Golden Dreams TMS&Herb

วันอาทิตย์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2557

สารตะกั่วกับสุขภาพ

ป้องกันตัวท่านจากสารตะกั่ว

         สารตะกั่วเป็นโลหะหนักสีน้ำเงิน มันมีคุณสมบัติที่อ่อนตัวสามารถดัดเป็นรูปร่างต่างๆได้ทำให้มันถูกใช้ประโยชน์มากมาย เนื่องจากอันตรายของตะกั่ว จึงมีการลดการใช้สารชนิดนี้ลงที่เห็นได้ชัดคือสีทาบ้านและน้ำมัน แต่อย่างไรก็ตามยังพบว่ายังมีวัสดุที่มีสารตะกั่วเป็นส่วนประกอบอีกมากมาย เช่นเครื่องปั่นดินเผา แบตเตอร์รี่ หมึก สี ตัวเชื่อม ท่อน้ำ สารตะกั่วนี้สามารถอยู่ในอากาศ น้ำ ดิน
         แม้ว่ารัฐบาลได้มีความพยายามที่จะลดสารตะกั่วออกจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวเรา เช่นการใช้น้ำมันที่ปราศจากสารตะกั่ว การใช้ท่อประปาที่ทำจาก pvc แต่ก็ยังพบสารตะกั่วได้ในสิ่งแวดล้อม นอกจากนั้นจากการตรวจเลือดเด็กในเมืองก็ยังพบสารตะกั่วในเลือดมากกว่าเด็กในชนบท จากเหตุผลดังกล่าวข้องต้นท่านผู้อ่านโดยเฉพาะผู้ปกครองควรจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับสารตะกั่ว เพื่อป้องกันบุตรหลานของท่านมิให้รับสารตะกั่วจากสิ่งแวดล้อม

การดูดซึมของสารตะกั่ว
         สารตะกั่วสามรถเข้าสู่ร่างกายได้หลายวิธีทั้งทางเดินอาหารและทางเดินหายใจ ร่างกายจะสามารถดูดซึมสารตะกั่วจากทางเดินอาหารได้ร้อยละ 11 ในผู้ใหญ่แต่สำหรับเด็กจะดูดซึมได้ร้อยละ 30-75 จะเห็นได้ว่าหากมีสารตะกั่วในอาหารทางเดินอาหารของเด็กจะดูดซึมได้ดีมาก เด็กที่ขาดอาหาร ขาดธาตุเหล็ก ขาดธาตุแคลเซียม หรืออาหารมันๆจะเพิ่มการดูดซึมสารตะกั่ว ส่วนทางเดินหายใจร่างกายจะสามารถดูดซึมได้ร้อยละ 50 ทางผิวหนังจะดูดซึมสารตะกั่วได้น้อย

ผลเสียของสารตะกั่วต่อสุขภาพ
         สารตะกั่วเป็นพิษจะพบได้บ่อยที่สุดในบรรดาโรคที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมมักจะเกิดในเด็กอายุตั้งแต่ 6 เดือน-6 ปีโดยมากมักเกิดในเด็กที่พ่อแม่มีฐานะไม่ดีโดยได้สารนี้จากเศษสีที่หล่น หรือจากอากาศ น้ำ หรืออาหาร อาการเป็นพิษจะเกิดเมื่อมีการสะสมของตะกั่วในร่างกายสูงพอ
  • สารตะกั่วจะมีผลเสียต่อสมองและการติดต่อของเซลล์ประสาท โดยสารตะกั่วจะไปจับกับเซลล์แทนที่แคลเซียม พบว่าหากมีสารตะกั่วในเลือดเพิ่มขึ้นทุก 10 mcg/dLจะทำให้ IQ ลดลง 1-3 จุด
  • ผลต่อเม็ดเลือดแดงจะทำให้เม็ดเลือดแดงแตกง่ายเป็นโรคโลหิตจาง และมีผลต่อการทำงานของไต
  • ผลต่อการตั้งครรภ์และทารก สารตะกั่วสามารถก่อปัญหาให้แก่ทารกในครรภ์หากมีสารตะกั่วเป็นปริมาณมากอาจจะทำให้เกิดแท้ง คลอดก่อนกำหนด เด็กที่เกิดมาจะมีน้ำหนักตัวน้อยกว่าปกติ การทำงานของสมองจะพัฒนาช้า ปัญญาอ่อน ชัก
  • สำหรับผู้ใหญ่อาจจะทำให้เกิดความดันโลหิตสูงและทำลายระบบอวัยวะสืบพันธ์ ทักษะในการทำงานลดลง ไม่กระตือรือร้น พฤติกรรมแปลกๆ อาเจียน และชักได้ ผู้ป่วยบางรายอาจจะมีอาการเบื่ออาหาร ปวดท้องท้องผูก และอาเจียนเป็นพักๆ
อาการของสารตะกั่วเป็นพิษ
         อาการของสารตะกั่วเป็นไม่มีลักษณะเฉพาะอาการจะเป็นมากหรือน้อยขึ้นกับ อายุ ปริมาณของสารตะกั่วที่ได้รับ และระยะเวลาที่ได้รับสารตะกั่ว เด็กบางคนไม่มีอาการ บางคนก็มาด้วยมีปัญหาเกี่ยวกับการเรียนรู้ ปวดท้อง ปวดศีรษะ สำหรับเด็กที่ได้รับสารตะกั่วเป็นเวลานานและมีสารตะกั่วในเลือดสูงจะมีชัก โคม่าและเสียชีวิต
ใครที่เสี่ยงต่อพิษของสารตะกั่ว
  • เด็กตั้งแต่อายุ 6 เดือน- 6 ปี จะเสี่ยงต่อการเกิดพิษต่อสารตะกั่วเนื่องจากเด็กต้องการแร่ธาตุมากว่าผู้ใหญ่ และเด็กมักจะหยิบของจากพื้นรับประทาน นอกจากนั้นสารตะกั่วยังสามารถผ่านจะรกแม่สู่ทารกตัวน้อยในครรภ์ เด็กที่อาศัยในกลางเมืองที่มีจราจรแออัดจะเสี่ยงต่อการเกิดพิษมากกว่าเด็กชนบท
  • ผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับสรตะกั่วเช่น โรงงานแบตเตอร์รี่ ช่างซ่อมรถ ช่างบัดกรี ช่างสี กรรมกร คนเหล่านี้จะเสี่ยงการเป็นพิษต่อสารตะกั่ว
สารตะกั่วมาจากไหนบ้าง
  1. แหล่งใหญ่ของสารตะกั่วในสิ่งแวดล้อมคือจากสีโดยเฉพาะอาคารที่ทาสีที่มีสารตะกั่วผสมอยู่ เนื่องจากอาคารเก่ามักจะมีสะเก็ดสีหลุดออกมาเด็กเอามือหรือเอาของที่ปนสีเข้าปาก นอกจากนั้นการลอกสีที่ไม่ถูกวิธีก็จะทำให้มีสารตะกั่วในสิ่งแวดล้อมเพิ่ม เช่นการพ่นทราย การแคะสี การใช้ความร้อนลอกซึ่งทำให้ตะกั่วกลายเป็นฝุ่นลอยไปในอากาศ
  2. ฝุ่นผงตะกั่วเกาะติดกับเสื้อผ้าของผู้ที่ทำอาชีพสัมผัสกับสารตะกั่ว เช่น ช่างสี ช่างถลุงแร่ ช่างเครื่องยนต์ ช่างเชื่อม กรมมกรก่อสร้างท่อ สะพาน
การป้องกันสารตะกั่ว
พบว่าเด็กอเมริกาทุก 1 คนใน 11 คนจะมีระดับสารตะกั่วในเลือดสูง ท่านผู้อ่านจะต้องเรียนรู้วิธีป้องกันสารตะกั่วเนื่องจากสารตะกั่วสามารถมาสู่ตัวท่านโดยที่ไม่รู้ตัวเพราะสารตะกั่วมาโดยไม่มีรูรส กลิ่นหรือเสียง
  1. ทำความสะอาดบ้าน ฝุ่นในบ้านอาจจะมีสารตะกั่วผสมอยู่ เด็กอาจจะกลืนโดยการดูดนิ้ว เลียของเล่นหรือรับประทานอาหารโดยที่ไม่ล้างมือ หรือสูดเอาสารตะกั่วเข้าไป
  • ให้ทำความสะอาดบริเวณที่เด็กเล่นให้สะอาดเท่าที่จะทำได้
  • ล้างแก้วหรือขวดนมให้สะอาดด้วยมือโดยเฉพาะหากอุปกรณ์นั้นตกใส่พื้น
  • เช็ดพื้น ขอบหน้าต่าง ขอบเตียงที่เด็กอาจจะเลียด้วยน้ำยาล้างจานอุ่นๆ สัปดาห์ละ 2 ครั้ง(เนื่องจากน้ำยาล้างจานจะมีสารฟอสเฟตสูง)
  • ล้างของเล่นหรือตุ๊กตาเป็นประจำ
  • ให้เด็กล้างมือก่อนรับประทานอาหารและก่อนนอน
  1. หลีกเลี่ยงสารตะกั่ว
บ้านสมัยเก่าที่ทาสีมีสารตะกั่วผสม เมื่อเก่าจะทำให้เกิดสะเก็ดสีตามผาผนัง ขอบหน้าต่าง และจะพบมากบริเวณที่มีการเสียดสี เช่นหน้าต่างซึ่งจะทำให้เกิดสะเก็ดสี หากเด็กรับประทานเข้าไปจะเกิดอันตรายต่อเด็กได้
  • เช็ดพื้นให้สะอาดเพื่อป้องกันเด็กรับประทานสะเก็ดสี
  • อย่าเผาไม้ที่ทาสีเพราะอาจจะทำให้เกิดฝุ่นสารตะกั่ว
  • อย่าทำการลอกสีหรือขูดสีด้วยตัวเองเพราะจะทำให้เกิดสารตะกั่ว และสารตะกั่วก็จะอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้อีกนาน
  • ให้ใช้ผู้เชี่ยวชาญในการลอกสีหรือทาสีใหม่
  • เด็กและคนท้องไม่ควรอยู่บ้านขณะลอกสีหรือทาสีใหม่ ให้ทำความสะอาดให้เรียบร้อยจึงกลับเข้ามาอยู่
  1. อย่านำสารตะกั่วเข้าบ้าน
สำหรับท่านที่ทำงานก่อสร้าง การรื้อทำลาย ทาสี แบตเตอร์รี่ ร้านซ่อมเครื่องยนต์ ท่านอาจจะนำฝุ่นตะกั่วเข้าบ้านและอยู่ในสิ่งแวดล้อมอีกนาน
  • ให้เปลี่ยนเสื้อผ้าก่อนกลับบ้าน
  • ให้เด็กเล่นในพื้นที่สะอาดและให้เด็กล้างมือก่อนรับประทานอาหาร
  1. ทำน้ำดื่มให้ปราศจากสารตะกั่ว
         น้ำประปาทั่วๆไปจะไม่มีสารตะกั่ว แต่สารตะกั่วที่มีในน้ำประปามาจากอุปกรณ์เครื่องใช้ภายในบ้าน การต้มน้ำไม่ทำให้สารตะกั่วลดลง หากท่านสงสัยว่าจะมีสารตะกั่วในน้ำ ท่านอาจจะนำน้ำไปตรวจวิเคราะห์เพื่อหาสารตะกั่ว ระดับตะกั่วในน้ำจะสูงถ้าน้ำนั้นอยู่ในท่อนาน น้ำนั้นร้อน หรือมีความเป็นกรดสูงวิธีป้องกันสารตะกั่วในน้ำคือ
  • อย่าดื่ม หรือผสมนมจากเครื่องทำน้ำร้อนจากท่อประปา
  • หากท่านไม่ได้ใช้ก๊อกน้ำเป็นเวลามากกว่า 2 ชั่วโมงให้ปล่อยน้ำทิ้ง 30-60 วินาทีก่อนจะนำน้ำนั้นไปดื่ม
  • ใช้เครื่องกรองน้ำที่สามารถกรองสารตะกั่วได้
  1. ป้องกันสารตะกั่วจากการกิน อย่าเก็บอาหารไว้ในถ้วยที่มีสารตะกั่ว หากใช้ถุงที่มีสีก็ให้สีอยู่นอกถุง
  2. เลือกใช้ถ้วยชามเซรามิค ถ้วยชามเซรามิคจะเป็นแหล่งของสารตะกั่ว ท่านสามารถป้องกันได้โดย
  • ท่านสามารถทดสอบถ้วยชามเซรามิคว่ามีสารตะกั่วหรือไม่โดยซื้อชุดทดสอบ(ยังไม่ทราบว่าในประเทศไทยจะมีหรือไม่)
  • หากถ้วยชามนั้นมีสารตะกั่ว ท่านก็ใช้เป็นเครื่องประดับบ้าน
  • อย่าใช้ถ้วยชามที่มีสารตะกั่วเก็บอาหาร
  1. การป้องกันสารตะกั่วจากสีภายนอกบ้าน
         บ้านที่ทาด้วยสีที่ผสมตะกั่วซึ่งอาจจะอยู่บนผนัง ผ้า พื้น หน้าต่าง เด็กมักจะได้รับสารตะกั่วจากสะเก็ดสีที่หลุดออกมา หากว่าบ้านของท่านทาด้วยสีที่มีสารตะกั่วผสมและต้องการเปลี่ยนสีท่านต้องจ้างผู้เชี่ยวชาญเฉพาะมาทำการลอกสีและเปลี่ยนสี ต่อไปนี้เป็นคำแนะนำในการป้องกันสารตะกั่ว
  • หากต้องการเปลี่ยนสี ควรจะเปลี่ยนทั้งหลัง
  • ควรจะหาดินที่อื่นมาถมทับดินเก่าและปลูกหญ้าทับ
  • ไม่ควรปลูกพืชสวนครัวไว้รอบบ้าน
  • ไม่ควรให้เด็กเล่นรอบตัวบ้านเพราะอาจจะมีสะเก็ดสี และเด็กอาจจะรับประทานโดยที่ไม่รู้ตัว ควรจะหาที่เล่นที่ห่างจากตัวบ้าน
  • เมื่อจะขุดดินรอบบ้าน ให้พรมน้ำให้ชุ่มชื้นเพื่อป้องกันฝุ่น
  • ไม่ควรกวาดหรือใช้เครื่องดูดฝุ่นเพราะจะทำให้ฝุ่นสารตะกั่วแพร่กระจาย
  • ใช้ผ้าชุมน้ำยาเช็ดบริเวณที่มีสะเก็ดสี
  1. ป้องกันบ้านท่านจากสารตะกั่ว

    สีแดงคือบริเวณที่พบสารตะกั่วบ่อยมาก สีเหลืองคือบริเวณที่พบสารตะกั่วบ่อย สีเขียวพบสารตะกั่วไม่บ่อย
         พื้นที่ในบริเวณบ้านหลายแห่งจะเป็นบริเวณซึ่งมีสารตะกั่วมาก การดูแลบริเวณดังกล่าวจะช่วยลดการเกิดพิษต่อสารตะกั่วบริเวณดังกล่าวได้แก่
  • บัวบริเวณพื้น สะเก็ดสีอาจจะเกิดจากสีเก่าของผนัง หรือสีจากบัว หรืออาจจะเกิดจากการกระแทกของเฟอร์นิเจอร์ ไม่ควรให้เด็กเล่นใกล้บัว และเช็ดบริเวณดังกล่าวด้วยน้ำยา
  • พื้น ปกติบริเวณพื้นมักจะไม่ค่อยพบสารตะกั่วแต่ก็อาจจะเกิดสะเก็ดสีหล่นมายังพื้น วิธีป้องกันอย่าใช้เครื่องดูดฝุ่น ให้ใช้น้ำชุบน้ำยาเช็ดพื้น ควรทำความสะอาดพรมด้วยน้ำยา และหากสกปรกมากให้เปลี่ยนเป็นสาร vinyl
  • ฝาผนังบ้าน บ้านทั้งหลังไม่ควรใช้สีที่มีส่วนผสมของสารตะกั่ว หากเป็นสีที่มีสารตะกั่ว ท่านต้องหมั่นตรวจสอบว่าสียังคงสภาพดีอยู่หรือไม่ หากเริ่มมีสีแตกสะเก็ดต้องใช้ผ้าชุมน้ำยาเช็ดสะเก็ดสี และห้ามเด็กเล่นบริเวณดังกล่าว
  • บอบหน้าต่างเป็นบริเวณที่สะสมสารตะกั่วจากสะเก็ดสีที่หลุดออกมาเนื่องจากสีที่ทาไม้ หรือการเสื่อมของสีที่ทาผนัง วิธีป้องกันคืออย่าใช้สีที่ผสมสารตะกั่ว หากพบว่าสีเริ่มเสื่อมให้รีบแจ้งช่างแก้ไขโดยด่วนและระหว่างแก้ไขไม่ควรให้คนท้องและเด็กอยู่ใกล้เคียง
  • สำหรับท่านที่มีบ้านติดถนน หรืออยู่ในบริเวณที่มีสารตะกั่วไม่ควรปลูกผักหรือผลไม้เนื่องจากสารตะกั่วในน้ำมันจะกลายเป็นฝุ่นเกาะตามผิวดินอาจจะไปสะสมในพืช นอกจากนั้นก็ควรจะล้างผักให้สะอาด
  • สำหรับท่านที่มีบ้านอยู่ใกล้ถนนที่มีจราจรแออัด ที่ดินรอบๆบ้านท่านจะมีสารตะกั่วมากวิธีที่ดีคือตรวจดินว่ามีสารตะกั่วหรือไม่หากพบสารตะกั่วมากแนะนำให้เปลี่ยนดิน เวลาจะกวาดฝุ่นก็ฉีดน้ำให้ชื้นเพื่อป้องกันฝุ่นกระจาย
การเจาะเลือดตรวจหาสารตะกั่ว
  • เด็กที่มีสุขภาพแข็งแรงอาจจะมีสารตะกั่วในเลือดสูงก็ได้ The Centers for Disease Control ของประเทศอเมริกาแนะนำว่าเด็กเมื่ออายุ 1 ขวบหรือ 6เดือนในกรณีที่คิดว่ามีสารตะกั่วในบ้าน ควรได้รับการเจาะเลือดหาสารตะกั่ว
  • เด็กอายุมากกว่า 1 ขวบควรจะได้รับการเจาะเลือดหาสารตะกั่วทุก 1-2 ปีหากคิดว่าอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีสารตะกั่วเช่นบ้านที่ทาด้วยสีที่มีสารตะกั่วผสม หรือทำงานเกี่ยวกับสารตะกั่ว
ค่าปกติของสารตะกั่วในสิ่งแวดล้อม
  • ค่าสารตะกั่วในน้ำดื่มไม่ควรเกิน 15 ppb [parts per billion ]
  • ค่าสารตะกั่วในดินไม่ควรเกิน 5 ppm [parts per million ]
  • ค่าสารตะกั่วในอากาศไม่เกิน 1.5 ug/cubic meter (micrograms per cubic meter) per quarter
เรียบเรียง 29/02/04

การป้องกันโรคมะเร็ง

การป้องกันโรคมะเร็ง
         
          โรคมะเร็งเป็นแล้วรักษายาก บางรายรักษาไม่หาย การป้องกันโรคมะเร็งมิให้เกิดกับทานและครอบครัวจึงเป็นวิธีที่ท่านสามารถนำไปปฏิบัติ การป้องกันมะเร็งทำได้ไม่ยาก
         เนื้อหาที่จะเกล่าเป็นแนวทางในการดูแลตัวเองให้แข็งแรงและลดปัจจัยเสี่ยงต่อมะเร็ง แนวทางการป้องกันมะเร็งได้มาจากสมาคมการวิจัยเพื่อป้องกันโรคมะเร็ง American Institute for Cancer Research ดังนี้
  1. เลือกอาหารที่มาจากพืช
          ตลอดระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมานักวิทยาศาสตร์ได้ทราบแล้วว่า อาหารเป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็ง การรับประทานอาหารที่มาจากพืชรวมทั้งการรักษาน้ำหนักที่เหมาะสม และการออกกำลังกายจะทำให้ร่างกายสามารถต่อต้านโรคมะเร็ง เนื่องจากสารอาหาร วิตามินในพืชสามารถทำให้ร่างกายซ่อมแซมเซลล์ได้ดี ยับยังการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง และยังทำลายสารที่จะก่อให้เกิดมะเร็ง นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าการรับประทานผักและผลไม้เพิ่ม 2 หน่วยร่วมกับการออกกำลังกายเพิ่มจะสามารถป้องกันมะเร็งได้ร้อยละ 60-70 เช่นการเปลี่ยนขนมปังธรรมดาเป็นขนมปังธัญพืช
  • ให้รับประทานอาหารพวกผักชนิดใหม่ๆซึ่งจะเพิ่มความอยากรับประทานอาหารพวกผัก
  • ให้มีอาหารพร้อมปรุงที่ทำจากพืชไว้ในตู้เย็นเช่นพวกถั่วต่างๆ อาหารแช่แข็ง ผลไม้กระป๋อง
  • ให้ใช้ถั่วในการปรุงอาหารเช่นผสมในสลัด ใส่ถั่วในส้มตำ ใส่ถั่วในแกง อาจจะใช้ถั่วได้หลายชนิดเช่น ถั่วลิสง ถั่วเขียว ถั่วแขก เม็ดมะม่วงหิมะพาน
  • ให้รับประทานอาหารที่ไม่มีเนื้อสัตว์สัปดาห์ละครั้ง
  • หัดปรุงอาหารที่ทำจากพืช
  1. รับประทานผักและผลไม้เพิ่ม
ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่าอาหารที่เรารับประทาน ควรจะมาจากพืชเสีย 2/3 เช่นผัก ผลไม้ ธัญพืช ถั่ว ส่วนที่เหลือ 1/3 มาจากเนื้อสัตว์และนม วิธีการที่จะรับประทานเนื้อสัตว์ให้ลดลงทำได้ดังนี้
  • ใช้เนื้อเพียงแค่ปรุงรสเท่านั้น ไม่ใช่อาหารหลักอย่างบ้านเราทำกัน คือผัดผักใส่หมูหรือกุ้งเพื่อปรุงรสและกลิ่น
  • รับประทานอาหรโปรตีนที่ทำจากพืชเช่น เนื้อปลอมที่ทำจากถั่วเหลืองหรือจากเห็ด
  • เลือกอาหารว่างที่ทำจากพืช เช่น น้ำผลไม้ ผลไม้ต่างๆ
  • เลือกผลไม้กระป๋องไว้ประจำบ้าน ควรเลือกผลไม้ที่บรรจุในน้ำผลไม้หรือน้ำไม่ควรใส่น้ำหวานหรือเกลือ
  • รับประทานผักใบเขียวให้มาก
  • มื้อกลางวันให้รับประทานสลัด
  • ใช้รับผลไม้หลังจากรับประทานอาหาร
หากท่านรับประทานผักและผลไม้มากเท่าใดท่านจะได้รับสารอาหาร วิตามิน สารต้านอนุมูลอิสระมากขึ้นเท่านั้นซึ่งจะต่อสู้กับมะเร็ง
  1. รักษานำหนักที่เหมาะสมและออกกำลังกายเป็นประจำ
น้ำหนักที่เหมาะสมสำหรับท่านควรอยู่ระหว่างดัชนีมวลกาย 18.5-23 สำหรับท่านที่น้ำหนักน้อยก็ต้องรับประทานอาหารเพิ่ม หากรับประทานไม่พอก็ต้องรับประทานอาหารเสริมเพิ่มขึ้น โรคอ้วนทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพมากมายสำหรับท่านที่มีน้ำหนักเกินท่านต้องรับประทานอาหารน้อยลง วิธีการรับประทานอย่างฉลาดมีดังนี้
  • อ่านฉลากอาหารทุกครั้ง หากปริมาณสารอาหารที่ท่านซื้อมากเกินไปท่านต้องแบ่งอาหารออกมา เพื่อมิให้ได้รับพลังงานเกินไป
  • อย่าอดอาหารเป็นมือเพราะท่านจะรับประทานมากขึ้นในมื้อต่อไป
  • เลือกอาหารว่างอย่างฉลาดควรจะเลือกพวกผักและผลไม้
  • ให้รับประทานเมื่อท่านหิวเท่านั้น อย่ารับประทานเพราะว่าอร่อย หรือว่ากำลังเหงา ควรหางานอดิเรกทำเพื่อจะได้ไม่รับประทานมากเกินไป
  • อาหารพวกผักและผลไม้จะมีไขมันต่ำ หากอาหารหลักของท่านเป็นอาหารเหล่านี้โอกาสที่จะอ้วนก็มีน้อย
การออกกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจะทำให้ท่านแข็งแรง ลดความเครียดได้ ทำให้เจริญอาหาร และการขับถ่ายดีขึ้นวิธีการที่จะเริ่มออกกำลังกายอย่างง่ายๆ
  • เริ่มทีละเล็กน้อยค่อยๆเพิ่ม อย่าหักโหมเพราะจะทำให้ได้รับบาดเจ็บ
  • การเดินเป็นวิธีที่ดีและง่าย
  • ให้กระฉับกระเฉงเช่น การขึ้นบัดได การเดินไปทำงาน การล้างรถหรือถูบ้าน
  • ท่านที่สุดอายุหรือมีโรคเข่าเสื่อมอาจจะเริ่มออกกำลังในน้ำเพราะจะใช้แรงไม่มากและไม่เป็นอันตรายต่อข้อ
  1. ลดการดื่มสุราและสูบบุหรี่
จากการวิจัยพบว่าการดื่มสุราก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพ แต่การดื่มไวน์แดงก็อาจจะให้ประโยชน์ต่อร่างกายเหมือนกับการรับประทานองุ่นเพราะมีสาร resveratrol
  • หากไม่เคยดื่มสุราก็ไม่มีความจำเป็นต้องเริ่มดื่ม
  • หากจะดื่มสุราก็ให้ดื่มไม่เกิน 1 หน่วยสุรา
  • หากไปงานเลี้ยงก็ไม่ควรใช้เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอร์ผสม
การสูบบุหรี่จะทำให้เกิดมะเร็งได้หลายระบบ การเลิกสูบบุหรี่จะทำให้ลดการเกิดมะเร็งได้ร้อยละ 30
  1. เลือกรับประทานอาหารที่มีปริมาณไขมันต่ำ
เชื่อว่าอาหารมันและเกลือจะเพิ่มโอกาสเป็นมะเร็งโดยเฉพาะไขมันอิ่มตัวและไขมัน trans-fats('partially hydrogenated' oils). ซึ่งไขมันทั้งสองเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อมะเร็งและโรคหัวใจ แต่มิได้ห้ามรับประทานอาหารมันเพราะอาหารมันก็มีประโยชน์ต่อร่างกายแต่ไม่ควรรับมากเกินไป
  1. ปรุงอาหารอย่างถูกต้อง
การปรุงอาหารพวกเนื้อสัตว์โดยเฉพาะการย่างด้วยไฟอุณหภูมิที่สูงจะทำให้เกิดสารก่อมะเร็ง เนื่องจากน้ำมันที่ถูกไฟไหม้จะก่อให้เกิดสาร polycyclic aromatic hydrocarbons ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง ควรจะเลี่ยงไปใช้วิธีอื่นเช่น การอบ การใช้microwave การต้ม การทอดในน้ำ วิธีการที่จะลดการเกิดสารก่อมะเร็งมีดังนี้
  • อย่าย่างเนื้อสัตว์หลายชนิดในไม้เดียวกัน เพราะเนื้อทุกชนิดสามารถทำให้เกิดมะเร็งได้ ให้เลี่ยงไปย่างผักหรือผลไม้แทนเนื้อสัตว์
  • เลือกเนื้อสัตว์ที่ไม่มีไขมัน และให้ตัดไขมันออกจากเนื้อสัตว์ให้หมด
  • ให้หมักเนื้อนั้นก่อนปรุงอาหารโดยเฉพาะการหมักด้วยมะนาวจะช่วยลดสารก่อมะเร็งให้หมักก่อนปรุง 15-20 นาที ไม่ควรหมักด้วยน้ำมัน
  • ไม่ควรเผาเนื้อสัตว์ ให้หุ้มเนื้อสัตว์ด้วย foil อาจจะทำให้เนื้อสัตว์สุขด้วยการต้ม อบหรือmicrowave แล้วจึงนำมาเผาภายหลัง
  • อย่ารับประทานเนื้อสัตว์ที่ไหม้ ให้ตัดส่วนที่ไหม้ออก
  • การย่างหรือเผาอาหารพวกผักไม่ก่อให้เกิดสารก่อมะเร็ง
  1. การถนอมอาหาร
ผู้ป่วยที่พื้นจากโรคมะเร็งจะมีภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอโอกาสจะเกิดโรคจากอาหารจะมีสูง ดังนั้นการเก็บและถนอมอาหารจะช่วยป้องกันการโรค
  • ล้างมือ ถ้วยชาม โต๊ะ ให้สะอาดและเปลี่ยนฟองน้ำบ่อยๆ
  • ให้ล้างผักและผลไม้โดยการรินน้ำ
  • ระวังการปนเปื้อนอาการจากการใช้มีด เขียง ชาม
  • ละลายอาหารแช่แข็งในตู้เย็นหรือ microwave ไม่ควรละลายในห้องครัว
  • ใช้ปรอทวัดอุณหภูมิของอาหารเพื่อให้แน่ใจว่าอาหารสุขจริงๆ
  • อ่านฉลากอาหารให้ทราบวันหมดอายุ
  1. การใช้ครีมป้องกันแสงแดดโดยเฉพาะตอน 10.00-15.00 น โดยใช้ครีมที่มี SF อย่างน้อย 15อ่านที่นี่
  2. การไม่สำส่อนทางเพศเพราะการมีเพศสัมพันธ์จะทำให้เกิดการติดเชื้อ เริ่ม (อ่านที่นี่) และเชื้อไวรัสโรคเอดส์ ซึ่งทั้งสองโรคดังกล่าวจะทำให้เกิดมะเร็ง
คำถามที่ถามบ่อย
  • วิตามินช่วยป้องกันมะเร็งได้หรือไม่ จากรายงานพบว่าวิตามินในผักและผลไม้มีคุณค่ามากกว่ายาเม็ดวิตามิน ดังนั้นแนะนำให้รับประทานอาหารพวกผักและผลไม้ให้มาก ในกรณีที่รับอาหารไม่ได้เลยแพทย์ก็จะพิจารณาให้วิตามินเสริม
สารอาหารที่ใช้ป้องกันมะเร็ง
สารอาหารที่ใช้ป้องกันมะเร็งหรือที่เรียกว่า Chemoprevention จะทำหน้าที่สองประการคือ ป้องกันการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม และหยุดการแบ่งเซลล์มะเร็ง สำหรับสารที่นิยมมาใช้ป้องกันมะเร็งได้แก่
สารอาหารชนิดสารอาหารใช้ป้องกันหรือรักษามะเร็ง
Vitamin A + other retinoidsvitaminผิวหนัง คอและศีรษะ ปอด
Vitamin Cvitaminลำไส้ใหญ่ กระเพาะอาหาร
Vitamin Dvitaminลำไส้ใหญ่
Vitamin Evitaminปอด คอและศีรษะ ลำไส้ใหญ่ กระเพาะอาหาร
Folic Acidvitaminปากมดลูก
Seleniummineralผิวหนัง
Calciummineralลำไส้ใหญ่
Beta-Carotenephytochemicalปอด คอและศีรษะ ลำไส้ใหญ่ กระเพาะอาหาร
Monoterpenesphytochemicalเต้านม
Tamoxifendrugเต้านม
Finasteridedrugต่อมลูกหมาก
Oltiprazdrugตับ
NSAIDS 
(nonsteroidal anti-inflammatory drugs -- aspirin, buprofen)
drugลำไส้ใหญ่
Sunscreenotherผิวหนัง
Spirulina 
fusiformi
(blue-green algae)คอและศีรษะ
เรียบเรียงเมื่อ 11/04/2002