Golden Dreams TMS&Herb

วันพฤหัสบดีที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

สรรพคุณข่า

ข่า
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Languas galanga(Linn.) Stuntz
วงศ์ : ZINGIBERACEAE
ชื่อท้องถิ่น : กฎุกโรหินี ข่าหลวง ข่าตาแดง
ลักษณะทั่วไป :
ลำต้นจะเป็นไม้ลงหัวจำพวกกระวาน ชอบขึ้นตามที่ลุ่ม ใบรูปไข่ ยาว สลับๆกันรอบๆลำต้นบนดิน มีลักษณะเป็นกาบหุ้มรอบลำต้น ใบรูปร่างคล้ายพาย ออกดอกเป็นช่อสีขาว อาจะมีสีแดงปนอยู่ด้วยเล็กน้อย ดอกจะอยู่บริเวณตรงปลายยอด ดอกอ่อนจะมีกาบสีเขียวหุ้มอยู่ ผลกลมโตขนาดเท่าเม็ดบัว เมื่อผลสุกจะเปลี่ยนเป็นสีดำ มีรสขม เผ็ดร้อน สามารถขยายพันธ์ข่าด้วยเหง้าหรือหน่อก็ได้ โดยปลูกหลุมละ 1 หน่อ ห่างกันประมาณ 80 ซม. เพื่อรองรับกอที่จะขยายเพิ่มขึ้น ไม่ค่อยมีแมลงศัตรูพืชมารบกวน
ข่านิยมนำมาใช้เป็นเครื่องเทศสำหรับแต่งกลิ่นอาหารและดับกลิ่นคาวพวกเนื้อสัตว์ต่างๆ เช่น ต้มยำปลา ข้าวต้มปลา ต้มข่าไก่ ใช้เป็นส่วนผสมในน้ำพริก เครื่องแกงต่างๆ นอกจากนี้ยังใช้เป็นส่วนผสมของลูกแป้งที่ใช้ทำข้าวหมากและเหล้า ดอกและลำต้นอ่อนใช้รับประทานเป็นผักสด
ส่วนที่นำมาใช้
เหง้าอ่อน  ลำต้น และ ดอก
สรรพคุณและวิธีการใช้
- ใช้เหง้าสดตำให้ละเอียด นำมาผสมกับเหล้าขาว นำมาทาบริเวณผิวหนัง เพื่อรักษาโรคกลาก เกลื้อน หรือ ลมพิษได้
- ช่วยขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องเดิน โดยนำเหง้าสดมาตำให้ละเอียด ผสมกับน้ำปูนใส ทานครั้งละประมาณครึ่งแก้ว
- ช่วยลดอาการปวดฟัน โดยนำเหง้าสดมาตำ ผสมเกลือลงไปเล็กน้อย นำไปใส่ในรูฟันที่ปวด หรือ อาจจะอมไว้ที่เหงือกก็ได้
- สามารถนำสารสกัดจากข่า มาทำเป็นยารักษาโรคได้ เช่น แก้ปวดบวมข้อ หลอดลมอักเสบ ยาขับลม ยาธาตุ และยารักษาแผลสด
- ใช้เหง้าสดนำมาตำให้ละเอียด นำไปวางเพื่อไล่แมลง จากกลิ่นของน้ำมันหอมระเหย
- สามารถใช้ผลข่า รักษาอาการปวดท้องและช่วยย่อยอาหารได้
- ช่วยลดอาการไอ โดยนำข่ามาทุป ฝานบางๆ บีบมะนาวลงไปเล็กน้อย เติมน้ำตาล แล้วใช้อม เคี้ยว หรือกลืนเลยก็ได้
- ช่วยลดอาการบวมช้ำ โดยใช้หัวข่าแก่ ทุบแล้วทาบริเวณที่บวมช้ำ เช้า-เย็น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น