Golden Dreams TMS&Herb

วันพฤหัสบดีที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2556

กลุ่มยารักษาน้ำกัดเท้า -สีเสียดเหนือ

สีเสียดเหนือ
ชื่อวิทยาศาสตร์  Acacia catechu (L.f.) Willd.
ชื่อสามัญ  Catechu Tree} Cutch Tree
วงศ์ LEGUMINOSAE-MIMOSOIDEAE
ชื่ออื่น :  สะเจ (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน) สีเสียด ขี้เสียด (ภาคเหนือ)  สีเสียดแก่น (ราชบุรี) สีเสียดเหนือ (ภาคกล่าง) สีเสียดเหลือง (เชียงใหม่)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : : ไม้ต้นขนาดกลาง สูงถึง 15 เมตร เปลือกสีเทาคล้ำ แตกเป็นสะเก็ดบาง เรือนยอดเป็นรูปกรวยต่ำๆ ตามกิ่งก้านมีหนามโค้งเป็นคู่อยู่ทั่วไป ใบ ประกอบแบบขนนก 2 ชั้น มีก้านแขนง 10-20 คู่  ใบย่อยเล็กมากเรียงกันแน่นอยู่บนแกนกลาง 30-50 คู่ ดอก เล็ก ออกเป็นช่อแบบหางกระรอก สีเหลือง กลิ่นหอมอ่อนๆ ยาวประมาณ 5-10 เซนติเมตร ผล เป็นฝักแบน บาง แคบ สีน้ำตาล แตกเมื่อแก่
ส่วนที่ใช้ :  
เปลือกต้น เมล็ดฝัก
       ก้อนสีเสียด (เป็นสิ่งสกัดที่ได้จากการนำเนื้อไม้มาตัดให้เป็นชิ้นเล็กๆ ต้มกับน้ำ กรองและเคี่ยวให้งวด จะเหลือก้อนแข็ง สีดำและเป็นเงา
สรรพคุณ :
  • เปลือกต้น  - แก้บิด แก้ท้องร่วง  สมานแผล แก้ท้องเดิน
  • เมล็ดในฝัก -  ฝนแก้โรคหิด แผลน้ำกัดเท้า
วิธีและปริมาณที่ใช้
  • ก้อนสีเสียดช่วยฝาดสมาน แก้อาการท้องเดิน
    ใช้ผงประมาณ 1/3 -1/2 ช้อนชา (หนัก 0.3-1 กรัม) ต้มเอาน้ำดื่ม
  • แก้แผลเรื้อรัง
    ใช้เปลือกต้น ต้มกับน้ำ ใช้ล้างแผล หัวนมแตก ใช้ล้างแผล แก้แผลเน่าเปื่อยเรื้อรัง น้ำกัดเท้า
  • แก้โรคหิด
    ใช้เมล็ดฝัก ฝนทาแก้โรคหิด แผลน้ำกัดเท้า
สารเคมี
  • ทั้งต้น  พบ  Epicatechin
  • เปลือกต้น พบ Catechol, Gallic acid, Tannin
  • แก่น พบ  Catechin, Dicatechin
  • ใบ พบ  Catechin, Isoacacatechol, Tannins isoacacatechol acetate

กลุ่มยารักษาน้ำกัดเท้า -มังคุด

มังคุด
ชื่อวิทยาศาสตร์  Garcinia mangostana  L.
ชื่อสามัญ  Mangosteen
วงศ์  Guttiferae
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น สูง 10 - 12 เมตร ทุกส่วนมียางสีเหลือง ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปไข่ หรือรูปวงรีแกมขอบขนาน กว้าง 6 - 11 ซม. ยาว 15 - 25 ซม. เนื้อใบหนา และค่อนข้างเหนียว คล้ายหนัง หลังใบสีเขียวเข้ม เป็นมัน ท้องใบสีอ่อน ดอกเดี่ยวหรือเป็นคู่ ออกที่ซอกใบ ใกล้ปลายกิ่ง สมบูรณ์เพศ หรือแยกเพศ กลีบเลี้ยงสีเขียวอมเหลือง กลีบดอกสีแดง ฉ่ำน้ำ ผลเป็นผลสด ค่อนข้างกลม
ส่วนที่ใช้ :
 เปลือกผลแห้ง
สรรพคุณ : เป็นยารักษาน้ำกัดเท้า
1.       รักษาโรคท้องเสียเรื้อรัง และโรคลำไส้
2.       ยาแก้ท้องร่วง ท้องเดิน
3.       ยาแก้บิด (ปวดเบ่งและมีมูก และอาจมีเลือดด้วย) เป็นยาคุมธาตุ
4.       เป็นยารักษาน้ำกัดเท้า รักษาบาดแผล
5.       รสฝาด สมานแผล ใช้ชะล้างบาดแผล แก้แผลเปื่อย แผลเป็นหนอง ยาฟอกแผลกลาย ทาแผลพุพอง
วิธีและปริมาณที่ใช้
1.      รักษาโรคท้องเสียเรื้อรัง และโรคลำไส้
ใช้เปลือกมังคุดครึ่งผล (ประมาณ 4-5 กรัม) ต้มกับน้ำ ความแรง 1 ใน 10 รับประทานครั้งละ 1 ถ้วยแก้ว  
ถ้าเป็นยาดองเหล้า ความแรง
1 ใน 10 รับประทานครั้งละ 1 ช้อนชา
2.      ยาแก้อาการท้องเดิน ท้องร่วง
      ใช้เปลือกผลมังคุดตากแห้งต้มกับน้ำปูนใส หรือฝนกับน้ำรับประทาน ใช้เปลือกต้มน้ำให้เด็กรับประทานครั้งละ 1-2 ช้อนชา ทุก 4 ชั่วโมง ผู้ใหญ่ครั้งละ 1 ช้อนโต๊ะ ทุก 4 ชั่วโมง
3.      ยาแก้บิด (ปวดเบ่งและมีมูกและอาจมีเลือดด้วย)
      ใช้เปลือกผลแห้งประมาณ ½ ผล (4 กรัม) ย่างไฟให้เกรียม ฝนกับน้ำปูนใสประมาณครึ่งแก้ว หรือบดเป็นผง ละลายน้ำสุก รับประทานทุก 2 ชั่วโมง
4.      เป็นยารักษาแผลน้ำกัดเท้า และแผลพุพอง แผลเน่าเปื่อย
        เปลือกผลสด หรือแห้ง ฝนกับน้ำปูนใสให้ข้น ๆ พอควร ทาแผลน้ำกัดเท้า วันละ 2-3 ครั้ง  จนกว่าจะหาย ทาแผลพุพอง แผลเปื่อยเน่า
ข้อควรระวัง
  ก่อนที่จะใช้ยาทาที่บริเวณน้ำกัดเท้า ควรที่จะ
1.       ล้างเท้าฟอกสบู่ให้สะอาด
2.       เช็ดให้แห้ง
3.       ถ้ามีแอลกอฮอล์เช็ดแผล ควรเช็ดก่อนจึงทายา             
คุณค่าด้านอาหาร
       มังคุดประกอบด้วย แร่ธาตุ และวิตามินหลายชนิดที่ให้ประโยชน์ต่อร่างกาย
สารเคมี
       Chrysanthemin, Xanthone, Garcinone A, Garcinone B, Gartanin, Mangostin, Kolanone

กลุ่มยารักษาน้ำกัดเท้า -เทียนบ้าน

เทียนบ้าน
ชื่อวิทยาศาสตร์  Impatiens balsamina  L.
ชื่อสามัญ  Garden Balsam
วงศ์  BALSAMINACEAE
ชื่ออื่น :  เทียนดอก เทียนไทย เทียนสวน (ภาคกลาง)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุกสูง 30-80 ซม. ลำต้นอวบน้ำและค่อนข้างโปร่งแสง ออกดอกออกผลแล้วต้นจะตาย ใบเดี่ยวเรียงสลับรอบลำต้น รูปวงรี ขอบใบหยักฟันเลื่อย ดอกเดี่ยวหรือเป็นกระจุก ออกที่ซอกใบ กลีบดอกมีสีชมพู แดง ม่วง ขาว ผลเป็นผลแห้ง เมื่อแก่จัดจะแตกออก เปลือกผลม้วนขมวดขึ้น และดีดเมล็ดที่ค่อนข้างกลมสีน้ำตาลออกมา เพื่อช่วยกระจายพันธุ์
ส่วนที่ใช้
ใบสด ดอกสด ใบแห้ง
                 เก็บใบขนาดกลางที่สมบูรณ์ ส่วนใหญ่หมอจีนใช้ใบของเทียนดอกขาว
สรรพคุณ :
  • ลำต้น ใช้ลำต้นเทียนดอกมาตำให้ละเอียดแล้วคั้นเอาน้ำดื่ม หรือกลืน แก้ก้างปลา หรือ กระดูกติดคอ หรือใช้กากที่ตำใช้พอก ทา บริเวณที่เป็นฝี
  • ใบ นำใบสดของต้นเทียนดอกมาตำให้ละเอียด แล้วนำมาพอก หรือทา แก้เล็บช้ำ เล็บขบ แก้น้ำกัดมือ แก้ฝีตะมอย หรือนำใบสดมาต้มเอาน้ำใช้สระผมช่วยทำให้ผมดกดำ บำรุงผม ใช้ใบตากแห้งมาตำผสมกับพิมเสนใช้ใส่รักษาแผลเรื้อรัง
  • ใบและราก นำมาตำให้ละเอียดแล้ว นำมาพอกแผลที่ถูกเศษแก้วตำเนื้อ หรือใช้รักษา เสี้ยน
  • ดอก นำมาตำให้ละเอียดแล้วนำมาพอกบริเวณแผลที่ถูกน้ำร้อนลวก