Golden Dreams TMS&Herb

วันจันทร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

กลุ่มยารักษาโรคผิวหนัง ผื่นคัน กลากเกลื้อน -อัคคีทวาร

อัคคีทวาร
ชื่อวิทยาศาสตร์  Clerodendrum serratum L. var. wallichii  C.B.clarke
วงศ์  VERBENACEAE
ชื่ออื่น :  ตรีชะวา (ภาคกลาง) ตั่งต่อ ปอสามเกี๋ยน สามสุม (ภาคเหนือ) พรายสะเลียง สะเม่าใหญ่ (นครราชสีมา) หลัวสามเกียน (เชียงใหม่) อัคคี (สุราษฎร์ธานี) อัคคีทวาร (ภาคกลาง, เชียงใหม่)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้พุ่มขนาดเล็ก สูง 1 - 4 เมตร ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปขอบขนาน รูปขอบขนานแกมใบหอก หรือรูปใบหอกแกมรูปไข่กลับ กว้าง 4 - 6 ซม. ยาว 15 - 20 ซม. ขอบใบหยักฟันเลื่อย ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง กลีบดอก 5 กลีบ กลีบกลางสีม่วงเข้ม กลีบข้างสี่กลีบสีฟ้าสด รูปค่อนข้างกลม หรือรูปไข่กลับกว้าง เมื่อสุกสีม่วงเข้มหรือดำ
ส่วนที่ใช้ทั้งต้น ใบแห้ง ผล ราก
สรรพคุณ :
          ทั้งต้น 
- รักษากลากเกลื้อน โรคเรื้อน
วิธีและปริมาณที่ใช้ : ใช้ใบ และต้น ตำพอกรักษากลากเกลื้อน โรคเรื้อน พอกแก้ปวดศีรษะเรื้อรัง และแก้ขัดตามข้อ และดูดหนอง

กลุ่มยารักษาโรคผิวหนัง ผื่นคัน กลากเกลื้อน -ว่านมหากาฬ

ว่านมหากาฬ
ชื่อวิทยาศาสตร์  Gynura pseudochina  (L.) DC.
วงศ์ Asteraceae  (Compositae)
ชื่ออื่น :  ดาวเรือง (ภาคกลาง)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก มีรากขนาดใหญ่ ลำต้นอวบน้ำ ทอดเลื้อยยาว ชูยอดตั้งขึ้น ใบ เดี่ยว ขอบใบหยัก หลังใบสีม่วงเข้ม ท้องใบสีเขียวแกมเทา ดอก ช่อ ออกที่ปลายยอด ก้านช่อดอกยาว กลีบดอกสีเหลืองทอง ผล เป็นผลแห้ง ไม่แตก
ส่วนที่ใช้หัว ใบสด
สรรพคุณ :
  • หัว 
    -
      รับประทานแก้พิษอักเสบ ดับพิษกาฬ พิษร้อน
    -
      แก้ไข้พิษเซื่องซึม แก้เริม 
  • ใบสด
    ขับระดู
    ตำพอกฝี หรือหัวละมะลอก งูสวัด เริม ทำให้เย็น ถอนพิษ แก้ปวดแสบปวดร้อน 
วิธีและปริมาณที่ใช้
         
ใช้ใบสด 5-6 ใบ ล้างน้ำให้สะอาด ตำในภาชนะทีสะอาด ใส่พิมเสนเล็กน้อย
          ใช้ใบสด 5-6 ใบ โขลกผสมกับสุรา ใช้น้ำทา และพอกบริเวณที่เป็นด้วยก็ได้
ข้อสังเกต - ในการใช้ว่านมหากาฬรักษาเริม และงูสวัด เมื่อหายแล้ว มีการกลับเป็นใหม่น้อยกว่าเมื่อใช้เหล้าขาว

กลุ่มยารักษาโรคผิวหนัง ผื่นคัน กลากเกลื้อน -มะยม

มะยม
ชื่อวิทยาศาสตร์  Phyllanthus acidus  (L.) Skeels
ชื่อสามัญ  Star Gooseberry
วงศ์  Euphorbiaceae
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้ต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูงประมาณ 3 – 10 เมตร ลำต้นตั้งตรง แตกกิ่งก้านสาขาบริเวณปลายยอด กิ่งก้านจะเปราะและแตกง่าย เปลือกต้นขรุขระสีเทาปนน้ำตาล ใบ เป็นใบรวม มีใบย่อยออกเรียงแบบสลับกันเป็น 2 แถว แต่ละก้านมีใบย่อย 20 – 30 คู่ ใบรูปขอบขนานกลมหรือค่อนข้างเป็นสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนปลายใบแหลม ฐานใบกลมหรือมน ขอบใบเรียบ ดอก ออกเป็นช่อตามกิ่ง ดอกย่อยสีเหลืองอมน้ำตาลเรื่อๆ ผล เมื่ออ่อนสีเขียว เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือขาวแกมเหลือง เนื้อฉ่ำน้ำ เมล็ดรูปร่างกลม แข็ง สีน้ำตาลอ่อน 1 เมล็ด
ส่วนที่ใช้ :  ใบตัวผู้ ผลตัวเมีย รากตัวผู้
สรรพคุณ
:
  • ใบตัวผู้  -   แก้พิษคัน แก้พิษไข้หัว เหือด หัด สุกใส ดำแดง ปรุงในยาเขียว และใช้เป็นอาหารได้
  • ผลตัวเมีย  - ใช้เป็นอาหารรับประทาน
  • รากตัวผู้  -  แก้ไข้ แก้โรคผิวหนัง แก้ประดง แก้เม็ดผื่นคัน ขับน้ำเหลืองให้แห้ง
วิธีและปริมาณที่ใช้ : ใช้ใบตัวผู้ หรือรากตัวผู้ ต้มน้ำดื่ม
สารเคมี
  • ผล  มี tannin, dextrose, levulose, sucrose, vitamin C
  • ราก  มี beta-amyrin, phyllanthol, tannin saponin, gallic acid

กลุ่มยารักษาโรคผิวหนัง ผื่นคัน กลากเกลื้อน -พิลังกาสา

พิลังกาสา
ชื่อวิทยาศาสตร์  Ardisia polycephala  Wall.
วงศ์  MYRSINACEAE
ชื่ออื่น :  ตีนจำ (เลย) ผักจำ ผักจ้ำแดง (เชียงใหม่, เชียงราย)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :  ไม้ต้นขนาดย่อม สูง 2-3 เมตร ใบเป็นใบเดี่ยว ออกสลับกันเป็นคู่ ๆ ตามข้อต้น ลักษณะใบเป็นรูปไข่ ปลายแหลม โคนใบสอบ ขอบใบเรียบ ไม่มีจักร ใบจะหนา ใหญ่ มีสีเขียวเป็นมัน ดอกออกเป็นช่ออยู่ตามปลายกิ่ง หรือตามส่วนยอด ดอกมีสีชมพูอมขาว ผลโตเท่าขนาดเม็ดนุ่น เมื่อยังอ่อนเป็นสีแดง ผลแก่จะเป็นสีม่วงดำ
ส่วนที่ใช้ และสรรพคุณ :
  • ใบ  -   แก้โรคตับพิการ แก้ท้องเสีย แก้ไอ แก้ลม
  • ดอก ฆ่าเชื้อโรค แก้พยาธิ
  • เมล็ด แก้ลมพิษ
  • ราก - แก้กามโรค และหนองใน พอกปิดแผล ถอนพิษงู
  • ต้น - แก้โรคผิวหนัง โรคเรื้อน
สารที่พบ α - amyrin, rapanone  ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา - ต้านเชื้อแบคทีเรีย ยับยั้ง platelet activating factor receptor binding

กลุ่มยารักษาโรคผิวหนัง ผื่นคัน กลากเกลื้อน -เหงือกปลาหมอ

เหงือกปลาหมอ
ชื่อวิทยาศาสตร์  Acanthus ebracteatus  Vahl
ชื่อพ้อง : Acanthus ilicifolius  L.
ชื่อสามัญ  Sea holly
วงศ์  ACANTHACEAE
ชื่ออื่น :  แก้มหมอ แก้มหมอเล จะเกร็ง นางเกร็ง อีเกร็ง เหงือกปลาหมอน้ำเงิน
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นไม้พุ่มขนาดกลาง สูง 1-2 เมตร ลำต้นและใบมีหนาม ใบหนามแข็งมีขอบเว้าและมีหนามแหลม ใบออกเป็นคู่ตรงข้ามกัน ดอกออกเป็นช่อตามยอด กลีบดอกสีขาวอมม่วง มี 4 กลีบแยกจากกัน ผลเป็นฝักสีน้ำตาล มี 4 เมล็ด ชอบขึ้นตามชายน้ำ ริมฝั่งคลองบริเวณปากแม่น้ำ
ส่วนที่ใช้ต้น และใบ ทั้งสดและแห้ง  ราก เมล็ด
สรรพคุณ :
  • ต้นทั้งสดและแห้ง - แก้แผลพุพอง น้ำเหลืองเสีย เป็นฝีบ่อยๆ
  • ใบ - เป็นยาประคบแก้ไขข้ออักเสบ แก้ปวดต่าง ๆ รักษาโรคผิวหนัง ขับน้ำเหลืองเสีย
  • ราก 
    ขับเสมหะ บำรุงประสาท แก้ไอ แก้หืด
    รักษามุตกิดระดูขาว
  • เมล็ด 
    - ปิดพอกฝี
    - ต้มดื่มแก้ไอ ขับพยาธิ ขับน้ำเหลืองเสีย
วิธีและปริมาณที่ใช้ : ใช้ต้นและใบสด 3-4 กำมือ ล้างให้สะอาด นำมาสับ ต้มน้ำอาบแก้ผื่นคัน ใช้ติดต่อกัน 3-4 ครั้ง

กลุ่มยารักษาโรคผิวหนัง ผื่นคัน กลากเกลื้อน -เปล้าน้อย

เปล้าน้อย
ชื่อวิทยาศาสตร์  Croton stellatopilosus  Ohba
ชื่อพ้อง : Croton sublyratus  Kurz
วงศ์  EUPHORBIACEAE
ชื่ออื่น :   เปล้าท่าโพ (ภาคตะวันออกเฉียงใต้)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :  ไม้พุ่ม หรือไม้ยืนต้น สูง 1 - 4 เมตร ผลัดใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับรูปใบหอกกลับ กว้าง 4 - 6 ซม. ยาว 10 - 15 ซม. ดอกช่อ ออกที่ซอกใบบริเวณปลายกิ่ง และที่ปลายกิ่ง ดอกช่อย่อยขนาดเล็ก แยกเพศ อยู่ในช่อเดียวกัน กลีบดอกสีนวล ผลแห้ง แตกได้ มี 3 พู
สรรพคุณ : ใบ ราก รักษาโรคผิวหนัง คัน กลากเกลื้อน
วิธีและปริมาณที่ใช้ : ใช้ใบ หรือรากสด ตำให้ละเอียด ใช้น้ำคั้นที่ออกมาทาบริเวณที่เป็น

กลุ่มยารักษาโรคผิวหนัง ผื่นคัน กลากเกลื้อน -ใบระบาด

ใบระบาด

ชื่อวิทยาศาสตร์  Argyreia nervosa (Burm.f.) Bojer
ชื่อสามัญ  Morning Glory , Baby Hawaiian Woodrose
วงศ์  Convolvulaceae
ชื่ออื่น :  ผักระบาด (ภาคกลาง) เมืองบอน (กรุงเทพฯ)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้เถา ยาวได้ถึง 10 เมตร ทุกส่วนมียางสีขาว และขนสีขาวหนาแน่น ใบ ใบเดี่ยว ออกสลับ รูปหัวใจ กว้าง 9 - 25 เซนติเมตร ยาว 11 - 30 เซนติเมตร ปลายแหลม โคนเว้า ด้านล่างมีขนอ่อนนุ่มคล้ายเส้นไหม สีเทาเงิน ดอก สีม่วงอมชมพูออกเป็นช่อตามซอกใบ ก้านช่อแข็ง ยาวประมาณ 20 เซนติเมตร ใบประดับ รูปไข่ ยาว 3 - 5 เซนติเมตร กลีบเลี้ยง 5 กลีบ ขนาดไม่เท่ากัน กลีบดอกรูปกรวย ยาวประมาณ 6 เซนติเมตรปลายแผ่ออกและหยักเป็นแฉกตื้น ๆ เมื่อบานเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 6 เซนติเมตร เกสรตัวผู้ 5 อัน ผลกลม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 เซนติเมตร ปลายมีติ่ง
ส่วนที่ใช้ ใบสด
สรรพคุณ :  ยารักษาโรคผิวหนัง ผื่นคัน
วิธีและปริมาณที่ใช้
          ใช้ใบสด 2-3 ใบ นำมาล้างให้สะอาด ตำให้ละเอียด ใช้ทาบริเวณที่เป็นโรคผิวหนัง วันละ 2-3 ครั้งติดต่อกัน 3-4 วันจะเห็นผล
สารเคมี
: เมล็ด( white seed coat exterior) มี cyanogenic glycosides
หมายเหตุ : เป็นสมุนไพรที่ใช้เฉพาะภายนอก ห้ามรับประทาน เนื่องจาก ใบ ถ้ารับประทานเข้าไปทำให้คลุ้มคลั่ง ตาพร่า มึนงง เมล็ด ถ้ารับประทานเข้าไปทำให้ประสาทหลอน

กลุ่มยารักษาโรคผิวหนัง ผื่นคัน กลากเกลื้อน -นางแย้ม

นางแย้ม

ชื่อวิทยาศาสตร์  Clerodendrum chinense (Osbeck) Mabb.
ชื่อพ้อง :  Volkameria fragrans  Vent.
ชื่อสามัญ  Glory Bower
วงศ์  Labiatae
ชื่ออื่น :  ปิ้งหอม
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่มลำต้นเตี้ยสูงประมาณ 3-5 ฟุต ใบเป็นใบเดี่ยวจะออกเป็นคู่ๆ ตรงข้ามกัน ลักษณะใบเป็นรูปใบโพธิ์ ตรงปลายแหลมแต่ไม่มีติ่ง ขอบใบหยักรอบใบ ออกดอกเป็นช่อ ดอกจะเบียดเสียดติดกันแน่นในช่อ ช่อดอกหนึ่งกว้างประมาณ 4-5 นิ้ว ลักษณะดอกย่อยคล้ายดอกมะลิซ้อนสีขาว บานเต็มที่ประมาณ 1 นิ้ว ดอกย่อยมีกลีบเลี้ยงสีม่วงแดงเป็นหลอดสั้น ปลายแยก 5-6 แฉก ดอกย่อยบานไม่พร้อมกันและบานนานหลายวัน มีกลิ่นหอมมากทั้งกลางวันและกลางคืน ออกดอกตลอดปี
ส่วนที่ใช้ ต้น ใบ และราก
สรรพคุณ :
  • ใบ  -   แก้โรคผิวหนัง ผื่นคัน
  • ราก
    ขับระดู ขับปัสสาวะ
    แก้หลอดลมอักเสบ ลำไส้อักเสบ
    แก้เหน็บชา บำรุงประสาท รวมทั้งเหน็บชาที่มีอาการบวมช้ำ
    แก้ไข้ แก้ฝีภายใน
    แก้ริดสีดวง ดากโผล่
    แก้กระดูกสันหลังอักเสบเรื้อรัง
    แก้ปวดเอว และปวดข้อ แก้ไตพิการ
ตำรับยา และวิธีใช้
  1. เหน็บชา ปวดขา
    ใช้ราก 15-30 กรัม ตุ๋นกับไก่ รับประทานติดต่อกัน 2-3 วัน
  2. ปวดเอวปวดข้อ เหน็บชาที่มีอาการบวมช้ำ
    ใช้รากแห้ง 30-60 กรัม ต้มน้ำดื่ม
  3. ขับระดูขาว ลดความดันโลหิตสูง แห้หลอดลมอักเสบ
    ใช้ราก และใบแห้ง 15-30 กรัม ต้มน้ำดื่ม
  4. ริดสีดวงทวาร ดากโผล่
    ใช้รากแห้งจำนวนพอควร ต้มน้ำ แล้วนั่งแช่ในน้ำนั้นชั่วครู่
  5. โรคผิวหนัง ผื่นคัน เริม
    ใช้ใบสด จำนวนพอควร ต้มน้ำชะล้างบริเวณที่เป็น
สารเคมีที่พบ :  มี Flavonoid glycoside, phenol, saponin และ Tannin

กลุ่มยารักษาโรคผิวหนัง ผื่นคัน กลากเกลื้อน -ทองพันชั่ง

ทองพันชั่ง

ชื่อวิทยาศาสตร์  Rhinacanthus nasutus  (L.) Kurz
ชื่อสามัญ  White crane flower
วงศ์   ACANTHACEAE
ชื่ออื่น :  ทองคันชั่ง หญ้ามันไก่
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้พุ่ม สูง 1-2 เมตร กิ่งอ่อนเป็นสี่เหลี่ยม ใบ เดี่ยว ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ กลีบดอกสีขาว โคนติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 2 ปาก ปากล่างมีประสีม่วงแดง ผล แก้ง แตกได้
ส่วนที่ใช้ :  ใบสด รากสด หรือตากแห้งเก็บเอาไว้ใช้
สรรพคุณ : ใช้รักษาโรคผิวหนัง กลากเกลื้อน ผื่นคันเรื้อรัง
วิธีและปริมาณที่ใช้
:  
      1.ใช้ใบสด หรือราก ตำแช่เหล้า หรือแอลกอฮอล์ ทาบ่อย  
      2.ใช้ใบสด ตำให้ละเอียด ผสมน้ำมันก๊าด ทาบริเวณที่เป็นกลาก วันละ 1 ครั้ง เพียง 3 วัน โรคกลากหายขาด
      3.ใช้รากทองพันชั่ง 6-7 รากและหัวไม้ขีดไฟครึ่งกล่อง นำมาตำเข้ากันให้ละเอียด ผสมน้ำมันใส่ผมหรือวาสลิน
      (กันไม่ให้ยา    แห้ง) ทาบริเวณที่เป็นกลาก หรือโรคผิวหนังบ่อยๆ
4.       ใช้รากของทองพันชั่ง บดละเอียดผสมน้ำมะขามและน้ำมะนาว ชโลมทาบริเวณที่เป็น

กลุ่มยารักษาโรคผิวหนัง ผื่นคัน กลากเกลื้อน -ขมิ้นชัน

ขมิ้นชัน
ชื่อวิทยาศาสตร์  Curcuma longa  L.
ชื่อสามัญ  Turmaric
วงศ์  Zingiberaceae
ชื่ออื่น : ขมิ้น (ทั่วไป) ขมิ้นแกง ขมิ้นหยอก ขมิ้นหัว (เชียงใหม่) ขี้มิ้น หมิ้น (ภาคใต้)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก อายุหลายปี สูง 30-90 ซม. เหง้าใต้ดินรูปไข่มีแขนงรูปทรงกระบอกแตกออกด้านข้าง 2 ด้าน ตรงกันข้ามเนื้อในเหง้าสีเหลืองส้ม มีกลิ่นเฉพาะ ใบ เดี่ยว แทงออกมาเหง้าเรียงเป็นวงซ้อนทับกันรูปใบหอก กว้าง 12-15 ซม. ยาว 30-40 ซม. ดอก ช่อ แทงออกจากเหง้า แทรกขึ้นมาระหว่างก้านใบ รูปทรงกระบอก กลีบดอกสีเหลืองอ่อน ใบประดับสีเขียวอ่อนหรือสีนวล บานครั้งละ 3-4 ดอก ผล รูปกลมมี 3 พู
ส่วนที่ใช้ : เหง้าแก่สด และแห้ง
สรรพคุณ :
  1. เป็นยาภายใน
    - แก้ท้องอืด
    - แก้ท้องร่วง
    - แก้โรคกระเพาะ
  2. เป็นยาภายนอก
    - ทาแก้ผื่นคัน โรคผิวหนัง พุพอง
    - ยารักษาชันนะตุและหนังศีรษะเป็นเม็ดผื่นคัน
วิธีและปริมาณที่ใช้
  1. เป็นยาภายใน
    เหง้าแก่สดยาวประมาณ 2 นิ้ว เอามาขูดเปลือก ล้างน้ำให้สะอาด ตำให้ละเอียด เติมน้ำ คั้นเอาแต่น้ำ รับประทานครั้งละ 2 ช้อนโต๊ะ วันละ 3-4 ครั้ง
  2. เป็นยาภายนอก
    เหง้าแก่แห้งไม่จำกัดจำนวน ป่นให้เป็นผงละเอียด ใช้ทาตามบริเวณที่เป็นเม็ดผื่นคัน โดยเฉพาะในเด็กนิยมใช้มาก
สารเคมี
          ราก และ เหง้า มี tumerone, zingerene bissboline, zingiberene,(+) - sabinene, alpha-phellandrene, curcumone, curcumin

กลุ่มยารักษาโรคผิวหนัง ผื่นคัน กลากเกลื้อน -ข่า

ข่า
ชื่อวิทยาศาสตร์  Alpinia  galanga   (L.) Willd.
ชื่อสามัญ  Galanga
วงศ์  Zingiberaceae
ชื่ออื่น :  ข่าหยวก  ข่าหลวง (ภาคเหนือ) , กฏุกกโรหินี (ภาคกลาง)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก สูง 1.5-2 เมตร เหง้ามีข้อและปล้องชัดเจน ใบ  เดี่ยว เรียงสลับ รูปใบหอก รูปวงรีหรือเกือบขอบขนาน กว้าง 7-9 ซม. ยาว 20-40 ซม. ดอก  ช่อ ออกที่ยอด ดอกย่อยขนาดเล็ก กลีบดอกสีขาว โคนติดกันเป็นหลอดสั้นๆ ปลายแยกเป็น 3 กลีบ กลีบใหญ่ที่สุดมีริ้วสีแดง ใบประดับรูปไข่ ผล  เป็นผลแห้งแตกได้ รูปกลม
สรรพคุณ :
  1. เป็นยาแก้ท้องขึ้น ท้องอืดเฟ้อ ขับลม
  2. แก้อาหารเป็นพิษ
  3. เป็นยาแก้ลมพิษ
  4. เป็นยารักษากลากเกลื้อน โรคผิวหนัง ติดเขื้อแบคทีเรีย เชื้อรา
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
    1. รักษาท้องขึ้น ท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลม แก้ท้องเดิน (ที่เรียกโรคป่วง) แก้บิด อาเจียน ปวดท้อง
      ใช้เหง้าข่าแก่สด ยาวประมาณ 1-1
      ½ นิ้วฟุต (หรือประมาณ 2 องคุลี) ตำให้ละเอียด เติมน้ำปูนใส ใช้น้ำยาดื่ม ครั้งละ ½ ถ้วยแก้ว วันละ 3 เวลา หลังอาหาร
    2. รักษาลมพิษ
      ใช้เหง้าข่าแก่ๆ ที่สด 1 แง่ง ตำให้ละเอียด เติมเหล้าโรงพอให้แฉะๆ ใช้ทั้งเนื้อและน้ำ ทาบริเวณที่เป็นลมพิษบ่อยๆ จนกว่าจะดีขึ้น
    3. รักษากลากเกลื้อน โรคผิวหนัง
      ใช้เหง้าข่าแก่ เท่าหัวแม่มือ ตำให้ละเอียดผสมเหล้าโรง ทาที่เป็นโรคผิวหนัง หลายๆ ครั้งจนกว่าจะหาย
      สารเคมี
                 1 - acetoxychavicol acetate น้ำมันหอมระเหย ซึ่งประกอบด้วย monoterene  2 - terpineol, terpenen  4 - ol, cineole, camphor, linalool, eugenol

กลุ่มยารักษาโรคผิวหนัง ผื่นคัน กลากเกลื้อน -กุ่มบก

กุ่มบก
ชื่อวิทยาศาสตร์ Crateva adansonii  DC. subsp. trifoliata (Roxb.) Jacobs
ชื่อสามัญ Sacred Barnar, Caper Tree
วงศ์ Capparaceae
ชื่ออื่น : ผักกุ่ม
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้นขนาดกลาง สูง 6-10 ม. ใบประกอบแบบนิ้วมือ มีใบย่อย 3 ใบ ก้านใบประกอบยาว 7-9 ซม. ใบย่อยรูปรีหรือรูปไข่ กว้าง 4-6 ซม. ยาว 7.5-11 ซม. ปลายแหลมหรือเรียวแหลม โคนแหลมหรือสอบแคบ ขอบเรียบ ใบย่อยที่อยู่ด้านข้างโคนใบเบี้ยว แผ่นใบค่อนข้างหนา เส้นแขนงใบข้างละ 4-5 เส้น ก้านใบย่อยยาว 4-5 มม. ช่อดอกแบบช่อกระจะ ออกตามง่ามใบใกล้ปลายยอด ก้านดอกยาว 3-7 ซม. กลีบเลี้ยงรูปรี กว้าง 2-3 มม. ยาว 4-5 มม. เมื่อแห้งมักเป็นสีส้ม กลีบดอกสีขาวอมเขียวแล้วค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือชมพูอ่อน รูปรี กว้าง 0.8-1.5 ซม. ยาว 1.2-1.8 ซม. โคนกลีบเป็นเส้นคล้ายก้าน ยาว 3-7 มม. เกสรเพศผู้สีม่วง มี 15-22 อัน ก้านชูอับเรณูยาวประมาณ 4 ซม. ก้านชูเกสรเพศเมียยาวประมาณ 5 ซม. รังไข่ค่อนข้างกลมหรือรี มี 1 ช่อง ผลกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 2-3.5 ซม. เปลือกมีจุดแต้มสีน้ำตาลอมแดง เมื่อแก่เปลือกเรียบ ก้านผลกว้าง 2-4 มม. ยาว 5-13 ซม. เมล็ดรูปคล้ายเกือกม้าหรือรูปไต กว้างประมาณ 2 มม. ยาวประมาณ 6 มม. ผิวเรียบ
สรรพคุณ :
  • ใบ  -  ขับลม ฆ่าแม่พยาธิ เช่น พวกตะมอย และทาแก้เกลื้อนกลาก
  • เปลือก  - ร้อน ขับลม แก้นิ่ง แก้ปวดท้อง ลงท้อง คุมธาตุ
  • กระพี้ - ทำให้ขี้หูแห้งออกมา
  • แก่น - แก้ริดสีดวง ผอม เหลือง
  • ราก - แก้มานกษัย อันเกิดแต่กองลม
  • เปลือก - ใช้ทาภายนอก แก้โรคผิวหนัง