Golden Dreams TMS&Herb

วันศุกร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

การดูแลฟัน

การดูแลสุขอนามัยในช่องปาก

         หลักของการดูแลสุขอนามัยในช่องปากประกอบไปด้วยการแปรงฟัน การใช้ไหมขัดฟัน และ การพบทัน๖ืแพทย์เพื่อดูแลฟันอย่างน้อยปีละสองครั้ง
การดูแลสุขภาพในช่องปาก
         การดูแลเหงือกและฟันควรจะเริ่มต้นตั้งแต่ยังเป็นทารกซึ่งจะทำให้ได้ฟันที่แข็งแรงไปตลอดชีวิต การรักษาสุขภาพฟันและเหงือกต้องประกอบไปด้วยการเลือกอาหาร เครื่องดื่ม การเลือกแปรงสีฟัน การแปรงฟันวันละ 2 ครั้ง การใช้ไหมขัดฟันและการพบทันตแพทย์เป็นประจำ
ประโยชน์ของการดูแลสุขภาพปาก
มีวิธีการอะไรบ้างที่จะป้องกันโรคเหงือกและฟัน

กลิ่นปาก

กลิ่นปาก


         กลิ่นปากหรือปากเหม็นเป็นกลิ่นไม่สะอาดที่หายใจออกมา นอกจากจะทำให้เสียความมั่นใจ กลิ่นปากยังเป็นสัญญาณเตือนว่าอาจจะมีโรคประจำตัว
สาเหตุกลิ่นปากก็พบตั้งแต่เรื่องอาหาร โรคของเหงือก ฟัน โรคในช่องปาก และโรคระบบทางเดินหายใจ


กลิ่นปากกลิ่นปาก

         กลิ่นปากหรือปากเหม็น หรือลมหายใจไม่สะอาด หากเกิดขึ้นกับใครก็ทำให้ขาดความมั่นใจ จะปรึกษาใครก็รู้สึกเป็นสิ่งน่าอาย บทความนี้อาจจะช่วยให้ท่านลดกลิ่นปาก ตำแหน่งที่เกิดกลิ่นปากมากที่สุดคือลิ้นเนื่องจากผิวลิ้นหยาบ ดังนั้นหากเกิดกลิ่นปากลองทำความสะอาดลิ้นก่อนเป็นอันดับแรก

กลไกการเกิดกลิ่นปาก

  • เกิดจากเชื้อแบคทีเรียในปากตายทำให้เกิดสาร sulfur ออกมาจึงเกิดกลิ่น
  • แบคทีเรียสลายอาหารที่อยู่ในปาก
  • น้ำลายลดลงทำให้เชื้อแบคทีเรีย หรืออาหารไม่ถูกชะล้าง
สาเหตุ
  • สาเหตุจากในปาก
  • กลิ่นปากตอนตื่นเช้า เป็นเรื่องปกติเพราะปากจะแห้งทำให้มีการหมัหมม สายหน่อยเมื่อมีน้ำลายกลิ่นปากจะลดลง
  • ปากแห้ง เป็นภาวะที่มีน้ำลายน้อยทำให้เกิดการหมักหมม เช่นตื่นนอนตอนเช้า โรคเบาหวาน หรือเกิดจากยา อ่านที่นี่
  • อาหาร เครื่องดื่มและยา สารเคมีในอาหารและยาจะถูกขับออกมา เช่นกลิ่นสุรา กระเทียมเป็นต้น ภาวะนี้จะเป็นชั่วคราว
  • การสูบบุหรี่
  • การอดอาหาร จะทำให้มีกลิ่น keytone
  • สาเหตุุจากโรค เช
ฝ้าขาวสาเหตุจากในปาก

         กลิ่นปากส่วนใหญ่เกิดจากในปาก เชื้อแบคที่เรียย่อยโปรตีนและอาหารทำให้เกิดกลิ่นปาก ปัจจัยที่ส่งเสริมทำให้เกิดกลิ่นปากได้แก่
  • เศษอาหารที่ติดตามซอกฟัน ซึ่งการแปรงฟันไม่สามารถขจัดเศษอาหารเหล่านี้ได้
  • คราบหินปูน และโรคเหงือก ซึ่งจะมีเชื้อแบคทีเรียย่อยอาหารทำให้เกิดกลิ่น
  • ลิ้นสกปรก เป็นฝ้าซึ่งเกิดจากเศษอาหาร หรือเสมหะ ฝ้าเหล่านี้จะมีเชื้อโรคมากมาย การทำความสะอาดลิ้นจะช่วยลดกลิ่นปากลงได้

การดูแลเรื่องกลิ่นปาก

เรื่องอนามัยในช่องปาก
  • การแปรงฟันอย่างน้อยสองครั้งต่อสัปดาห์ แปรงให้ถูกวิธีและไม่แปรงแรงเกินไป อ่านที่นี่
  • การใช้ไหมขัดฟันอย่างน้อยวันละครั้ง อ่านที่นี่ หากจะให้ดีควรจะทำวันละสองครั้ง
  • กหารปรึกษาทันตแพทย์ปีละสองครั้ง
  • ให้รับประทานอาหารครบ 3 มื้อทุกวัน
  • ให้ดื่มน้ำมะนาวซึ่งจะเพิ่มปริมาณน้ำลาย
  • ให้ดื่มน้ำวันละ 8 แก้ว
เรื่องอาหารและเครื่องดื่ม
         อาหารน้ำตาลและที่เป็นกรดจะทำให้เกิดกลิ่นปาก และเกิดฟันผุ ควรจะหลีกเลี่ยงอาหารดังกล่าว
  • ลดปริมาณหรือความถี่อาหารที่มีรสหวาน และไม่ควรจะรับประทานอาหารหวานเป็นของว่าง
  • หลี่กเลี่ยงเครื่องดื่มที่เป็นกรด เช่นน้ำอัดลม น้ำผลไม้ ให้ดื่มไม่ต้องอมเพื่อลดเวลาที่ฟันสัมผัสกรด
  • ให้ดื่มน้ำ ชา หรือนม แทนเครื่องดื่มที่เป็นกรด
  • แปรงฟันหลังจากดื่มเครื่องดื่มที่เป็นกรดไม่เกินหนึ่งชั่วโมง
วิธีอื่นๆที่จะลดกลิ่นปาก
  • หยุดสูบบุหรี่เพราะการสูบบุหรี่จะเป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดโรคเหงือก
  • การใช้น้ำยาบ้วนปากสำหรับผู้ที่ปฏิบัติตัวเป็นอย่างดีแล้วยังมีกลิ่นปาก
  • การทำความสะอาดลิ้น
  • การเคี้ยวหมากฝรั่งชนิดที่ไม่มีน้ำตาล
  • การไม่ดื่มน้ำหรือไม่รับประทานอาหาร ทำให้แบคทีเรียไม่ถูกชะล้างจึงเกิดกลิ่นปาก
  • โรคฟัน เช่นฟันผุ สุขลักษณะช่องปากไม่ดี มีการขังของเศษอาหารในช่องปาก
  • กลิ่นจากอาหารที่รับประทานเข้าไป เช่นกาแฟ สุรา หอมใหญ่ กระเทียม พริก บุหรี่
  • หายใจทางปากเนื่องจากเป็นหวัด
  • โรคระบบทางเดินหายใจ เช่นผีในปอด ไซนัสอักเสบ คออักเสบ เป็นต้น
  • โรคบางชนิดเช่น โรคไต โรคตับ
         ถ้าอาการไม่ดีภายหลังจากได้ปฏิบัติแล้ว 10 วันให้ปรึกษาทันต์แพทย์ หรือแพทย์ของท่าน

จะรู้ได้อย่างไรว่ามีกลิ่นปาก การทดสอบกลิ่นปาก
         ล้างข้อมือด้วยสบู่ให้สะอาดแล้วล้างน้ำจนสะอาด ใช้ผ้าสะอาดเช็ดให้แห้ง เลีย 4 ครั้งหลังจากนั้น 30 นาทีให้ดมว่ามีกลิ่นหรือไม่

กลิ่นปากในเด็ก
         ท่านผู้ปกครองหากเด็กมีกลิ่นปากไม่หาย ท่านไม่ต้องกังวลว่าจะเด็กจะมีโรคเหมือนผู้ใหญ่ เช่น โรคที่ศีรษะ คอ และกระเพาะอาหารเพราะว่าสาเหตุส่วนใหญ่ของกลิ่นปากเกิดจากในปาก สาเหตุที่พบบ่อยได้แก่
  • สุขอนามัยไม่ดี มีเศษอาหารและเชื้อแบคทีเรียเหลือตามซอกฟัน เด็กมักจะมีกลิ่นมากมากในตอนเช้า หากเป็นมากจะมีตอนสาย
  • ฟันผุ บางรายเด็กไม่มีอาการปวดฟันแต่มีฟันผุ
  • ไซนัสอักเสบทั้งเฉียบพลันและเรื้อรังสามารถทำให้เกิดกลิ่นปากได้ นอกจากกลิ่นปากเด็กโดยมากจะเกิดอาการ น้ำมูกไหล ไอกลางคืน
  • คออักเสบ เด็กจะมีไข้เจ็บคอ และมีกลิ่นปาก
  • ภูมิแพ้ทำให้มีเสมหะไหลไปที่คอทำให้เกิดกลิ่นปาก
คำแนะนำ
  • อย่าทำให้เด็กขาดความมั่นใจ ควรใช้โอกาสนี้สอนเด็กแปรงฟัน และล้างปาก
  • เลือกแปรงที่มีขนาดเหมาะกับปากและมีขนอ่อนนุ่มพอควรพร้อมยาสีฟัน ยาสีฟันควรมีสาร fluoride
  • ควรแปรงฟันพร้อมเด็ก ให้เด็กแปรงฟันวันละ 2 ครั้ง
  • สอนเด็กใช้ Dental flossing
  • หากเห็นเศษอาหารติดที่คอก็ให้เด็กกรวกคอบ้วนปาก
  • ให้ตรวจฟันทุกปี
เรื่องที่เกี่ยวข้อง

การคาดเข็มขัดนิรภัย

เข็มขัดนิรภัย
         เมื่อเกิดอุบัติเหตุจราจรทางบกจะทำให้เกิดการสูญเสียชีวิต ร่างกาย อันตรายที่เกิดกับคนมีตั้งแต่ไม่มากเช่นแผลถลอกจนกระทั้งอวัยวะภายในได้รับบาดเจ็บ อาจจะพิการ การป้องกันที่ดีที่สุดคือการป้องกันมิให้เกิดอุบัติเหตุ แต่ก็ไม่สามารถป้องกันได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ การใช้เข็มขัดนิรภัยจะช่วยลดความรุนแรงของการบาดเจ็บ

การเปลี่ยนแปลงเมื่อเกิดอุบัติเหตุ
  1. แรงกระแทกที่เกิดจากรถที่วิ่งเร็ว 60 กิโลเมตรจะเท่ากับรถที่ตกที่สูง 14 เมตรหรือความสูงประมาณตึก 5 ชั้น ตัวรถจะยุบหรือบิดงอ
  2. คนที่อยู่ในรถถ้าไม่คาดเข็มขัดนิรภัยจะเดินทางด้วยความเร็วเท่ากับรถเมื่อชนและหยุด ศีรษะ หน้า ลำตัวของคนในรถจะถูกเหวี่ยงไปกระแทกกับพวงมาลัย และกระจกหน้ารถอาจทำให้หมดสติหรือเสียชีวิต
  3. อวัยวะในร่างกาย เช่นตับ ไต ลำไส้ สมองหรือไขสันหลังซึ่งมีการเคลื่อนไหวอยู่ภายในจะเคลื่อนไหวเท่ากับความเร็วของรถ เมื่อคนในรถหยุด อวัยวะภายในจะกระแทกกันเอง ทำให้ตับ ไต ลำไส้หรือสมองฉีกขาดได้
ใครบ้างที่ควรคาดเข็มขัดนิรภัย
  1. คนที่ขับรถทุกคน
  2. ผู้โดยสารทุกคนไม่ว่าจะนั่งหน้าหรือหลัง
  3. ผู้โดยสารรถขนาดใหญ่ที่มีเข็มขัดนิรภัยควรต้องคาดเช่นกัน
ประเภทของเข็มขัดนิรภัย
  • เข็มขัดนิรภัยที่รัดตรงบริเวณโคนขา รอบสะโพก (lap belt หรือแบบสองจุด) พบได้ในเครื่องบิน สำหรับรถยนต์จะใช้กับที่นั่งตอนหลัง เข็มขัดชนิดนี้ใช้คาดบริเวณต้นขา รอบสะโพก ไม่ควรรัดบริเวณหน้าท้อง
  • เข็มขัดที่คาดผ่านบริเวณสะโพกและไหล่ ( lap shoulder belt หรือแบบ 3 จุด)คาดบริเวณสะโพก บริเวณต้นขา และผ่านเฉียงทางหน้าอกและกระดูกไหปลาร้า
การคาดเข็มขัดนิรภัย