ  
สรรพคุณ ขิงมีฤทธิ์อุ่น ช่วยขับเหงื่อ ไล่ความเย็น ขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยให้เจริญอาหาร และทำให้ร่างกายอบอุ่น ในทางยานิยมใช้ขิงแก่ เพราะขิงยิ่งแก่จะยิ่งเผ็ดร้อนและจะมีใยอาหารมาก
1. รักษาอาการคลื่นไส้อาเจียนโดยนำขิงแก่สด ประมาณ 2-3 เหง้ามาทุบพอแตกต้มกับน้ำ
2. รักษาไข้หวัด โดยนำขิงแก่สด 7 กรัม และขิงแห้ง 2 กรัม ต้มกับน้ำตาลทรายแดง ดื่มเพื่อรักษาอาการ หรือใช้ขิงแก่ 2-3 เหง้า นำมาทุบให้ละเอียดต้มกับน้ำอาบเพื่อขับเหงื่อลดอาการไข้เนื่องจากหวัด
3. รักษาอาการไอ ขับเสมหะ โดยนำขิงสดมาคั้นน้ำให้ได้ประมาณครึ่งถ้าวย ผสมน้ำผึ้งประมาณ 1 ช้อนชา ต้มกับน้ำ 2 ถ้วย ดื่มวันละ 3 ครั้ง หรือใช้ขิงสดฝนกับมะนาวเติมเกลือเล็กน้อย ใช้กวาดคอหรือจิบบ่อยๆ
4. รักษาอาการปวดประจำเดือนในช่วงก่อนหรือระหว่างมีประจำเดือน โดยนำขิงแห้งประมาณ 30 กรัม ต้มกับน้ำ ดื่มบ่อยๆ
5. แก้อาการท้องเสีย ท้องร่วง โดยใช้ขิงแห้งบดชงกับน้ำอุ่น ดื่มวันละ 1 ครั้ง
6. รักษาแผลที่เกิดจากไฟไหม้หรือถูกน้ำร้อนลวก โดยตำขิงสดให้ละเอียด นำกากมาพอกที่แผลเพื่อบรรเทาอาการอักเสบเป็นหนอง
7. รักษาอาการปวดฟัน โดยนำขิงแก่ทุบให้ละเอียดคั่วกับน้ำสารส้มจนเกรียม แล้วบดจนเป็นผง พอกบริเวณที่ปวดฟัน

วิธีใช้ในการประกอบอาหาร ขิงที่นำมาประกอบอาหารมีหลายรูปแบบคือ ขิงสด ขิงดอง ขิงแห้ง ขิงผง รวมทั้งน้ำขิงที่เป็นเครื่องดื่ม ขิงเป็นเครื่องเทศที่ใช้แต่งกลิ่นอาหารเพิ่มรสชาติ และดับกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์ เช่น ใช้โรยหน้าปลานึ่ง โรยหน้าโจ๊กหรือผสมในน้ำจิ้มข้าวมันไก่ ต้มส้มปลา แกงฮังเล ยำกุ้งแห้ง ขิงยำ เป็นเครื่องเคียงของเมี่ยงคำ หรือทำเป็นขนมหวาน เช่น บัวลอยไข่หวาน มันเทศต้ม นอกจากนี้ขิงดองยังเป็นอาจาดในอาหารอีกหลายชนิด เช่น ข้าวหน้าเป็ด หรืออาหารญี่ปุ่น รวมทั้งยังเป็นส่วนผสมในการแต่งกลิ่นอาหารหลายชนิด เช่น คุ้กกี้ พายน์ เค้ก พุดดิ้ง ผงกะหรี่ ในประเทศแถบตะวันตกนำขิงไปทำเป็นเบียร์ คือ เบียร์ขิง ข้อสังเกต/ข้อควรระวัง
1. ขิงแกมีสรรพคุณในทางยา และมีรสเผ็ดร้อนมากกว่าขิงอ่อน
2. ขิงแกมีเส้นใยมากกว่าขิงอ่อน
3. ในเหง้าขิงมีเอนไซม์บางชนิดทีสามารถย่อยเนื้อสัตว์ให้เปื่อยได้
4. สารจำพวกฟีนอลิคในขิงสามารถใช้กันบูดกันหืนในน้ำมันได้
วิธีปลูก
1. เตรียมดินร่วนคลุกกับปุ๋ยคอก ตากดินทิ้งไว้ประมาณ 4-5 วัน
2. ขิงที่จะนำมาปลูกนั้นควรใช้ส่วนเหง้าที่แก่จัด ผิวไม่เหี่ยว มีปุ่มตามากยิ่งดีเพราะจะทำให้รากงอกได้ง่าย หลังจากนั้นนำปูนแดงที่กินกับหมากป้ายตามแผลที่ตัด เพื่อไม่ให้ขิงเน่าก่อนงอก
3. นำเหง้าขิงฝังลงในหลุมที่เตรียมไว้ ในช่วงระยะแรกควรรดน้ำให้ชุ่ม ทุกเช้า เย็น แต่หลังจากขิงงอกต้นอ่อนแล้วให้รดน้ำวันละ 1 ครั้ง ไม่ควรรดน้ำหรือโดนแดดมากเกินไปเพราะอาจทำให้ขิงไม่โตหรือทำให้รากเน่าได้

สรรพคุณขมิ้น

 ขมิ้น

ขมิ้นมีหลายชนิด แต่ที่นิยมนำมาใช้มี 2 ชนิด ได้แก่ ขมิ้นชันและขมิ้นอ้อย ขมิ้นที่ใช้การปรุงอาหารคือขมิ้นอ้อย ส่วนในทางยานิยมใช้ชมิ้นชัน
ชื่อท้องถิ่น ขมิ้นชัน ขมิ้น(ทั่วไป) ขมิ้นแกง ขมิ้นหัว ขมิ้นหยวก(เชียงใหม่) มิ้น ขี้มิ้น(ภาคใต้)
ขมิ้นอ้อย ขมิ้น(ทั่วไป) มิ้น ขี้มิ้น(ภาคใต้) ขมิ้นขิ้น ขมิ้นหัวขึ้น ว่านเหลือง ละเมียด
ลักษณะทางพฤษศาสตร์
ขมิ้นทั้ง 2 ชนิด มีลักษณะลำต้นคล้ายคลึงกันมาก เป็นพืชล้มลุก มีลำต้นใต้ดินหรือเหง้า ประกอบด้วยแง่งหลักเรียกว่าแง่งแม่ แขนงที่แตกออกมาจากแง่งแม่ ถ้ามีลักษณะกมเรียกว่าหัว แต่ถ้ามีลักษณะยาวคล้ายนิ้วมือเรียกว่านิ้ว ขมิ้นชันจะมีเหง้าเล็กกว่าขมิ้นอ้อย เนื้อภายในเหง้ามีสีเหลืองจนถึงสีแสด ซึ่งขมิ้นชันจะมีสีเหลืองเข้มกว่าขมิ้นอ้อย มีกลิ่นหอม ใบเป็นใบเดี่ยวออกสลับกัน อยู่รวมกันเป็นกอ ซึ่งขึ้นมาจากเหง้า ใบมีลักษณะเรียวยาวปลายใบแหลม ขมิ้นชันมีใบยาวเรียวแหลมกว่าขมิ้นอ้อย ด้านล่างของใบมีเส้นใบเห็นได้ชัดเจน ออกดอกเป็นช่อ โดยแทงออกมาจากเหง้า บริเวณใจกลางกลุ่มใบ ลักษณะช่อดอกคล้ายทรงกระบอก ประกอบด้วยดอกย่อย ซึ่งดอกย่อยของขมิ้นชันมีสีเหลืองอ่อนถูกหุ้มด้วยกลีบเลี้ยงหรือกลีบประดับสีเขียวอมชมพู ส่วนดอกย่อยของขมิ้นอ้อยมีสีขาว มีกลีบเลี้ยงสีชมพูอ่อนๆ
สารสำคัญที่พบ
ในเหง้าขมิ้นชันมีน้ำมันหอมระเหย ซึ่งเป็นน้ำมันเหลืองมีเซสควิเทอร์พีนคีโทน โดยมีสารส่วนใหญ่เป็นทูมีโรน นอกจากนี้ยังมีสารเออาร์-เทอร์มีโรน อัลฟ้า-แอทแลนโทน ซิงจิเบอร์รีน บอร์นีออล ส่วนสารสีเหลืองส้มมีชื่อว่า เคอร์คิวมิน ซึ่งมีสารที่มีฤทธิ์ยับยั้งการหลั่งของกรดในกระเพาะอาหาร นอกจากนี้ขมิ้นชันยังประกอบด้วยสารอาหารประเภทโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมันและแร่ธาตุ
สรรพคุณ
1. ช่วยป้องกันแผลในกระเพาะอาหาร เพราะสารเคอร์คิวมินจะกรุต้นการหลั่งมิวซินออกมาเคลือบกระเพาะ โดยต้มผงขมิ้นชันจนได้น้ำข้นๆผสมกับน้ำผึ้งพอประมาณ รับประทานเป็นประจำ นอกจากนี้ยังช่วยรักษาแผลเปื่อยในกระเพาะอาหารและลำไส้ให้หายเร็วยิ่งขึ้น เนื่องจากมีฤทธิ์ฝาดสมานช่วยห้ามเลือด
2. แก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ โดยตำเหง้าขมิ้นชันสดให้ละเอียด คั้นเอาแต่น้ำและผสมกับน้ำต้มสุกในอัตราส่วน 1: 2 รับประทานครั้งละ 2 ช้อนโต๊ะ หลังอาหารและก่อนนอน
3. ช่วยย่อยอาหารและบรรเทาอาการแน่นจุกเสียด เพราะสารเคอร์คิวมินมีฤทธิ์ขับน้ำดี โดยกระตุ้นถุงน้ำดีให้บีบตัวมากขึ้น ซึ่งยังช่วยรักษาโรคนิ่วในถุงน้ำดีได้เช่นกัน
4. น้ำมันหอมระเหยในขมิ้นมีสารสำคัญที่ออกฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราและเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งช่วยรักษาโรคผิวหนัง เช่น แผลสด แผลถลอก แผลพุพอง ผื่นคัน แมลงกัดต่อย โดยใช้เหง้าขมิ้นชันสดตำให้ละเอียดคั้นเอาแต่น้ำทาบริเวณที่เป็น หรืออาจจะใช้ผงขมิ้นโรยหรือผสมน้ำต้มทาบริเวณที่เป็นแผล
5. รักษาโรคทางเดินหายใจ บรรเทาอาการไอ ขับเสมหะ และช่วยรักษาโรคไขข้ออักเสบ แก้อาการปวดตามข้อ ปวดเข่า โดยใช้เหง้าขมิ้นชันสดตำให้ละเอียดผสมกับเกลือพอกบริเวณที่ปวด
6. ช่วยระงับกลิ่นตัว โดยใช้ผงขมิ้นทาบริเวณนั้น
7. ช่วยให้ผิวสวยสะอาด โดยใช้ผงขมิ้นถูให้ทั่วตัวหลังอาบน้ำและล้างหน้าแล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด
8. ใช้เป็นส่วนผสมในยาแก้ปวดท้อง ยาลดกรด ขับลมและยาเจริญอาหาร

วิธีใช้ในการประกอบอาหาร
ใช้แต่งสีอาหารให้เป็นสีเหลือง เช่น ข้าวหมกไก่ แกงกะหรี่ แกงเหลือง ข้าวเหนียว เนย เนยแข็ง ผงมัสตาร์ด ผักดอง ขนมเบื้องญวน เป็นส่วนผสมของผงกะหรี่ ซอส
ข้อสังเกต/ข้อควรระวัง
1. น้ำมันที่สกัดจากเหง้าขมิ้นแห้งใช้เป็นยากำจัดแมลง และฆ่าเชื้อจุลินทรีย์
2. ใช้เป็นสีย้อมผ้าและเครื่องสำอาง
3. ไม่ควรรับประทานขมิ้นเป็นระยะเวลานานๆอาจทำให้เกิดอาการกระวนกระวาย อาเจียน ถ่ายเป็นเลือด
4. สตรีมีครรภ์อ่อนๆไม่ควรรับประทานขมิ้นในปริมาณมาก เพราะทำให้แท้งได้
5. หากรับประทานขมิ้นแล้วมีอาการแพ้ เช่น ท้องเสีย คลื่นไส้ ปวดหัว ควรหยุดรับประทานทันที
วิธีปลูก
ขยายพันธ์โดยการใช้หัวที่มีลักษณะกลมหรือแง่งที่มีลักษณะยาวคล้ายนิ้วมือ ก่อนปลูกควรนำหัวหรือแง่งไปเพาะก่อนโดยกองทิ้งไว้ในที่ร่มชื้นเป็นเวลา 30 วัน เมื่อแตกหน่อจึงนำไปปลูก โดยฝังให้ลึกประมาณ 7 เซนติเมตร ดินที่ใช้ในการปลูกควรเป็นดินร่วนซุยระบายน้ำได้ดี

มะรุม พืชมหัศจรรย์

มะรุม

มะรุม พืชมหัศจรรย์
มะรุม เป็นพืชสมุนไพรที่มีสรรพคุณในหลายด้าน เช่น ราก จะมีรสเผ็ด หวาน ขม แก้อาการบวม บำรุงไฟธาตุ เปลือก จะมีรสร้อน ช่วยขับลม ใบ ช่วยแก้เลือดออกตามไรฟัน แก้อักเสบ ดอก ช่วยบำรุงร่างกาย ขับปัสสาวะ ขับน้ำตา ฝัก รสหวาน แก้ไข้หรือลดไข้ เป็นต้น
ส่วนที่ใช้ : เปลือกต้น ราก ฝัก ใบ เนื้อในเมล็ด
สรรพคุณ :
ฝัก  -  ปรุงเป็นอาหารรับประทานแก้ไข้หัวลม
เปลือกต้น - มีรสร้อน รับประทานเป็นยาขับลมในลำไส้ ทำให้ผายหรือเรอคุมธาตุอ่อนๆ (ตัดต้นลมดีมาก)
ราก - มีรสเผ็ด หวานขม แก้บวม บำรุงไฟธาตุ มีคุณเสมอกับกุ่มบก
- แก้พิษ ฝี แก้ปวด แก้อักเสบ
แพทย์ตามชนบท ใช้เปลือกมะรุมสดๆ ตำบุบพอแตกๆ อมไว้ข้างแก้ม แล้วรับประทานสุราจะไม่รู้สึกเมาเลย
จากประสบการณ์ เนื้อในเมล็ดมะรุม ใช้แก้ไอได้ดี ใบสดมีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อนๆ มีแคลเซียม วิตามินซี แร่ธาตุและสารต้านอนุมูลอิสระสูงมาก การรับประทานเนื้อในเมล็ด และใบสดเป็นประจำสามารถเพิ่มภูมิต้านทานให้ร่างกายได้
ข้อควรระวัง ในคนที่เป็นโรคเลือด G6PD ไม่ควรรับประทาน
"มะรุม" มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Moringa oleifera Lam. วงศ์ Moringaceae เป็นพืชกำเนิดแถบใต้เชิงเขาหิมาลัย เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางที่ถูกปลูกไว้ในบริเวณบ้านไทยมาแต่โบราณ กินได้หลายส่วน ทั้งยอด ดอก และฝักเขียว แต่ใครๆ ก็นิยมกินฝักมากกว่าส่วนอื่นๆ ต้นมะรุมพบได้ทุกภาคในประเทศไทย ทางอีสานเรียก ผักอีฮุม หรือผักอีฮึม ภาคเหนือเรียก มะค้อมก้อนชาวกะเหรี่ยงแถบกาญจนบุรีเรียก กาแน้งเดิง ส่วนชานฉานแถบแม่ฮ่องสอนเรียก ผักเนื้อไก่เป็นต้น
ผู้เฒ่าผู้แก่นิยมกินมะรุมในช่วงต้นหนาวเพราะเป็นฤดูกาลของฝักมะรุม หาได้ง่าย รสชาติอร่อยเพราะสดเต็มที่ มีขายตามตลาดในช่วงฤดูกาล คนที่ปลูกมะรุมไว้ในบ้านเท่านั้นจึงจะมีโอกาสลิ้มรสยอดมะรุม ใบอ่อน ช่อดอกและฝักอ่อนช่อดอกนำไปดองเก็บไว้กินกับน้ำพริก ยอดมะรุม ใบอ่อน ช่อดอก และฝักอ่อนนำมาลวกหรือต้ทให้สุก จิ้มกับน้ำพริกปลาร้า น้ำพริกแจ่วบอง กินแนมกับลาบ ก้อย แจ่วได้ทุกอย่าง หรือจะใช้ยอดอ่อน ช่อดอกทำแกงส้มหรือแกงอ่อมก็ได้
ส่วนอื่นๆ ของโลกจะใช้ใบมะรุมประกอบอาหารเช่นเดียวกับการใช้ผักขมฝรั่ง หรือปรุงเป็นซอสข้นราดข้าวหรืออาหารแป้งอื่นๆ นอกจากนี้ ใช้ใบตากแห้งป่นเก็บไว้ได้นานโรยอาหาร เช่นเดียวกับที่ภูมิปัญญาอีสานจังหวัดสกลนครใช้ใบมะรุมแห้งปรุงเข้าเครื่อง ผงนัว กับสมุนไพรอื่นไว้แต่งรสอาหารมาแต่โบราณส่วนฝักอ่อนปรุงอาหารเหมือนถั่วแขก
คุณค่าทางอาหารของมะรุม
มะรุมเป็นพืชมหัศจรรย์ มีคุณค่าทางโภชนาการสูงสุด กล่าวถึงในคัมภีร์ใบเบิ้ลว่าเป็นพืชที่รักษาทุกโรค
ใบมะรุมมีโปรตีนสูงกว่านมสด 2 เท่าการกินใบมะรุมตามชนบทของประเทศกำลังพัฒนาและประเทศโลกที่ 3 เป็นการเพิ่มโปรตีนคุณภาพสูงราคาถูกให้กับอาหารพื้นบ้าน
นอกจากนี้ มะรุมมีธาตุอาหารปริมาณสูงเป็นพิเศษที่ช่วยป้องกันโรค นั่นคือ
วิตามินเอ                           บำรุงสายตามีมากกว่าแครอต 3 เท่า
วิตามินซี
                            ช่วยป้องกันหวัด 7 เท่าของส้ม
แคลเซียม
                          บำรุงกระดูกเกิน 3 เท่าของนมสด
โพแทสเซียม                      บำรุงสมองและระบบประสาท 3 เท่าของกล้วย
ใยอาหารและพลังงาน
          ไม่สูงมากเหมาะกับผู้ที่ควบคุมน้ำหนักอีกด้วย
น้ำมันสกัดจากเมล็ดมะรุม
      มีองค์ประกอบคล้ายน้ำมันมะกอกดีต่อสุขภาพอย่างยิ่ง

จากอาหารมาเป็นผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ปัจจุบันชาวญี่ปุ่นผลิตชาใบมะรุมออกจำหน่ายผลิตภัณฑ์ระบุว่าใช้แก้ไขปัญหาโรคปากนกกระจอก หอบหืด อาการปวดหูและปวดศรีษะ ช่วยบำรุงสายตา ระบบทางเดินอาหาร และช่วยระบายกากประเทศอินเดีย หญิงตั้งครรภ์จะกินใบมะรุมเพื่อเสริมธาตุเหล็ก แต่ที่ประเทศที่ฟิลิปปินส์และบอสวานาหญิงที่เลี้ยงลูกด้วยนมจะกินแกงจืดใบมะรุม (ภาษาฟิลิปปินส์ เรียก มาลังเก”) เพื่อประสะน้ำนมและเพิ่มแคลเซียมให้กับน้ำนมแม่เหมือนกับคนไทย

ประโยชน์ของมะรุม
1.ใช้รักษาโรคขาดอาหารในเด็กแรกเกิดถึง 10 ขวบ และลดสถิติการเสียชีวิต พิการ และตาบอดได้เป็นอย่างดี
2.ใช้รักษาผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวานให้อยู่ในภาวะควบคุมได้
3.รักษาโรคความดันโลหิตสูง
4.ช่วยเพิ่มและเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย ทานผลิตผลจากมะรุมในระหว่างตั้งครรภ์ เด็กที่เกิดมาจะไม่ติดเชื้อHIV นอกจากนี้ถ้ารับประทานอย่างน้อยอาทิตย์ละ 3 ครั้งยังช่วยให้คนทั่วๆไปสามารถสร้างภูมิคุ้มกันให้กับตัวเอง
5.ช่วยรักษาผู้ป่วยโรคเอดส์ให้อยู่ในภาวะควบคุมได้ การรักษาโรคเอดส์ที่ประสพผลสำเร็จในกลุ่มประเทศแอฟริกา
6.ถ้ารับประทานสม่ำเสมอจะช่วยป้องกันไม่ให้เป็นโรคมะเร็ง แต่ถ้าหากเป็นก็จะช่วยให้การรักษาพยาบาลง่ายขึ้น ในบางกรณีสามารถหยุดการเจริญเติบโตของโรคร้ายได้ ถ้าใช้ควบคู่ไปกับยาแพทย์แผนปัจจุบันหากผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งได้รับการรักษาด้วยรังสี การดื่มน้ำมะรุมจะช่วยให้การแพ้รังสีฟื้นตัวเร็วขึ้นและมีร่างกายที่แข็งแรง
7.ช่วยรักษาโรคไขข้ออักเสบ โรคเก๊าท์ โรคกระดูกอักเสบ โรคมะเร็งในกระดูก โรครูมาติซั่ม
8.รักษาโรคตาเกือบทุกชนิด เช่น โรคตามืดตามัวเพราะขาดสารอาหารที่จำเป็น โรคตาต้อ เป็นต้น หากรับประทานสม่ำเสมอ จะทำให้ตามีสุขภาพที่สมบูรณ์
9.รักษาโรคลำไส้อักเสบ โรคเกี่ยวกับท้อง ท้องเสีย ท้องผูก โรคพยาธิในลำไส้
10.รักษาปอดให้แข็งแรง รักษาโรคทางเดินของลมหายใจ และโรคปอดอักเสบ
11.เป็นยาปฏิชีวนะ

น้ำมันมะรุม
สรรพคุณ..ใช้หยอดจมูกรักษาโรคภูมิแพ้ ไซนัสโรคทางเดินหายใจ ใช้หยอดหูฆ่าและป้องกันพยาธิในหู รักษาอาการเยื่อบุหูอักเสบ รักษาโรคหูน้ำหนวก ใช้ทาผิวหนังรักษาโรคผิวหนังจากเชื้อราและเชื้อไวรัส รักษาโรคเริม งูสวัด รักษาและบำรุงผิวพรรณให้ชุ่มชื้น ใช้ทารักษาแผลสด หูด ตาปลา ใช้ถูนวดบรรเทาอาการบริเวณที่ปวดบวมตามข้อ รักษาโรคไขข้ออักเสบ เก๊าท์ รูมาติก เป็นต้น

ชะลอความแก่
กล่าวกันว่ามะรุมมีฤทธิ์ชะลอความแก่ เนื่องจากยังไม่พบรายงานการวิจัยเกี่ยวกับมะรุมในด้านนี้ คาดว่าเป็นการสรุปเนื่องจากมะรุมมีสารฟลาโวนอยด์สำคัญคือ รูทินและเควอเซทิน (rutin และ quercetin) สารลูทีนและกรดแคฟฟีโอลิลควินิก (lutein และ caffeoylquinic acids) ซึ่งต้านอนุมูลอิสระ ดูแลอวัยวะต่างๆ ได้แก่ จอประสาทตา ตับ และหลอดเลือดจากการเสื่อมสภาพตามอายุ การกินสารต้านอนุมูลอิสระชะลอการเสื่อมสภาพในเซลล์ร่างกาย

ฆ่าจุลินทรีย์
สารเบนซิลไทโอไซยาเนตโคไซด์และเบนซิลกลูโคซิโนเลตค้นพบในปี พ.ศ. 2507 จากมะรุมมีฤทธิ์ต้านจุลชีพ สนับสนุนการใช้น้ำคั้นจากมะรุมหยอดหูแก้ปวดหู
ปัจจุบันหลังจากค้นพบแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคกระเพาะอาหาร
Helicobactor pylori กำลังมีการศึกษาสารจากมะรุมในการต้านเชื้อดังกล่าว

การป้องกันมะเร็ง
สารเบนซิลไทโอไซยาเนตไกลโคไซด์ชนิดหนึ่งและสารไนอาซิไมซิน (niazimicin) จากมะรุมสามารถต้านการเกิดมะเร็งที่ถูกกระตุ้นโดยสารฟอบอลเอสเทอร์ในเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวได้การทดลองในหนูพบว่าหนูที่ได้รับฝักมะรุมเป็นอาการเกิดโรคมะเร็งผิวหนังจากการกระตุ้นน้อยกว่ากลุ่มทดลอง โดยกลุ่มที่กินมะรุมเนื้องอกบนผิวหนังน้อยกว่ากลุ่มควบคุม

ฤทธิ์ลดไขมันและคอเลสเทอรอล
จากการทดลอง 120 วัน ให้กระต่ายกินฝักมะรุม วันละ 200 กรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักตัวต่อวันเทียบกับยาโลวาสแตทิน 6 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักตัวต่อวันและให้อาหารไขมันมาก
ใบมะรุม 100 กรัม  (คุณค่าทางโภชนาการของอาหารอินเดีย พ.ศ. 2537)
พลังงาน
                  26 แคลอรี
โปรตีน
                    6.7 กรัม (2 เท่าของนม)
ไขมัน
                      0.1 กรัม
ใยอาหาร
                 4.8 กรัม
คาร์โบไฮเดรต
          3.7 กรัม
วิตามินเอ
                 6,780 ไมโครกรัม (3 เท่าของแครอต)
วิตามินซี
                  220 มิลลิกรัม (7 เท่าของส้ม)
แคโรทีน                  110 ไมโครกรัม
แคลเซียม
                440 มิลลิกรัม (เกิน 3 เท่าของนม)
ฟอสฟอรัส
               110 มิลลิกรัม
เหล็ก
                      0.18 มิลลิกรัม
แมกนีเซียม
              28 มิลลิกรัม
โพแทสเซียม
            259 มิลลิกรัม (3 เท่าของกล้วย)

ทั้งนี้ กลุ่มที่กินมะรุมและยามีคอเลสเทอรอลฟอสโฟไลพิด ไตรกลีเซอไรด์ VLDL LDL ปริมาณคอเลสเทอรอลต่อฟอสโฟไลพิด และ atherogenic index ต่ำลง ทั้ง 2 กลุ่มมีการสะสมไขมันในตับ หัวใจ และหลอดเลือดแดงใหญ่ (เอออร์ตา) โดยกลุ่มควบคุมปัจจัยด้านการสะสมไขมันในอวัยวะเหล่านี้ไม่มีค่าลดลงแต่อย่างใด กลุ่มที่กินมะรุมพบการขับคอเลสเทอรอลในอุจจาระเพิ่มขึ้น ผู้วิจัยจึงสรุปว่าการกินมะรุมมีผลลดไขมันในร่างกาย ที่ประเทศอินเดียมีการใช้ใบมะรุมลดไขมันในคนที่มีโรคอ้วนมาแต่เดิม การศึกษาการกินสารสกัดใบมะรุมในหนูที่กินอาหารไขมันสูงมีปริมาณคอเลสเทอรอลในเลือดลดลงอย่างมีนัยสำคัญเทียบกับกลุ่มควบคุม นอกจากนี้กลุ่มทดลองมีปริมาณไขมันในตับและไตลดลง
สรุปว่าการให้ใบมะรุมเพื่อลดปริมาณไขมันทางการแพทย์อินเดียสามารถวัดผลได้ในเชิงวิทยาศาสตร์จริง

ฤทธิ์ป้องกันตับ
งานวิจัยการให้สารสกัดแอลกอฮอล์ของใบมะรุมกรณีทำให้ตับหนูทดลองเกิดความเสียหายโดยไรแฟมไพซิน พบว่าสารสกัดใบมะรุมมีฤทธิ์ป้องกันตับ โดยมีผลกับระดับเอนไซม์แอสาเทตอะมิโนทรานสเฟอเรส อะลานีน
ทรานมิโนทรานสเฟอเรส อัลคาไลน์ฟอสฟาเทส และบิลิรูบินในเลือด และมีผลกับปริมาณไลพิดและไลพิดเพอร์ออกซิเดสในตับ โดยดูผลยืนยันจากการตรวจชิ้นเนื้อตับ สารสกัดใบมะรุมและซิลิมาริน (silymarin กลุ่มควบคุมบวก) มีผลช่วยการพักฟื้นของการถูกทำลายของตับจากยาเหล่านี้

สรรพคุณข่า

ข่า
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Languas galanga(Linn.) Stuntz
วงศ์ : ZINGIBERACEAE
ชื่อท้องถิ่น : กฎุกโรหินี ข่าหลวง ข่าตาแดง
ลักษณะทั่วไป :
ลำต้นจะเป็นไม้ลงหัวจำพวกกระวาน ชอบขึ้นตามที่ลุ่ม ใบรูปไข่ ยาว สลับๆกันรอบๆลำต้นบนดิน มีลักษณะเป็นกาบหุ้มรอบลำต้น ใบรูปร่างคล้ายพาย ออกดอกเป็นช่อสีขาว อาจะมีสีแดงปนอยู่ด้วยเล็กน้อย ดอกจะอยู่บริเวณตรงปลายยอด ดอกอ่อนจะมีกาบสีเขียวหุ้มอยู่ ผลกลมโตขนาดเท่าเม็ดบัว เมื่อผลสุกจะเปลี่ยนเป็นสีดำ มีรสขม เผ็ดร้อน สามารถขยายพันธ์ข่าด้วยเหง้าหรือหน่อก็ได้ โดยปลูกหลุมละ 1 หน่อ ห่างกันประมาณ 80 ซม. เพื่อรองรับกอที่จะขยายเพิ่มขึ้น ไม่ค่อยมีแมลงศัตรูพืชมารบกวน
ข่านิยมนำมาใช้เป็นเครื่องเทศสำหรับแต่งกลิ่นอาหารและดับกลิ่นคาวพวกเนื้อสัตว์ต่างๆ เช่น ต้มยำปลา ข้าวต้มปลา ต้มข่าไก่ ใช้เป็นส่วนผสมในน้ำพริก เครื่องแกงต่างๆ นอกจากนี้ยังใช้เป็นส่วนผสมของลูกแป้งที่ใช้ทำข้าวหมากและเหล้า ดอกและลำต้นอ่อนใช้รับประทานเป็นผักสด
ส่วนที่นำมาใช้
เหง้าอ่อน  ลำต้น และ ดอก
สรรพคุณและวิธีการใช้
- ใช้เหง้าสดตำให้ละเอียด นำมาผสมกับเหล้าขาว นำมาทาบริเวณผิวหนัง เพื่อรักษาโรคกลาก เกลื้อน หรือ ลมพิษได้
- ช่วยขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องเดิน โดยนำเหง้าสดมาตำให้ละเอียด ผสมกับน้ำปูนใส ทานครั้งละประมาณครึ่งแก้ว
- ช่วยลดอาการปวดฟัน โดยนำเหง้าสดมาตำ ผสมเกลือลงไปเล็กน้อย นำไปใส่ในรูฟันที่ปวด หรือ อาจจะอมไว้ที่เหงือกก็ได้
- สามารถนำสารสกัดจากข่า มาทำเป็นยารักษาโรคได้ เช่น แก้ปวดบวมข้อ หลอดลมอักเสบ ยาขับลม ยาธาตุ และยารักษาแผลสด
- ใช้เหง้าสดนำมาตำให้ละเอียด นำไปวางเพื่อไล่แมลง จากกลิ่นของน้ำมันหอมระเหย
- สามารถใช้ผลข่า รักษาอาการปวดท้องและช่วยย่อยอาหารได้
- ช่วยลดอาการไอ โดยนำข่ามาทุป ฝานบางๆ บีบมะนาวลงไปเล็กน้อย เติมน้ำตาล แล้วใช้อม เคี้ยว หรือกลืนเลยก็ได้
- ช่วยลดอาการบวมช้ำ โดยใช้หัวข่าแก่ ทุบแล้วทาบริเวณที่บวมช้ำ เช้า-เย็น

สรรพคุณของตะไคร้

ตะไคร้

ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Cymbopogon citratus  Stapf.
ชื่อสามัญ :   Lemon Grass, Lapine
วงศ์ :   Poaceae (Gramineae)
ชื่ออื่น :  จะไคร้ (ภาคเหนือ) ไคร (ภาคใต้) คาหอม (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน) ห่อวอตะไป่ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) หัวสิงโต (เขมร-ปราจีนบุรี) ตะไคร้แกง (ทั่วไป)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ส่วนที่ใช้ :
ทั้งต้น  เก็บได้ตลอดปี ล้างให้สะอาด ใช้สดหรือผึ่งให้แห้ง
  • ในที่ร่ม เก็บไว้ใช้
  • ราก  เก็บได้ตลอดปี ล้างให้สะอาด ใช้สด ใบสด
สรรพคุณ :
  • ทั้งต้น
    1. รสฉุน สุมขุม แก้หวัด ปวดศีรษะ ไอ
    2. แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด ขับลมในลำไส้ บำรุงไฟธาตุ
    3. ทำให้เจริญอาหาร แก้ปวดกระเพาะอาหาร แก้ท้องเสีย
    4. แก้ปวดข้อ ปวดเมื่อย ฟกช้ำจากหกล้ม ขาบวมน้ำ
    5. แก้โรคทางเดินปัสสาวะ นิ่ว ขับปัสสาวะ ประจำเดือนมาผิดปกติ
    6. แก้ปัสสาวะเป็นเลือด แก้โรคหืด
  • ราก
    1. แก้เสียดแน่น แสบบริเวณหน้าอก ปวดกระเพาะอาหารและขับปัสสาวะ
    2. บำรุงไฟธาตุ ขับปัสสาวะ แก้นิ่ว แก้ปัสสาวะพิการ
    3. รักษาเกลื้อน แก้อาการขัดเบา
  • ใบสด - มีสรรพคุณช่วยลดความดันโลหิตสูง แก้ไข้
  • ต้น -  มีสรรพคุณเป็นยาขับลม แก้ผมแตกปลาย เป็นยาช่วยให้ลมเบ่งขณะคลอดลูก ใช้ดับกลิ่นคาว แก้เบื่ออาหาร บำรุงไฟธาตุให้เจริญ แก้โรคทางเดินปัสสาวะ นิ่วปัสสาวะพิการ แก้หนองใน
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
  • แก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด ปวดท้อง -ใช้ลำต้นแก่ๆ ทุบพอแหลก ประมาณ 1 กำมือ (ประมาณ 40- 60 กรัม ) ต้มเอาน้ำดื่ม หรือประกอบเป็นอาหาร
    - นำตะไคร้ทั้งต้นรวมทั้งรากจำนวน 5 ต้น สับเป็นท่อน ต้มกับเกลือ ต้ม 3 ส่วน ให้เหลือ 1 ส่วน รับประทานครั้งละ 1 ถ้วยแก้ว รับประทาน 3 วัน จะหายปวดท้อง
  • แก้อาการขัดเบา ผู้ที่ปัสสาวะขัดไม่คล่อง (แต่ต้องไม่มีอาการบวม)- ใช้ต้นแก่สด วันละ 1 กำมือ (ประมาณ 40- 60 กรัม , แห้งหนัก 20- 30 กรัม ) ต้มกับน้ำดื่มครั้งละ 1 ถ้วยชา (75 มิลลิลิตร) วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร
    - ใช้เหง้าแก่ที่อยู่ใต้ดิน ฝานเป็นแว่นบางๆ คั่วไปอ่อนๆ พอเหลือง ชงเป็นชาดื่ม ครั้งละ 1 ถ้วยชา วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร
คุณค่าทางด้านอาหาร :
          ตะไคร้ยังมีประโยชน์ต่อร่างกาย เพราะช่วยเพิ่มเกลือแร่ที่จำเป็นหลายชนิด เช่น แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก และยังมีวิตามินเอ รวมอยู่ด้วย
สารเคมี :
          ใบ - มีน้ำมันหอมระเหย 0.4-0.8% ประกอบด้วย Citral 75-85 %  Citronellal, Geraniol Methylheptenone เล็กน้อย , Eugenol และ Methylheptenol
          ราก - มี อัลคาลอยด์ 0.3%