Golden Dreams TMS&Herb

วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

กลุ่มยาถ่ายพยาธิ -เล็บมือนาง

เล็บมือนาง
ชื่อวิทยาศาสตร์   Quisqualis indica  L.
ชื่อสามัญ  Drunen sailor, Rangoon ceeper
วงศ์  COMBRETACEAE
ชื่ออื่น :  จะมั่ง จ๊ามั่ง (ภาคเหนือ) ไท้หม่อง (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) อะดอนิ่ง (มลายู-ยะลา)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้พุ่มเลื้อยที่เติบโตเร็ว ส่วนที่อ่อนมีขนสั้นหนานุ่ม สีสนิม ใบเดี่ยวติดตรงข้าม หรือบางส่วนสลับ หรือเวียนสลับเป็นวงรอบ ใบรูปหอกขอบขนานหรือรูปรี ขนาดกว้าง 5-18.5 ซม. ยาว 2.5-9 ซม. ปลายใบเรียวแหลม โคนใบกลมหรือค่อนข้างรูปหัว ดอกมีกลิ่นหอมออกเป็นช่อที่ยอดและตามซอกใบห้อยย้อยลงมา กลีบเลี้ยงเป็นหลอดมีสีเขียวปลายแฉกสามเหลี่ยมสั้นๆ กลีบดอกรูปขอบขนาน ขนาด 10-20 x 3-6 มม. ดอกเริ่มบาน สีขาวเปลี่ยนเป็นสีชมพูจนถึงแดงเข้ม ผลทรงรีแคบๆ 5 พู ยาวประมาณ 2.5 ซม. สีน้ำตาลแดงเป็นมัน
ส่วนที่ใช้ : ใบ  ต้น  ราก เมล็ดในของผลเล็บมือนางที่แก่แห้ง
สรรพคุณ :
  • ใบ 
    -
       ตำชโลม หรือทาแผล ทาฝี
    -
       แก้ปวดศีรษะ แก้ไข้
  • ต้น - ใช้เป็นยาแก้ไอ
  • ราก - ใช้ถ่ายพยาธิ รักษาตานซาง
  • เมล็ด - ใช้เป็นยาขับพยาธิตัวกลม, พยาธิเส้นด้ายในเด็ก
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
          ใช้เมล็ดในของผลเล็บมือนางที่แก่และแห้ง 4-5 เมล็ด (4-6 กรัม) หั่นทอดกับไข่ให้เด็กอายุประมาณ 5-6 ขวบรับประทานขับถ่ายพยาธิไส้เดือนตัวกลม          ผู้ใหญ่ : ใช้ 5-7 เมล็ด (หนัก 10-15 กรัม) ทุบพอแตก ต้มเอาน้ำดื่ม หรือหั่นทอดกับไข่รับประทาน
ข้อควรระวัง
ถ้าใช้มากเกินขนาด จะทำให้อาเจียน มึนงง อ่อนเพลีย
สารเคมี
มีสารสำคัญที่ออกฤทธิ์คือ  Quisquallic acid

กลุ่มยาถ่ายพยาธิ -มะหาด

มะหาด
ชื่อวิทยาศาสตร์ Artocarpus lakoocha  Roxb.
วงศ์  Moraceae
ชื่ออื่น :  กาแย  ขนุนป่า  ตาแป  ตาแปง  มะหาดใบใหญ่  หาดหนุน  หาด
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น สูง 15-25 เมตร ลำต้นตั้งตรง ผิวเปลือกนอกค่อนข้างขรุขระสีน้ำตาลดำ หรือสีเทาแกมน้ำตาล บริเวณเปลือกของลำต้นมักมีรอยแตก และยางไหลซึมออกมาติดต้น ใบ เดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่ หรือรูปยาวรี ปลายแหลม โคนเว้ามน กว้าง 5-12 เซนติเมตร ยาว 8-15 เซนติเมตร ใบอ่อนมีขน ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อยเล็กๆ ใบแก่ขอบมักเรียบ หูใบเรียวแหลม ดอก ช่อกลมเล็กๆ สีเขียวอมเหลือง ขนาดเล็ก ออกตามง่ามใบ ดอกตัวผู้และดอกตัวเมียอยู่คนละช่อ  แต่อยู่บนต้นเดียวกัน ดอกตัวเมียกลีบค่อนข้างกลมมน โคนกลีบเชื่อมติดกันเป็นหลอด ดอกตัวผู้กลีบเป็นรูปขอบขนานปลายกลีบหยัก ยาว 0.5-1 เซนติเมตร ออกดอกเดือนกุมภาพันธ์ เมษายน ผล เป็นผลรวม กลมแป้นใหญ่ เส้นผ่าศูนย์กลาง 6-8 เซนติเมตร เปลือกนอกผิวขรุขระ เนื้อผลค่อนข้างนุ่ม สีเขียว เมื่อแก่สีน้ำตาลเหลือง เมล็ด แต่ละผลมี 1 เมล็ด  รูปรี ติดผลเดือนมีนาคม - พฤษภาคม
ส่วนที่ใช้
:  แก่นต้นมะหาด อายุ 5 ปีขึ้นไป  ราก เปลือก
สรรพคุณ :
  • แก่น -  ให้ปวกหาด ใช้เป็นยาขับพยาธิตัวตืด และพยาธิไส้เดือน ละลายกับน้ำ ทาแก้ผื่นคัน
  • แก่นเนื้อไม้ -  แก้ขุกแน่น แก้ท้องขึ้นอืดเฟ้อ ขับลม ผายลม แก้ผื่นคัน แก้ตานขโมย เป็นยาระบาย ถ่ายพยาธิไส้เดือนตัวกลม ถ่ายพยาธิเส้นด้าย ถ่ายพยาธิตัวตืด ขับเลือด แก้ลม ถ่ายพยาธิตัวแบน แก้กระษัย แก้เส้นเอ็นพิการ แก้ท้องผูกไม่ถ่าย
  • แก่น -  แก้โรคกระษัยไตพิการ แก้กระษัยดาน แก้กระษัยเสียด แก้กระษัยกล่อน แก้กระษัยลมพานไส้ แก้กระษัยทำให้ท้องผูก  แก้ดวงจิตขุ่นมัว ระส่ำระสาย แก้นอนไม่หลับ แก้เบื่ออาหาร แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้ปัสสาวะกระปริบกระปรอย ถ่ายพยาธิ  พยาธิตัวตืด แก้ท้องโรพุงโต แก้จุกผามม้ามย้อย แก้ฝีในท้อง แก้ปวด แก้เคือง กระจายโลหิต
  • ราก -  แก้ไข้ แก้กระษัยเส้นเอ็น ขับพยาธิ แก้ไข้เพื่อฝีภายใน แก้พิษร้อน
  • เปลือก - แก้ไข้
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
  1. ผงปวกหาด  เตรียมได้โดยการเอา แก่นมะหาดมาต้มเคี่ยวด้วยน้ำไปนานจนเกิดฟองขึ้น แล้วช้อนฟองขึ้นมาตากแห้ง จะได้ผงสีเหลือง นำมาบดให้เป็นผงละเอียด ขนาดรับประทานครั้งละ 1-2 ช้อนชา (ประมาณ 3-5 กรัม) รับประทานกับน้ำสุกเย็น ก่อนอาหารเช้า หลังจากรับประทานยาปวกหาดแล้วประมาณ 2 ชั่วโมง ให้รับประทานดีเกลือ หรือยาถ่ายตาม เพื่อระบายท้อง จะถ่ายพยาธิตัวตืดและพยาธิไส้เดือนออกหมด
  2. สำหรับผู้ถ่ายพยาธิตัวตืดใช้ผงมะหาด 1 ช้อนโต๊ะ ละลายในน้ำมะนาว 2 ช้อนโต๊ะ รับประทานครั้งเดียว อีก 2 ชั่วโมงต่อมาให้รับประทานยาถ่ายตาม
  3. สำหรับเด็ก ใช้ยาครึ่งช้อนโต๊ะ ละลายในน้ำมะนาว 1 ช้อนโต๊ะ รับประทานครั้งเดียว อีก 2 ชั่วโมงต่อมาจึงรบประทานยาถ่ายตาม
อาการข้างเคียง
          ผู้ป่วยบางราย มีอาการแพ้ มีผื่นคันขึ้นทั้งตัว หน้าแดง ผิวหนังแดง คัน ตาแดง มีไข้ อาการจะหายไปภายใน 1-2 วัน
ข้อควรระวัง
:  ห้ามรับประทานผงปวกหาดกับน้ำร้อน จะทำให้คลื่นไส้อาเจียนได้
สารเคมี
: ที่พบในมะหาด
  • เปลือกราก
    -
     มี 5, 7 Dihydroxy flavone - 3 - 0 - - L - rhamnoside
    -  Galangin - 3 - beta - D - galactosyl - (1-4) - alfa - L - rhamnoside
    -  Lupeol
    - Quercetin - 3 - O - beta - L - rhamnopy ranoside
    -  beta - Sitosterol
  • ทั้งต้น -  มี  2345  - Tetrahydroxystibene
  • ต้น  - มี   5 - Hydroxy - 2 ,4,7 - trimethoxy flsvone
          -  2, 3, 4, 5, - Tetrahydroxystibene
  • เปลือกต้น - มี Tannin , Amyrin acetate, Lupeol acetate
นอกจากนี้ยังพบสารเคมี โดยไม่ระบุว่าพบในส่วนใดคือ 2 , 3 ,4 , 5 Tetrahydroxystibene

กลุ่มยาถ่ายพยาธิ -มะเฟือง

มะเฟือง

ชื่อวิทยาศาสตร์  Averrhoa carambola  L.
ชื่อสามัญ :   Star fruit
วงศ์ :   Averrhoaceae
ชื่ออื่น :  เฟือง (ภาคใต้)  สะบือ (เขมร)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :  ไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูง 3-10 เมตร แตกกิ่งก้านสขามาก ใบ เป็นใบประกอบขนาดคล้ายใบมะยม สีเขียวเป็นมัน เรียงเป็นคู่ตรงข้าม ดอก เป็นช่อเล็กออกตามง่ามใบ สีม่วง ขาว ชมพู ผล เดี่ยว เป็นกลีบ หน้าตัด รูปดาว 5 แฉก สีเขียวอ่อน สุกสีเหลือง ฉ่ำน้ำ เมล็ด มีขนาดเล็ก
ส่วนที่ใช้
:  ดอก ใบ ผล ราก
สรรพคุณ :
  • ดอก ขับพยาธิ
  • ใบ, ผล  -  ทำยาต้ม ทำให้หยุดอาเจียน 
  • ผล- มี oxalic ทำให้เลือดจับเป็นก้อน
    - ระบาย
    - แก้เลือดออกตามไรฟัน
    - แก้บิด ขับน้ำลาย ขับปัสสาวะ แก้นิ่ว
    - ลดอาการอักเสบ
  • ใบและราก - เป็นยาเย็น เป็นยาดับพิษร้อน แก้ไข้ ถอนพิษไข้

กลุ่มยาถ่ายพยาธิ -มะขาม

มะขาม

ชื่อวิทยาศาสตร์  Tamarindus indica  L.
ชื่อสามัญ  Tamarind
วงศ์   Leguminosae – Caesalpinioideae
ชื่ออื่น :  ขาม (ภาคใต้) ตะลูบ(ชาวบน-นครราชสีมา) ม่องโคล้ง (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี) อำเปียล (เขมร-สุรินทร์) หมากแกง (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน) ส่ามอเกล (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์: ไม้ต้นขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่แตกกิ่งก้านสาขามาก เปลือกต้นขรุขระและหนา สีน้ำตาลอ่อน ใบ เป็นใบประกอบ ใบเล็กออกตามกิ่งก้านใบเป็นคู่ ใบย่อยเป็นรูปขอบขนาน ปลายใบและโคนใบมน ดอก ออกเป็นช่อเล็กๆ ตามปลายกิ่ง หนึ่งช่อมี 10-15 ดอก ดอกย่อยขนาดเล็ก กลีบดอกสีเหลืองและมีจุดประสีแดงอยู่กลางดอก ผล เป็นฝักยาว รูปร่างยาวหรือโค้ง ยาว 3-20 ซม. ฝักอ่อนมีเปลือกสีเขียวอมเทา สีน้ำตาลเกรียม เนื้อในติดกับเปลือก เมื่อแก่ฝักเปลี่ยนเป็นเปลือกแข็งกรอบหักง่าย สีน้ำตาล เนื้อในกลายเป็นสีน้ำตาลหุ้มเมล็ด เนื้อมีรสเปรี้ยว และหวาน
ส่วนที่ใช้ :
  • เมล็ดในที่กะเทาะเปลือกออกแล้ว (ต้องคั่วก่อน จึงกะเทาะเปลือกออก)
  • เนื้อหุ้มเมล็ด
สรรพคุณ :
  • เมล็ด  -   สำหรับการถ่ายพยาธิตัวกลม พยาธิเส้นด้าย
  • ใบขับเสมหะ
  • แก่น  -  ขับโลหิต 
  • เนื้อ -  เป็นยาระบาย ขับเสมหะ แก้ไอ
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
  • ถ่ายพยาธิ
    ใช้เมล็ดในที่มีสีขาว 20-25 เมล็ดต้มกับน้ำใส่เกลือเล็กน้อย รับประทานเนื้อทั้งหมด 1 ครั้ง หรือคั่วให้เนื้อในเหลือง กะเทาะเปลือก แช่น้ำให้นิ่ม เคี้ยวรับประทานเช่นถั่ว
  • แก้ท้องผูกใช้เนื้อหุ้มเมล็ดคลุกเกลือรับประทาน ระบายท้อง
  • แก้ไอ, ขับเสมหะใช้เนื้อในฝักแก่หรือมะขามเปียก จิ้มเกลือรับประทาน
สารเคมี :
          -นื้อในหุ้มเปลือก มี tartaric acid 8-18%  invert sugar 30-40%
          - เมล็ด  มี albuminold  14-20% carbohydrate 59-65%  semi-drying fixed oil 3.9-20%  mucilaginous materal 60%

กลุ่มยาถ่ายพยาธิ -มะเกลือ

มะเกลือ

ชื่อวิทยาศาสตร์   Diospyros mollis Griff.
ชื่อสามัญ  Ebony tree
วงศ์  Ebenaceae
ชื่ออื่น :  ผีเผา (ฉาน-ภาคเหนือ) มักเกลือ (เขมร-ตราด)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 10-30 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มกลม ลำต้นเปลา โคนต้นมักเป็นพูพอน ผิวเปลือกเป็นรอยแตกสะเก็ดเล็กๆ สีดำ เปลือกในสีเหลือง กระพี้สีขาว กิ่งอ่อนมีขนนุ่มขึ้นประปราย ใบ เป็นใบเดี่ยวขนาดเล็กรูปไข่หรือรีเรียงตัวแบบสลับ ปลายใบสอบเข้าหากัน โคนใบกลม หรือมน ผิวใบเกลี้ยง ใบกว้าง 3.5-4.0 ซม. ยาว 9-10 ซม. ใบที่ยังอ่อนจะมีขนปกคลุมทั้งสองด้าน ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบ ดอกแยกเพศต่างต้น ดอกตัวผู้มีขนาดเล็ก สีเหลืองอ่อน หนึ่งช่อมี 3 ดอก ดอกตัวเมียเป็นดอกเดี่ยว ลักษณะดอกเหมือนกัน คือ กลีบรองดอกยาว 0.1-0.2 ซม. โครกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย ปลายกลีบดอกแยกเป็น 4 กลีบ สีเหลืองเรียนเวียนซ้อนทับกัน ตรงกลางดอกมีเกสร ผล กลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 ซม. ผิวเกลี้ยง ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีดำ ผลแก่จัดจะแห้ง มีกลีบเลี้ยงติดบนผล 4 กลีบ ผลแก่ราวเดือนมิถุนายน-สิงหาคม เมล็ด แบน สีเหลือง 4-5 เมล็ด ขนาดกว้าง 0.5-0.7 ซม. ยาว 1-2 ซม. ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
ส่วนที่ใช้ :  ราก, ผลมะเกลือสด โตเต็มที่และสีเขียวจัด (ห้ามใช้ผลสุกสีเหลืองหรือผลสีดำ)
สรรพคุณ :
  • ราก  -  ฝนกับน้ำซาวข้าว รับประทานแก้อาเจียน แก้ลม  
  • ผลมะเกลือสดและเขียวจัด - เป็นสมุนไพรยอดเยี่ยมที่สุดในการถ่ายพยาธิ กำจัดตัวตืด หรือไส้เดือนตัวกลม พยาธิปากขอ พยาธิเข็มหมุด
วิธีและปริมาณที่ใช้
          ผลสดโตเต็มที่และเขียวจัด จำนวนผลเท่าอายุแต่ไม่เกิน 25 ผล (คนไข้อายุ 40 ปี ใช้เพียง 25 ผล) ตำใส่กะทิ คั้นเอาแต่น้ำกะทิ ช่วยกลบรสเฝื่อน ควรรับประทานขณะท้องว่าง ถ้า 3 ชั่วโมงแล้วยังไม่ถ่ายใช้ยาระบาย เช่น ดีเกลือ 2 ช้อนโต๊ะ ละลายน้ำดื่มตามลงไป
สารเคมี - สารกลุ่มพีนอล ชื่อ
diospyrol ซึ่งถูก oxidize ง่าย
ข้อควรระวัง
  1. ห้ามใช้ในเด็กอายุต่ำว่า 10 ขวบ หญิงตั้งครรภ์ หรือหลังคลอดใหม่ๆ และผู้ป่วยในโรคอื่นๆ
  2. ระวังอย่าให้เกินขนาดถ้าเกิดอาการท้องเดินหลายๆ ครั้ง และมีอาการตามัวให้รีบพาไปพบแพทย์ด่วน

กลุ่มยาถ่ายพยาธิ -ทับทิม

ทับทิม
ชื่อวิทยาศาสตร์  Punica granatum  L.
ชื่อสามัญ  Pomegranate , Punica apple
วงศ์  Punicaceae
ชื่ออื่น :  พิลา (หนองคาย) พิลาขาว มะก่องแก้ว (น่าน) มะเก๊าะ (เหนือ) หมากจัง (แม่ฮ่องสอน)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ยืนต้น หรือพรรณไม้พุ่ม ขนาดเล็ก ลักษณะผิวเปลือกลำต้นเป็นสีเทา ส่วนที่เป็นกิ่งหรือยอดอ่อนจะเป็นเหลี่ยม หรือ มีหนามแหลมยาวขึ้น ใบ ใบมีลักษณะเป็นรูปยาวรี โคนใบมน แคบ ส่วนปลายใบเรียวแหลมสั้น ผิวหลังใบ เกลี้ยงเป็นมัน ใต้ท้องใบจะเห็นเส้นใบได้ชัด ขนาดของใบกว้างประมาณ 1 - 1.8 ซม. ยาว ประมาณ 2.5 - 6 ซม. ดอก ดอกออกเป็นช่อ หรืออาจจะเป็น ดอกเดียว ในบริเวณปลายยอด หรือง่ามกิ่ง ลักษณะของดอกมีเป็น สีส้ม สีขาว หรือสีแดง ดอกหนึ่งมีกลีบดอกประมาณ 6 กลีบ ปลายกลีบ ดอกจะแยกออกจากกัน ตรงกลางดอกมีเกสร ตัวเมีย และตัวผู้ซึ่งมีอับเรณูเป็นสีเหลือง ขนาดของดอกบานเต็มที่มีเส้นผ้าศูนย์กลางประมาณ 2 - 3 ซม. ผลมีลักษณะเป็นรูปค่อนข้าง กลม ผิวเปลือกนอกหนาเกลี้ยง ผลเมื่อแก่หรือ สุกเต็มที่มีสีเหลืองปนแดง และลักษณะของผล จะแตก หรืออ้างออก ข้างในผลก็จะมีเมล็ดเป็น จำนวนมาก เป็นรูปเหลี่ยม มีสีชมพูสด ดอก ดอกออกเป็นช่อ หรืออาจจะเป็น ดอกเดียว ในบริเวณปลายยอด หรือง่ามกิ่ง ลักษณะของดอกมีเป็น สีส้ม สีขาว หรือสีแดง ดอกหนึ่งมีกลีบดอกประมาณ 6 กลีบ ปลายกลีบ ดอกจะแยกออกจากกัน ตรงกลางดอกมีเกสร ตัวเมีย และตัวผู้ซึ่งมีอับเรณูเป็นสีเหลือง ขนาดของดอกบานเต็มที่มีเส้นผ้าศูนย์กลางประมาณ 2 - 3 ซม. ผลมีลักษณะเป็นรูปค่อนข้าง กลม ผิวเปลือกนอกหนาเกลี้ยง ผลเมื่อแก่หรือ สุกเต็มที่มีสีเหลืองปนแดง และลักษณะของผล จะแตก หรืออ้างออก ข้างในผลก็จะมีเมล็ดเป็น จำนวนมาก เป็นรูปเหลี่ยม มีสีชมพูสด
ส่วนที่ใช้ :  ใบ ดอก เปลือกผลแห้ง เปลือกต้นและเปลือกราก เมล็ด
สรรพคุณ :
  • ใบ  -   อมกลั้วคอ ทำยาล้างตา
  • ดอก -  ใช้ห้ามเลือด
  • เปลือกและผลแห้ง 
    - เป็นยาแก้ท้องร่วง ท้องเดิน แก้บิด
    - แก้โรคลักกะปิดลักกะเปิด
  • เปลือกต้นและเปลือกราก
    ใช้เป็นยาขับพยาธิตัวตืด , พยาธิตัวกลม
  • เมล็ด  -  แก้โรคลักกะปิดลักกะเปิด
วิธีและปริมาณที่ใช้
  1. ถ่ายพยาธิตัวตืดและพยาธิตัวกลม ได้ผลดีใช้เปลือกสดของราก , ต้น ที่เก็บใหม่ๆ 60 กรัม หรือประมาณ 1/2 กำมือ เติมกานพลูหรือกระวานลงไปเล็กน้อย เพื่อแต่งรส ต้มกับน้ำ 3 ถ้วยแก้ว เคี่ยวให้เหลือ 1 1/2 ถ้วยแก้ว รับประทานครั้งละ 2 ช้อนโต๊ะ (30 ซี.ซี.) หลังจากนั้นประมาณ 2 ชั่วโมง รับประทานยาถ่าย เช่น ดีเกลือ 2 ช้อนโต๊ะตาม  ควรอดอาหารก่อนรับประทานยา
  2. ยาแก้ท้องร่วง ท้องเดิน (ไม่ใช่บิด หรือ อหิวาตกโรค)
    ใช้เปลือกผล ตากแดดให้แห้ง ประมาณ 1/4 ของผล ฝนกับน้ำฝนหรือน้ำปูนใสให้ข้นๆ รับประทานครั้งละ 1-2 ช้อนแกง หรือต้มกับน้ำปูนใส แล้วดื่มน้ำที่ต้มก็ได้
  3. บิด (มีอาการปวดเบ่ง และมีมูก หรืออาจมีเลือดด้วย)
    ใช้เปลือกผลแห้งของทับทิม ครั้งละ 1 กำมือ (3-5 กรัม) ต้มกับน้ำ ดื่มวันละ 2 ครั้ง อาจใช้กานพลูหรืออบเชยแต่งกลิ่นให้น่าดื่มก็ได้
สารเคมี
          เปลือกผลมีรสฝาด เนื่องจากมี tannin 22-25%  gallotannic acid สารสีเขียวอมเหลือง รากมีสารอัลคาลอยด์ ชื่อ pelletierine และอนุพันธ์ของ pelletierine
คุณค่าด้านอาหาร
          ทับทิมใช้รับประทานเป็นผลไม้รสหวาน หรือเปรี้ยวหวาน มีวิตามินซี และแร่ธาตุหลายตัว ช่วยป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน และบำรุงฟันให้แข็งแรง

กลุ่มยาถ่ายพยาธิ -แก้ว

แก้ว
ชื่อวิทยาศาสตร์   Murraya paniculata  (L.) Jack.
ชื่อสามัญ  Andaman satin wood, Chinese box tree, Orange jasmine
วงศ์   RUTACEAE
ชื่ออื่น :  กะมูนิง (มลายู-ปัตตานี) แก้วขาว (ภาคกลาง) แก้วขี้ไก่ (ยะลา) แก้วพริก ตะไหลแก้ว (ภาคเหนือ) แก้วลาย (สระบุรี) จ๊าพริก (ลำปาง)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้ต้นขนาดเล็ก สูงได้ถึง 10 เมตร ไม่ผลัดใบ ใบ เป็นใบประกอบ ผิวใบมันเข้ม และเป็นมันทั้งสองด้าน ดอก ช่อ ออกเป็นกระจุก สีขาว ร่วงง่าย มีกลิ่นหอมมาก ผล สดกลมรี หรือรูปไข่ ปลายสอบเล็กน้อย ที่เปลือกมีต่อมน้ำมันเห็นได้ชัด กว้าง 5-8 มม. ยาว 0.8-1 ซม. ผลอ่อนสีเขียว ผลสุกสีส้มแดง เมล็ดรูปไข่ปลายสอบ มีขนสั้นๆ อยู่รอบเมล็ด กว้าง 4-6 มม. ยาว 6-9 มม. สีขาวขุ่น มีจำนวน 1-2 เมล็ดต่อผล
ส่วนที่ใช้
:  
  • ก้านและใบ - เก็บได้ตลอดปี ใช้สดหรือตากแห้งเก็บไว้ใช้
  • ราก - เก็บในฤดูหนาว เอาดินออกล้างให้สะอาด หั่นเป็นแผ่น ตากแห้งเก็บไว้ใช้
  • ใบ ดอก และผลสุก
สรรพคุณ :
  • ก้านและใบ  - รสเผ็ด สุขุม ขม ใช้เป็นยาชาระงับปวด แก้ผื่นคันที่เกิดจากชื้น แก้แผลเจ็บปวดเกิดจากการกระทบกระแทก ต้มอมบ้วนปาก แก้ปวดฟัน  
  • ราก -  รสเผ็ด ขม สุขุม ใช้แก้ปวดเอว แก้ผื่นคันที่เกิดจากชื้น และที่เกิดจากแมลงกัดต่อย
  • ใบ -  ขับพยาธิตัวตืด แก้บิด แก้ท้องเสีย 
  • ราก, ใบ - เป็นยาขับประจำเดือน 
  • ดอก, ใบ -  ช่วยย่อย แก้ไขข้ออักเสบ แก้ไอ เวียนศีรษะ
  • ผลสุก รับประทานเป็นอาหารได้
วิธีใช้และปริมาณที่ใช้
  1. ใช้ภายใน รับประทานขับพยาธิตัวตืด แก้บิด แก้ท้องเสีย- ใช้ก้านและใบสด 10-15 กรัม ต้มกับน้ำ 2 ถ้วยแก้ว เคี่ยวให้เหลือ 1 ถ้วยแก้ว รับประทานวันละ 2 ครั้ง หลังอาหารเช้า-เย็น
    -
      หรือใช้ดองเหล้า ดื่มแต่เหล้า ครั้งละ 1 ถ้วยตะไล ใช้เป็นยาขับประจำเดือน
    -
      ใช้รากแห้ง 10-15 กรัม (สด 30-60 กรัม) ต้มกับน้ำ 2 ถ้วยแก้ว เคี่ยวให้เหลือ 1 ถ้วยแก้ว รับประทานวันละ 2 ครั้ง หลังอาหารเช้า-เย็น
  2. ใช้ภายนอก
    -
      ใช้ก้านและใบสด ตำพอก หรือคั้นเอาน้ำทาบริเวณที่เป็น
    -
      ใช้ใบแห้งบดเป็นผงใส่บาดแผล
    -
      รากแห้งหรือสด ตำพอก หรือต้มเอาน้ำชะล้างบริเวณที่เป็น
    -
      ใบและก้านสด สกัดด้วยแอลกอฮอล์ 50 % ใช้เป็นยาชาเฉพาะที่
สารเคมี
          ใบ  เมื่อกลั่นด้วยไอน้ำให้น้ำมันหอมระเหยสีเข้ม 0.01%  กลิ่นน้ำมันหอมระเหยจากใบประกอบด้วย :
          1 - Cadinene (sesquiterpene) 32.5%   bisaboline 18%  betacaryophyllene 14%  carene 3.5%
          5 - quaiazulene 1.2%  methyl anthrailate 1.5%  euhenol 5%  citronellol 4.5%  geranoil 9.1%   methylsalicylate 3.5%