Golden Dreams TMS&Herb

วันพุธที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2554

สรรพคุณของกระเทียม

 ข้อมูลจากสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ระบุว่า กระเทียม (garlic) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Allium sativum Linn. แทบทุกครัวเรือนรู้วิธีการเจียวกระเทียมในน้ำมันให้หอมก่อน แล้วจึงใส่เนื้อสัตว์หรือผัก เป็นวิธีดับกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์และเพิ่มรสชาติให้กับอาหารประเภทผัดชนิดต่างๆ ได้อย่างดี

          ทั้งยังใช้กระเทียมเจียวโรยหน้าอาหารอีกหลายอย่าง หรือใช้เป็นส่วนประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งในเครื่องแกงชนิดต่างๆ โดยเฉพาะเป็นตัวช่วยแต่งกลิ่นและรสร่วมกับมะนาวในน้ำพริกกะปิ แม้แต่พริกน้ำปลาหรือน้ำจิ้มรสแซบก็จะลืมกระเทียมไปไม่ได้ นอกจากนี้ใบและหัวกระเทียมสดๆ ยังเป็นผัก รวมถึงกระเทียมดองของอร่อย

          กระเทียมยังเป็นสมุนไพรแก้ไขบรรเทาปัญหาสุขภาพของชาวบ้านมาโดยตลอด หมอพื้นบ้านไทยใช้กระเทียมสดรักษาโรคผิวหนัง กลาก เกลื้อน โรคบิด ป่วง แก้ไอ และกระจายโลหิต กระทั่งเป็นที่สรุปได้ว่า กระเทียมเป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณเด่น 2 ประการ คือ ใช้ทารักษาโรคผิวหนัง และรับประทานแก้โรคความดันโลหิตสูง

          การศึกษาทดลองคุณสมบัติทางเภสัชวิทยาในระยะหลัง พบว่า กระเทียมมีสรรพคุณเป็นยารักษาโรคได้อีกหลายอย่าง แต่การนำมาใช้ประโยชน์ให้ได้ผลอย่างจริงจังยังจะต้องมีการศึกษาผลทางคลินิกวิทยาให้ถ่องแท้เสียก่อน

          โดยสรรพคุณต่างๆ ของกระเทียม มีดังนี้

          1. ฆ่าเชื้อรา คือ กลาก เกลื้อน และเชื้อราที่เกิดตามเล็บ หนังศีรษะและผม

          2. ฆ่าเชื้อยีสต์ชนิดที่ทำให้เกิดลิ้นขาวเป็นฝ้าในเด็กทารก และทำให้เกิดโรคมุตกิดระดูขาวที่มักจะเกิดในหญิงที่ตั้งครรภ์ หรือกินยาคุมกำเนิด ยาปฏิชีวนะหรือยาสเตียรอยด์เป็นเวลานานๆ

          3. ลดความดันโลหิตสูง

          4. ลดไขมันและคอเลสเตอรอล

          5. ป้องกันผนังหลอดเลือดหนาและแข็งตัว

          6. ลดน้ำตาลในเลือด

          7. ฆ่าหรือยับยั้งเชื้อแบคทีเรียแทบทุกชนิด กล่าวคือ มีสารอัลลิซิน ที่มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียที่มักทำให้เกิดโรคได้ถึง 15 ชนิด โดยเฉพาะยับยั้งเชื้อพวกที่ดื้อยาเพนนิซิลินได้ดีกว่าเชื้อพวกที่ไม่ดื้อยาอีกด้วย นอกจากนี้ ยังฆ่าเชื้อบิดมีตัวที่มีพิษต่อลำไส้ได้ดี โดยมีสารที่สำคัญคือกาลิซิน รวมทั้งสามารถยับยั้งเชื้อบิดเทียม ซึ่งไม่รบกวนแบคทีเรียตัวอื่นที่มีประโยชน์ต่อลำไส้

          8. ยับยั้งเชื้อต่างๆ เช่น เชื้อที่ทำให้เกิดฝีหนอง และใช้รักษาแผลสด แผลที่เป็นหนอง คออักเสบ ทอนซิลอักเสบ ทางเดินปัสสาวะอักเสบ เชื้อวัณโรค และเชื้อปอดบวม

          9. รักษาไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่

          10. เป็นยาขับเสมหะและมีฤทธิ์ขับเหงื่อและขับปัสสาวะ

          11. รักษาโรคไอกรน

          12. แก้หืดและโรคหลอดลม

          13. แก้ธาตุพิการอาหารไม่ย่อย

          14. ควบคุมโรคกระเพาะ คือมีสารเอเอส 1 ช่วยยับยั้งไม่ให้น้ำย่อยอาหารมาย่อยแผลในกระเพาะ และยังช่วยรักษาโรคตับอ่อนอักเสบชนิดรุนแรงได้ด้วย

          15. ขับพยาธิต่างๆ ได้หลายชนิด ได้แก่ พยาธิเข็มหมุด พยาธิแส้ม้า พยาธิเส้นด้าย และมีรายงานทดสอบจากอินเดียว่า กระเทียมมีสารไดอัลลิลไดซัลไฟด์ มีฤทธิ์ใช้ฆ่าพยาธิไส้เดือนได้ดี

          16. แก้เคล็ดขัดยอกและเท้าแพลง เพราะมีสารอัลลิซินเป็นตัวช่วยทำให้เลือดไหลเวียนมายังบริเวณที่ทาถูนวดยาได้ดีมากขึ้น

          17. แก้ปวดข้อและปวดเมื่อย

          18. ต่อต้านเนื้องอก

          19. กำจัดพิษตะกั่ว

          20. บำรุงร่างกาย ประเทศญี่ปุ่นได้ค้นพบสารในกระเทียมชื่อสคอร์ดินิน ไม่มีกลิ่น แต่มีประโยชน์ต่อร่างกายหลายอย่าง รวมทั้งช่วยให้เนื้อเยื่อเจริญเติบโตและช่วยลดไขมันในร่างกาย

          ยังมีผู้พบว่าในกระเทียมมีธาตุเจอร์เมเนียมค่อนข้างสูง ซึ่งมีคุณสมบัติป้องกันการเกิดมะเร็ง โรคหืด โรคไต โรคตับอ่อนและอาการท้องผูก รวมถึงมีสารชักนำวิตามินบี 1 เข้าสู่ร่างกายได้ดีขึ้นเท่าตัว โดยรวมเป็นสารอัลลิลไทอะมิน ทำให้วิตามินบี 1 ออกฤทธิ์ได้ดีขึ้นถึง 20 เท่า

วันอังคารที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2554

สรรพคุณของไพล

ไพล

ชื่อวิทยาศาสตร์  Zingiber  montanum  (Koenig.) Link ex Dietr.
ชื่อพ้อง :   Zingiber  cassumunar  Roxb.
วงศ์  Zingiberaceae
ชื่ออื่น :  ปูลอย ปูเลย (ภาคเหนือ) ว่านไฟ (ภาคกลาง) มิ้นสะล่าง(ฉาน-แม่ฮ่องสอน)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุกสูง 0.7-1.5 เมตร มีเหง้าใต้ดิน เปลือกสีน้ำตาลแกมเหลือง เนื้อในสีเหลืองถึงเหลืองแกมเขียว แทงหน่อหรือลำต้นเทียมขึ้นเป็นกอ ซึ่งประกอบด้วยกาบหรือโคนใบหุ้มซ้อนกัน ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนานแกมใบหอก กว้าง 3.5-5.5 เซนติเมตร ยาว 18-35 เซนติเมตร ดอกช่อ แทงจากเหง้าใต้ดิน กลีบดอกสีนวล ใบประดับสีม่วง ผลเป็นผลแห้งรูปกลม
ส่วนที่ใช้ เหง้าแก่สด ต้น ใบ ดอก
สรรพคุณ :
·         เหง้า
-
เป็นยาแก้ท้องขึ้น ท้องอืดเฟ้อ ขับลม

- แก้บิด ท้องเดิน ขับประจำเดือนสตรี ทาแก้ฟกบวม แก้ผื่นคัน
- เป็นยารักษาหืด
- เป็นยากันเล็บถอด
- ใช้ต้มน้ำอาบหลังคลอด
·         น้ำคั้นจากเหง้า - รักษาอาการเคล็ดขัดยอก ฟกบวม แพลงช้ำเมื่อย
·         หัว - ช่วยขับระดู ประจำเดือนสตรี เลือดร้าย แก้มุตกิตระดูขาว แก้อาเจียน แก้ปวดฟัน
·         ดอก - ขับโลหิตกระจายเลือดเสีย
·         ต้น - แก้ธาตุพิการ แก้อุจาระพิการ
·         ใบ - แก้ไข้ ปวดเมื่อย แก้ครั่นเนื้อครั่นตัว แก้เมื่อย
วิธีและปริมาณที่ใช้
·         แก้ท้องขึ้น ท้องอืดท้องเฟ้อ ขับลม
ใช้เหง้าแห้งบดเป็นผง รับประทานครั้งละ ½ ถึง 1 ช้อนชา ชงน้ำร้อน ผสมเกลือเล็กน้อย ดื่ม
·         รักษาอาการเคล็ดขัดยอก ฟกช้ำบวม ข้อเท้าแพลง
ใช้หัวไพลฝนทาแก้ฟกบวม เคล็ด ขัด ยอก
ใช้เหง้าไพล ประมาณ 1 เหง้า ตำแล้วคั้นเอาน้ำทาถูนวดบริเวณที่มีอาการ หรือตำให้ละเอียด ผสมเกลือเล็กน้อยคลุกเคล้า แล้วนำมาห่อเป็นลูกประคบ อังไอน้ำให้ความร้อน ประคบบริเวณปวดเมื่อยและบวมฟกช้ำ เช้า-เย็น จนกว่าจะหาย หรือทำเป็นน้ำมันไพลไว้ใช้ก็ได้ โดยเอาไพล หนัก 2 กิโลกรัม ทอดในน้ำมันพืชร้อนๆ 1 กิโลกรัม ทอดจนเหลืองแล้วเอาไพลออก ใส่กานพลูผงประมาณ 4 ช้อนชา ทอดต่อไปด้วยไฟอ่อนๆ ประมาณ 10 นาที กรองแล้วรอจนน้ำมันอุ่นๆ ใส่การบูรลงไป 4 ช้อนชา ใส่ภาชนะปิดฝามิดชิด รอจนเย็น จึงเขย่าการบูรให้ละลาย น้ำมันไพลนี้ใช้ทาถูนวดวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น หรือเวลาปวด (สูตรนี้เป็นของ นายวิบูลย์ เข็มเฉลิม อ.สนามชัยเขต จ.ฉะเชิงเทรา)
·         แก้บิด ท้องเสีย
ใช้เหง้าไพลสด 4-5 แว่น ตำให้ละเอียด คั้นเอาแต่น้ำเติมเกลือครึ่งช้อนชา ใช้รับประทาน หรือฝนกับน้ำปูนใส รับประทาน
·         เป็นยารักษาหืด
ใช้เหง้าไพลแห้ง 5 ส่วน พริกไทย ดีปลี อย่างละ 2 ส่วน กานพลู พิมเสน อย่างละ ½ ส่วน บดผสมรวมกัน ใช้ผงยา 1 ช้อนชา ชงน้ำร้อนรับประทาน หรือปั้นเป็นลูกกลอนด้วยน้ำผึ้ง ขนาดเท่าเม็ดพุทรา รับประทานครั้งละ 2 ลูก ต้องรับประทานติดต่อกันเวลานาน จนกว่าอาการจะดีขึ้น
·         เป็นยาแก้เล็บถอด
ใช้เหง้าไพลสด 1 แง่ง ขนาดเท่าหัวแม่มือ ตำให้ละเอียดผสมเกลือและการบูร อย่างละประมาณครึ่งช้อนชา แล้วนำมาพอกบริเวณที่เป็นหนอง ควรเปลี่ยนยาวันละครั้ง
·         ช่วยทำให้ผิวหนังชุ่มชื่น และเป็นยาช่วยสมานแผลด้วย
ใช้เหง้าสด 1 แง่ง ฝานเป็นชิ้นบางๆ ใช้ต้มรวมกับสมุนไพรอื่นๆ เนื่องจากไพลมี่น้ำมันหอมระเหย

สรรพคุณของมะกรูด

มะกรูด

ชื่อวิทยาศาสตร์  Citrus hystrix  DC.
ชื่อสามัญ  Leech lime, Mauritus papeda
วงศ์  Rutaceae
ชื่ออื่น :  มะขุน มะขูด (ภาคเหนือ) มะขู (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)  ส้มกรูด ส้มมั่วผี (ภาคใต้)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 2-8 เมตร เปลือกต้นเรียบ สีน้ำตาล มีหนามแหลมตามกิ่งก้าน ใบ เป็นใบประกอบที่มีใบย่อยใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ปลายใบและโคนใบมน ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบเป็นมันสีเขียวเข้ม มีต่อมน้ำมันอยู่ตามผิวใบ มีกลิ่นหอมเฉพาะ ก้านใบมีปีกดูคล้ายใบ ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบที่ปลายกิ่ง ดอกสีขาว กลีบเลี้ยงมี 5 กลีบ กลีบดอกมี 5 แฉก โคนกลีบดอกติดกัน ผล เป็นรูปทรงกลมหรือรูปไข่ โคนผลเรียวเป็นจุก ผิวขรุขระ มีต่อมน้ำมัน ผลอ่อนสีเขียวแก่ สุกเป็นสีเหลือง มีรสเปรี้ยว เมล็ดกลมรี สีขาว มีหลายเมล็ด
ส่วนที่ใช้
ราก ใบ ผล ผิวจากผล
สรรพคุณ :
  • รากกระทุ้งพิษ แก้ฝีภายในและแก้เสมหะเป็นพิษ
  • ใบ - มีน้ำมันหอมระเหย
  • ผล, น้ำคั้นจากผล - ใช้แต่งกลิ่น สระผมรักษาชันนะตุ รังแค ทำให้ผมสะอาด
  • ผิวจากผล
    - ปรุงเป็นยาขับลมในลำไส้ แก้แน่น
    - เป็นยาบำรุงหัวใจ
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
    1. ใช้เป็นยาบำรุงหัวใจ ขับลมในลำไส้ แก้แน่น แก้เสมหะฝานผิวมะกรูดสดเป็นชิ้นเล็กๆ 1 ช้อนแกง เติมการบูร หรือ พิมเสน 1 หยิบมือ ชงด้วยน้ำเดือด แช่ทิ้งไว้ ดื่มแต่น้ำรับประทาน 1 ถึง 2 ครั้ง แต่ถ้ายังไม่ค่อยทุเลา จะรับประทานติดต่อกัน 2-3 สะรก็ได้
    2. ใช้สระผมทำให้ผมสะอาดชุ่มชื้น เป็นเงางาม ดกดำ ผมลื่นด้วยโดยผ่ามะกรูดเป็น 2 ชิ้น เมื่อสระผมเสร็จแล้ว เอามะกรูดสระซ้ำ ใช้มะกรูดยีไปบนผม น้ำมะกรูดเป็นกรด จะทำให้ผมสะอาด แล้วล้างผมให้สมุนไพรออกไปให้หมด หรือใช้มะกรูดเผาไฟ นำมาผ่าซีกใช้สระผม จะรักษาชันนะตุ ทำให้ผมสะอาดเป็นมัน

กระเทียม" กับสูตรปวดท้ายทอย

 "กระเทียม" กับสูตรปวดท้ายทอย
      กระเทียม  เป็นพืชครัวตัวหนึ่ง  ที่นอกจากจะใช้รับประทาน  และปรุงเป็นอาหารหลายอย่างแล้ว  "กระเทียม"  ยังมีสรรพคุณทางยา  ใช้รักษาโรคได้อีกด้วย  โดยเฉพาะใครที่อาการปวดเย็นท้ายทอยบ่อย   ซึ่งดูเหมือนจะเป็นอาการเพียงเล็กน้อย  เป็น ๆ  หาย ๆ  ในช่วงที่เป็นจะรู้สึกตึง  คล้ายจะเป็นลม  ต้องนั่งหลับตา  หรือนั่งพัก  อาการจะทุเลาและหายเองได้  อาการดังกล่าวเป็นเฉพาะจุด  ถ้าไม่รักษาหรือให้แพทย์ตรวจอาการ  อาจทำให้ผู้ที่เป็น  เกิดอาการ  "โรควูบ" ได้  ซึ่งสาเหตุที่กล่าวข้างต้น  เกิดจากเส้นเลือดบริเวณท้ายทอยตีบตันนั่นเอง  โดยในส่วนของสมุนไพร  ที่มีสรรพคุณรักษาอาการปวดท้ายทอยมีเหมือนกันคือ
    ให้เอา  "กระเทียม"  จำนวน  2  กลีบ  ปอกเอาเปลือกหุ้มกลีบออก  แล้วหั่นเป็นชิ้นบาง ๆ  นำไปผึ่งลมให้แห้ง  จากนั้นเอาไปใส่ถ้วยเติมน้ำส้มสายชูของ อสร. เล็กน้อย  กินให้หมดทั้งน้ำและเนื้อ  วันละครั้ง  จะก่อนอาหารหรือหลังอาหาร  หรือกินตอนไหนก็ได้  โดยกิน  3  วันครั้ง  ทำกินได้เรื่อย ๆ  จะช่วยให้อาการปวดท้ายทอย  หรือชาวบ้านชอบเรียกว่า  ท้ายทอยเย็น  ค่อย ๆ ทุเลาลง  และหายได้ในที่สุด  คนที่เป็นไม่รุนแรง  หรือเพิ่งจะมีอาการใหม่ ๆ  จะเห็นผลเร็ว
      กระเทียม  หรือ  ALLIUM  SATIVUMLINN.  อยู่ในวงศ์  ALLIACEAE  เป็นพืชล้มลุก  มีหัวใต้ดิน  ต้นสูง  30-40  ซม.  ใบรูปแถบยาว  ดอกเป็นสีขาวแกมม่วง  หรืออมชมพู  หัวใต้ดินประกอบด้วยหัวย่อยจำนวนมาก  เรียกว่า  "กลีบ"  มีสรรพคุณเฉพาะ  ใบรสร้อนฉุนทำให้เสมหะแห้ง  กระจายโลหิต  แก้ลมปวดบวมในท้อง  หัว  แก้ไอ  แก้โรคผิวหนัง  กลากเกลื้อน  แก้แผลเน่า  เนื้อร้าย  บำรุงธาตุ  ขับโลหิตระดู  แก้โรคประสาท  แก้ปวดหู  หูอื้อ  ระบายพิษไข้  แก้ริดสีดวงงอก  ขับพยาธิในท้อง แก้โรคในปาก  แก้อัมพาต  แก้ลมเข้าข้อ  แก้จุกแน่นเฟ้อ  แก้ขัดปัสสาวะ  บำรุงปอด  แก้วัณโรคปอด  แก้เสมหะ  แก้เลือดออกตามไรฟัน  แก้ฟกบวม  และแก้สะอึก
     

วันอาทิตย์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2554

โรงพยาบาลธรรมชาติ-หัวจรดเท้า รักษาเองได้ ก่อนไปหาหมอ

หัวจรดเท้า รักษาเองได้ ก่อนไปหาหมอ
๑. ไขมันในเลือดสูง  แทนที่จะหายามากินให้ปวดหัว ตับพังก็หากระเทียมสดมากินสักวันละ  ๑๐ กลีบกับกินหอมหัวใหญ่สดวันละครึ่งหัว
๒. ปวดหัว  ให้หาผักคะน้าหรือปวยเล้ง (แมกนีเซียม) กินวันละ ๕ ขีดและกินปลาทูอีกวันละ ๒ ตัว (น้ำมันปลาลดการอักเสบได้) หรือจะชงโกโก้กินหน่อยก็ช่วยได้ค่ะ
๓. เป็นหวัด ไอ จามบ่อย  ให้หมั่นแปรงลิ้นและกินกระเทียม, หอม, พริกให้มากเข้าไว้
๔. ภูมิแพ้  แค่กินฝรั่งวันละ ๕ ชิ้นกับเมล็ดฟักทองวันละ ๑ กำมือ (สังกะสี)
๕. แพ้ฝุ่นละออง  ไรฝุ่น   หาโยเกิร์ตแบบรสธรรมชาติและนมเปรี้ยวไม่หวานจัดมากิน
๖. โรคหืดหอบ ไอเรื้อรัง  กินต้มยำไก่, กินหัวหอมใหญ่, หอมแดง, ต้นหอมและเอาหอมซุกไว้ใต้หมอน
๗. นอนไม่หลับ  ตักน้ำผึ้งกินก่อนนอนสักวันละ  ๒ ช้อนโต๊ะ ถ้าหาน้ำผึ้งไม่ได้ใช้น้ำตาลทราย ๒ ช้อนโต๊ะแทน ถ้าอยากให้หลับสบายเพิ่มเติมขี้เหล็กและมะรุมเข้าไปหน่อย
๘.  ไขข้ออักเสบ  หาปลาเนื้อมันกินวันละ ๒ ขีด เช่นปลาทู, ปลาสวาย, ปลาแซลม่อน, ปลาซาร์ดีน, ปลาทูน่าหรือแม้แต่ปลากระป๋อง
๙. กระเพาะปัสสาวะอักเสบบ่อย  ให้กินน้ำกระเจี๊ยบไม่หวานจัดวันละ ๓ มื้อ หรือน้ำแครนเบอรี่ของฝรั่งในปริมาณเท่ากัน ( เปรี้ยวจัดมาก)
๑๐.ท้องอืด แก๊สมาก ให้กินกล้วยหักมุกปิ้งหรือขิงบ่อย ๆ
๑๑.ท้องผูก  ชงน้ำผึ้งดื่มวันละ ๓ ช้อนโต๊ะและให้กินน้ำมะขามต้มติดเนื้อมาก เช้า เย็น
๑๒.โรคกระเพาะอาหาร  หากล้วยหักมุกปิ้งกิน, กินกล้วยหรือกินผักกระ หล่ำปลีให้มาก
๑๓.เวียนหัว คลื่นไส้ง่าย  ให้หาอาหารทำจากขิงรับประทาน เช่น ปลาผัดขิง ไก่ผัดขิง, น้ำขิง, ชาขิงหรือเต้าฮวย
๑๔.วัยทอง วูบวาบ อารมณ์ปรวน  ให้กินปลาทูน่าให้มากและกินเต้าหู้เหลืองวันละ ๑ แผ่น ถ้ากินเต้าหู้แล้วเบื่อให้สลับกับถั่วลิสงวันละ ๑ กำมือก็ได้
๑๕.หงุดหงิดง่าย ให้กินอาหารร่าเริง คือ ข้าวเหนียวดำ ข้าวโพด กลอย กล้วยหอมและปลาทูน่า
๑๖.กระดูกพรุน ให้กินงาดำวันละ ๔ ช้อนโต๊ะ (ได้แคลเซียมเท่ากับเม็ดใหญ่) มะม่วงจิ้มกะปิและสับปะรดซึ่งมีธาตุสมานกระดูดอยู่มาก                    ( แมงกานีส)
๑๗.ความจำไม่ดี ให้กินปลาทูวันละ ๒ ขีด หอยแครงและหอยนางรมซึ่งมีธาตุสังกะสีช่วยสมองได้
๑๘.มะเร็งเต้านม ให้กินบร็อคโคลีหรือคะน้าวันละ ๕ ขีด
๑๙.มะเร็งปอดทางเดินหายใจ ให้กินเสาวรส  ฝรั่ง  ส้ม  มะนาว  มะขามป้อม  มะละกอ  มะม่วง ให้มาก เพราะวิตามินซีช่วยสมานหลอดเลือดในปอดได้ดี แต่ต้องระวังวิตามินเอโดยเฉพาะผู่ที่ยังสูบบุหรี่อยู่
๒๐.ท้องเสีย ลำไส้แปรปรวน กินแอปเปิ้ลเขียววันละ ๑-๒ ผล หรือน้ำแอปเปิ้ลเขียวปั่นทั้งกาก จะเป็นการล้างพิษในตัวด้วย
๒๑.เจ็บอก โรคหัวใจ หลอดเลือดตีบ  กินปลาทะเล  น้ำมันมะกอกเอ็กซ์ตร้าเวอร์จิน  ผลอโวคาโดเพราะเหล่านี้มีไขมันดีไปช่วยขับตะกรันน้ำมันเก่าออก ถ้าชอบดื่มชาให้หาชาเขียวสดมาชงดื่มเองวันละถ้วย
๒๒.ความดันสูง ต้องตัดบุหรี่และอาหารเค็ม ลองหาข้าวโอ๊ตไม่ขัดสีมากินและผักขึ้นฉ่ายสดหรือปั่นก็ได้ จะช่วยคุมความดันให้ดีขึ้น
๒๓.เบาหวนถามหา ให้เลี่ยงแป้งกับน้ำตาลและกินผักเขียวจัดอย่างคะน้า  บร็อคโคลี  ผักโขมให้มาก  ถ้าอยากหวานให้กินส้มโอและฝรั่งเพราะมีน้ำตาลอยู่น้อยมาก